bloggang.com mainmenu search


ที่จั่วหัวไว้แบบนี้ เพราะเจ้าเอฟชวนเดินค่ะ ปลายทางเราจะไปวัดชนะสงครามกัน แ่ต่เธอบอกมีของอร่อยนำเสนอพี่หนูอีกแล้ว เป็นอาหารว่าง (เอฟว่าแบบนั้นนะ) รับรองอร่อยแน่... แต่น แต๊น....ก๋วยจั๊บญวนค่ะ ร้านนี้อยู่เยื้องป้อมพระสุเมรุ แถวถนนพระอาทิตย์ค่ะ


ไม่สามารถสั่งชามพิเศษได้ เพราะยังอิ่มอยู่...นี่ชามธรรมดาค่ะ




น้องคนทำบอก...อย่าถ่ายเลยพี่ ของหมดแล้ว ถ่ายไปไม่สวย ไม่เป็นไร...
อร่อยก็คืออร่อย...เนาะ



เหลือบมองโต๊ะข้างๆ เห็นเค้าสั่งยำหมูยอมากินเหมือนกัน แต่เราอิ่ม...ไว้เที่ยวหน้านะ...





ชื่อหน้าร้านเค้ามีอยู่แค่นี้ค่ะ



ขนมปังฝรั่งเศส ดูน่ากินนะคะ



อิ่มท้องออกจากร้านแล้ว เดินย่อยกันเลย (จริงๆ เอฟบอกว่า มีโรตีมะตะบะ เจ้านี้ก็อร่อย อยู่ใกล้ๆ กัน พี่รีบบอก...ไม่ไหวแล้วเอฟเอ๊ย...)

ขอมองป้อมพระสุเมรุแบบเต็มๆ ตา ที่ไม่ใช่นั่งรถโฉบไปมาหน่อยนะคะ







เดินผ่านสวนสันติชัยปราการ เค้ามีจัดงาน...เลยได้มาแค่นี้ค่ะ



เดินลัดเลาะมาด้านหลัง... ท่าพระอาิทิตย์ (น่าจะใช่นะ) มองเห็นสะพาน
พระราม 8 อยู่ไกลๆ ค่ะ



เหมือนโรคจิต ชอบถ่ายซ้ำๆ แล้วค่อยมาเลือกรูป สุดท้ายเลยเยอะ...







ไม่ได้มาแถวนี้บ่อยๆ ขอเก็บภาพอีกละกันค่ะ



ถึงแล้วค่ะ วัดชนะสงคราม




วัดชนะสงครามเป็น ๑ ใน ๙ วัดที่ควรมากราบไหว้เพื่อเสริมความสิริมงคล มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่มากราบไหว้บูชา จะ มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง สิ่งอันควรสักการะคือพระประธานในพระอุโบสถ และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จุดธูป ๕ ดอก เทียน ๑ เล่ม พร้อมดอกบัว ๑ ดอก

วัดชนะสงครามตั้งอยู่เลขที่ ๗๗ ถนนจักรพงษ์ แขวง บางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

วัดชนะสงครามในอดีต เป็นวัดโบราณขนาดเล็ก สร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่า “วัดกลางนา” เพราะบริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวมอญจากพื้นที่ต่างๆ เข้ามาเป็นกองกำลังทหารในการสู้รบกับพม่า และให้ครอบครัวทหารเหล่านั้นตั้งหลักฐานอยู่รอบวัดกลางนา พร้อมทั้งให้ก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดกลางนา เพื่อให้พระสงฆ์มอญจำพรรษา โดยลอกเลียนนามวัดและขนบธรรมเนียม “วัดตองปุ” ซึ่งเป็นวัดที่พระสงฆ์มอญพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและลพบุรี

เมื่อบ้านเมืองสงบสุขร้างศึกกับพม่าแล้ว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้บูรณะวัดตองปุใหม่ทั้งวัด ได้แก่พระอุโบสถ กุฎิสงฆ์ พร้อมทั้งถาวรวัตถุอื่น ๆ เมื่อสำเร็จ แล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร” เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง ๓ ครั้ง ตราบจนทุกวันนี้

รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้วัดตองปุเป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายมอญ เพื่อตอบแทนคุณความดีและเทิดเกียรติทหารมอญในกองทัพสมเด็จกรมพระวังบวร ฯ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ และสงครามที่ป่าซาง นครลำปาง เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐

นอกจากเป็นที่พำนักสงฆ์ฝ่ายมอญซึ่งมาจากชุมชนมอญหลายแห่งแล้ว วัดชนะสงครามในอดีตยังเป็นศูนย์กลางของคนมอญ ทั้งไปมาหาสู่และเป็นที่พักแรมของคนมอญในการสัญจรไปมาย่านพื้นที่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น บางกระดี่ พระประแดง สมุทรสาคร ปากเกร็ด สามโคก และอยุธยา เมื่อเดินทางผ่านมาถึงตรงวัดชนะสงคราม ก็เข้าจอดเรือพักแรม หุงหาอาหาร แวะเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่อยู่ในบริเวณใกล้วัด แล้วจึงค่อยออกเรือเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ผู้นำทหารฝ่ายมอญ รับราชการมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงรัชกาลที่ ๔ บ้านของท่านตั้งอยู่ใกล้วัดชนะสงคราม ที่ริมกำแพงพระนครตอนถนนพระอาทิตย์ เมื่อกรมพระนเรศวรฤทธิ์ประสูติในปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ นั้น เจ้าพระยามหาโยธามีความชื่นชมโสมนัสมาก ด้วยมีหลานเป็นพระราชกุมาร เป็นหลานโดยตรงทางเจ้าจอมมารดากลิ่น ถึงทำหนังสือมอบเวนที่บ้านถนนพระอาทิตย์ถวายเป็นของขวัญสมโภช กรมพระนเรศ ฯ ตั้งแต่แรกประสูติ

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงนำไม้ที่รื้อพระพิมานดุสิตา ซึ่งเคยเป็นหอพระในพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสร้างเสนาสนะไว้ที่วัดชนะสงคราม แต่ถูกระเบิดทำลายเมื่อคราวเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างกุฎิใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๙๖

พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการต่อ การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ.๒๔๗๐


สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท น่าจะเพิ่งบูรณะงามมากเลยค่ะ





พระประธานนามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร ประดิษฐานอยู่บนฐานสูง ๒ เมตร เดิมสูง ๑.๓๐ เมตร มีอัครสาวกยืนประนมมืออยู่ด้านหน้าพระประธาน ๒ องค์ เบื้องหลังพระประธานมีประภามณฑลโพธิพฤกษ์ และภาพจินตนาการ เบื้องบนมีฉัตรกั้น




รูปในพระอุโบสถถ่ายมาหลายรูปค่ะ ส่วนมากจะไหวหมดเลย

ส่วนอื่นๆ กำลังบูรณะ ไม่ค่อยสะดวกในการถ่ายรูป เลยพอแค่นี้ค่ะ

บล็อกหน้า ไปวัดบวรนิเวศวิหารค่ะ

ขอบคุณบีจี คุณญามี่

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก //pirun.kps.ku.ac.th

Create Date :07 กรกฎาคม 2553 Last Update :7 กรกฎาคม 2553 15:46:09 น. Counter : Pageviews. Comments :23