bloggang.com mainmenu search

วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๙๐ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร วัดเทวราชกุญชร นามเดิมว่า “สมอแครง” เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงสถาปนาใหม่ ต่อมาเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (ต้นสกุลมนตรีกุล) พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ จากนั้น กรมพระพิทักษ์เทเวศร (ต้นสกุลกุญชร ณ อยุธยา) พระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากุญชร” พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบูรณ์ปฏิสังขรณ์

วัดเทวราชกุญชร ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๑๘๕๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เหตุที่เรียกกันว่าวัดสมอแครง เล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก แต่บางท่านสันนิษฐานว่า คำว่าสมอ เพี้ยนมาจาก คำว่า ถมอ (ถะมอ) เป็นภาษาเขมรแปลว่า หิน วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า ถมอแครง แปลว่า หินแกร่งหรือหินแข็งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงรับเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า “วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร” พระองค์ทรงนำคำว่า เทวราช มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร ซึ่งเป็นพระนามเดิมของกรมพระพิทักษ์เทเวศรผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้


ข้อมูลจาก //www.watdevaraj.com/index.php?mo=10&art=108997




วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ค่ะ







มณฑปจตุรมุข เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ปฏิบัติธรรมและทำบุญถวายสังฆทาน







ขนาดของมณฑปจตุรมุขเท่ากันทั้ง ๔ ด้าน คือประมาณ ๑๒.๔๐ เมตร ยกพื้นสูงประมาณ ๑.๔๐ เมตร พื้นและผนังด้านในมณฑปปูด้วยหินอ่อน































พระอุโบสถ มีขนาดใหญ่และสูง กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๖ เมตร กรมพระพิทักษ์เทเวศรทรงสร้าง มีเขตพัทธสีมา กว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๔๓.๕๐ เมตร







มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์อยู่ทั้ง ๔ มุม











ภายในกำแพงแก้วด้านทิศเหนือมีวิหารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา






ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นศาลารายก่ออิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องดินเผา







พระอุโบสถ และเจดีย์







หน้าบันพระอุโบสถ











ซ้ายมือ ศาลาราย , ถัดมา เรือนสวยๆ นั่น "พิพิธภัณฑ์สักทอง" เดี๋ยวอัพบล็อกแยกอีกหมวดค่ะ







ใบเสมา























ผนังพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรม ผนังด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน เหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพเหตุการณ์ตอนเหล่าเทพยดามาชุมนุมกัน







ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดวงดึงส์







ส่วนผนังตอนล่างด้านหน้าระหว่างช่องประตูเป็นภาพทศชาติ เรื่อง สุวรรณสาม







ด้านข้างทั้ง ๒ ด้านเป็นภาพภิกษุกำลังปลงอสุภกรรมฐาน และด้านหลังเป็นภาพกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์



















พระพุทธเทวราชปฏิมากร พระประธานประจำพระอุโบสถ

เป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ฝีมือช่างสมัยทวารวดีผสมอู่ทอง ประดิษฐานบนฐานชุกชี หน้าตักกว้าง ๔.๓๕ เมตร สูงตั้งแต่ พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี ๕.๖๕ เมตร







พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถ นามว่า “พระพุทธเทวราชปฏิมากร” เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖



















































พระวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ







เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ๙ องค์







ภายในพระวิหารมีความงดงามด้วยจิตรกรรมฝาผนัง และมีเพชรประดับตามช่อดอกไม้จิตรกรรมฝาผนัง













Create Date :22 ตุลาคม 2557 Last Update :22 ตุลาคม 2557 5:28:36 น. Counter : 8128 Pageviews. Comments :27