bloggang.com mainmenu search



วัดโพธิ์ - วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร


เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธาราม วัดเก่าที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ  เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

พระอารามหลวงแห่งนี้ มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจน

มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ อำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น  "วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม"

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาส สวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่ พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้ บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ

เกร็ดประวัติศาสตร์ของการสถาปนาและการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนัก ช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้างสรรค์พุทธสถาน และสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวงด้วยพลังศรัทธา ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน  ที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยเปิดสรรพวิชาไทยแห่งแรก ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทยไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น  

ข้อมูลจาก  //www.watpho.com/






ซ้ายมือคือพระวิหารพระพุทธไสยาส จุดธูปกราบพระที่ด้านนอกค่ะ





วัดโพธิ์ เป็นอีกหนึ่งวัด ที่คนไทยเข้าชมฟรี ชาวต่างชาติต้องซื้อบัตร





ด้านหน้าจะมีถุงใส่รองเท้าไว้ให้ หิ้วถุงติดตัวไปด้วยได้เลย




พระพุทธไสยาส หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว ๑ เส้น ๓ วา (๔๖ เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว ๓๐ ศอก (๕ เมตร) กว้าง ๕ ศอก (๒.๕๐ เมตร) พระพุทธบาท ยาว ๕ เมตร สูง ๓ เมตร จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ










พระพุทธไสยาส เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามโดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกที่ฝ่าพระบาท ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่มีความงดงามเป็นเอกในบรรดาพระนอนด้วยกันเป็นที่เคารพสักการะ เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่งทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับเป็นพระพุทธปฏิมากรสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่บ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทั้งยังนับเนื่องอยู่ในคติการไหว้พระ ๙ วัด ของพุทธศาสนิกชน โดยมีคติว่าจะได้ ร่มเย็นเป็นสุข










ด้านหลังค่ะ









เครื่องแขวน






จิตรกรรมในพระวิหารพระพุทธไสยาส





บานประตู ด้านนอกเขียนลายรดน้ำลายผูกอาวุธ เป็นภาพเครื่องศาสตราวุธโบราณ ด้านในสีน้ำมันพื้นสีแดงเป็นรูปพระยานาคราช





สำเนาพระราชดำริ รัชกาลที่ ๓  ว่าด้วยการบูรณปฏิสังขรณ์ พระนอน









พระวิหารพระพุทธไสยาส หรือวิหารพระนอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเขตพุทธาวาส 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาส ขึ้นคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ  ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕






ตุ๊กตาจีนแต่งกายแบบฝรั่ง เป็นรูปมาร์โคโปโล คือ ฝรั่งคนแรกที่เดินทางเข้าไปในประเทศจีน และเผยแพร่อารยธรรมตะวันตกให้แก่ชาวจีน






มีอยู่ ๔ คู่ เป็นภาพสะท้อนของช่างจีน มองเห็นฝรั่งสมัยล่าอาณานิคมเป็นคนดุร้าย ก่อสงครามชิงเอาบ้านเมืองอยู่เนืองๆ






ซุ้มประตูทางเข้าวัด  เป็นซุ้มประตูทรงมงกุฎประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน  ลดหลั่นสีสันสดสวย

  ซุ้มประตูเข้าเขตพุทธาวาส  มีทั้งหมด  ๑๖ ประตู 

เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า  งานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้ เป็นรูปแบบที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ









เมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู จะเห็นตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า

“ลั่นถัน นายทวารบาล” ทำหน้าที่คอยเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในวัด






ถะ (เจดีย์ศิลปะจีน) ตั้งอยู่ระหว่างพระระเบียงชั้นนอกและชั้นใน รวม ๒๐ องค์








พระอุโบสถ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมา หรือพระอุโบสถ เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุด

โดยสร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัยรัชกาลที่ ๓






ซุ้มจรณัมประจำประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วย ไม้แก่น ยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานประตูพระอุโบสถ ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่อง รามเกียรติ์

ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง






พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร






อ่านเพิ่มเติม พระพุทธเทวปฏิมากร ได้ที่   //www.watpho.com/buddha.php






ที่ฐานชุกชีก่อไว้ ๓ ชั้น

ชั้นที่ ๑ บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๑ ไว้
ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี
ชั้นล่างสุด ประดิษฐาน พระมหาสาวก ๘ องค์ (พระอรหันต์ ๘ ทิศ)














เราอัพบล็อกวัดโพธิ์ ไปหลายครั้งแล้วค่ะ 





จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต (มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร)

คอสองในประธานทั้งสองข้างเขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช









ผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์

บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ในกรุงและหัวเมือง สมัยรัชกาลที่ ๓

ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง








ร้อนมาก  หลบแดด






รูปสลักและรูปปั้นศิลาแบบจีน นอกจากมีรูปลักษณ์เหมือนคนแล้ว ยังมีรูปกลอง รูปสัตว์ ช้าง มา ควาย ไก่ ลิง หมู ตั้งประดับตามลานบริเวณเขตพุทธาวาส






บางแห่งอยู่ข้างสวนหินขนาดใหญ่เล็ก ทุกตัวนั้นไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนแห่งศิลปกรรมจีนเท่านั้น ยังบอกถึงฝีมือช่างสลัก ช่างปั้นว่ามีชั้นเชิงแฝงด้วยภูมิธรรม ภูมิปัญญา และปรัชญาอันลุ่มลึกไว้ด้วย






พระวิหารคด  เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงเขตบริเวรพุทธสถานสำคัญ คือ พระอุโบสถหรือพระเจดีย์ เป็นรูปคดแบบหักศอก

ให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นที่สำหรับให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เดินจงกรม






พระวิหารทิศ เชื่อมต่อกับพระระเบียงอยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือและทิศใต้

แต่ละหลังอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาประดิษฐาน ไว้เป็นพระพุทธปฏิมาประธาน 













พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่






พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง ๔๒ เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย














ไม้เซลฟี่ ไปไหนก็เจอ








เดินออกมาแล้ว / แถวท่าเตียน จะเดินไปท่าเรือข้างหน้าค่ะ





เพื่อมาถ่ายภาพ พระปรางค์วัดอรุณ อยู่ฝั่งตรงข้าม





ท่าเรือท่าเตียน ที่เรามายืนถ่ายรูป พระปรางค์วัดอรุณ






















Create Date :22 เมษายน 2558 Last Update :22 เมษายน 2558 5:29:11 น. Counter : 10018 Pageviews. Comments :34