bloggang.com mainmenu search




วัดนางนองวรวิหาร

วันวิสาขบูชา...สวัสดีค่ะ แรกเลยตั้งใจว่าจะออนบล็อกนี้วันจันทร์ เพราะภาพเยอะและจะต้องวางบล็อกนี้ไว้ยาวถึง ๓ วัน (ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์) เลยว่าจะลงวัดหนังก่อน เพิ่งเปลี่ยนใจค่ะ...

เราจอดรถไว้ที่วัดหนัง แล้วเดินมาที่วัดนางนอง วัดอยู่ใกล้ๆ กัน แค่ข้ามฝั่งถนนเดินมานิดเดียว เคยมาวัดนี้เมื่อ ๒ ปีก่อน ตอนนั้นกำลังบูรณะพระอุโบสถ ทิ้งช่วงมานานพอสมควร ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะกลับมาอีกรอบเมื่อบูรณะพระอุโบสถเสร็จ วัดนางนอง ก่อนบูรณะพระอุโบสถเมื่อสองปีก่อนค่ะ เคยอัพบล็อกไปแล้วค่ะ






พระวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันประดับปูนปั้นรูปมังกร ส่วนเจดีย์จีนประดับด้วยกระเบื้องสี





ไม่ได้เดินเข้าด้านหน้า มาทางนี้เห็นอะไรก่อน ถ่ายก่อนค่ะ





ประตูข้างทางกำแพงรอบนอก เป็นประตูโค้งแบบทรงฝรั่ง ลักษณะพิเศษคือมีประตู ๒ ชั้น เป็นวงกลมโค้งทั้งชั้นนอกและชั้นใน





พระวิหารปิด (อีกแล้ว)





สวยมากค่ะ








เราจะมีข้อถกเถียงกันหลายครั้งเรื่องการบูรณะ ถ้าเป็นแบบนี้เดิมๆ เลย มีคราบดำเป็นทางยาวตามกาลเวลา...





กับการทำความสะอาดแล้วทาสีใหม่...แต่ยังคงโครงสร้างเดิม...แบบไหนดูดีกว่ากันคะ





วัดนางนองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๖ ถนนวุฒากาศ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

วัดนางนองวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่แห่งนี้ไม่ปรากฏหลักฐานของการสร้าง แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ประมาณสมัยพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) ราวปี พ.ศ. ๒๒๔๕ - ๒๒๕๒

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ได้โปรดฯ ให้ทำเป็นงานใหญ่ รื้อของเก่า และปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ดังปรากฏงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในพระองค์ที่พระอุโบสถและพระวิหารคู่ และเพราะในแขวงบางนางนอง เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม พระราชชนนี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาตระกูลของสมเด็จพระศรีสุลาลัย ย้ายข้ามฟากไปอยู่บริเวณวัดหนัง จึงทรงบูรณะวัดนางนอง เนื่องในสมเด็จพระราชมารดาที่ว่า ศิลปแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศิลปกรรมที่เลียนแบบศิลปะจีน การบูรณปฏิสังขรณ์ใช้เวลาหลายปีจึงแล้วเสร็จ ได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔






พระปรางค์ วัดนางนองวรวิหารมีพระปรางค์คู่ ถ้ามองจากคลองด่าน ซึ่งเป็นด้านหน้าวัดพระปรางค์คู่นี้จะขนาบพระเจดีย์ประธานไม้ยี่สิบ เยื้องลงไปด้านหลังเล็กน้อย องค์แรกอยู่หลังวิหารหลวงพ่อผุด เป็นพระปรางค์ด้านเหนือ องค์ที่สองอยู่หลังวิหารศาลาการเปรียญ เป็นพระปรางค์ด้านใต้ ลักษณะทรงแปดเหลี่ยมอยู่บนฐานกลมยอดนภศูล






พระปรางค์ด้านใต้ค่ะ (คนละสีเลย...)





พระเจดีย์ประธานไม้ยี่สิบ ฐานเป็นทักษิณแปดเหลี่ยม ยอดแหลมเรียว





คนนี้ วุ่นวายกับแมว กับหมาค่ะ เห็นไม่ได้...





พระอุโบสถ กว้าง ๑๓.๘๒ เมตร ยาว ๒๖.๒๖ เมตร ลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานศิลปะจีน

มีุมุขโถงทั้งด้านหน้า และด้านหลัง โครงสร้างเป็นแบบก่อผนังรับน้ำหนักรับโครงหลังคา โครงหลังและฝ้าเพดานเป็นไม้สัก





หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบมีลายประดับบันปั้นลม





บานประตูด้านนอกประดับมุกทั้งบาน เขียนลายงดงามมาก








พระอุโบสถปิด มองไปมองมาเห็นหลวงพี่กำลังถอนพวกวัชพืช เลยถาม...ปิดเหรอคะ





หลวงพี่บอกว่า เดี๋ยวไปเปิดให้ รอเดี๋ยวนะ รีบยกมือไหว้ขอบคุณค่ะ ระหว่างรอ...เฝ้าหน้าประตูกันเลย





เจ้าถิ่นออกเดินตรวจตราความเรียบร้อย...





ดูใกล้ๆ งามมาก บานประตูด้านนอกประดับมุกทั้งบาน





หลวงพี่เปิดประตูให้แล้ว เราไม่กล้าเปิดหน้าต่าง...แสงเท่าที่มี ขออนุญาตถ่ายรูปแล้วค่ะ





บานประตูด้านในเขียนลายรดน้ำ บานหน้าต่างเขียนภาพเรื่องในวรรณคดี ส่วนที่บานประตูและผนังด้านในเขียนเรื่องจีน





เช่น สามก๊ก ฮก ลก ซิ่ว ด้วยเทคนิคลายรดน้ำผสมสีที่เรียกว่า ลายกำมะลอ











ซึ่งนิยมใช้เขียนกันในจีนและญี่ปุ่น สันนิษฐานว่าภาพดังกล่าวอาจเขียนโดยช่างฝีมือจีน





ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องท้าวมหาชมพู ในพระอุโบสถวัดนางนองวรวิหาร เขียนเรื่องท้าวมหาชมพูตามเนื้อหาในพระสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ





โดยเริ่มเรื่องที่ผนังตรงข้ามพระประธาน แล้วลำดับเรื่องต่อไปที่ฝาผนังด้านขวาของพระประธาน





ฉากสำคัญของเรื่องเขียนอยู่ด้านหลังพระประธาน จากนั้นจึงดำเนินเรื่องตอนท้ายพระสูตร ที่ฝาผนังด้านซ้ายของพระประธาน





ลางเลือน มองไม่ค่อยเห็นแล้วค่ะ





ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปิดทอง พระนามว่า "พระพุทธมหาจักรพรรดิ" เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย

พระพักตร์พุทธศิลป์อย่างสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๒ เมตร ๒๕ เซนติเมตร (๔ ศอกครึ่ง)





เครื่องทรงต่างๆ สร้างขึ้นต่างหากจากองค์พระ สามารถถอดและทรงได้เป็นชิ้น ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีปั้นลายปิดทองประดับกระจก





กล่าวได้ว่าพระพุทธมหาจักรพรรดิ คือ งานประติมากรรมชิ้นเยี่ยม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีความงามอย่างวิจิตรอลังการ





มงกุฎทรงของพระพุทธมหาจักรพรรดิ มีประวัติว่า องค์ที่สวมอยู่นี้เป็นองค์ที่ ๒

องค์แรกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม





เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณฯ เมื่อเดือน ๑๒ พุทธศักราช ๒๓๙๐ พระพุทธมหาจักรพรรดิ เดิมไม่มีพระนาม





เพิ่งได้มีการถวายพระนามในภายหลัง ด้วยพิจารณาว่าพุทธลักษณะแสดงถึงพระพุทธมหาจักรพรรดิทางธรรม








พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓





ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องท้าวมหาชมพู (จนบัดนี้ ก็ยังอ่านภาพจิตรกรรมฝาผนังไม่เป็นค่ะ)














ไปแล้วค่ะ





ด้านหน้าพระอุโบสถ











ใบเสมาคู่ แสดงว่าเป็นวัดหลวง








พระวิหารด้านใต้หรือศาลาการเปรียญ หน้าบันศิลปจีนลายมังกรล่อแก้ว





ล้อมสังกะสี








ไปแล้วนะ











เมฆหันมาเรียกแม่ ระวังรถ





ภาพสุดท้าย...เดินมาที่จอดรถวัดหนังค่ะ






Create Date :24 พฤษภาคม 2556 Last Update :8 พฤษภาคม 2559 15:10:48 น. Counter : 18234 Pageviews. Comments :48