bloggang.com mainmenu search




วัดระฆังโฆษิตาราม วรมหาวิหาร


สวัสดีวันพฤหัสบดีที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔ ค่ะ เมื่อวานออกไปตะลอนทั้งวัน รอรับเมฆตอนเย็นเลย กว่าจะถึงบ้านก็เย็นมากแล้ว หมดแรงค่ะ ปวดหัวไมเกรนอีกต่างหาก...เลยยกยอดมาวันนี้ครั้งเดียวเลย...ไปต่อกันที่วัดสุดท้ายของทริปนี้เลยนะคะ อย่างที่บอก...ทริปนี้เราไม่ได้ตั้งใจมา ไม่ได้ทำการบ้านหาข้อมูลมา่ก่อน ถ่ายรูปกลับมาแล้ว ตอนทำบล็อกค่อยมาหาข้อมูลในเน็ตเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายมาอีกที...







ขึ้นเรือออกจากท่าวัดอรุณ ฝั่งตรงข้ามเป็นท่าเตียนค่ะ ณ เวลา ๑๕.๒๒ นาที












ผ่านตรงนี้ ไม่แน่ใจว่าใช่ท่าราชวรดิฐมั้ย พยายามเทียบรูปกับในเน็ต แต่เป็นคนละมุมเลยไม่แน่ใจค่ะ



















อีกฝั่งหนึ่งจะเป็นมุมนี้ค่ะ พระบรมมหาราชวัง











ถ้าเป็นกลางคืน เปิดไฟคงสวยงามมากเลย...



















อาคารราชนาวิกสภา เป็นอาคารแบบตะวันตก 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน มีไม้ประกอบ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันด้านหน้า (ด้านยาว)

ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตรงกับหมู่พระมหาปราสาทของพระบรมมหาราชวัง ฟากตรงข้ามของแม่น้ำ















กองทัพเรือต่อเรือ "อังสนา" เมื่อปี ๒๕๔๕ เพื่อใช้รับรองพระราชอาคันตุกะ, ประมุขของประเทศต่างๆ, แขกระดับสูงของรัฐบาล ขนาดตัวเรือยาว ๔๙ เมตร กว้าง ๑๐ เมตร รองรับผู้โดยสารประมาณ ๒๕๐ คน ใช้เครื่องยนต์เรือจากประเทศเยอรมนี มีขนาด ๕๙๑ แรงม้า ๒ เครื่องยนต์ มีเครื่องไฟฟ้า ๒๓๗ แรงม้า ๒ เครื่อง ความเร็วสูงสุด ๑๒ น็อต ภายในตกแต่งอย่างหรูหรา พร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกรวมทั้งระบบความปลอดภัยสูงสุด


เป็นหนึ่งในความภูมิใจของราชนาวีไทย

ต่อมาในปี ๒๕๕๐ กรมอู่ทหารเรือร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทดลองใช้น้ำมันแบบไบโอดีเซล บี 100 โดยใช้ปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อลดมลพิษและควันดำปกป้องสิ่งแวดล้อม การทดลองเป็นระยะเวลา ๓ ปีได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน เวลา ๑๗.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประทับเรืออังสนา เพื่อเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค จากท่าเทียบเรือสมาคมศิษย์เก่าไปยังประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ที่ ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อทรงทำพิธีเปิด และเสด็จฯ ทรงเปิดสะพานภูมิพล ๑-๒

จึงนับเป็นครั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทางชลมารคโดยเรือพระที่นั่งที่ใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี 100

















เรือแล่นไป...เราก็ถ่ายไป...



















รวดเร็วทันใจถึงแล้วค่ะ วัดระฆังในเวลา ๑๕.๒๖ นาที












เมฆอยากเลี้ยงปลา เลี้ยงนก แม่บอกว่าไว้ตอนกลับนะ...ลืมค่ะ ตอนกลับไปขึ้นรถเมล์เลยไม่ได้กลับมาตรงนี้อีก



















เข้าวัดทางประตูนี้ค่ะ












เดินลัดเลาะมาทางนี้ หาทางไปห้องน้ำ...นี่ค่ะ ศาลาการเปรียญ เจอโดยบังเอิญ











ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๖.๖๐ เมตร ยาว ๔๐.๘๐ เมตร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย











มาตั้งหลักตรงนี้ค่ะ มีม้าหินอ่อนให้นั่งพัก เมฆเหนื่อยค่ะ เลยตกลงกันว่าให้เมฆนั่งรอที่นี่ ห้ามไปไหนเด็ดขาด...จนกว่าแม่จะมา











ใกล้ๆ กันมีหอพระไตรปิฎก เลยขึ้นไปดูก่อนค่ะ















หอพระไตรปิฎก เป็นรูปเรือน ๓ หลังแฝด หอด้านใต้ลักษณะเป็นหอนอน หอกลางเป็นห้องโถง หอด้านเหนือเข้าใจว่าเป็นห้องรับแขก ของเดิมเป็นหลังคามุงจาก ได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะๆ เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล ใช้แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่างๆ บานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำ บานประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกนกเครือเถา บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกนกดอกไม้ภายนอกติดคันทวยสวยงาม ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ ๒ ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ ๑ ตู้ หอด้านใต้ ๑ ตู้ หอพระไตรปิฎกนี้ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ









พอเดินบันไดขึ้นมาจะเห็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระัพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ค่ะ











ตู้พระไตรปิฎกเขียนลายรดน้ำที่หอด้านเหนือ











งามเนาะ











มองจากมุมนี้เข้าไป จะเห็นตู้พระไตรปิฎกเขียนลายรดน้ำอีกตู้ค่ะ เราไม่กล้าเดินเข้าไป มืดๆ เงียบๆ




















เดี๋ยวเดินไปดูส่วนอื่นกันก่อนค่ะ












ถ้าจำไม่ผิดตรงนี้เป็นทางเดินออกไปศาลาการเปรียญ











ไม่แน่ใจว่าใช่พระวิหารมั้ย อยู่ใกล้ๆ พระอุโบสถ เดินเข้าไปดูใกล้ๆ ด้านหน้าเป็นที่เช่าบูชาพระเครื่องของวัดระฆัง












พระปรางค์องค์ใหญ่ค่ะ

















พระปรางค์องค์ใหญ่ รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระยาเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา


















ภาพสุดท้ายของบล็อกนี้ค่ะ











ข้อมูลจาก //www.watrakang.com/history.php






บล็อกหน้า...ตอนต่อของบล็อกนี้ค่ะ ยังอยู่ที่วัดระฆัง มหากาพย์ทริปนี้เกิน ๙ ตอนแน่นอนค่ะ






ขอบคุณทุกท่านที่แวะทักทายกัน









Create Date :01 กันยายน 2554 Last Update :1 กันยายน 2554 12:54:20 น. Counter : Pageviews. Comments :38