bloggang.com mainmenu search

นบพระนวรัฐ พระปฏิมา ๙ แผ่นดิน

ศุกร์สวัสดีค่ะ ได้มีโอกาสมาไหว้พระที่นี่ ปีนี้เค้าจัดเป็นปีที่ ๔ เรามาสองปีล่าสุด ปีนี้เป็นปีที่ ๓ เคยอัพบล็อกของปีที่ผ่านมา เผื่อสนใจค่ะ...


ครั้งที่ ๑ ๙ พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน

ครั้งที่ ๒ ไหว้พระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๕๕๖


จะแยกเป็นสองตอนนะคะ รูปจะได้ไม่เยอะมาก (แต่ก็เยอะตามมาตรฐานเราแหละ) อีกตอนเป็นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ถึงจะถ่ายมาซ้ำๆ แต่เก็บภาพเอาไว้ดูเปรียบเทียบค่ะ พออายุมากขึ้น บางเรื่อง บางเวลา ใช้ใจระลึกถึงอาจจะจำไม่ได้ ต้องมีภาพประกอบหน่อยเนาะ

พระพุทธรูป ๙ พระองค์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรได้อัญเชิญมาให้ประชาชนได้กราบสักการะบูชา เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้คัดสรรพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามระยะแห่งการเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ นับตั้งแต่พระพุทธรูปรุ่นแรกสุด ซึ่งสันนิษฐานว่านำเข้าจากประเทศต้นทาง ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่มายังดินแดนประเทศไทยในระยะต้นๆ คือจากประเทศอินเดียหรือศรีลังกา ไปจนถึงพระพุทธรูปที่รังสรรค์ขึ้นในพื้นภูมิประเทศไทย ด้วยภูมิปัญญาและความงามแบบท้องถิ่น ทั้งที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อในลัทธิเถรวาท และมหายาน คือ

พระปฏิมาในศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖) ศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘) ลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘) ล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔) สุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐) อู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐) อยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๔) และรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมา) เป็นหลักฐานสะท้อนถึงการหยั่งรากลงของพระพุทธศาสนา จนกระทั่งประดิษฐานอย่างมั่นคง ในผืนแผ่นดินไทย ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตกาลผ่านช่วงเวลานับพันปี

พระปฏิมาเหล่านี้ ล้วนสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความศรัทธาอันเปี่ยมล้นของพุทธศาสนิกชนร่วมสมัย ย่อมอุดมด้วยสุนทรียภาพความงามอันประณีตสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา กอปรด้วยศุภสิริตามคติของมหาชน ที่นึกน้อมถึงรูปกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความเคารพยิ่ง พระปฏิมาอันเป็นตัวแทนแห่งศรัทธาของแต่ละกาลสมัย จึงบริบูรณ์ด้วยสรรพสิริ อันอาจอำนวยผลสวัสดิมงคลวิเศษต่างๆ ให้บังเกิดแก่ผู้สักการะกราบไหว้บูชา ตามคุณลักษณะแห่งพระพุทธรูปแต่ละพระองค์ อันเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล

ข้อความจาก หนังสือ นบพระนวรัฐ พระปฏิมา ๙ แผ่นดิน






เรามา วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗





มาถึงตรงนี้ เวลา ๑๒.๕๘ น.





สองปีติดกันก็จะเปิดด้วยรูปนี้ เช่นเคย...





เรียงองค์พระพุทธรูปตามยุคเลยนะคะ





๑. พระพุทธรูปแสดงธรรม





สูง ๒๙.๒ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๗ เซนติเมตร องค์เล็กนิดเดียว ถ่ายรูปยากมากค่ะ









๒. พระพุทธรูปประทานธรรม





สูง ๒๐.๓ เซนติเมตร













๓. พระธยานิพุทธไวโรจนะ





ขนาดตักกว้าง ๗.๕ เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน ๓๓ เซนติเมตร ฐานสูง ๑๕.๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๖.๓ เซนติเมตร













๔. พระไภษัชยคุรุ





ขนาดตักกว้าง ๒๖ เซนติเมตร สูง ๖๒ เซนติเมตร













๕. พระหายโศก





ขนาดตักกว้าง ๒๔ เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน ๔๙.๕ เซนติเมตร









๖. พระพุทธสิหิงค์





ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร องค์พระสูง ๗๙ เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน ๑๓๕ เซนติเมตร









๗. พระชัยเมืองนครราชสีมา





ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๕.๓ เซนติเมตร สูง ๒๒.๒ เซนติเมตร









๘. พระพุทธรูปปางมารวิชัย





ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๗ เซนติเมตร สูงพร้อมฐาน ๕๔.๕ เซนติเมตร









ถ่ายมาไม่เห็นฐานค่ะ อาจจะได้มาอีกรอบ...





๙. พระพุทธรูปหยกรัสเซีย





ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ เซนติเมตร สูง ๑๙.๕ เซนติเมตร













ภาพโดยรวมค่ะ









ถ่ายภาพได้ แต่งดใช้แฟลชค่ะ อย่าแก้ตัวว่า แฟลชออโต้ขึ้นเองนะคะ มีเจ้าหน้าที่ดูแลเข้มงวดมาก...









ปีนี้มีพระพุทธรูปที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้ว ๕ องค์ค่ะ









เจ้าหน้าที่ เตรียมงานพิธีในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗





นบพระนวรัฐ พระปฏิมา ๙ แผ่นดิน

วันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ - วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗

เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.

ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ โทรสาร ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๔



Create Date :10 มกราคม 2557 Last Update :24 มกราคม 2559 13:57:00 น. Counter : 5703 Pageviews. Comments :39