14.16 น. วันที่ 4 กันยายน 2563 / เจดีย์วัดสามปลื้ม
ผ่านวังช้างอยุธยา แลเพนียด เดี๋ยวค่อยกลับมาอีกรอบค่ะ
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา หล่อด้วยทองสำริดและรมด้วยน้ำยาสีเขียว
ในพระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศาฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ
แผนที่
ถึงแล้วค่ะ วัดธรรมิกราช
วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช เป็นอดีตพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดธรรมิกราช สร้างขึ้นโดย พระยาธรรมิกราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งเดิมชื่อวัดมุขราช ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช
วัดธรรมมิกราช มีจุดเด่นที่สำคัญคือเป็นวัดที่มีการพบเศียรพระธรรมิกราชซึ่งนับเป็นเศียรพระพุทธรูปสำริดที่มีขนาดใหญ่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และเจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อมที่หาชมได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ที่พบคือวัดที่มีรูปปูนปั้นเป็นช้าง ในสมัยสุโขทัย เรียกว่า วัดช้างล้อม ซึ่งในวัดแห่งนี้เดิมมีสิงห์ล้อมถึง 52 ตัว แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 20 ตัว
ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่
พระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน)
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
เจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อมที่หาชมได้ยาก
พระนเรศวรมหาราช
วิหารเก้าห้อง
คาดว่าน่าจะเป็นตำแหน่งที่เจอเศียรพระพุทธรูปสำริด
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เศียรพระพุทธรูปสำริด ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 19 ได้มาจากวัดธรรมิกราช
15.56 น. วัดหน้าพระเมรุ
วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวไว้ว่า วัดหน้าพระเมรุราชิการาม สร้างขึ้นโดยพระองค์อินทร์ ในปี พ.ศ. 2047 ซึ่งตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าที่มาของชื่อวัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือที่เรียกว่าวัดหน้าพระเมรุนั้น มาจากทำเลที่ตั้งของวัดซึ่งได้สร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพกษัตริย์ พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุนั้นมีขนาดใหญ่ถึงเก้าห้อง เป็นสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนกลาง ที่มีหน้าบันจำหลักไม้รูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่งามวิจิตร ภายในพระอุโบสถแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ถือเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตราธิราชที่มีความสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฎในปัจจุบัน องค์พระเป็นเนื้อสำริดปิดทองขนาดใหญ่ตามคติการสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่สันนิษฐานว่ามีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากพบว่าศิลปะแห่งเครื่องทรงและพระพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปูนก่ออิฐภายในพระระเบียงวัดไชยวัฒนาราม อันเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
ในสงครามเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้น ข้าศึกได้ใช้วัดหน้าพระเมรุเป็นที่ตั้งกองบัญชาการรบ จึงทำให้วัดแห่งนี้สามารถรอดพ้นจากการถูกทำลายและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยภายในวัดยังมีสิ่งที่ทรงคุณค่าอื่น ๆ อีก ทั้งพระวิหารที่ประดิษฐานพระคันธารราฐ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ปางปฐมเทศนา
ข้อมูลจาก หนังสือ 108 เส้นทางออมบุญ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภายในพระอุโบสถ มีองค์จำลองของพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ และพระคันธารราฐ
พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ภายนอกฉาบด้วยปูน ลงรักปิดทอง ทรงเครื่องพระมหากษัตริย์ ปางมารวิชัย
คือเป็นตอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสำเร็จพระอรหันต์ นิ้วจรดลงไปที่พื้น เพื่อให้พระแม่ธรณีเป็นพยานว่า พระองค์ตรัสรู้แล้ว
พระพุทธรูปองค์นี้มีหน้าตักกว้าง 9 ศอกเศษ สูง 6 เมตรเศษ พระนามว่า "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ"
หรือ พระพุทธนิมิตฯ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่สุดและยังเป็นหนึ่งใน Unseen Thailand อีกด้วย
หน้าบันนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (26 องค์)
คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ
พระคันธารราฐ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีขนาดใหญ่อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา
เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมคงประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมาก่อน
ละได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้
ภาพจิตรกรรมแทบมองไม่เห็น
ภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ
วิหารน้อยสร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ลอกเลียนรูปแบบมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาตามความนิยมของศิลปะในช่วงนั้น
ถ่ายจากหน้าประตูเข้าไป
พระพุทธรูปศิลาเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้
ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่ก่อนสมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของโบโรบูดูร์ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว
นับเป็น 1 ใน 6 พระพุทธรูปที่สร้างจากศิลาที่มีอยู่ในโลก เป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก
พระวิหารหลวง
พระพุทธลีลา อายุ 800 กว่าปี สมัยลพบุรี
เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ
ได้ปรากฏในภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของอ็องรี มูโอ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5
หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปางชนะมารหุ้มด้วยเงินสีขาวบริสุทธิ์
ด้านหลังพระอุโบสถ
ด้านหน้าพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 26 องค์ ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ รวมเทวดา 48 องค์
พระปรางค์เหลือแค่นี้
คุณtoor36, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณปรศุราม, คุณnonnoiGiwGiw, คุณVELEZ, คุณสองแผ่นดิน, คุณSleepless Sea, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณKavanich96, คุณกะว่าก๋า, คุณหอมกร, คุณmcayenne94, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณออโอ, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณตะลีกีปัส, คุณทนายอ้วน, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณชีริว, คุณnewyorknurse, คุณtuk-tuk@korat, คุณMDG, คุณRinsa Yoyolive, คุณhaiku