Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
11 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

แบบอย่างกับการสร้างคุณธรรมในเด็ก



ปีนี้เรานำเสนอความรู้ใหม่ๆ ภายใต้หัวข้อ Children's Brain is Our Future
อนาคตของพวกเราขึ้นอยู่ที่ความสามารถของลูกหลานนั่นแหละครับ
คุณผู้อ่านรวมทั้งผู้ปกครองหลายท่านอาจไม่ได้ไปร่วมงาน
ผมจึงอยากนำเรื่องรางใหม่ๆ ในงานนี้มาเขียนลงในรักลูก เพื่อให้คุณได้ติดตาม

ผมขอเริ่มต้นด้วยเรื่องการพัฒนาคุณธรรมในเด็ก ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีความเข้าใจในหลักการพอสมควร
ไม่ใช่อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจว่า
ถ้าจะพัฒนาคุณธรรมในเด็ก ก็นิมนต์พระมาเทศน์ให้ฟังสิ สุดท้ายก็ไม่เกิดผลอะไร

นักวิทยาศาสตร์พบว่า สมองเด็กในส่วนของการใช้ความคิดยังไม่เติบโตเต็มที่
เด็กจึงยังคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลได้ไม่ลึกซึ้งนัก แต่สมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์กลับทำงานได้ดีกว่า
เด็กจึงมักจะตัดสินเรื่องราวต่างๆ ด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล

การสอนคุณธรรมในเด็กนั้น แบบอย่างสำคัญที่สุดครับ
ทั้งนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสมอง นักจิตวิทยา สรุปตรงกันว่า
เด็กและผู้คนรอบข้าง และจริยธรรมผ่านการเลียนแบบ จากที่เห็นพ่อแม่และผู้คนรอบข้างปฏิบัติ

แรกๆ เด็กทำตามแบบอย่างที่พ่อแม่ทำ โดยไม่รู้ความหมายและการทำตามอย่างไร้เดียงสา
นี่แหละ ที่ทำให้เด็กเรียนรู้ความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นในตัวเขา
จากนั้นการเลียนแบบจะค่อยๆ เกิดความเข้าใจมากขึ้นทีละน้อย
จนกระทั่งเข้าใจความหมายของคุณธรรมหรือจริยธรรม อย่างแท้จริงเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่

กระบวนการซึมซับคุณธรรมที่ว่านี้ จะพัฒนาไปทีละขั้น ไม่มีการกระโดดข้าม
การจะพัฒนาขั้นสูงได้ต้องผ่านการพัฒนาขั้นต่ำก่อน ซึ่งกระบวนการทั้งหมดใช้เวลานาน
จนกระทั่งเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่

นั่นหมายความว่าพ่อแม่ คนรอบข้าง หรือแม้แต่คนในสังคมทั่วๆ ไป ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ตลอด
จนกระทั่งเด็กสามารถพัฒนาคุณธรรมของตนเองให้ถึงจุดที่สมบูรณ์ที่สุด

สำหรับเรื่องความสำคัญของแบบอย่าง ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาคุณธรรมในเด็กนี้
มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ทำการศึกษาไว้

เมื่อปี พ.ศ. 2519 Dr.Albert Bandura ได้ศึกษาการเกิด พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยให้ผู้ใหญ่เข้าไปในห้องที่มีตุ๊กตาอยู่แล้วลงมือชกต่อยตุ๊กตา และให้เด็กกลุ่มหนึ่งคอยเฝ้าดูอยู่นอกห้อง
เมื่อผู้ใหญ่ออกมาจากห้องและให้เด็กเข้าไปแทน
เด็กๆ ลงมือตะลุมบอนตุ๊กตาเหมือนกับที่ได้เห็นผู้ใหญ่ทำทุกประการ

จากงานวิจัยชิ้นนี้และอื่นๆ ที่เขาได้ทำในลักษณะคล้ายๆ กัน Dr.Bandura ได้สรุปว่า
“พฤติกรรมไม่ดีทั้งหลายของเด็กนั้น เป็นผลมาจากการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่เด็กเห็น
ทั้งจากในครอบครัว สื่อต่างๆ รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กเอง”

ปี พ.ศ. 2539 Dr.Vittorio Gallese และ Dr.Giacoma Rizzolatti และคณะจากมหาวิทยาลัยพาร์ม่า ประเทศอิตาลี
ได้ค้นพบว่า ภายในสมองมนุษย์ มีเซลล์ชนิดหนึ่ง
ทำหน้าที่เลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ ที่พบเห็นมาเป็นพฤติกรรมของตัวเอง เลยตั้งชื่อว่าเซลล์กระจกเงา
เพราะเหมือนกระจกที่สะท้อนภาพทุกอย่างได้เหมือนต้นแบบ เซลล์ตัวนี้คือกลไกสำคัญที่ทำให้เด็กซึมซับ
และลอกเลียนแบบพฤติกรรมของคนรอบข้าง
แต่ปัญหาก็คือ เซลล์เหล่านี้ไม่สามารถเลือกว่าแบบไหนใครควรเอาอย่าง แบบไหนควรหลีกเลี่ยง

งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 กลุ่มยืนยันในข้อเท็จจริงเดียวกัน คือ
พฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์เกิดจากการเลียนแบบ
แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ของเราก็เก่ง ไม่เบานะครับ เพราะพูดมาตั้งนานแล้วว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”
พ่อแม่เป็นแบบไหน ลูกก็เป็นแบบนั้น

ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่พ่อแม่อย่างเรา จะต้องสำรวจตัวเองแล้วล่ะครับว่า เราเป็นต้นแบบแบบไหน
เป็นต้นไม้ที่ดีที่ลูกไม้ควรจะหล่นอยู่ใกล้ๆ หรือไม่ ถ้าเราไม่ใช่ต้นไม้ที่ดี ไม่ใช่แบบอย่างที่ดี
ก็ป่วยการที่จะไปเรียกร้องหาคุณธรรมจริยธรรมในลูกหลานของเรา


โดย นพ.อุดม เพชรสังหาร
ข้อมูลจาก รักลูก
ที่มา : //www.elib-online.com/doctors50/child_child019.html
ภาพจาก : //aquarianeyes.wordpress.com

สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ





 

Create Date : 11 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 11 มกราคม 2553 20:41:10 น.
Counter : 950 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.