Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. สังโยชน์เจ็ด

ภิกษุ ท.!
สัญโญชน์ (สิ่งผูกพัน) ๗ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
เจ็ดอย่าง อย่างไรเล่า ?

เจ็ดอย่าง คือ ..
.. อนุนยสัญโญชน์ (สังโยชน์คือกามราคะเป็นเหตุให้ติดตาม)๑
.. ปฏิฆสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความโกรธไม่ได้อย่างใจ) ๑
.. ทิฏฐิสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๑
.. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสังสัย) ๑
.. มานสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความสำคัญตน) ๑
.. ภวราคสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ) ๑
.. อวิชชาสัญโญชน์ (สังโยชน์คืออวิชชา) ๑.

ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล คือสัญโญชน์ ๗ อย่าง.

ภิกษุ ท.!
พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งสัญโญชน์ ๗ อย่าง. เจ็ดอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท.!
พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่ง ..
.. อนุนยสัญโญชน์ ๑
.. ปฏิฆสัญโญชน์ ๑
.. ทิฏฐิสัญโญชน์ ๑
.. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ๑
.. มานสัญโญชน์ ๑
.. ภวราคสัญโญชน์ ๑
.. อวิชชาสัญโญชน์ ๑.

ภิกษุ ท.!
พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งสัญโญชน์ ๗ อย่างเหล่านี้แล.

ภิกษุ ท.!
เมื่อใดแล,
.. อนุนยสัญโญชน์ก็ดี
.. ปฏิฆสัญโญชน์ก็ดี
.. ทิฏฐิสัญโญชน์ก็ดี
.. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ก็ดี
.. มานสัญโญชน์ก็ดี
.. ภาวราคสัญโญชน์ก็ดี
.. อวิชชาสัญโญชน์ก็ดี

เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว
มีรากเง่าอันตัดขาดแล้ว
ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า
ทำให้มีไม่ได้
ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป;

ภิกษุ ท.!
เมื่อนั้น, ภิกษุนี้เราเรียกว่า "ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสัญโญชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว" ดังนี้แล.
.
.
.
สตฺตก. อํ. ๒๓/๗-๘/๘-๙.


(เกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรดูหัวข้อว่า "ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัยโดย
เด็ดขาด" ที่หน้า ๔๓๑ แห่งหนังสือนี้ ประกอบด้วย).


Create Date : 25 กรกฎาคม 2557
Last Update : 25 กรกฎาคม 2557 5:30:36 น. 0 comments
Counter : 828 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.