“ในฐานะนักทำหนังคนหนึ่ง ผมปฏิบัติกับหนังของผมประดุจลูกชายและลูกสาว เมื่อผมให้กำเนิดเขา พวกเขาก็มีชีวิตเป็นของตนเอง ผมไม่ใส่ใจว่าผู้คนจะรักหรือเกลียดลูกของผม ตราบใดที่ผมสร้างเขาขึ้นมาด้วยความตั้งใจและความพยายามอย่างสูงสุด ถ้าลูกๆ ของผมไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศของเขาเองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ก็ปล่อยเขาเป็นอิสระเถิด เพราะมันยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ต้อนรับเขาอย่างอบอุ่นในแบบอย่างที่เขาเป็น มันไม่มีเหตุผลเลยที่ต้องทำให้พวกเขาพิกลพิการจากระบบแห่งความกลัวหรือความละโมบ มิฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่คนสักคนหนึ่งจะสร้างงานศิลปะต่อไป”
-- อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
(คำปรารภหลังจาก "แสงศตวรรษ" ผลงานภาพยนตร์จากผู้กำกับคนไทย พูดภาษาไทย ใช้ดาราคนไทย ถูกกองเซนเซ่อประเทศไทยบังคับให้ตัดฉากสำคัญ 4 ฉากออกหากต้องการฉายในโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย)




“ผมคิดว่าพระกลุ่มนี้โดนจี้จุดจึงร้อนตัวเกินไป หรือเป็นพวกอยากดัง จึงต้องทำตัวเป็นข่าว อยากถามว่าทำไมไม่ไปเรียกร้องหรือแก้ปัญหาพระที่ออกมาแก้ผ้า มั่วสีกา หรือใช้มีดกรีดร่างกาย หลอกลวงประชาชน ทั้งนี้หากจะฟ้องก็ยินดีให้ฟ้องได้ทุกศาล หรือว่าจะไปฟ้องจตุคาม ศาลเจ้าแม่กวนอิม พระอินทร์ พระอิศวร ก็เชิญ ผมไม่สนใจ แต่เห็นว่าพระกลุ่มนี้ไม่เหมาะสมในสมณะ และเป็นพระหน้าเดิมที่ออกมาเดินขบวนเรียกร้องการบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”
-- ถวัลย์ ดัชนี
(คำตอบโต้ภายหลังกลุ่มพระสงฆ์ที่ชุมนุมประท้วง ขู่ฟ้องคดีอาญาต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร นายอนุพงษ์ผู้วาดภาพภิกษุสันดานกาและหมานุษย์ และคณะกรรมการที่ตัดสินรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ในข้อหาหมิ่นศาสนา)
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
รวม Review ภาพยนตร์ที่ได้ดูในเดือนกุมภาพันธ์ 2550

หนังยาว

(เนื่องจากหนังเยอะเกิน จะเขียนสั้นๆ มึนๆ นะจ๊ะ)




Curse of the Golden Flower
(ฮ่องกง+จีน, Zhang Yimou, 2006)


หลังจากที่ Crouching Tiger, Hidden Dragon เข้าไปชิงออสการ์เป็นสิบๆตัวในปีที่ Gladiator ได้หนังยอดเยี่ยม ก็เหมือนกับว่าผู้กำกับมือดีดีของจีนก็เบนเข็มจากหนังชีวิตดราม่าประเภทมีคนเดินอยู่ในฉากแค่สองคน มาทำหนังฟอร์มใหญ่ยักษ์ ซัดกำลังภายในกันเกือบทุกคน ซึ่งคนที่มีชีวิตรอดออกมาแบบไม่เสียผู้เสียคนเหมือนผู้กำกับคนอื่นๆ(โดยเฉพาะ เฉินไข่เก๋อ) ก็คือ จางอี้โหมว

ถัดจาก Hero และ House of Flying Daggers ที่ก็ได้คำชมมามากมายพอสมควร คราวนี้ก็มาถึงคราว "วังดอกทอง" ที่ทุ่มทุนสร้างมากมายมหาศาล...

พูดกันตรงๆ เว้ากันซื่อๆ ตอนเพิ่งดูจบก็ไม่ได้ถูกใจอะไรกับเรื่องนี้เท่าไหร่..
คงเพราะบทตอนท้ายมันหักมุมแบบ... ไม่รู้สิ
มันน่าจะหักมุมแล้วตะลึงใช่มะ..

นี่เจ้าของบล๊อกโดนหนังหักมุมแล้วนั่งขำ
ขำประมาณว่า เฮ่อออออ... เฮียจางคิดอะไรอยู่??

หนังมันไม่แย่อะไรมากมายขนาดนั้นหรอก.. แต่เคยดู Crouching Tigerฯ กับ Hero มาแล้ว มันเลยรู้สึกว่าเรื่องนี้มันยังไม่ค่อยถึงใจเท่าไหร่ แม้ว่าจะมีประเด็นดีดีอย่างสถาบันครอบครัวที่เละเทะ แม้ว่าจะเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินก็ตามที (แถมดาราคนอื่นๆก็โดนโจวเหวินฟะ กับ ก่งลี่ บดบังรัศมีจนแทบไม่ได้ผุดได้เกิด)

ฉากแอ็คชั่นเรื่องนี้ชวนให้คิดถึง The Banquet มากๆ..
โดยเฉพาะฉากที่มีนินจาดำบุกบ้านขุนนาง ชวนให้นึกถึงฉากฆ่าล้างโรงละครใน The Banquet
และเรื่องนั้นทำออกมา "สวยกว่าเยอะ"

เนื้อเรื่องจริงๆก็ถือว่าโอเคนะ (ถ้าไม่นับไอ้ตอนหักมุมตอนสุดท้ายนั่น) เพราะบรรยากาศมันอึมครึมอยู่ตลอดเวลาทั้งเรื่อง เพราะความสัมพันธ์ที่มันไม่ไว้ใจกันทั้งกี่ฝ่ายก็ช่าง ทั้งๆที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

ฮองเฮา คิดฆ่า ฮ่องเต้
ฮ่องเต้ คิดฆ่า ฮองเฮา
ฮองเฮา มีสัมพันธ์สวาทกับ ลูกติดของฮ่องเต้
ฯลฯ

เป็นอันว่ากาลกิณีทั้งหลายทั้งปวงบังเกิดขึ้นในครอบครัวฮ่องเต้นี้...

นักวิจารณ์หลายๆคนเขียนไว้ว่า จางอี้โหมวเนรมิตภาพวังให้ออกมาทองๆ อร่ามๆ อลังๆ เพื่อให้มันขัดกับภาพความดำมืดสกปรกโสมมของคนในครอบครัวโรยัลราชวงศ์ถัง (ซึ่งเมคขึ้นมา) นี้ ด้วยต้องการจะสื่อว่าต่อให้ภาพภายนอกสวยงามอร่ามจิตอลังการล้ำเลิศแค่ไหน แต่ถ้าภายในมันเน่าแล้ว ก็ยากที่จะกันไม่ให้มันเน่าทะลุออกมาข้างนอกได้

เมื่อครอบครัวเน่าเสียแล้ว จะเหลืออะไร?




Dreamgirls
(สหรัฐอเมริกา, Bill Condon, 2006)


Dreamgirls เป็นหนังที่พูดกับคนดูในหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ของเพื่อน ศิลปะ และจรรยาบรรณของธุรกิจในโลกทุนนิยม รวมไปถึงเรื่องการเหยียดผิวก่อนถึงคำประกาศอิสรภาพของ Martin Luther King, Jr.

หนังเล่าเรื่องในสมัยที่คนผิวดำยังเป็นชนชายขอบในอเมริกา ถูกเอารัดเอาเปรียบต่างๆนานา ถึงขั้นที่คนขาวไม่ฟังเพลงคนดำ และเพลงที่ทำโดยคนดำก็เผยแพร่ได้เฉพาะในสถานีวิทยุของคนดำเท่านั้น

The Dreamettes คือชื่อของวงดนตรีสามสาว (ที่ชวนให้นึกถึง Destiny's Child มั่กๆ เพราะผิวหมึกทั้งสามคน แถมยังมีบียอนเซ่อีก 555+) ที่พยายามเข้าวงการมาตั้งแต่อายุสิบสอง จนกระทั่งได้มาพบกับเคอร์ติส ที่รับเป็นผู้จัดการให้วงนี้ และให้ประเดิมงานด้วยการเป็นนักร้องคอรัสให้ James 'Thunder' Early (บทนี้ทำให้ Eddie Murphy เข้าชิงออสการ์ครั้งแรก)

เมื่อเวลาผันผ่านไป การเหยียดผิวกลายเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง วิถีทางศิลปินเริ่มสดใสขึ้น จากการที่ทำงานเพลงฮิตติดชาร์ตจนโดนคนขาวก๊อป จนคราวนี้พวกเขาจะได้โด่งดังด้วยตัวเองเสียที

สามสาวแยกตัวออกมาเป็นศิลปินในนามของตัวเอง
แต่ด้วยภาพลักษณ์ทางการตลาด Effie White นักร้องร่างอ้วนเจ้าของเสียงทรงพลังสิบแปดหลอด กลับถูกดันให้ไปเป็นแค่นักร้องแบ็คอัพ เพราะว่า "หน้าตาไม่โดนใจตลาด" และเคอร์ติสก็เปิดทางให้กับ Deena Jones ที่หน้าตาดีกว่าขึ้นมาเป็นนักร้องนำแทน

จุดนี้กลายเป็นชนวนแตกหักของเพื่อนที่คบกันมานาน...เมื่อเคอร์ติสเบนความสนใจจากเอฟฟี่ไปหาดีน่า และเริ่มแสดงออกอย่างลอยหน้าลอยตา จนทำให้เอฟฟี่ทนไม่ได้และสติแตก จนสุดท้ายทุกคนลงมติไล่เธอออกจากวง

หนังมีประเด็นให้เล่นเยอะ แต่ว่าส่วนใหญ่เล่นแบบผ่านๆ ทั้งเรื่องการเหยียดผิว การลอกงานเพลง จรรยาบรรณธุรกิจในโลกทุนนิยม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังสรรค์สร้างให้เกิดพล็อตที่สนุกมากกว่านี้ได้

แต่ว่าหนังหันไปเน้นเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครมากกว่าประเด็นอื่น ถึงแม้จะทำได้ดีก็ตาม แต่ก็ทำให้หนังขาดอะไรไป และไม่คู่ควรกับการเป็นหนึ่งในห้าเรื่องสุดท้ายของออสการ์ในท้ายที่สุด

ตัวละครที่เห็นความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดตัวหนึ่งก็คือ Curtis ที่เปลี่ยนจากผู้เปี่ยมอุดมการณ์ ต้องการยกระดับดนตรีของคนผิวดำให้ติดตลาดคนขาว ซึ่งทำให้ศิลปินต้องสูญเสียความเป็นตัวเองไป

ความเป็นนักธุรกิจของเคอร์ติส ทำให้ทุกอย่างที่ทำเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ และคิดถึงแต่ตัวเอง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของดีน่า โจนส์
เขาแต่งงานกับเธอ ก็เพราะว่าเธอกำลังเป็นดิว่าที่โด่งดัง การแต่งงานกับศิลปินที่กำลังฮ็อต ย่อมฉุดภาพลักษณ์ทั้งของตัวเองและองค์กรให้ดูดีขึ้นอย่างประเมินค่าไม่ได้

งานเพลงที่ออกมา เขาทั้งดัด เปลี่ยน ตัด แต่ง พลิกแพลงทุกอย่าง จนงานทุกชิ้นออกมาเป็นงานของตลาด แต่ไม่ใช่งานของศิลปิน

เขาพยายามดันดีน่า โจนส์ ให้เป็นคลีโอพัตรา ทั้งที่ในใจของเธอรู้ดีว่าเธอไม่เหมาะกับการเป็นจักรพรรดินี...
ตรงนี้คือนัยยะที่สื่อออกมาได้ค่อนข้างตรงตัวและชัดเจน ว่าดีน่าไม่ได้ต้องการเป็นคนสูงส่งอย่างคลีโอพัตราที่เคอร์ติสยัดเยียดให้เป็น หากแต่ต้องการเป็นแค่คนธรรมดาที่มีอะไรผิดอะไรพลาดไปบ้างตามวิสัยสามัญชน (เหมือนกับบทที่เธอกำลังจะรับเล่นในเรื่อง)

แต่ถึงแม้ว่าบทจะหวิ่นแหว่ง(และน้ำเน่า)ไปบ้าง Dreamgirls ก็ยังเป็นหนังที่ให้ความบันเทิงได้เต็มร้อยอีกเรื่องหนึ่ง เอาง่ายๆว่าแค่เข้าไปฟังเพลง บวกกับดูการแสดงที่ "เข้มครบเซ็ต" ทั้ง Jamie Foxx, Beyonce Knowles, Eddie Murphy และ Jennifer Hudson ก็คุ้มค่าตั๋วที่จะเข้าไปดูในโรงมากกว่าหนึ่งรอบแล้ว

ปล. อัลบั้ม OST เพราะจริงๆนะเออ




Babel
(ฝรั่งเศส+สหรัฐอเมริกา+เม็กซิโก, Alejandro Gonzalez Inarritu, 2006)


Babel คือชื่อของหอคอยในคัมภีร์ไบเบิล (ซึ่งถ้ามีจริง ป่านนี้คงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกไปแล้ว)
ที่มาของมันมาจากมนุษย์พยายามสร้างหอคอยนี้เพื่อขึ้นไปถึงสวรรค์อันเป็นที่สถิตของพระเจ้า (ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ภาษาเดียวทั้งโลก) ทำให้พระเจ้าผู้ซึ่งไม่ต้องการให้ใครตีเสมอตัวเอง ลงมือสาปส่งให้ไอ้มนุษย์ผู้เหิมเกริม (หึหึ) เกิดความแตกต่างทั้งด้านภาษา ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม จนทำให้คุยกันไม่รู้เรื่องและเกิดความแตกแยก จนหอคอยนี้ได้แค่ตั้งสูง แต่สูงไม่พอเท่าที่ต้องการ

สัญลักษณ์นี้จะเห็นได้จากตัวอักษร Babel ที่เรียงเป็นแนวตั้งในใบปิด พร้อมกับอาการโงนเงนจะพังมิพังแหล่...
น่าจะบอกเราได้ว่า ไอ้ความไม่เข้าใจกันทางภาษา ศาสนา วัฒนธรรม หรืออะไรต่อมิอะไรทั้งหลายทั้งปวง นอกจากจะทำให้ไอ้หอคอยนี้สร้างไม่เสร็จแล้ว ตอนนี้ก็กำลังจะถล่มลงมาด้วยน้ำมือมนุษย์อยู่รอมร่อ

ในความคิดของเจ้าของบล๊อก
หอคอยที่ว่านั่นน่าจะเปรียบเหมือน "โลก" ที่เราเหยียบอยู่ใบนี้
เพราะสภาพตอนนี้ โลกใบนี้เต็มไปด้วยความขัดแย้งของผู้คนต่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรมเต็มไปหมด...
แถมความแตกต่างไร้สาระพวกนี้นี่แหละ ที่กำลังจะทำลายโลก

หนังแยกพาร์ตการเล่าเรื่องเป็นสามส่วน คือ โมร็อคโค เม็กซิโก และญี่ปุ่น

โมร็อคโค - สามีภรรยา (Brad Pitt + Cate Blanchett) มาเที่ยวดินแดนแอฟริกาห่างไกลพร้อมกับความระหองระแหงในจิตใจ ส่วนอีกฟากหนึ่งของเมือง เด็กเลี้ยงแกะชาวพื้นเมืองกำลังเห่อปืนใหม่ และได้ลองเอามายิงนู่นยิงนี่เล่น จนท้ายที่สุดเจ้าคนน้องได้ลองเล็งมาที่รถทัวร์ที่ผัวเมียอเมริกันคู่นี้นั่งอยู่

เม็กซิโก - พี่เลี้ยงชาวเม็กซิกันตัดสินใจพาเด็กๆ ลูกของเจ้านายเธอข้ามพรมแดนไปร่วมงานแต่งงานของลูกชายที่บ้านเกิดเพราะเจ้านายหาคนมาดูแลแทนไม่ได้ทั้งๆที่เธอขออนุญาตไว้ก่อนแล้ว และทุกอย่างท่าทางจะเป็นไปได้ด้วยดี

ญี่ปุ่น - ชิเอโกะคือนักเรียนสาวเป็นใบ้หูหนวกที่กำลังทำตัวเสเพล เพราะค่านิยมของคนญี่ปุ่นที่มองคนพิการเป็นชนชายขอบ อีกทั้งแม่ที่เป็นเหมือนแก้วตาดวงใจยังมาตายจากไปอย่างมีเงื่อนงำ

Babel เล่าเรื่องในสไตล์ที่แทบไม่ต่างจาก Crash ที่ได้ออสการ์ไปปีที่แล้ว ด้วยตัวละครมากมายมหาศาล สถานที่มากมายหลายแห่ง แต่ทุกอย่างต้องมาเชื่อมโยงกันในท้ายที่สุด แถม Babel ยังอหังการ์เล่าเรื่องข้ามโลก ซึ่งสเกลใหญ่กว่า Crash อันเล่าเฉพาะเหตุการณ์ในแอลเอ

ว่ากันตามภาพรวมแล้ว ชอบ Crash มากกว่า Babel นิดหน่อย... พูดแบบนามธรรมก็คือ มันกลมกล่อมกว่า

Crash เน้นเรื่องสีผิวที่ต่างกัน
ในขณะที่ Babel เน้นเรื่องภาษาและวัฒนธรรม

ในญี่ปุ่น... ชิเอโกะเจอเรื่องความแตกต่างทางภาษา ระหว่างภาษาพูด กับภาษาใบ้
ในเม็กซิโก... สิ่งที่ปรากฏคือ ภาพลักษณ์เม็กซิกันในสายตาชาวอเมริกัน
ในโมร็อคโค... สิ่งที่ปรากฏคือ ภาพลักษณ์มุสลิมในสายตาชาวอเมริกัน

จะเห็นได้ว่า พล็อตส่วนของญี่ปุ่นค่อนข้างแปลกแยกจากส่วนอื่น(นี่ยังไม่นับที่เนื้อเรื่องเชื่อมโยงถึงพาร์ตญี่ปุ่นน้อยมากด้วย) การเล่าเรื่องก็ไม่กระชับฉับไวเร้าอารมณ์เหมือนกับอีกสองพาร์ตที่เหลือ ทำให้ "ความกลมกล่อม" หายไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งต่างกับ Crash ที่แม้การเล่าเรื่องในแต่ละพาร์ตจะต่างกันบ้าง แต่ว่ายังไม่ทำให้เกิดความรู้สึกว่ามันแปลกแยกจากส่วนอื่นของเรื่อง

เมื่อตัดพาร์ตญี่ปุ่นออกไป เราจะเห็นว่าผู้ร้ายตัวจริงของเรื่องนี้คือ อเมริกา

ในเม็กซิโก... สาเหตุของเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก็เพราะภาพลักษณ์ชาวเม็กซิกันที่ฝังหัวอเมริกันชน ว่าพวกนี้ถ้าไม่ทำงานรับใช้คนอื่น ก็ต้องเป็นพวกโจรลักเด็ก... จึงไม่แปลกที่เมื่อเห็นพี่เลี้ยงอยู่กับเด็กอเมริกันสองคน จึงตีความเป็นอื่นไม่ได้

ในโมร็อคโค... ชาวอเมริกันทั้งหลายมีแต่พวกเห็นแก่ตัว (แม้จะมีคนดีโผล่ออกมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้รับการเหลียวแล) แถมยังมองโลกในมุมแคบ แทนที่จะพยายามช่วยชีวิตคนเจ็บเจียนตาย กลับมีแต่คนบ่นว่า "ร้อนจะตาย" หรือไม่ก็ "ไอ้หมู่บ้านอียิปต์แบบนี้เคยฆ่าคนเยอรมันมา 30 คนแล้วนะ"
(ชวนให้เจ้าของบล๊อกคิดว่า.. ในเมื่อพวกมึงกลัวเค้าขนาดนี้ แล้วมาเที่ยวประเทศเค้าทำไม --> เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง... เหมือนรัฐบาลอเมริกาที่เข้าไปหากินน้ำมันในอิรักกับอิหร่านไม่มีผิด)

ไม่พอ... เมื่อเกิดเหตุการณ์คนอเมริกันโดนยิงในดินแดนมุสลิม รัฐบาลและสำนักข่าวอเมริกาก็ไม่รีรอที่จะรีบฟันธงว่า "นี่คือการก่อการร้ายชัดๆ"

แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อสองผัวเมียอเมริกันมากๆ ที่ต้องมารับผลกระทบจากความ "ปากไว" ของรัฐบาลประเทศตัวเองจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด (ยังไง.. ต้องดูเอง)


สภาพสังคมโลกในยุคหลัง 9/11 ทำให้หอคอย Babel นี้กำลังโงนเงน สั่นคลอน เพราะผู้คนต่างเริ่มแสดงท่าทีไม่ไว้วางใจกันอย่างเปิดเผยต่อผู้ที่มีภาษา ศาสนา วัฒนธรรมแตกต่างจากตัวเอง โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้แหละที่กำลังจะทำลายโลกให้แตกแยกพินาศย่อยยับ

การเหยียดศาสนา เหยียดวัฒนธรรม กีดกันปิดกั้นและไม่เปิดใจ หนักยิ่งกว่าความไม่เข้าใจทางภาษา...
เพราะความไม่เข้าใจทางวัฒนธรรมนั้น อาจทำให้คนที่พูดภาษาเดียวกัน อยู่ประเทศเดียวกัน หรือแม้แต่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน แตกแยกกันได้...

เมื่อคนในชาติไม่ลงรอยกัน ประเทศจะเหลืออะไร?





ภาคผนวก (ไม่เหมาะกับผู้ที่เชื่อในพระเจ้า)



เมื่อลองอ่านที่มาของหอคอย Babel (อันซึ่งมาจากไบเบิล) ชวนให้คิดว่า พระเจ้าเหมือนเป็นตัวแทนของผู้นำเผด็จการ (จะคิดถึงฟรานซิสโก้ ฟรังโก้, โจเซฟ สตาลิน หรือใครก็ได้) ที่กำลังต่อสู้กับชนชั้นกรรมกรที่กำลังรวมตัวกันโค่นล้มชนชั้นนำ (ส่วนนี้ ตัวแทนของกรรมกรคือคนที่รวมตัวกันสร้างหอคอยบาเบล)

ผู้นำเผด็จการ ผู้ซึ่งต้องการอำนาจให้คงอยู่กับตนเองตลอดชั่วกัลปาวสาน จึงได้สร้างความแตกแยกในหมู่กรรมกรเหล่านั้น จนไม่อาจรวมตัวกันทำการใหญ่อันเหิมเกริมและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอำนาจของผู้นำ...

ชวนให้คิดเหมือนกันว่าเนื้อความในไบเบิลตอนนี้พยายามสื่อว่า.. ไม่ว่าอย่างไร เผด็จการก็คือพระเจ้า และจะคงอยู่ตลอดไป




Open Water 2: Adrift
(เยอรมนี, Hans Horn, 2006)


- หนังห่วยมาก... เสียดายเงิน
- เทียบภาคแรกไม่ติดแม้แต่ปลายขี้เล็บ




Tears for You aka Nada Sou Sou
(ญี่ปุ่น, Doi Nobuhiro, 2006)


- ผกก. Be with You ทำได้ไม่เท่า Be with You
- หนังน้ำเน่าโคตร... โดยเฉพาะช่วงท้ายๆๆ... พระเอกนึกจะมาก็มา.. ตูจะบ้าตาย - -*
- แต่ถ้าใครชอบหนังเมโล่น้ำเน่ากระชากอารมณ์ก็คงน้ำตาตกน่ะนะ
- ยัยหมอแฟนเก่าพระเอกหน้าเหมือนรุ่นพี่ที่คณะ
- นางเอก(นางาซาว่า มาซามิจัง) น่ารัก




ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ประกาศอิสรภาพ
(ไทย, หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, 2550)


- ไม่มีองค์ดำโดดเตะขาคู่
- ไม่มีความเหลื่อมล้ำด้านหน้าตาของเกรซ กับ บีเจ
- แอฟ-ทักษอร น่ารักกระชากจิตอย่างยิ่งยวด
- อดดูบุเรงนองเลย วู้ว...
- ภาคนี้การแสดงที่ขึ้นมาแทนที่คุณสมภพ เบญจาทิกุล ต้องยกให้โจ๊กเกอร์นพชัยกับทราย เจริญปุระ
- ตัวละครหลายตัวทำแล้วดูดี ไม่เว้นแม้แต่ตัวประกอบฝั่งพม่าอย่าง สุระกำมา
- แอบ Y หลายฉากมากๆ
- จขบ. ชอบมากกว่าภาค องค์ประกันหงสา




แสบสนิทศิษย์ส่ายหน้า
(ไทย, ฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์, 2549)


- ขอโทษทีนะครับ มันตลกตรงไหน????
- บักแดงสุพรรณเล่นแข็งโคตร
- จ๋าน่ารักดี.. แต่ไม่ได้ช่วยให้หนังดูดีขึ้น ในเมื่อหนังเต็มไปด้วยแดงค่อมแลจตุรงค์




Volver
(สเปน, Pedro Almodovar, 2006)


- ในที่สุด Penelope Cruz ก็กลับมาได้ดิบได้ดีในหนังบ้านเกิด หลังจากเละเทะไม่เป็นท่าตอนควงทอม ครูซ
- หนัง feminist แรงๆ ตามสไตล์ป้าเปโดรเหมือนเดิม
- เรื่องนี้ content หนักมาก ว่าด้วยเรื่องความร้าวฉานในครอบครัว และการล่วงละเมิดทางเพศ แต่หนังเล่าเรื่องแบบ comedy!!!!!
- ดูเรื่องนี้จบ อยากดู After the Wedding (เดนมาร์ก+สวีเดน, Susanne Bier, 2006) มากๆ.. เพราะเรื่องที่ว่าติดโผ 5 เรื่องสุดท้ายหนัง ตปท. ออสการ์ แต่ Volver หลุด!!!
- เสียดายอย่าง ตอนจบเรื่องนี้เดาง่ายไปหน่อย (คงเพราะมีหนังที่จบแบบนี้หลายเรื่องแล้ว)




The Queen
(สหราชอาณาจักร+ฝรั่งเศส+อิตาลี, Stephen Frears, 2006)


- The Queen+Babel+Little Miss Sunshine ดีกว่า The Departed ล้านเท่าทั้งสามเรื่องแต่ดันไม่ได้หนังยอดเยี่ยม
- แต่ป้า Helen Mirren เล่นได้พระเจ้าสุดๆ... เธอคือควีน
- ใครคิดว่า The Queen มีดีแค่ป้าเฮเลน ไปดูก่อนนะขอรับ.. เรื่องนี้เป็นดราม่าเกือบสารคดีที่สนุกใช้ได้เลย...
- ชอบตอนที่หนังเปลี่ยนโทนจาก Against-Monarchy มาเป็น Monarchist ได้ด้วยฉากเดียวตอนกลางเรื่องมากๆ.. ดูรอบแรกอึ้งสุดๆ
- ลืมบอก ดูในโรงไปทั้งหมดสามรอบ รอดีวีดีอยู่
- ลืมบอกอีก.. Michael Sheen ที่เล่นเป็น Tony Blair เล่นดีเหมือนกัน..
- ดนตรีประกอบโดย Alexandre Desplat เท่มาก.. เป็นหนังเรื่องแรกที่ดูแล้วรู้สึกชอบดนตรีประกอบโคตรๆ.. ทำน้อยแต่ได้มาก (เข้าชิงออสการ์ดนตรีประกอบแล้วก็วืดไป เสียดายแทน แต่เฮีย Desplat ได้ลูกโลกจากเรื่อง The Painted Veil แล้ว)
- ภาพเจ้าหญิงไดอาน่าภาพสุดท้าย ผู้กำกับช่างคิดมาก... แววตาไดอาน่าหลังจากภาพ freeze น่าคิดจริงๆว่าตอนนั้นคิดอะไรอยู่...




The Pursuit of Happyness
(สหรัฐอเมริกา, Gabriele Muccino, 2006)


- หนังเมโล่ดราม่าสูตรสำเร็จมาก
- ถ้าไม่ได้ Will Smith กับลูกชาย หนังแป้กแหงๆ..
- แต่ถ้าใครชอบน้ำเน่าก็จะช้อบบ ชอบน่ะนะ...
- นักวิจารณ์ใน Starpics คุณวาริน นิลศิริสุขบอกว่านี่เป็นหนังสนับสนุนทุนนิยม 55555
- สุดท้าย.. หนังเปรียบชีวิตกับรูบิกได้ดี...




หนังสั้น



นิทานเม่น
(ไทย, ทศพล ทิพย์ทินกร+กลุ่มเยฟิล์ม)


- เล่าเรื่องคล้ายๆกับ สัตว์ประหลาด (ไทย+ฝรั่งเศส+เยอรมนี+อิตาลี, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, 2547) คือเล่าโลกแห่งความเป็นจริงคู่ไปกับนิทานหรือตำนานเรื่องเล่า..
- เรื่องนี้เปรียบเทียบชีวิตรักของคนที่เข้ากันไม่ได้เหมือนเม่นสองตัวที่อยู่ใกล้กันไม่ได้เพราะหนามมันทิ่มแทงกันเอง เก๋ดี...
- นางเอกน่ารัก


กระดาษสีขาว
(ไทย, อรพิม เชิญขวัญศรี)


- ดูนานแล้ว ลืมหมดแล้วคร้าบ T^T


See
(ไทย, นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์)


- เคยเจอพี่เต๋อผู้กำกับมาสองทีละ.. หน้าตาสมกะติดหนุ่มโสดคลีโอ 55+ (รุ่นพี่ที่ชมรมแทบวีนแตกเมื่อมาถึงงานฉายหนังตอนพี่เต๋อกลับไปแล้ว)
- เรื่องนี้ตั้งกล้องทิ้งไว้ ถ่ายพี่เต๋อกับพ่อ แล้วก็ตัดมา 10 นาที...
- หนังออกมาดูดีพอสมควร


อัศวินเสื้อกั๊กส้ม
(ไทย, ฐิติมน มงคลสวัสดิ์+ฐิติวัฒน์ อริยะตระกูล)


- เรื่องนี้เป็นอนิเมชั่นวาดมือ
- เรื่องราวแนวดอกฟ้าหมาวัด แต่เปลี่ยนเป็นมอไซค์รับจ้างกับนักศึกษาแทน


มารีญา
(ไทย, คณิณ กุลสุมิตราวงศ์)


- เรื่องนี้เล่าเรื่องในองค์เล็ก แต่สะท้อนภาพองค์ใหญ่ได้แจ่มมาก
- เหตุการณ์สามจังหวัดภาคใต้ ทำให้ความสัมพันธ์ของเพื่อนชาย-หญิงต่างศาสนาต้องเกิดรอยร้าว เพียงเพราะความเข้าใจแบบตื้นเขินของฝ่ายชาย ก่อนที่เรื่องราวจะนำพาไปสู่ความหายนะในท้ายที่สุด...
- ความเข้าใจตื้นเขิน ล้วนแต่นำพาทุกสิ่งทุกอย่างให้ไปสู่หายนะได้ ไม่ต่างกับเรื่องราวของเต๋อ และ มารีญา...
- อย่างตอนนี้ ความเข้าใจตื้นเขินของม็อบผ้าเหลืองที่คิดถึงแต่ตัวเอง กำลังจะทำให้สามจังหวัดใต้ลุกเป็นไฟและบรรลัยถาวรกับมาตราเวรๆที่ไม่มีความจำเป็นแม้แต่น้อย!!


Sorry, It's Sold Out!
(ไทย, ปัฎฐา ทองปาน)


- หนังในโครงการหนังสั้นม่านรูด ว่าด้วยพนักงานเซเว่นที่แอบชอบเพลย์บอยหนุ่ม
- เพลย์บอยหนุ่มขอซื้อถุงยาง ยัยพนักงานเกิดหึง + ไม่อยากให้ที่รักไปมีอะไรกับใคร เลยบอกว่าถุงยางหมดทุกครั้ง
- จนวันนึงมีคนมาคุยเรื่องเพื่อนเป็นเอดส์ เลยได้สติว่าที่รักชั้นป้องกันก็ดีแล้ว 555+
- เนื้อเรื่องแปลกดีมะ


The Clinic
(ไทย, พิพัฒน์ ศิริเรืองสกุล)


- หนังอึดเหลือเกิน ถ่ายลองเทค 10 นาที...
- เนื้อเรื่องธรรมดา ผู้ชายไปเที่ยวแล้วกลัวติดโรคเลยมาหาหมอ คงพยายามสื่อว่าความผิดพลาดครั้งหนึ่งมันส่งผลเยอะ กังวลไปตลอดชีวิตว่าจะติดโรคมั้ย


Saturday Night
(ไทย, วรรณแวว หงส์วิวัฒน์)


- สารคดีการเมืองในรั้วมหาวิทยาลัยเรื่องนี้แจ่มมาก!
- หนังตัดสลับเหตุการณ์ของผู้กำกับที่อยากไปดูคอนเสิร์ตแต่โดนพ่อบังคับให้ไปฟังพันธมิตรพูด กับ การสัมภาษณ์ความสนใจในการเมืองของนิสิตจุฬา
- ตรงนี้หนังสื่อสภาพนิสิตในยุคนี้ได้ดี๊ ดี~~ โดยเฉพาะตอนที่พ่อ ผกก. ว่าว่าเด็กเดี๋ยวนี้ไม่สนใจการบ้านการเมืองเล้ยยยย... (ซึ่งสอดรับกับผลสัมภาษณ์อย่างยิ่ง 555)


Apple of the Eye
(ไทย, ปวิตร ตรีเมฆ)


- เรื่องนี้เป็นหนังที่ทำฉายวันคริสต์มาสง่ะ มันเลยออกมาเป็นหนังแนว "พลังแห่งชีวิต" ไปซะยังงั้น
- เพราะฉะนั้นจนป่านนี้เลยยังไม่ค่อยเก๊ตไอเดียชื่อเรื่องเท่าไหร่


The Body
(ไทย, ปวิตร ตรีเมฆ)


- อนิเมชั่นคนไทยอีกแล้วครับทั่น
- เรื่องนี้เหมือนนิทานที่เด็กๆ เคยฟัง.. คือเรื่องอวัยวะของร่างกายที่ต้องทำงานสอดรับกัน แต่เมื่อวันหนึ่งเกิดความขัดแย้งกัน มนุษย์เจ้าของร่างกายก็เดือดร้อนไปด้วย


Bjorns - Hurdles of Bureaucracy
(เยอรมนี, Andreas Niessner+Oliver S. Burgin)


- หนังตลกร้ายเยอรมันว่าด้วยระบบราชการที่วุ่นวายสับสน(เหมือนประเทศอะไรแถวนี้เลย)
- ผู้กำกับเจ๋งดี... ตัวเองเล่นเป็นตัวละครทุกตัว ทำยังกะเอ๊ดดี้ เมอร์ฟี่
- พระเอกเริ่มเรื่องจากลืมทำวีซ่าไปเที่ยวตุรกี เลยเข้าไปจะทำ ทำไปทำมาตัวเองกลายเป็นคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองซะอย่างงั้น


Dinner at Lee's Family
(เกาหลีใต้, Jung Hee-sung)


- หนังขาวดำ เงียบๆ ทึมๆ
- แต่ว่าเรื่องนี้สื่อความอึดอัดคัดข้องใจของผู้หญิงในสังคมเกาหลีได้ดีมากๆ... ดูแล้วอึ้ง


The Rock aka Das Rad
(เยอรมนี, Chris Steinner, 2003)


- อนิเมชั่นเล่าเรื่องผ่านหินสองก้อน พร้อมกับโลกที่เปลี่ยนไปเป็นล้านๆปี
- เจ๋งดี ภาพแสดงความเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่คนทำกับโลกได้ดี...


Brokeback to the Future
(สหรัฐอเมริกา, Chocolate Cake City Group)


- หนังตัวอย่างที่ตัดฟุตเตจจาก Back to the Future ทั้งสามภาค
- ตัดธรรมดาจะฉายทำไม เพราะคนตัดมันตัดให้ดูเป็นหนังเกย์ซะอย่างงั้น
- เสียดายมันพูดอังกฤษกันเร็วชิบ + ไม่มีซับ เลยฟังไม่ค่อยจะออกว่ามันพูดเห้อะไรกัน - -*


Love Letter
(สหรัฐอเมริกา, Jeff Pulver)


- หนังน่ารักดี เป็นจดหมายสารภาพรักของ ผกก.


Male Restroom Etiquette
(สหรัฐอเมริกา, Overman)


- หนังทำจากเกม The Sims เรียกว่า Machinima เกี่ยวกับมารยาทในการใช้ห้องน้ำ
- เขาบอกว่าเป็นหนัง Machinima ที่ฮิตที่สุดในโลกตอนนี้
- ไม่มีซับอีกแล้ว ฟังไม่ออกว่ามันพูดเห้อะไรกัน


Dog aka Inja
(ออสเตรเลีย+แอฟริกาใต้, Steven Pasvolsky, 2001)


- ไม่อาจให้ความเห็นได้ เพราะดูไม่ปะติดปะต่อ


Create Date : 04 พฤษภาคม 2550
Last Update : 5 พฤษภาคม 2550 13:10:47 น. 12 comments
Counter : 1253 Pageviews.

 
ดูหนังเยอะดี อยากดู Male Restroom Etiquette กะลังหาโหลดอยู่


โดย: แพนด้าหน้าจอ วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:7:46:28 น.  

 
ไอ้น้องเวร ดูอะไรหนักหนาเนี่ย ทำตัวแบบเนี้ย แม่ไม่ว่าหรอ คิคิ


โดย: MelmO IP: 125.27.17.198 วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:16:28:56 น.  

 
''- __- เอ่อ แล้วทำไมเพิ่งรีวิวหนังที่ดูเมื่อก.พ.หว่า...
แต่ก็ดูหนังเยอะดีนะ รีบมารีวิวหนังเดือนต่อๆไปด้วยนะ
ขอบคุณที่ไปเยี่ยมค่ะ
วันนี้เพิ่งได้ดู "สัตว์ประหลาด" เองง่ะ
รู้สึกเหมือนดูสารคดี คือแบบเค้าแสดงดีจัง เหมือนไม่ใช่การแสดงเลย
เฮ้อ ว่าแล้วก็เสียดาย อดดู แสงฯ สงสัยเมืองไทยคงต้องมืดมัวกันต่อไป


โดย: quin toki วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:08:52 น.  

 
กุดูแค่แสบสนิท กะ นเรศวรเองว่ะ


โดย: asuan IP: 125.24.90.98 วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:34:46 น.  

 
สงสัยแบบไม่มีเหตุผล ว่า ทำไมไม่เป็นหนังของเดือน เมษา อ่ะ

ขอพูดถึงเรื่อง The Pursuit of Happyness นิดนึงนะ ประมาณว่า ดูได้ช่วงต้นเรื่องที่พระเอกเจอวิบากกรรมซ้า...ก็แทบอยากจะปิดไปทำอย่างอื่น...เพราะทนไม่ค่อยได้กับอารมณ์หนังแบบนี้..แต่ด้วยความที่เกรงว่าจะโดนประนามว่าใจไม่กว้างพอที่จะรับหนังหลายๆแนว 555 ก็เลยต้องดูจนจบ

แต่ก็สรุปว่า ไม่มีความเห็นกับเรื่องนี้อ่ะนะ 555

แล้วหนังสั้นเนี่ย หาดูได้จากไหนหรอ


โดย: renton_renton วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:55:38 น.  

 
จากทั้งหมด..เรื่องที่เราได้ดู...มีไม่ถึง 5 เรื่อง


โดย: Pare IP: 58.8.166.144 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:0:07:17 น.  

 
ดองข้ามศตวรรษ


อัพแบบนี้ถึงจะสมกับเป็นนาโนเกยบล็อก


โดย: จั่น* IP: 58.8.76.72 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:0:10:46 น.  

 
แกเอาเวลาที่ไหนไปดูวะ ไอตี้
เยอะนะนี่



โดย: K-i_i-K IP: 203.113.34.10 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:0:26:31 น.  

 
ได้ดูแค่คำสาปอีดอกทอง กับ ควีน
1. ฉากไหนเหรอที่เปลี่ยนอารมณ์ในควีนอะ ดูรอบเดียว จำไม่ได้
2. ชอบแค่ฉากของคำสาปฯ มันทองดี แม้สีจะแจ๊ดแร่ดไปนิดนึง กับเสาชมพูเขียวเรืองแสง
3. ราชวงศ์ถัง มันดันนมกันขนาดนั้นเลยรึ


โดย: 125 66 IP: 58.9.49.143 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:02:16 น.  

 
อยากดู babel, persuit มาก
แต่น่าเสียดายที่.....


โดย: เชลลิ่ง IP: 161.200.255.162 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:07:13 น.  

 
เอาโค้ด อีโมชั่นที่ไปถามไว้ในบล็อคผมมาฝากนะครับ อีโมชั่นหัวหอม!!!

ตาม link นี้ไปเลยครับ!!!

//www.safetynava.com/other/Emotion.doc


โดย: สมันน้อย เบอร์ 14 IP: 124.121.83.127 วันที่: 6 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:07:07 น.  

 
กร๊ากกก อัพหนังที อ่านกันตาแฉะไปเลยอ่ะคับเนี่ย เหอๆ ... ทีหลังอย่าดองน้า อัพเดือนชนเดือนดีฝ่า จะได้ไม่มีแบบ ... ดูนานจนลืมไปแว้วอ่า


โดย: บลูยอชท์ วันที่: 9 พฤษภาคม 2550 เวลา:11:35:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nanoguy
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนในสังคมจารีตที่มีความคิดทางเวลาแบบไตรภูมิจะไม่ให้ความสำคัญแก่เวลาตามประสบการณ์ กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงของชีวิตและสังคมว่าดำเนินมาและดำเนินไปอย่างไร เชื่อในการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคมซึ่งจะต้องเป็นเช่นนั้นตามกฎแห่งเวลาของพุทธศาสนา

- อรรถจักร สัตยานุรักษ์
(จากบทความ "ความเปลี่ยนแปลงความคิดทางเวลาในสังคมไทย" วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 4 ตุลาคม 2531)




Let this song rhyme our souls
when your voice and mine become one and whole.

Let it carry us high above
When we recite our poetry of love
that when there's love then there's hope.

Your love is my light,
and it'll get us through this lonely night.

- รักแห่งสยาม (ซับไตเติ้ลอังกฤษเพลง กันและกัน ท่อนฮุค)









Friends' blogs
[Add nanoguy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.