“ในฐานะนักทำหนังคนหนึ่ง ผมปฏิบัติกับหนังของผมประดุจลูกชายและลูกสาว เมื่อผมให้กำเนิดเขา พวกเขาก็มีชีวิตเป็นของตนเอง ผมไม่ใส่ใจว่าผู้คนจะรักหรือเกลียดลูกของผม ตราบใดที่ผมสร้างเขาขึ้นมาด้วยความตั้งใจและความพยายามอย่างสูงสุด ถ้าลูกๆ ของผมไม่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศของเขาเองไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ก็ปล่อยเขาเป็นอิสระเถิด เพราะมันยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ต้อนรับเขาอย่างอบอุ่นในแบบอย่างที่เขาเป็น มันไม่มีเหตุผลเลยที่ต้องทำให้พวกเขาพิกลพิการจากระบบแห่งความกลัวหรือความละโมบ มิฉะนั้นแล้วมันก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่คนสักคนหนึ่งจะสร้างงานศิลปะต่อไป”
-- อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
(คำปรารภหลังจาก "แสงศตวรรษ" ผลงานภาพยนตร์จากผู้กำกับคนไทย พูดภาษาไทย ใช้ดาราคนไทย ถูกกองเซนเซ่อประเทศไทยบังคับให้ตัดฉากสำคัญ 4 ฉากออกหากต้องการฉายในโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย)




“ผมคิดว่าพระกลุ่มนี้โดนจี้จุดจึงร้อนตัวเกินไป หรือเป็นพวกอยากดัง จึงต้องทำตัวเป็นข่าว อยากถามว่าทำไมไม่ไปเรียกร้องหรือแก้ปัญหาพระที่ออกมาแก้ผ้า มั่วสีกา หรือใช้มีดกรีดร่างกาย หลอกลวงประชาชน ทั้งนี้หากจะฟ้องก็ยินดีให้ฟ้องได้ทุกศาล หรือว่าจะไปฟ้องจตุคาม ศาลเจ้าแม่กวนอิม พระอินทร์ พระอิศวร ก็เชิญ ผมไม่สนใจ แต่เห็นว่าพระกลุ่มนี้ไม่เหมาะสมในสมณะ และเป็นพระหน้าเดิมที่ออกมาเดินขบวนเรียกร้องการบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”
-- ถวัลย์ ดัชนี
(คำตอบโต้ภายหลังกลุ่มพระสงฆ์ที่ชุมนุมประท้วง ขู่ฟ้องคดีอาญาต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร นายอนุพงษ์ผู้วาดภาพภิกษุสันดานกาและหมานุษย์ และคณะกรรมการที่ตัดสินรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ในข้อหาหมิ่นศาสนา)
Group Blog
 
<<
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
ครูสมศรี (ไทย, หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, 2528)



ครูสมศรี


Location
ห้อง 106 ตึก 2 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Date
15 มกราคม 2550


ครูสมศรี คือชื่อของครูชาวสลัมที่พยายามสู้เพื่อชาวสลัมโดยการต่อต้านการเข้าครอบงำจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ต้องการพื้นที่สลัมไปสร้างห้างสรรพสินค้า บริษัทนี้ใช้วิธีสกปรกต่างๆนานา ทั้งการใช้ช่องว่างทางกฎหมาย หรือแม้แต่ลักลอบเผาไล่ที่ เมื่อเรื่องราวไปถึงหูของหัวหน้ากองบริการประชาชน จึงได้ลงมือตรวจสอบและพบความไม่ชอบมาพากลที่เชื่อมโยงไปถึงการทุจริตวงในของนักการเมืองระดับสูงที่โกงกินกันมาเป็นทอดๆ ครูสมศรี, หัวหน้ากองบริการประชาชน และทนายความจะต่อสู้อย่างไรท่ามกลางการดำเนินการรุกคืบจากฝ่ายบริษัทและชาวสลัมที่แปรพรรคไปเพราะมีเงินมาล่อตาล่อใจ

เจ้าของบล็อกเพิ่งได้ดูหนังในแนวถนัดของท่านมุ้ยเป็นเรื่องแรก (ถ้าไม่นับเรื่อง “กล่อง”) หลังจากที่ยุคหลังๆ ท่านมุ้ยก็หันมาทำหนังแนวเจ้าแนวกษัตริย์ราชวงศ์อย่างสุริโยไทเสียแล้ว และจากผลงานเรื่อง “ครูสมศรี” ก็แสดงให้เห็นว่า ท่านมุ้ยเชี่ยวชาญในหนังที่ไม่ใช่หนังสเกลใหญ่อย่างสุริโยไทมากกว่าเยอะ ถ้ามีเวลาว่างและกำลังทรัพย์ก็อยากลองไปเช่าคอลเลคชั่นหนังท่านมุ้ยจากแมงป่องชั้นเจ็ดมาบุญครองมานั่งดูอยู่บ้างเหมือนกัน ที่มีตั้งแต่หนังสมัย “คนเลี้ยงช้าง” จนถึงหนังยุคหลังๆอย่าง “เสียดาย”

“ครูสมศรี” มีรายละเอียดค่อนข้างสูง ด้วยความพยายามที่จะเจาะลึกเข้าไปในชีวิตของชาวสลัมให้ได้มากที่สุด แม้จะดำเนินเรื่องแบบพยายามไม่เยิ่นเย้อแล้วก็ยังมีความยาวราวสองชั่วโมงครึ่งจนบางเวลาก็เบื่อๆ อยู่บ้างในบางช่วงเวลา ตัวละครแต่ละตัวมีแง่มุมที่น่าสนใจโดยเฉพาะตัวละครครูหลักทั้งสองคนได้แก่ ครูสมศรี กับ ครูทองย้อย ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ครูสมศรี – ถือเป็นตัวแทนของขบถที่ต่อต้านระบบเก่าๆ หัวแข็ง แข็งกร้าวเข้าว่า ไม่มีการประนีประนอม ซึ่งค่อนข้างผิดวิสัยของคนไทยและคนยุคก่อนส่วนมาก ในหนังทั้งเรื่องเราจะเห็นฉากที่คนแก่นั่งคุยกันประมาณว่า “นังสมศรีมันหยิ่ง พวกเราเลยซวยไปด้วย” อยู่เนืองๆ

ครูทองย้อย – เป็นตัวแทนของ “อดีต” ขบถที่พ่ายแพ้ต่อระบบในภายหลัง จากคนที่เคยมีอุดมการณ์แรงกล้ากลายเป็นขี้เหล้าประชดชีวิต เมื่ออุดมการณ์ของตัวเองไม่อาจทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ และจำใจทนอยู่ในสังคมที่ระบบเก่าเป็นใหญ่ ต้องทนอยู่กับความเละเทะของสังคม

คนอย่างครูทองย้อยทำให้เจ้าของบล็อกนึกถึงครูใหญ่ Rachin ใน The Chorus

Rachin คือครูใหญ่ของโรงเรียนดัดสันดานที่รวมเด็กเกเรหลากหลายรูปแบบไว้ด้วยกัน ด้วยอคติสุดขั้วกับเหล่าเด็กใต้อาณัติทำให้นโยบายและสิ่งที่แสดงออกนั้นล้วนแต่เป็นไปในแนวทาง “แรงมา-แรงตอบ” แต่ถึงกระนั้น เมื่อเขาเห็นว่าวงประสานเสียงของครู Mathieu สามารถขัดเกลาเด็กที่เขาเคยตราหน้าว่าเป็น “เด็กเลวที่ไม่มีวันกลับตัว” ได้ในระดับหนึ่ง เราก็เห็นเขาลงไปเตะบอลกับเด็กๆอย่างสนุกสนาน

Rachin เองก็น่าจะเคยมีอุดมการณ์ของตัวเองและมีจิตวิญญาณความเป็นครูเต็มเปี่ยม เพียงแต่ว่าเมื่อไม่อาจหาวิธีรับมือกับ “เด็กเลว” ทั้งหลายทั้งแหล่ ทำให้ความรู้สึกนั้นแปรเปลี่ยนมาเป็นอคติ และถ่ายทอดมันไปให้กับครูใหม่ที่เข้ามารับงานที่นี่อยู่ตลอดเวลา

น่าเสียดายที่ Rachin ต้องกลับไปอยู่กับอคติเดิมอีกครั้งเมื่อเงินในเซฟถูกขโมยไป ทัศนคติเดิมๆจึงกลับมาฝังหัวอีกครั้ง และยากที่จะล้างออกได้เหมือนคราวก่อน ในขณะที่ครูทองย้อยนั้นยังหวนนึกถึงอุดมการณ์ของตัวเองในสมัยเริ่มต้นวิชาชีพได้ แม้ว่าต้องสูญเสียสิ่งสำคัญไปบางอย่างก็ตาม

หนังเรื่องนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีนับตั้งแต่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรก แต่กลับดูร่วมสมัยในหลายบริบทอย่างไม่น่าเชี่อ ทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มุ่งเอารัดเอาเปรียบคนยากจนโดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย และนักการเมืองฉ้อฉลที่ล้วนแต่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในกิจการเหล่านี้ แล้วยังรวมไปถึงฉาก “ม็อบจัดตั้ง” อีกด้วย

ฉากที่สื่อนัยยะได้เป็นเลิศในหนังเรื่องนี้คือฉากเล็กๆที่ครูสมศรีพยายามสอนให้นักเรียนเรียนรู้การฟักตัวของลูกเป็ด ด้วยการนำไข่เป็ดมาให้ความอบอุ่นด้วยหลอดไฟ (แม้จะถูกครูทองย้อยคัดค้านด้วยคำพูดที่ว่า “มันก็แค่เด็กสลัม ปล่อยให้มันไปดูเล้าเป็ดเองสิ”) ลักษณะการสอนที่ค่อนไปทาง Child-centered นี้น่าจะเป็นของใหม่ในยุคนั้น นอกจากแสดงถึงความเป็นขบถในตัวของครูสมศรี ไข่เป็ดของครูยังมีอิทธิพลต่อเนื่องในช่วงท้ายเรื่องอีกด้วย

หลังจากครูสมศรีถูกคนร้ายลอบยิงเสียชีวิต ไข่เป็ดก็ฟักตัวออกมาในจังหวะนั้นพอดี กลายเป็นเครื่องเตือนสติครูทองย้อยซึ่งเกือบหลงผิดให้กลับมาสู่ทางสว่างอีกครั้ง นอกจากนั้น ยังสื่อนัยยะว่าแม้ตัวครูสมศรีจะต้องสังเวยชีวิตให้กับความอยุติธรรมของสังคม แต่ว่าตอนนี้ก็มีคนที่พร้อมจะสานต่ออุดมการณ์รออยู่แล้ว เหมือนกับลูกเป็ดที่ไม่ได้เกิดโดยวิธีธรรมชาติดั้งเดิม

หากแต่เป็นวิธีของครูสมศรี!

ฉากที่สุ่มเสี่ยงต่อการเซ็นเซอร์
- ไม่มีเซ็นเซอร์ ทุกคนที่ดูจะได้ยินคำว่า “เย็ดกะแม่ง” เต็มสองรูหู


Create Date : 26 มกราคม 2550
Last Update : 27 มกราคม 2550 19:37:15 น. 1 comments
Counter : 1605 Pageviews.

 
อุ้ม







งคนไม่ดี








โดย: อุ้มอยากรู้อยากเห็น IP: 125.26.36.91 วันที่: 21 สิงหาคม 2550 เวลา:14:00:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nanoguy
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนในสังคมจารีตที่มีความคิดทางเวลาแบบไตรภูมิจะไม่ให้ความสำคัญแก่เวลาตามประสบการณ์ กล่าวคือไม่ให้ความสำคัญแก่การเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงของชีวิตและสังคมว่าดำเนินมาและดำเนินไปอย่างไร เชื่อในการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคมซึ่งจะต้องเป็นเช่นนั้นตามกฎแห่งเวลาของพุทธศาสนา

- อรรถจักร สัตยานุรักษ์
(จากบทความ "ความเปลี่ยนแปลงความคิดทางเวลาในสังคมไทย" วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง 4 ตุลาคม 2531)




Let this song rhyme our souls
when your voice and mine become one and whole.

Let it carry us high above
When we recite our poetry of love
that when there's love then there's hope.

Your love is my light,
and it'll get us through this lonely night.

- รักแห่งสยาม (ซับไตเติ้ลอังกฤษเพลง กันและกัน ท่อนฮุค)









Friends' blogs
[Add nanoguy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.