bloggang.com mainmenu search

14.16 น. วันที่ 4 กันยายน 2563 / เจดีย์วัดสามปลื้ม


 

ผ่านวังช้างอยุธยา แลเพนียด เดี๋ยวค่อยกลับมาอีกรอบค่ะ





พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์

พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา หล่อด้วยทองสำริดและรมด้วยน้ำยาสีเขียว

ในพระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศาฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น



รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ



แผนที่





ถึงแล้วค่ะ วัดธรรมิกราช

วัดธรรมิกราช เดิมชื่อ วัดมุขราช เป็นอดีตพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพระราชวังโบราณ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดธรรมิกราช สร้างขึ้นโดย พระยาธรรมิกราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งเดิมชื่อวัดมุขราช ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตามผู้สร้างเป็นวัดธรรมิกราช

วัดธรรมมิกราช มีจุดเด่นที่สำคัญคือเป็นวัดที่มีการพบเศียรพระธรรมิกราชซึ่งนับเป็นเศียรพระพุทธรูปสำริดที่มีขนาดใหญ่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และเจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อมที่หาชมได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ที่พบคือวัดที่มีรูปปูนปั้นเป็นช้าง ในสมัยสุโขทัย เรียกว่า วัดช้างล้อม ซึ่งในวัดแห่งนี้เดิมมีสิงห์ล้อมถึง 52 ตัว แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 20 ตัว

ปัจจุบันยังเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษาและปฏิบัติธรรมอยู่
 



พระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน)







พระวิหารพระพุทธไสยาสน์









เจดีย์ทรงกลมที่มีปูนปั้นรูปสิงห์ล้อมที่หาชมได้ยาก







พระนเรศวรมหาราช













วิหารเก้าห้อง





















คาดว่าน่าจะเป็นตำแหน่งที่เจอเศียรพระพุทธรูปสำริด



ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

เศียรพระพุทธรูปสำริด ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 19 ได้มาจากวัดธรรมิกราช 







15.56 น. วัดหน้าพระเมรุ



วัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวไว้ว่า วัดหน้าพระเมรุราชิการาม สร้างขึ้นโดยพระองค์อินทร์ ในปี พ.ศ. 2047 ซึ่งตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าที่มาของชื่อวัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือที่เรียกว่าวัดหน้าพระเมรุนั้น มาจากทำเลที่ตั้งของวัดซึ่งได้สร้างขึ้นตรงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพกษัตริย์ พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุนั้นมีขนาดใหญ่ถึงเก้าห้อง เป็นสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนกลาง ที่มีหน้าบันจำหลักไม้รูปพระนารายณ์ทรงครุฑที่งามวิจิตร ภายในพระอุโบสถแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ถือเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตราธิราชที่มีความสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฎในปัจจุบัน องค์พระเป็นเนื้อสำริดปิดทองขนาดใหญ่ตามคติการสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่สันนิษฐานว่ามีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากพบว่าศิลปะแห่งเครื่องทรงและพระพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปปูนก่ออิฐภายในพระระเบียงวัดไชยวัฒนาราม อันเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

ในสงครามเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นั้น ข้าศึกได้ใช้วัดหน้าพระเมรุเป็นที่ตั้งกองบัญชาการรบ จึงทำให้วัดแห่งนี้สามารถรอดพ้นจากการถูกทำลายและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ โดยภายในวัดยังมีสิ่งที่ทรงคุณค่าอื่น ๆ อีก ทั้งพระวิหารที่ประดิษฐานพระคันธารราฐ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ปางปฐมเทศนา 

ข้อมูลจาก หนังสือ 108 เส้นทางออมบุญ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
 



ภายในพระอุโบสถ มีองค์จำลองของพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ และพระคันธารราฐ







พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ภายนอกฉาบด้วยปูน ลงรักปิดทอง ทรงเครื่องพระมหากษัตริย์ ปางมารวิชัย 

คือเป็นตอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสำเร็จพระอรหันต์ นิ้วจรดลงไปที่พื้น เพื่อให้พระแม่ธรณีเป็นพยานว่า พระองค์ตรัสรู้แล้ว



พระพุทธรูปองค์นี้มีหน้าตักกว้าง 9 ศอกเศษ สูง 6 เมตรเศษ พระนามว่า "พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ"

หรือ พระพุทธนิมิตฯ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่สุดและยังเป็นหนึ่งใน Unseen Thailand อีกด้วย







หน้าบันนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (26 องค์)

คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ











พระคันธารราฐ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีขนาดใหญ่อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา 

เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมคงประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมาก่อน

ละได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้






ภาพจิตรกรรมแทบมองไม่เห็น



ภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง  ๆ



วิหารน้อยสร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ลอกเลียนรูปแบบมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาตามความนิยมของศิลปะในช่วงนั้น




ถ่ายจากหน้าประตูเข้าไป



พระพุทธรูปศิลาเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้

ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่ก่อนสมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของโบโรบูดูร์ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว

นับเป็น 1 ใน 6 พระพุทธรูปที่สร้างจากศิลาที่มีอยู่ในโลก เป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก

 


พระวิหารหลวง



พระพุทธลีลา อายุ 800 กว่าปี สมัยลพบุรี









เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ

ได้ปรากฏในภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของอ็องรี มูโอ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5







หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปางชนะมารหุ้มด้วยเงินสีขาวบริสุทธิ์





ด้านหลังพระอุโบสถ



ด้านหน้าพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 26 องค์ ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ รวมเทวดา 48 องค์





พระปรางค์เหลือแค่นี้



Create Date :02 พฤศจิกายน 2563 Last Update :2 พฤศจิกายน 2563 19:10:14 น. Counter : 6708 Pageviews. Comments :0