bloggang.com mainmenu search






เดินเล่น เมืองกรุง ตอนที่ ๒




๑๘  สิงหาคม  ๒๕๕๘ วันที่สิบแปด เดือนแปด ปีห้าแปด

มากับ นพ  เพื่อนที่ชอบถ่ายรูป ชอบเดินเล่น เหมือนกัน

หลังจากกินแห้ว จากการไม่ได้เข้าชมวังบางขุนพรหม เลยเดินเตร็ดเตร่กันมาที่ วัดอินทรวิหาร












วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่ดั้งแต่เดิมชาวบ้านเรียกชื่อวัดกันว่า "วัดไร่พริก"

เพราะสร้างอยู่ในบริเวณสวนผักของชาวจีน และต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกเป็น "วัดอินทาราม" ตามนามของเจ้าอินทวงศ์

โอรสของเจ้าผู้ครองนครศรีสัตนาคนหุต ผู้ซึ่งมาพำนักตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณใกล้ๆ วัด และเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นใหม่อีกด้วย

ส่วนชื่อ "วัดอินทรวิหาร" นั้น ได้ถูกเปลี่ยนมาใช้ก็ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ

ให้วัดอินทาราม (บางขุนพรหม) ซึ่งมีชื่อไปพ้องกับวัดอินทาราม (บางยี่เรือ) เปลี่ยนชื่อวัดเสียเป็น   "วัดอินทรวิหาร"

โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น) แห่งวัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้ตั้งชื่อวัดเสียใหม่ และใช้ชื่อนี้มาตลอดจนปัจจุบัน

       วัดอินทรวิหารนี้มีความสำคัญอย่างหนึ่งตรงที่ว่า เป็นวัดที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" (โต พรหมรังสี) ปูชนียบุคคลของพระพุทธศาสนาไทย

และเป็นผู้นำพระคาถาชินบัญชรซึ่งเป็นพระคาถาเก่าแก่มาปรับปรุงแก้ไขจนกลายเป็นบทสวดมนต์หนึ่งที่พุทธศาสนิกชนไทยนิยมสวดกัน

ได้มาบรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดนี้ โดยเป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารในสมัยนั้น แม้ต่อมาท่านจะไปบวชเป็นภิกษุ

และเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตารามก็ตาม แต่ก็ยังมีความผูกพันกับวัดอินทรวิหารเป็นอย่างมาก เห็นได้จากสิ่งต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ในวัดแห่งนี้


ข้อมูล : //www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000020686






มากับ Tokina 11-16 mm.  เลยได้ภาพเช่นนี้แล





พระอุโบสถ

ทรงไทยแบบอยุธยา การสร้างบูรณะได้อนุรักษ์รูปแบบไว้หมดทุกประการ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับและปูพื้นด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต

ช่อฟ้าใบระกาหน้าบัน ซุ้มเสมา เป็นงานฝีมือปูนปั้นแบบอยุธยา ประดับกระจก งดงามมาก

ชั้นใต้ดินปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์รักษาของเก่าของวัด โดยเฉพาะพระพุทธรูป ตู้ลายรดน้ำ และของที่ขุดได้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์

เปิดให้ชมเฉพาะเวลามีงานประจำปี





จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดอินทรวิหาร

ความแปลกและน่าทึ่ง คือ แทนที่จะเป็นภาพพุทธประวัติเช่นเดียวกับวัดอื่น ๆ แต่กลับเป็นภาพประวัติของหลวงพ่อโตตั้งแต่สมัยบวชเป็นสามเณร





ภาพเขียนปรากฏอยู่สี่ด้าน เริ่มตั้งแต่ผนังด้านขวามือพระประธานด้านหน้าพระประธาน

ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านซ้ายมือพระประธาน

ภาพจิตรกรรมฝาผนังหุ้มกลองด้านหลังพระประธาน

และภาพจิตรกรรมฝาผนังหุ้มกลอง 






ถ้าไล่ชมมาตั้งแต่ขวามือพระประธาน เขียนภาพการบรรพชาเป็นสามเณรของหลวงพ่อโต ภาพวิถีชีวิตชาวบ้านแถบวัดระฆัง สภาพบ้านเรือนริมแม่น้ำเจ้าพระยา

 การบวชเป็นนาคหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก่อนที่จะออกจากพระบรมหาราชวังไปเป็นสมภารวัดระฆัง ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น





เช่น เรื่องราวระหว่างหลวงพ่อโตกับรัชกาลที่ ๔ ช่วงที่เกิดสงครามโลก ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อโต ภาพวัดและพระพุทธรูปต่าง ๆ

รวมทั้งภาพเขียนบ่อน้ำพระพุทธมนต์ที่สร้างไว้ในสมัยหลวงพ่อโตและบูรณะใหม่สมัยเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน








เคยอัพบล็อกวัดอินทรวิหาร ในกรุ๊ปเที่ยววัดไปแล้วค่ะ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔

ตอนที่ ๑  //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=04-2011&date=15&group=3&gblog=80

ตอนที่ ๒  //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=04-2011&date=19&group=3&gblog=81













































เป็นอีกหนึ่งวัด ที่มีนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ มามากกว่าคนไทย




















หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีความสูงตั้งแต่พื้นถึงยอดเกตุ ๑๖ วา หรือราวๆ ๓๒ เมตร





สมเด็จพระพุฒาจารย์โตเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่เมื่อสร้างไปได้ถึงเพียงพระนาภี หรือบริเวณสะดือของพระพุทธรูป




สมเด็จพระพุฒาจารย์โตก็มรณภาพลงเสียก่อน การก่อสร้างจึงได้หยุดชะงัก





ก่อนจะดำเนินต่อมาอีกถึง ๖๐ ปี จึงได้สร้างพระศรีอริยเมตไตรยองค์นี้เสร็จสิ้นลงในสมัยรัชกาลที่ ๗








วัดอินทรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ๑๑๔ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐

สามารถไปวัดได้สองทางคือทางถนนสามเสน (ทางคนเดิน) และทางถนนวิสุทธิกษัตริย์ (ทางรถเข้า)

มีรถประจำทางสาย ๓, ๙, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๔๓, ๔๙, ๕๓, ๖๔, ๖๕

สอบถามโทร. ๐-๒๒๘๒-๐๔๖๑, ๐-๒๒๘๒-๓๐๙๔, ๐-๒๒๘๑-๑๔๐๖






ผ่านวัดเอี่ยมวรนุช แวะเข้ามาแป๊บ




โบสถ์ปิด





วัดสามพระยาวรวิหาร  อัพบล็อกไปตอนที่ ๑





เดินกลับลงมาเส้นเดิม น่าจะเป็นถนนสามเสน











แยกบางลำพู





ถนนจักรพงษ์





เดี๋ยวแวะที่นี่กันค่ะ  มัสยิดจักรพงษ์





มาแถวบางลำพู เป็นสิบๆ ครั้ง ไม่เคยสังเกต  Smiley








ระวัติความเป็นมา

           ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์หรือในอดีตรู้จักกันทั่วไปว่า สุเหร่าวัดตองปุ ก่อตั้งมาขึ้นจาการอพยพมาจากปัตตานี

ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ได้เริ่มก่อตั้งมาประมาณรัชกาลที่ ๒ โดยในสมัยก่อนพื้นที่บริเวณมัสยิดจักรพงษ์อยู่เขตตัวเมืองพระนคร

ตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เชลยศึกคนใดที่มีความสามารถทางด้านการทำทองจะถูกส่งตัวมาทำงานในเขตพระนคร

ดังนั้นคนในชุมชนมัสยิดจักรพงษ์จึงมีความสามารถในเรื่องการทำทองสืบต่อกันมาทุกครัวเรือน แต่ปัจจุบันในชุมชนไม่มีการทำทองแล้ว

เนื่องจากการทำทองทำได้ยากและเสียเวลาทำให้ไม่มีผู้ใดสืบทอดการทำทอง

ปัจจุบันในชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ส่วนใหญ่มีที่พักอาศัยเป็นบ้าน ๒ ชั้น แบ่งเป็น บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน และ บ้านปูนทั้ง ๒ ชั้น






มัสยิดจักรพงษ์มาจากไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ยุครัตนโกสินทร์ บรรพชนมุสลิมเชื้อสายมลายู ในยุคต้นรัตนโกสินทร์

โดยเริ่มจากสมัยปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา


อ่านต่อที่   //www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/193


















เดินออกมาแล้วค่ะ





ฝั่งตรงข้าม - ถนนตานี





ย่านบางลำพู











อีกซักวัดละกันค่ะ  วัดชนะสงคราม





วันนี้มา ล้อมสแลน กำลังบูรณะพอดี








พระประธานในพระอุโบสถ นามว่า พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดา อนาวรญาณ

หรือชาวบ้านเรียกอย่างสามัญว่า หลวงพ่อปู่





เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแล้วบุด้วยดีบุกลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร

ประดิษฐานบนฐานชุกชีขนาด ๖.๖๐ x ๗.๕๘ เมตร สูง ๑.๓๐ เมตร เบื้องหลังพระประธานมีประภามณฑลโพธิพฤกษ์และภาพจินตนาการ

เดิมนั้นทั้งองค์พระและฐานพระประธานมีขนาดเล็ก ภายหลังได้ซ่อมแซมให้สูงขึ้นอีกดังที่ปรากฏทุกวันนี้

ด้านหน้ามีพระอัครสาวกซ้ายขวา ๒ องค์ เป็นพระปูนปั้นเช่นกัน เดิมนั่งประนมมือมาเปลี่ยนภายหลังให้ยืนประนมมือ

และ รอบๆ พระประธานมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๑๖ องค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ๕ องค์ ทิศตะวันตก ๔ องค์ ทิศเหนือ ๓ องค์ ทิศใต้ ๓ องค์

เหนือพระประธาน มีฉัตร ๗ ชั้นกางกั้นอยู่อันหมายถึงพระสัตปฏลเศวตฉัตรของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งมี ๗ ชั้น

ด้านหลังพระประธานประดิษฐานพระสังกัจจายน์ ๑ องค์






วันนี้ไม่มี ฉัตร ๗ ชั้น








จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เป็นภาพพุทธประวัติ





และพระเวสสันดรชาดก





พระบรมรูปสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๑ ผู้ทรงสถาปนาวัดชนะสงคราม








ออกจากวัดชนะสงคราม เราเดินไป พิพิธภัณฑ์เหรียญ  (สนใจคลิกที่ link ได้ค่ะ)













Create Date :30 พฤศจิกายน 2558 Last Update :30 พฤศจิกายน 2558 12:24:47 น. Counter : 5258 Pageviews. Comments :28