bloggang.com mainmenu search




ไหว้พระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๕๕๖




ศุกร์สวัสดีค่ะ เมื่อปีที่แล้ว ได้มีโอกาสมาไหว้พระที่นี่ เคยอัพบล็อกไปแล้ว


//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=01-2012&date=24&group=11&gblog=42


เปรียบเทียบรูปกับปีที่แล้ว เราถ่ายมุมซ้ำมาไม่พอ ยังไปวันหยุดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอีกแ้ล้วค่ะ จำผิดคิดว่าพิพิธภัณฑ์ฯ หยุดวันจันทร์วันเดียว ปีนี้เห็นว่ามีพระพุทธรูปที่ไม่เหมือนปีที่แล้วอยู่ ๕ องค์ ตั้งใจมาวันธรรมดาคนจะได้น้อยหน่อยค่ะ















เรานั่งรถเมล์มาเองค่ะ ๑๑.๑๔ น. วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๖ สนามหลวงมีงาน









เดินไปเดินมาเห็นแผ่นปิด...เค้ามีการแสดงนี่เอง









ต้องเดินผ่านสนามหลวง









ทีแรกตั้งใจจะเข้าไปไหว้พระแก้วมรกตก่อนแล้วค่อยเดินไปพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แต่เปลี่ยนใจในบัดดล ไว้มาใหม่เช้ากว่านี้ค่ะ









ถึงแล้วค่ะ

















พระนารายณ์ทรงปืน

อยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระนารายณ์แหงนหน้าขึ้นมองฟ้า พระกรเบื้องซ้ายถือพระแสงคันศร พระกรขวาถือพระแสงศรดอกหนึ่ง ด้านหลังสะพายกระบอกใส่สูกศร นุ่งผ้าแบบไทยยาวถึงหน้าแข้ง (พระชงค์) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้น เพื่อจะนำไปตั้งหน้าพระราชวังรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี แต่ยังไม่ทันส่งไปก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ภายหลังจึงนำมาตั้งไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ











มาที่นี่หลายครั้ง เพิ่งเคยเข้าห้องน้ำค่ะ อยู่ใกล้พระตำหนักแดง สะอาดมาก รีบถ่าย กลัวใครออกมาจากห้องน้ำ อายเค้า









พระตำหนักแดง
















ด้านข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
















ทำบุญตามศรัทธาค่ะ เจ้าหน้าที่จัดพานดอกไม้ถวายพระงามมากค่ะ

















ความงามแต่ละองค์ค่ะ









แบบนี้ดีไหมคะ น่าจะชัดพอสมควร
















องค์ที่สองค่ะ























องค์ที่สามค่ะ
























องค์ที่สี่























องค์ที่ห้า
























องค์ที่ ๖ ค่ะ พระชัย (หลุดโฟกัส)
























องค์ที่ ๗ ค่ะ























องค์ที่ ๘ ค่ะ งามมากค่ะ
































องค์ที่ ๙ พระพุทธสิหิงค์ (ยอดแห่งสิริมงคลทั้งปวง)























ไหว้พระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๕๕๖

วันที่ ๑ - ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น.

ทุกวันไม่เว้นวันหยุด ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธสถานแห่งชาติ พระนคร

โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓

































พระเจ้าห้าพระองค์นาคปรก (ปกป้องทุกทิศ)









พระพุทธรัตนมหามุนี หรือ พระแก้วน้อย

พระพุทธรูปศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ องค์พระพุทธรูปจำหลักจากอัญมณีเนื้ออ่อนแก้วสีเขียว พุทธศิลป์ล้านนาสมัยหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับถวายจาก พ.ต.อ.อานนท์ อาขุบุตรและครอบครัว พระราชทานแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔










พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่

ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นพระพุทธรูปมงคลด้วยวัตถุพิเศษ ตามดำนานพระแก่นจันทน์ ว่าด้วยสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดายังดาวดึงส์สวรรค์เป็นเวลา ๓ เดือน พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงอนุสรณ์ถึงพระพุทธองค์ จึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ขึ้นในครั้งนั้น พระแก่นจันทน์จึงเป็นรูปแทนเสมือนองค์พระพุทธเจ้า เพราะสร้างในขณะพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระเจ้าแผ่นดินและผู้มีอำนาจวาสนา จึงมักสร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทน์หอมพระไม้แก่นจันทน์แดงทั้งคู่นี้ แสดงปางประทานอภัย มีความหมายถึงการปกป้องภยันตรายทั้งปวง












ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง บรรณาการจากเมืองเชียงใหม่










ตู้พระธรรมลายรดน้ำ























รามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลงสวนไปหานางสีดา










ตอนทศกัณฐ์ลงสวน นางสีดาผูกคอตาย










รามเกียรติ์ ชุดหนุมานอาสา ตั้งแต่พระรามรบกับทศกัณฐ์









จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ราว พ.ศ. ๒๓๓๘ – ๒๓๔๐ เป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ มีทั้งหมด ๒๘ ภาพ เขียนเป็นภาพแบบ ๒ มิติ ใช้สีฝุ่นผสมกาว ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณี โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีแดง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทำการเขียนซ่อมในส่วนที่ชำรุด จึงทำให้มีอิทธิพลจีนเข้ามาปรากฎในภาพตามความนิยมในยุคสมัยนั้น รวมทั้งวิธีการจัดภาพแบบ "Bird’s eye view" ซึ่งเป็นวิธีการมองภาพจากที่สูงลงมาทำให้เห็นภาพได้กว้างไกล แต่ยังคงรักษารูปแบบวิธีการเขียนภาพแบบ ๒ มิติ ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีอยู่












การวางภาพแบ่งเขียนเป็น ๒ ส่วน ส่วนบนเหนือกรอบประตูและหน้าต่างขึ้นไปทั้ง ๔ ด้าน เขียนภาพเทพชุมนุม ผนังตอนล่างระหว่างช่องประตูและหน้าต่าง เขียนภาพพุทธประวัติ การวางภาพซับซ้อนตามลักษณะโครงสร้างการวางภาพแบบโบราณ จัดท่าทางของภาพกลุ่มคนเป็นแบบนาฏลักษณ์ สีที่ใช้ในการเขียนเป็นแบบสีฝุ่น พื้นสีค่อนข้างหนัก โครงสีส่วนรวมมองเป็นสีแดงและสีม่วง ใช้กรอบสินเทาและพื้นสีในกรอบเน้นลำดับความสำคัญของภาพ ไม่นิยมใช้สีทองปิดประดับบริเวณที่ต้องการจะเน้น แต่นิยมปิดทองเฉพาะบางส่วน ภายในภาพจะสอดแทรกสภาพสังคม ประเพณี และระเบียบแบบแผนต่างๆ ในยุคสมัยนั้น













พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ลงสู่มนุษย์โลก










ราหุลออกบวช









พระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวานิพพาน












































ถ่ายภาพได้ แต่งดใช้แฟลช ค่ะ









มากี่ครั้งก็ยังพูดเหมือนเดิมค่ะ งาม...วิจิตร ที่นี่เมืองไทย























ศาลาสำราญมุขมาตย์









ต้นข่อยดัดรูปช้าง อ้วนกลม...









ระฆัง สมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดสัมฤทธิ์ สูง ๒๔๕.๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓๓ เซนติเมตร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อขึ้นสำหรับตีทุ่มโมง ที่โรงนาฬิการิมประตูเทวาพิทักษ์

เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระอภิเนาว์ ย้า่ยมาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เืมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐









ปืนใหญ่
















ชั่วโมงหนึ่งพอดี ไปแล้วค่ะ









หาโอกาสไปกันนะคะ หนึ่งปีมีเพียงหนึ่งครั้งถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ ยังทันค่ะ











Create Date :11 มกราคม 2556 Last Update :11 มกราคม 2556 5:37:23 น. Counter : 8801 Pageviews. Comments :69