Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
4 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

ปฏิทินความรัก สร้างสุขในบ้าน



ปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาใกล้ตัวที่สุดของมนุษย์ และเป็นหน่วยแรกของสังคมในการสร้างคน
ปัญหาครอบครัว จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนควรตระหนักและ ช่วยกันหาแนวทางแก้ไข

สรรพ สิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "ปฏิทินสำหรับการใช้ชีวิตครอบครัว"
ซึ่งน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างชีวิตครอบครัว ที่อบอุ่นและเป็นสุข
จะช่วยลดปัญหาสังคมได้อีกมาก หากทุกคนในครอบครัวให้ความสำคัญและปฏิบัติตาม แนวทางดังกล่าวได้

จุดบอดของสังคมไทยเวลานี้คือ คนไม่มีความสุขในชีวิตครอบครัว และไปแสวงหาความสุขนอกครอบครัว
ทำให้ครอบครัวแตกสลายลงไป พ่อแม่ลูกไม่มีความรักผูกพันกัน ลูกคาดหวังจะได้ประโยชน์จากพ่อแม่
พ่อแม่ก็หวังจะได้ประโยชน์จากลูก การที่ต่างคนต่างอยู่หรือไม่ได้ทำอะไรด้วยกัน เช่น ไปศูนย์การค้าด้วยกัน
แต่ลูกก็ไปเล่นในห้องหรือโซนกิจกรรมสำหรับเด็ก พ่อก็ไปซื้อสินค้าสำหรับผู้ชาย แม่ก็ไปซื้อสินค้าสำหรับผู้หญิง
เมื่อกลับบ้านด้วยกันทุกคนเอาแต่โทรศัพท์คุยกับคนอื่น หรือไม่ก็ฟังเอ็มพี 3
เอาหูฟังใส่หูฟังเพลง ดูโทรทัศน์ เล่นอินเตอร์เน็ต ต่างคนต่างทำ ต่างใช้ชีวิตของตัวเอง

การไม่ได้ทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกันจะส่งผลให้ เมื่อพ่อแม่กับลูกมีปัญหาระหว่างกัน ก็จะไม่เข้าใจกัน
เพราะขาดการสื่อสารกัน ลูกก็เข้าใจผิดว่าพ่อแม่ต้องการอย่างหนึ่ง

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อน คือ "การใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกัน" ให้ถ่องแท้ ต้องครอบคลุมใน 3 ข้อ

1. สมาชิกครอบครัวต้องสื่อสารซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจอันดีต่อกัน
เข้าใจถึงความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงบทบาทหน้าที่หรือมีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่ง
เพื่อให้ชีวิตครอบครัวสมัครสมานสามัคคีกลมเกลียวกัน นำมาซึ่งการแสดงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อกัน

2. สมาชิกครอบครัวต้องมีทักษะต่างๆ ในชีวิตครอบครัว
เช่น ทักษะการเป็นพ่อแม่
หรือทักษะการเป็นสามีภรรยา ที่ช่วยให้การแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนดีและเหมาะสม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่ายทอดทักษะชีวิตต่างๆ รวมทั้งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
ในครอบครัว เช่น ปู่ย่าตายายถ่าย ทอดให้พ่อแม่ พ่อแม่ถ่ายทอดให้ลูก เพื่อให้ครอบครัวรับมือกับสภาพแวดล้อม
หรือเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัว

3.ครอบครัวต้อง เป็นที่พึ่งทางใจซึ่งกันและกัน
เมื่อเด็กกลับจากโรงเรียนต้องการให้พ่อแม่ช่วยแก้ปัญหาที่โรงเรียน ต้องเข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูลลูก
หรือสามีภรรยาควรมีส่วนเกื้อหนุนซึ่งกันและกันทางจิตใจ
ทุกคนจะต้องเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความทุกข์ใจ
คนในครอบครัว ควรจะมีความเอื้ออาทรทางจิตใจ

เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์ หรือช่วยให้รู้สึกลดความทุกข์ความ เครียดกังวลลง


สำหรับปฏิทินการใช้ชีวิตครอบครัว มีอยู่ 2 ลักษณะ

★1.ปฏิทินรายวัน คือการใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกันในแต่ละวัน

อันดับ แรก การจะทำปฏิทินรายวันจะต้องดูวัฏจักรชีวิตในรอบ 24 ชั่วโมงว่าครอบครัวจะทำอะไรร่วมกันได้บ้าง
ให้คนในครอบครัวร่วมกันคิดและวางแผนการทำกิจกรรม เช่น เข้านอนในเวลาไล่เลี่ยกัน ตื่นไล่เลี่ยกัน
เตรียมอาหารด้วยกัน ทำงานบ้านด้วยกัน ออกกำลังกายด้วยกัน เดินทางด้วยกัน สังสรรค์สนุกสนานร่วมกัน
แต่มีข้อแนะนำว่าต้องแบ่งเวลาให้แต่ละคนมีชีวิตส่วนตัวบ้าง
หรืออย่างน้อยควรใช้ชีวิตครอบครัวให้ได้ร่วมกันสักวันละสองชั่วโมง

ครอบครัวชาวจีนมักมีวัฒนธรรมกินอาหารร่วมกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนทุกข์สุขร่วมกันเป็นประจำ
เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์อันดีในครอบค รัว

การพูดคุย ปรึกษาหารือเป็นสิ่งสำคัญในการทำกิจวัตรประจำวันร่วมกัน
ระหว่างกินข้าวควรพูดคุยแลกเปลี่ยนสารทุกข์สุกดิบ เรื่องการบ้านการเมือง ละคร รายการโทรทัศน์
ไม่ใช่ต่างคนต่างกินแล้วต่างคนต่างดูทีวี
แต่ถ้าดูแล้วมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดกัน จะช่วยให้การสื่อสารในครอบครัวดีขึ้น


★2.ปฏิทินรายปี การใช้ชีวิตครอบครัวร่วมกันในวาระพิเศษ
จากที่ 1 ปีมี 48 สัปดาห์ ครอบครัวน่าจะลองกำหนดวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ ให้มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น
เล่นกีฬาออกกำลังกาย กิจกรรมสันทนาการ เช่น ไปเที่ยวสวน จตุจักร ชมภาพยนตร์ ดนตรี ไปชมวัดวาอาราม
ท่องเที่ยวไปดูพิพิธภัณฑ์ ไปห้องสมุด ทำกิจกรรมทางศาสนา ไปวัด โบสถ์ มัสยิด หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคม

วัน เสาร์-อาทิตย์ พ่อแม่หรือคนในบ้านอาจชักชวนลูกไปทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม เช่น ดูแลเด็กเล็กๆ ผู้พิการ
ผู้สูงอายุในการขึ้นลงรถโดยสารหรือข้ามถนน หรือไปเยี่ยมเยียนพูดคุยกับกลุ่มดังกล่าวในสถานสงเคราะห์
ดูแลเรื่องเก็บขยะ ปัดกวาดถนนหนทางในชุมชนให้สะอาด รณรงค์ให้ทิ้งขยะในถังหรือที่ที่จัดให้
เป็นการสร้างจิตสำนึกของสาธารณะ ให้ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ดังนั้น คนในครอบครัวทุกคนก็จะเห็นแก่ตัวน้อยลง หมกมุ่นกับตัวเองน้อยลง มีความทุกข์น้อยลง
เพราะไปช่วยเหลือคนอื่น คิดทำอะไรให้ผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ครอบครัวและสังคมต่อไป

การกำหนด กิจกรรมดังกล่าวอาจจะทำสัปดาห์ละหนึ่งวัน อีกวันหนึ่งพักผ่อนในบ้าน
หรือทำกิจกรรมในบ้านร่วมกัน เช่น ทำกับข้าว
หลังจากนั้นทุกคนอาจจะไปทำกิจกรรมส่วนตัวเป็นวันพักผ่อนสำหรับทุกคน

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ
การจัดกิจกรรมการกินการบันเทิงร่วมกันในวันหยุดพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ สงกรานต์ ตรุษจีน
วันสำคัญเหล่านี้จะเป็นโอกาสให้พ่อแม่ได้อธิบาย และบอกเล่าถึงประเพณีที่ดี ให้ลูกฟัง
หรือวันสำคัญอาจเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มทำสิ่งดีๆ หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้น มากระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว
ที่จะทำให้ทุกคนมีความสุข โดยเฉพาะวันสงกรานต์ ควรมีกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น
การรดน้ำดำหัว นอกจากผู้ใหญ่จะอวยชัยให้พรเด็ก ต่างฝ่ายอาจกล่าวถึงความประทับใจ
ความทรงจำที่ดีที่มีต่อกันในรอบปีที่ผ่านมา ก็จะเป็นการกระชับ ความสัมพันธ์ได้ดี

หรืออาจจัดกิจกรรม หลากหลายร่วมกันได้ เช่น ร่วมจัดงานฉลอง ร้องเพลงคาราโอเกะ การเล่นสนุกสนาน
เดินทางท่องเที่ยว กางเต็นท์ เดินป่าดูนกชมไม้ ถีบจักรยานเที่ยว ไปฟังเทศน์ฟังธรรมด้วยกัน

การ เริ่มต้นอาจลำบากในช่วงแรกสำหรับครอบครัวที่ห่างเหินกัน แต่ถ้ามีใครคนหนึ่งที่เห็นด้วยกับความคิดนี้
ลองนำความคิดนี้ไปพูดคุยกับสมาชิกครอบครัวว่า เราควรทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วยกันบ้างไหม
ถ้ากิจกรรมใดสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องก็ทำก่อน
ถ้าไม่ยอมรับก็พักไว้ก่อน ไม่ต้องเคร่งครัดกับการปฏิบัติตามแผนมากนัก

ปฏิทิน นี้เป็นเพียงแนวทางในการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัว อาจพลิกแพลงในรายละเอียดได้
สมมติว่าวางแผนจะทำ 10 อย่างก็อาจทำจริงๆ ได้เพียงหนึ่งหรือสองอย่างก็ได้
แต่อย่างน้อยให้มีเรื่องนี้ติดอยู่ในความคิด ในการทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ขอให้ค่อยเป็นค่อยไป
ไม่เช่นนั้นบางคนพอเห็นว่ายากแล้วอาจเลิกทำไปเลย

สนใจรายละเอียด โครงการเสริมสร้างคุณ ภาพชีวิตพนักงานและครอบครัว
ติดต่อมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร.0-2412-0738 0-2412-9834


ที่มา : //www.junjaowka.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ





 

Create Date : 04 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 4 มกราคม 2553 19:14:10 น.
Counter : 803 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.