bloggang.com mainmenu search




วัดราชาธิวาสวิหาร
__________________________


กิจกรรมดี ๆ
(ฟรี) จากกรมการศาสนา

เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันที่  ๒๐  พฤษภาคม  ๒๕๕๙

มีสองเส้นทาง คือทางบก - รถโดยสารปรับอากาศ ขสมก. และทางเรือ - เรือด่วนเจ้าพระยา

ทางบก ขึ้นรถที่สนามหลวง, ทางเรือ ไปท่าเรือตามเส้นทางที่แวะวัด และท่ามหาราช




จากแผนที่ วัดต่อไป เราจะไปวัดราชาธิวาสกันต่อค่ะ




วัดที่ ๙ วัดสุดท้ายของทริปไหว้พระวันวิสาขบูชา ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙




สะพานพระราม ๘




สะพานกรุงธน







ตึกซ้ายมือของภาพ - โรงแรมรอยัลริเวอร์ค่ะ










วัดราชาธิวาส

เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนสามเสน ๙ แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

มีเนื้อที่ ๓๔ ไร่ ๒ งาน ๖๓ ตารางวา


ประวัติความเป็นมา

วัดราชาธิวาสวิหาร เดิมชื่อว่า "วัดสมอราย" คู่กับ "วัดสมอแครง" (วัดเทวราชกุญชร) อันอยู่ใกล้กันในปัจจุบันนี้

เป็นวัดโบราณมาก สันนิษฐานกันว่าสร้างสมัยกรุงละโว้ หรือก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง

แต่หลักฐานจากกองพุทธสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่า...วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๐ และผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาจาก “วัดสมอราย”

ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่

แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” มีความหมายว่า “วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา” เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย



สิ่งสำคัญในพระอาราม

พระอุโบสถ เป็นทรงขอมคล้ายนครวัด ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

มีห้องสามตอนคือ ห้องหน้าเป็นระเบียง ห้องกลางเป็นห้องพิธี








มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระประธาน มีนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ร. ๕ หล่อพระราชทาน)

หลังพระประธานเป็นซุ้มคูหา มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในแสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดก

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้ร่างภาพ

และ ศ. ซี. ริโกลี (C. Rigoli) จิตรกรชาวอิตาเลียน เป็นผู้เขียนด้วยการใช้สีปูนเปียก (Fresco)

จิตรกรคนเดียวกับที่เขียนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม



เคยมาวัดราชาธิวาส เคยอัพบล็อกไปเมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=05-07-2010&group=3&gblog=46

ตอนนั้นพระอุโบสถปิดบูรณะ เลยอยากมาอีกรอบ

วันนี้มา มีงานพิธีพอดี ไม่ได้เข้าไปด้านใน (อีกแล้ว) ค่ะ



ภาพจิตรกรรมสวยงามมาก







ซุ้มคูหาเหนือ พระสัมพุทธพรรณี ที่ออกแบบเป็น พระราชลัญจกรประยุกต์







พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔



ซุ้มคูหาเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันออกกับตะวันตกได้อย่างลงตัว

ซึ่งออกแบบเป็น "พระราชลัญจกรประยุกต์" ในรัชกาลที่ ๑-  ๕

โดยที่ยอดบนสุด แทนรัชกาลที่ ๑ เป็นรูปมหาอุณาโลม ซึ่งคำว่า อุ มีลักษณะเป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง"

       ถัดลงมาเป็นรูปครุฑจับนาค แทนรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ

อีกด้านเป็นรูปมหาปราสาท แทนรัชกาลที่ ๓ เพราะพระนามเดิมคือ "ทับ" ซึ่งหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน

       ถัดลงมาอีกเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ แทนรัชกาลที่ ๔ ตามพระนามเดิมคือ "เจ้าฟ้ามงกุฎ"

ส่วนอีกด้านเป็นรูปพระพิฆเนศ ถือพระจุลมงกุฎหรือพระเกี้ยว ซึ่งเป็นรูปที่มีความหมายคล้ายพระนามเดิมของรัชกาลที่ ๕ นั่นเอง












พระตำหนักสี่ฤดู  เป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่เป็นแบบตึก สร้างขึ้นโดยจำลองพระตำหนักสี่ฤดู ในวังสุโขทัยที่รื้อออกไป

มีวัสดุที่มาประกอบได้เพียงประตูตัวอาคารเป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ





ดูเงียบ ๆ เนาะ เดินแค่นี้ละกันค่ะ



ข้อความเขียนไว้ว่า ส่วนแห่งพระอัฏฐิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และอีก ๓ ท่านค่ะ



ระหว่างทางเดินไปศาลาการเปรียญค่ะ



ศาลาการเปรียญ อยู่ทางด้านหน้าวัด เป็นอาคารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ทรงให้สร้างเลียนแบบศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี (ซึ่งเป็นท้องพระโรงเก่าสมัยพระเจ้าเสือ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา)

เสาเป็นไม้ขนาดใหญ่ หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีมุขและมุขลดทั้งหน้าหลัง

หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน มีตราเครื่องหมายเป็นสำคัญ คือ ด้านหน้า (ด้านแม่น้ำเจ้าพระยา) มีตราจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว

อันเป็นพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ ๕ ด้านหลัง (ด้านตะวันออก) มีตราวชิราวุธ อันเป็นพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ ๖

ถือเป็นศาลาการเปรียญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย




ไม่มีเวลาแล้วค่ะ



รั้วเสาหิน เรียกว่า เสาอินทขีล สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕







ประทับตราเรียบร้อยแล้วค่ะ




๑๔.๐๘ น. ผ่านวัดเทวราชกุญชรอีกรอบ




สตีฟคาเฟ่ จากฝั่งแม่น้ำ



สะพานพระราม ๘




เรือนมัจฉา




วังบางขุนพรหม วังเทวะเวสม์ เห็นว่าอยู่ในบริเวณเดียวกัน













วัดสามพระยาวรวิหาร เคยมาแล้ว อัพบล็อกไปแล้วค่ะ




ร้านอาหาร "กินลม ชมสะพาน" เคยได้ยินแต่ชื่อ




สวนสันติชัยปราการ




พระที่นั่งสันติชัยปราการ




ป้อมพระสุเมรุ เพิ่งทาสี ขาวจั๊วะเลย




วันนี้ฟ้าสวยเนอะ




ต้นลำพู... ตอนน้ำท่วมปี ๕๔ นึกว่าไม่รอดแล้วค่ะ




ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย




สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
















ตึกคณะกรรมการกฤษฎีกา




มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์










ท่าพระจันทร์










ท่าพระจันทร์ใต้




ท่ามหาราช










ยังไม่จบนะคะ ต่อตอนหน้า....




*** วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๙ ไม่ได้เปลี่ยนหน้าบล็อกนะคะ ***


ขอบคุณข้อมูลจาก

//www.lib.su.ac.th

//www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9480000128604

วิกิพีเดีย



Create Date :01 ธันวาคม 2559 Last Update :1 ธันวาคม 2559 13:21:55 น. Counter : 3980 Pageviews. Comments :43