....OUR FAMILY'S JOURNEY....

บ้านเชียง มรดกโลก 1 ใน 5 ของไทย










บ้านเชียง
BAN CHIANG WORLD HERITAGE





หลายปีมากที่เราไม่ได้มาเยี่ยมที่นี่ ครั้งล่าสุดน่าจะเป็นปีเฉลิมฉลองที่เราได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี 2535 ซึ่งมีการแสดง แสง สี เสียง สวยงามมาก

ครั้งนี้เมื่อมาถึงชุมชนบ้านเชียง เปลี่ยนแปลงไปมาก ถนนหนทางสะอาดสะอ้าน ร้านค้าจัดเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าใจว่าชุมชนแห่งนี้น่าจะยกฐานะเป็นเทศบาลแล้วนะ... อะไรหลายๆอย่างเลยดูแปลกตาไป ก็น่าอยู่หรอก เพราะนี่คือ แหล่งมรดกโลก 1 ใน 5 แห่งของไทย......



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดินเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ

ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ การเดินทาง ไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ พิพิธภัณฑ์ฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชม 30 บาทสำหรับคนไทย และ 150 บาทสำหรับชาวต่างชาติ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4220 8340-1











ถนนหน้าพิพิธภัณฑ์


















สินค้าสัญลักษณ์บ้านเชียง











อาคารแรกที่เข้าไปคืออาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์






เมื่อผ่านเข้าไปในอาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เราก็ต้องจ่ายค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ซึ่งบัตรนี้สามารถนำไปชมหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในได้ด้วย หลังจากได้บัตรเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีเด็กนักเรียนพาเราเข้าชมสถานที่ในพิพิธภัณฑ์

การที่ทางการให้เด็กนักเรียน นักศึกษาในท้องถิ่น มีส่วนร่วมเป็นไก๊ด์ พานักท่องเที่ยวเข้าชมผมว่า เป็นสิ่งที่ดีมากๆ อย่างน้อยเป็นการฝึกให้เขาเหล่านั้น รักและหวงแหนในสถานที่ที่น่าภูมิใจของพวกเขา และอีกอย่างเป็นประสพการณ์อันดีเยี่ยม สำหรับการเป็นมักคุเทศก์น้อยๆ











ทางเดินในอาคารพิพิธภัณฑ์






ห้องแสดงที่จัดไว้ทันสมัยมาก จัดเป็นสัดส่วนอย่างดีเยี่ยม ในส่วนแรกเป็นการแสดงที่ไปที่มาของชุมชนที่นั่น ซึ่งเรียกว่าไทยพวน ในส่วนนี้เรายังสามารถถ่ายภาพได้

พอผ่านส่วนนี้เข้าไปจะเป็นของเก่าที่ขุดขึ้นมาได้ โดยจัดไว้เป็นยุคๆ พร้อมคำอธิบาย ในส่วนนี้เป็นต้นไปเขาห้ามถ่ายภาพเด็จขาด นักท่องเที่ยวส่วนมากก็ให้ความร่วมือเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีบางคนใช้โทรศัพท์มือถือแอบถ่ายอยู่ จริงๆแล้วไม่ควรทำนะครับ.... เจ้าของบล๊อกเลยไม่มีภาพส่วนนี้มาให้ชม ส่วนภาพหม้อ ไห ที่เห็นน้องนักเรียนที่พาเราชมบอกว่า เป็นของที่ทำเทียมขึ้นมาครับ...









ซื้อบัตรเข้าชม 30 บาทสำหรับคนไทย และ 150 บาทสำหรับชาวต่างชาติ







รู้จักวัฒนธรรมบ้านเชียงหน่อยน่า.

ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียง มีชีวิตรวมกันเป็นสังคมหมู่บ้าน มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม ทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ มีความสามารถในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องมือเครื่องใช้โลหะด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ตลอดระยะเวลานับพันๆปีที่ผ่านมาของวัฒนธรรมบ้านเชียงได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมอย่างต่อเนื่องโดยตลอดสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมบ้านเชียง ได้แก่ภาชนะดินเผา และประเพณีการฝังศพ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่















สมัยต้นของบ้านเชียง (Early Period)

มีอายุราว 3600 – 1000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ 5600 – 3000 ปีมาแล้ว) ในช่วงสมัยต้นบ้านเชียงได้เริ่มเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรม ประชากรมีอาชีพหลักคือ การเพราะปลูกข้าวและการเลี้ยงสัตว์ ประเพณีการฝังศพคนในสมัยนี้มีอย่างน้อย 3 แบบ คือ วางศพในลักษณะนอนงอเข่า วางศพในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว และบรรจุศพในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ก่อน แล้วจึงนำไปฝัง การฝังศพแบบนี้ใช้กับการฝังศพเด็กเท่านั้น

ในการฝังศพคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ รุ่นแรกที่บ้านเชียงนั้น ส่วนใหญ่มีการบรรจุภาชนะดินเผาลงไปในหลุมศพ และมีการใช้เครื่องประดับร่างกายตกแต่งให้ผู้ตายด้วย ผู้คนในช่วงแรกๆของบ้านเชียงสมัยต้นนั้น คงจะยังไม่มีการใช้วัตถุที่ทำด้วยโลหะ เครื่องมือมีคมส่วนใหญ่คือขวานหินขัด เครื่องประดับร่างกายที่ใช้ก็ทำจากหินและเปลือกหอยทะเล แต่ต่อมาในช่วงระยะที่ 3 ของสมัยต้น คือราว 400 – 3500 ปีมาแล้วจึงเริ่มมีการใช้โลหะสำริดบ้าง โดยใช้ทำทั้งเครื่องประดับ เช่นแหวนและกำไล และใช้ทำเครื่องมือ เช่น หัวขวานและใบหอก เป็นต้น

ภาชนะดินเผาประเภทเด่นคือ ภาชนะดินเผาสีดำ – เทาเข้ม หรือฐานเตี้ยๆ









ห้องจัดแสดงวิถีชีวิตชาวไทยพวน (ยังถ่ายภาพได้)







สมัยกลางของบ้านเชียง (Middle Period)

มีอายุราว 1000 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ 3000 – 2300 ปีมาแล้ว) เริ่มมีการนำโลหะมาใช้ทำเครื่องมือใช้สอยและเครื่องประดับ โดยในช่วงแรกของสมัยกลางนี้ยังไม่มีการใช้เหล็ก มีแต่เพียงการใช้โลหะสำริดซึ่งเป็นการผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก จนต่อมาในช่วงกลางสมัยซึ่งอยู่ราว 2700 – 2500 ปีมาแล้ว จึงเริ่มมีการใช้เหล็กขึ้นที่บ้านเชียง ประเพณีการฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์สมัยกลางที่บ้านเชียง เป็นแบบวางศพในลักษณะนอนหงายหรือเหยียดยาว บางศพมีการนำภาชนะดินเผามากกว่า 1 ใบมาทุบให้แตกแล้วใช้เศษภาชนะดินเผาโรยคลุมทับบนศพ

ภาชนะดินเผาประเภทเด่นที่พบในหลุมฝังศพสมัยกลางของบ้านเชียง ได้แก่ ภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ ผิวนอกสีขาว ทำส่วนไหล่ของภาชนะหักเป็นมุม หรือโค้งมากจนเกือบเป็นมุม่อนข้างชัด สมัยนี้มีการตกแต่งที่บริเวณปากภาชนะด้วยการทาสีแดง










ศาลแบบบ้านไทยพวน







สมัยปลายของบ้านเชียง (Late Period)

มีอายุราว 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช - คริสต์ศักราชที่ 200 (ประมาณ 2300 – 1800 ปีมาแล้ว) ในช่วงนี้จัดเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ในระยะนี้มีการใช้เหล็กมาทำเครื่องมือ เครื่องใช้อย่างแพร่หลาย ส่วนสำริดนั้นยังคงนำมาใช้ทำเครื่องประดับ ซึ่งเครื่องประดับสำริดในยุคนี้จะมีรูปแบบและลักษณะที่ประณีตกว่าสมัยที่ผ่านมามาก ประเพณีการฝังศพของคนสมัยนี้เป็นแบบวางศพนอนหงายเหยียดยาวแล้ววางภาชนะดินเผาทับศพ

ภาชนะดินเผาประเภทเด่นที่พบในหลุมฝังศพสมัยปลายของบ้านเชียง ได้แก่ ภาชนะเขียนลายสีแดงบนพื้นสีนวล และต่อมาในปลายยุคได้มีการเขียนสีแดงลงบนพื้นสีแดง

ที่มา : เอกสารแผ่นพับ ประชาสัมพันธ์มรดกโลกบ้านเชียง

















ถ่ายเข้าไปในอาคาร












































ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์






เราออกจากพิพิธภัณฑ์ ขับไปประมาณ 300 เมตรก็ถึงวัดโพธิ์ศรีใน หลังจากจอดรถใต้ต้นโพธิ์แล้วเราก็ถือโอกาสไปไหว้พระด้วย หลังจากนั้นก็เข้าไปในอาคารหลุมขุดค้น ซึ่งปัจจุบันได้หยุดการขุดไปแล้ว แต่เก็ยรักษาไว้เพื่อการเรียนรู้ ซึ่งหลุมก็จะแสดงระดับความลึกต่างๆเอาไว้เพื่อบ่งบอกอายุของเครื่องใช้ในยุคต่างๆที่ขุดพบว่าอยู่ในความลึกระดับใด

ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ทันสมัยมาก มีของจริงที่จัดวางไว้ให้ชมภายในตู้กระจกอย่างดีพร้อมคำอธิบายให้อ่าน ห้องแสดงปรับอากาสเย็นสบาย ซึ่งเจ้าของบล๊อกเห็นว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และพิพิธภัณฑ์สิรินธร (ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) น่าจะดีที่สุดของภาคอีสานหรือของไทยด้วยครับ ท่านน่าจะหาเวลาไปชมเองซักครั้ง.










หลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน




























ของที่ระลึกที่ร้านในบริเวณวัด







เราแวะซื้อของที่ร้านตรงนี้ ซึ่งก็เป็นสัญลักษณ์ของบ้านเชียง เพื่อเอาไปฝากเพื่อนๆ ซึ่งราคาของก็ไม่แพง แถมยังมีการจำลองหม้อ ไหในยุคต่างๆให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อหาเอาไว้เป็นที่ระลึกด้วย

ที่นั่งพักในภาพล่างเห็นว่าสวยดี เลยเก็บภาพมาฝาก.










เหนื่อยนัก นั่งพักตรงนี้





ขอบคุณที่ตามอ่านครับ.




ปล. เนื่องจากบล๊อกนี้ได้หายไปตอนย้ายกรู๊ปบล๊อก จึงได้ re-entry ใหม่ทั้งหมดแต่ยังคงเนื้อหาไว้เช่นเดิม ก่อนที่บล๊อกจะหายมีผู้เข้ามาอ่าน 5000 กว่าคลิ๊ก.




____________ END__________





 

Create Date : 25 มกราคม 2554
7 comments
Last Update : 28 กรกฎาคม 2556 22:22:29 น.
Counter : 8958 Pageviews.

 


สวัสดียามเย็นค่ะ คุณ wicsir

เคยแวะไปที่นี่เหมือนกัน เมื่อสักสี่ซ้าห้าปีที่แล้ว

ยังดูเงียบสงบเหมือนเดิม ไม่ค่อยเปลี่ยนไปเท่าไหร่เลยนะคะ



โดย: nLatte วันที่: 27 มิถุนายน 2552 เวลา:20:03:47 น.




คห.ที่3


อยากไปบ้านเชียงมากค่ะ แต่ยังหาโอกาสไม่ได้เรย

ถ่ายภาพได้สวยและชัดมากค่ะ

ฝันดีนะคร้า



โดย: จันทร์ (โฮมสเตย์ริมน้ำ ) วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:0:22:28 น.




คห.ที่4








โดย: veerar วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:1:04:08 น.




คห.ที่5


รูปสวยมาก ๆ ค่ะ..
บ้านเชียงยังไม่เคยไปเหมือนกัน
ถ้ามีโอกาสจะต้องไปเที่ยวแน่นอนค่ะ..
..ฟ้าสวยแจ่ม ทุกรูปเลยจ๊ะ..
..




เพลงบรรเลงเชียงรายรำลึก ก็เพราะ..ฟังแล้วคิดถึงเชียงรายเจ้า..



โดย: Prettymaew วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:1:06:03 น.




คห.ที่6


สวัสดีค่ะพี่ ดีใจที่ได้รู้จักคนจบสถาบันเดียวกัน อิอิ พี่จบขอนแก่นใช่ป่ะค่ะ อ้อพึ่งรับปริญญาเมื่อปีที่แล้วนี่เองค่ะ

ไปบ้านเชียงตอนปี 2007 ค่ะ พาเพื่อนต่างชาติไป เค้าชอบมากเลยนะคะ อ้อก็ชอบด้วย ได้รู้พื้นหลังบรรพบุรุษของเรา ภูมิใจในความเป็นไทยค่ะ




โดย: thainurse@norway วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:3:26:35 น.




คห.ที่7


เปลี่ยนไปจริงๆคะ เคยไปนานมากแล้ว แต่ดีใจที่บ้านเชียงได้เป็นมรดกโลก เรามีของดีๆที่น่าภูมิใจ

ขอบคุณค่ะ ที่แวะไปเยี่ยมที่บล๊อกและแนะนำมาเที่ยวบ้านเชียงด้วย
ทริปหน้าอย่าลืมไปชวนอีกนะค่ะ




โดย: kidthung maanoy IP: 86.88.142.66 วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:6:10:17 น.




คห.ที่8


น่าเที่ยวจังเลยค่ะ ดูสงบแล้วก็น่าศึกษาดี

ไม่เคยไปอุดรเลยสักครั้ง แต่จริงๆ สุก็ว่าภาคอีสานมีที่เที่ยวทางประวัติศาสตร์เยอะแยะมากมายเลยนะคะ



โดย: นู๋สุ วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:9:30:09 น.




คห.ที่9


หวัดดีครับ คุณยุ้ย..... ครับ เงียบ สงบ แต่น่าไปศึกษานะผมว่า

หวัดดีครับ คุณจันทร์....... ขอบคุณที่ชม ไม่ไกล้ ไม่ไกล ลองหาเวลาซักครั้งนะครับ.

หวัดดีครับ คุณ veerar...... ภาพสวย นะครับ

หวัดดีครับคุณ Prettymaew..... เพลงนี้เขาบรรเลงเพราะมาก ยืมจากเชียงรายมาใส่ที่อุดร คงไม่ว่ากันนะครับ

หวัดดีครับ Thainurse@norway ........ ตามนั้นครับ ตามที่แนะนำตัวไว้ ขอบคุณที่ช่วยแนะนำเมืองไทย

หวัดดีครับ คุณ kidthung maanoy ......แน่นนอนครับ จะตามไปดูภาพมอลต้าด้วย.

หวัดดีครับนู๋สุ........ ไม่ไกลเท่าไหร่ น่าไปนะครับ

ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยม มาอ่าน มาเม้นท์
มีความสุขมากๆครับ





โดย: wicsir วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:12:50:39 น.




คห.ที่10


สวัสดีค่ะคุณ wicsir
เมื่อวานไปตีกอล์ฟค่ะที่ (รุคก์) โคราชคันทรีคลับ เจอฝนอยู่ ชั่วโมงกว่าเล่นได้แค่ 11 หลุม แต่ก็มีคนบ้าเนาะ ฝนตดจั๊ก ๆ ก็ยังตีกอล์ฟอยู้ได้

ยังไม่เคยไปค่ะ อย่างที่บอกว่าทางสายนี้ยังไม่เคยผ่านเลยค่ะ จดไว้ก่อน

รูปถ่ายสวยมากค่ะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:14:10:16 น.




คห.ที่11


ชอบกะเพรา ไม่ไก่สับ ก็เนื้อสับ ไข่ดาวเหมือนกันค่ะ
ร้านอาหารสิ้นคิดก็มีนะคะ หมูกะทะไงคะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:22:19:38 น.




คห.ที่12


ขอบคุณคุณตุ๊ก ที่แวะมาเยี่ยม
พร้อมคำชม



โดย: wicsir วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:22:36:33 น.




คห.ที่13


รูปถ่ายสีสันสวยงามมากเลยค่ะ

น่าไปเที่ยวจัง
อิจฉาคุณ wicsir จัง มีเวลาเที่ยวเยอะจัง



โดย: น้ำค้างเดือนหก วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:1:08:11 น.




คห.ที่14


แวะมาฟังเพลงเชียงรายรำลึกเจ้า..
เอาเชอรี่สีแดง ๆ มาฝากด้วยจ๊ะ..
..







โดย: Prettymaew วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:2:48:03 น.




คห.ที่15





วันนี้วันจันทร์
วันแรกของสัปดาห์
เริ่มวันใหม่ด้วยความสดใสนะค่ะ



โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:6:42:13 น.




คห.ที่16



สวัสดีค่ะคุณwicsir
ก่อนอื่นต้องบอกว่า รูปสวยมากๆ ค่ะ
ถ้าได้ไปเดินที่นั่นคงอยู่หลายชั่วโมงเลย
ทั้งของเก่าใหม่น่าสนใจมากๆค่ะ
สบายดีนะคะวันนี้






โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:14:57:09 น.




คห.ที่17


สวัสดีค่ะ
ไก่ก็ทานส่วนอกได้ใช่ไหมคะ
ตุ๊กค่ะ



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 29 มิถุนายน 2552 เวลา:20:37:51 น.




คห.ที่18


สวัสดีค่ะคุณwicsir สบายดีนะคะ
พีเอส ถ้ามาช้าต้องขอโทษด้วยค่ะพอดีวุ่นๆ
เรื่องบลอคค่ะเพราะบลอคเพิ่งหายไป20กว่าบลอคค่ะ






โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:14:08:03 น.




คห.ที่19


หวัดดีครับ....
น้ำค้างเดือนหก
Prettymaew
ดอกฝิ่นในสายลมหนาว
คุณวา
คุณตุ๊ก......

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมครับ



โดย: wicsir วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:16:34:56 น.




คห.ที่20


เข้ามาเยี่ยมสองรอบต่อวันให้คุณwicsir เบื่อกันไปข้างหนึ่งค่ะ







โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:20:52:43 น.




คห.ที่21


สวัสดีค่ะ
ขอบคุณค่ะ ที่มาชมปลาเผาที่บ้าน จำเขามา
ร้าน บ้านริมคลอง ที่ว่านะคะ เขาทุบหัวปลาช่อนแล้วเผาทันทีที่เราสั่งเลยค่ะ เห็นเลือดปลาแถว ๆ ครัวก็เลยยอมแพ้ แต่อร่อยนะคะ
เจ้าของเล่นคนตรีวงโคราชา น้องผู้หญิงเห็นว่าเป็นน้องสาวพงษ์เทพค่ะ แต่ไม่ยืนยันนะคะ ไม่เคยถามน้องแตนซักที



โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:21:14:48 น.




คห.ที่22


ฝันดีนะคะคุณwicsir






โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:35:54 น.




คห.ที่23


ขอบคุณที่แวะไปทักทายค่ะพี่ สงสัยคงจะหลับไปแล้ว อิอิ

ห้างที่กำลังสร้างตรงสี่แยกประตูเมืองขอนแก่นสร้างเสร็จยังคะพี่ (แต่ไม่รู้ว่าพี่อยู่ที่นั่นหรือเปล่าน่ะค่ะ 555) คิดถึงส้มตำขอนแก่น แซ่บบบบบหลายยยยย



โดย: thainurse@norway วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:4:52:00 น.




คห.ที่24



ขอแปะ link ท่องเที่ยวของเราไว้หน่อยนะคับ

เทศกาลปีใหม่โล้ชิงช้า ปีใหม่ของชนเผ่าอาข่า ทัวร์3วัน2คืน เริ่ม 2,3,4,กันยายน52

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=khundoi&group=3


//www.hilltribeguide.com/autopage/show_page.php?h=1&s_id=3&d_id=4





โดย: ไกด์ดอย (guide doi ) วันที่: 1 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:08:05 น.



 

โดย: wicsir 25 มกราคม 2554 22:05:35 น.  

 

เปลี่ยนเพลงประกอบใหม่เป็น
บรรเลง The way we were.

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ

 

โดย: wicsir 25 มกราคม 2554 22:09:05 น.  

 

ตามไปเที่ยวบ้านเชียงด้วยคนนะคะ รูปสวยและได้ความรู้ติดตัวไปด้วยอีกค่ะ ผลิตภัณฑ์บ้านเชียงมีเอกลักษณ์ที่สวย และโดดเด่นมากๆ เลยนะคะ

 

โดย: วิสกี้โซดา 26 มกราคม 2554 0:03:38 น.  

 

ใช่เลยครับ สถานที่ที่เป็นโบราณวัตถุแบบนี้ ก็น่าไปเที่ยวเหมือนกันนะครับ

ได้ความรู้ อีกต่างหาก

 

โดย: นายหัวเด่น 26 มกราคม 2554 9:37:00 น.  

 

แวะมาเที่ยว บ้านเชียง พร้อมกับฟังเพลง เพราะๆ ครับ

 

โดย: Kavanich96 26 มกราคม 2554 10:47:03 น.  

 

ดีค่า.. คุณwic
เอื้อเคยหายทีหนึ่ง ค่ะตอนย้ายกรุ้ปบล็อก เลยทิ้งไปเลย กู้ไม่เป็น ตอนนี้ทำอะไรต้องระวังมาก..
ได้มาเที่ยวได้มารู้จักบ้านเชียงมากขึ้น หลังจาก เคยเรียน แต่ในตำราเนาะ ..ไม่เคยไปสักที ..ฝีมือการทำสวยดีเป็นเอกลักษ์ เลยค่ะ..
มาทักทาย เย็น ๆ เลิกงานแล้วนะ..เดินทางดี ๆ นะคะ

 

โดย: tifun 26 มกราคม 2554 17:17:49 น.  

 

Eแพรว มุจรินทร์ ฆะระบุตร(Mudjarin Kharabut)เลขบัตรประชาชน 1412000062681 เกิด 13 ตุลาคม 2536ที่อยู่ 55หมู่8 ต.สร้างคอม อ.สร้างคอม จ.อุดรธานี บิดาชื่อนายเมรี ฆะระบุตร พีน้องอีก 2คนของEดอกทองมุจรินทร์ชื่อ นายนัฐกรณ์ ฆะระบุตร และนายกฤษดา ฆะระบุตร ผู้หญิงคนนี้ทำลายครอบครัวคนอื่น เป็นเมียเก็บผู้ชายที่เขามีลูกมีเมียแล้วอยู่ 2ปี (ระหว่าง 2557-2558) ทั้งๆที่ยังเรียนไม่จบ และรู้มาตลอดว่าผู้ชายมีครอบครัวแล้ว ทำให้ผู้หญิงด้วยกันต้องตกนรกทั้งเป็น ต้องอยู่กับความทรงจำอันเลวร้ายไปชั่วชีวิต ขอให้เอาเงินที่ผู้ชายไปเลี้ยงดูมาคืนก็หน้าด้านหนีไปเฉยๆ ขอให้ผลกรรมที่มันได้ทำไว้กับครอบครัวคนอื่นจงตกถึงครอบครัวของมันบ้าง ขอให้ตราบาปจงติดอยู่ในใจมันไปชั่วชีวิต พ่อแม่มันที่ไม่รู้จักสั่งสอนเลือดเนื้อให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ปล่อยให้ไปทำร้ายคนอื่น จงได้รับกรรมที่ลูกสาวตัวเองได้ก่อไว้ด้วยเถิด ขอให้แรงอธิษฐานในครั้งนี้จงส่งไปยังครอบครัวฆะระบุตรด้วยเถิด
#Mudjarin #Kharabut #Mudjarinkharabut #มุจรินทร์ #ฆะระบุตร #มุจรินทร์ฆะระบุตร #เมรีฆะระบุตร #นัฐกรณ์ฆะระบุตร #กฤษดาฆะระบุตร #Eเมียน้อย #Eเมียเก็บ #Eเมียเช่า #Eนางบำเรอ #เป็นชู้กับผัวคนอื่น #Eนักศึกษาใจแตก #ไร้ยางอาย #Eหน้าด้าน #Eเดรัจฉาน #Eเปรตขอส่วนบุญ #Eสัมภเวสี #ทำลายคู่เขา #ทำลายครอบครัวเขา #บาปกรรมมีจริง #ผิดศีลธรรม #ตกนรกทั้งเป็น #มีตราบาปชั่วชีวิต

 

โดย: ขอให้ต้องคกอยู่ในภาวะที่ทำใจได้ยาก มีแผลเป็นจากความเจ็บปวดรวดร้าวชั่วชีวิตบ้าง มุจรินทร์ ฆะระบุตร IP: 27.55.228.231 10 สิงหาคม 2559 3:54:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wicsir
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]











...... ชอบเดินทาง ชอบท่องเที่ยว และชอบถ่ายภาพ แม้ฝีมือจะไม่ให้ แต่ใจก็รัก เพราะได้ทำแล้วมีความสุข แถมยังมี bloggang ได้ให้โอกาสนำสิ่งเหล่านั้นมาแสดงด้วย ยิ่งทำให้หัวใจพองโต .......


อยากจะบอกว่า

@ ดีใจที่ได้แบ่งปันความสุขเล็กๆน้อยๆ กับเพื่อนๆในบล็อกแก๊ง ตลอดจนคุณๆที่ผ่านเข้ามาอ่าน.... แม้ภาพถ่ายจะไม่สวยนัก แต่กว่าจะได้มาก็แสนยากลำบาก จึงขอสงวนสิทธิไว้เป็นการส่วนตัว

@ ภาพทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของบล๊อก ถ้ามีความประสงค์จะใช้ภาพเพื่อการใด กรุณาติดต่อเจ้าของบล็อกด้วย เพราะจะได้พิจารณาเป็นเรื่องๆไปครับ.

@ ขอบคุณเพื่อนๆสมาชิกที่คอยให้กำลังใจกันเสมอมา และขอบคุณทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่าน หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าท่านคงแวะเข้ามาอีก...


ด้วยจริงใจ
นาย wicsir.




Rec. 11.06.08
New Comments
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add wicsir's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.