Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
2 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

สมดุลของงานและความสำเร็จ

ความสำเร็จในชีวิต,การทำงาน,การจัดการ

จะลำบากยากจนหรือรวยล้นฟ้า คนเราก็มีเวลาจำกัดแค่วันละ 24 ชั่วโมงเหมือนๆ กันครับ
ที่สำคัญคือในรอบวันนั้น เราต้องใช้ถึง 1 ในสามหรือราวๆ 8 ชั่วโมงไปกับการนอนหลับพักผ่อน
เวลาที่เหลือจริงๆ จึงมีแค่ 16 ชั่วโมงต่อวันโดยเวลาที่เหลือนี้ หากแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ
เวลาทำงาน ที่เหมือนกับการเปิดเครื่อง ก็ต้องให้สมดุลกับการปิดพักเครื่อง ด้วยการใช้ชีวิตส่วนตัวกับครอบครัว
ซึ่งผมเชื่อว่าใครบริหารเวลาให้กับตัวเองได้ดีกว่า ก็ย่อมได้เปรียบมากกว่า

หันมาดูที่เวลางานที่หากแบ่งครึ่งกับครอบครัวแล้ว ก็เหลือแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น
หากเราต้องใช้ฝ่าการจราจรช่วงเช้าและเย็นอีกวันละ 2 ชั่วโมง ก็จะเห็นว่ายิ่งเหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ
จึงไม่น่าแปลกอะไร ที่คนประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนใหญ่มักจะตื่นเช้า เพราะใช้เวลาได้คุ้มค่ากว่านั่นเอง

เวลาในช่วงเช้าเป็นเวลาที่เราสดใสที่สุด และมีสถิติบันทึกไว้ว่าการเจรจาธุรกิจ หรือเซ็นสัญญาในช่วงเวลานี้
มักจะราบรื่นกว่าเวลาในช่วงอื่นๆ เพราะเป็นช่วงเวลาที่เราสดชื่นมากที่สุด
ภาษิตจีนโบราณจึงบอกไว้ว่า 1 ชั่วโมงในเวลาเช้า เอาชนะ 3 ชั่วโมงเวลาเย็นได้

การสร้างสมดุลให้กับเวลาทั้งในโลกการทำงานและโลกส่วนตัว จึงเป็นเรื่องจำเป็น
และใครที่หาสมดุลให้กับทั้งสองส่วนได้ ก็ย่อมมีภาษีดีกว่าคนอื่น ซึ่งการสร้างสมดุลนี้แม้จะไม่ใช่เรื่องยาก
แต่ก็ไม่ง่ายนักเพราะมี กฎพื้นฐานที่สำคัญคือ

1. ต่อให้เราทุ่มเทแค่ไหน และต่อเนื่องแค่ไหน ทุกคนมีชีวิตเดียว เท่ากันหมด

2. มนุษย์เรา ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ก็ไม่มีใครพิเศษเกินหน้าคนอื่น
เพราะทุกคนถูกควบคุมด้วยเวลาที่มีจำกัดวันละ 24 ชั่วโมงเท่าๆ กัน

3. ภายใต้สภาพแวดล้อมของสังคม ที่มีการแข่งขันสูงเหมือนในทุกวันนี้
ความพยายามแค่ไหนก็ยังไม่พอ เพราะเราไม่สามารถเดาได้ว่า เบื้องหน้าเรามีอุปสรรคที่ยากแค่ไหน
ที่สำคัญ การสร้างสมดุลให้กับชีวิตต้องทำพร้อมๆ ไปกับการบริหารความคิด
และหมั่นจัดระเบียบอารมณ์ความรู้สึกของเราให้อยู่กับร่องกับรอย
เพราะทั้งสองส่วนนี้ มีผลต่อการคิดของเราว่าจะคิดมองโลกให้เป็นบวกหรือลบ

ผลสำรวจวิจัยในทุกวันนี้ ชี้ชัดแล้วครับว่า
คนมองโลกในแง่ดีมักใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและยืนยาวกว่าคนมองโลกในแง่ร้าย

แต่การมองโลกในแง่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายๆ คน เพราะมักจะเป็นนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่ยังเด็ก
แต่ก็ไม่ใช่ว่าสร้างใหม่ไม่ได้ ซึ่งผมมีแง่คิดในการจัดระเบียบความคิดของเราเสียใหม่
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมองโลกในแง่ดีดังนี้ครับ

ข้อแรก
ต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่า บางครั้งอารมณ์ดี บางครั้งอารมณ์ไม่ดี เราต้องรู้จักสังเกตว่า
เรามีเหตุผลอะไร ที่อารมณ์ไม่ดี และจะทำอย่างไรเพื่อแก้ความอารมณ์ไม่ดีให้ได้

ข้อต่อมา
ต้องมีความสามารถที่จะแก้ไขอารมณ์ได้ โดยต้องรู้จักก้าวออกจากกรอบของตัวเอง
แล้วลองเปลี่ยนแปลง หรือคิดนอกกรอบ เพื่อจะให้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
และสิ่งใหม่ๆ จะพาความสนใจไปพบตัวเองไปเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกว่าเรามีคุณค่ามากขึ้น
หรือไม่ก็ต้องคิดถึงอนาคตบ่อยๆ
เพื่อให้เกิดทั้งจินตนาการ และการลงมือทำจริงๆ ดึงให้เราคิดถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

ข้อสุดท้าย
ต้องไม่ปล่อยให้ใจเราคิดมองโลกในแง่ร้ายไปโดยไม่รู้ตัว เช่นเราเคยผิดหวัง ล้มเหลว
ก็มักจะคิดว่าเราไม่มีทางทำได้ นั่นคือขาดความมั่นใจ
หรือไม่ก็มักจะปฏิเสธคนอื่น เพราะรู้สึกว่าเมื่อเราทำล้มเหลว ก็คิดว่าไม่มีใครอยากช่วยเหลือ
การแชร์ความรู้สึกกับคนอื่นก็จะหายไป

และความรู้สึกว่าอะไรที่ไม่สำเร็จ เราไม่มีทางแก้ไขแล้ว เช่นเด็กที่เอนทรานซ์ไม่ติด ก็ฆ่าตัวตาย
ทั้งที่ความจริง เราสามารถเรียนในมหาวิทยาลัยเปิด หรือมหาวิทยาลัยเอกชนได้

การวิเคราะห์ความคิดของตัวเอง
จึงเป็นกลไกเบื้องต้น ที่ช่วยให้เราบริหารอารมณ์ของตัวเองภายใต้เหตุผล และความถูกความผิดได้
โอกาสทำที่จะคิดดี ทำดีก็มีสูงขึ้น เหมือนภาษิตจีนโบราณสอนไว้ว่า ใจคิดอย่างไร เรื่องก็จะเป็นอย่างนั้น

มองโลกในแง่ดี และบริหารชีวิตให้สมดุล
เป็นฐานของชีวิตที่ดี และช่วยให้เรามีความมั่นคง พอที่จะแข่งขันกับคนอื่นในโลกธุรกิจวันนี้ที่รุนแรงเหลือเกิน
ซึ่งผมเชื่อว่าผู้อ่านไอทีไร้พรมแดนทุกท่าน คงเห็นพ้องต้องกันนะครับ

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2552
1 comments
Last Update : 2 กรกฎาคม 2552 12:33:21 น.
Counter : 876 Pageviews.

 

คนเราทุกคนแตกต่างกันตรงที่ความสามารถในการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เท่าๆกันให้เกิดผลไม่เท่ากันนี่เอง -*-

 

โดย: ไหมพรมสีชมพู 5 กรกฎาคม 2552 16:46:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.