bloggang.com mainmenu search
ตอนที่ 10 ตอนสุดท้ายของทริปกำแพงเพชร - สุโขทัย - อยุธยา ทริปนี้ 4 วัน 3 คืน ส่วนมากเป็นโบราณสถาน เป็นวัด ถ่ายรูปมามากมายเช่นเคย...

ตราบใดที่ยังไม่เบื่อถ่ายรูป คงได้อัปบล็อกเรื่อย ๆ ค่ะ เราไม่ถนัดเล่าเรื่องด้วยตัวหนังสือ เอาเป็นว่าเราพูดไม่ค่อยรู้เรื่องมากกว่า ให้ภาพเล่าเรื่องน่าจะดีที่สุด

10.31 น. วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 วัดใหญ่ชัยมงคล



ไม่ได้เดินขึ้นด้านบนค่ะ สาย ๆ แบบนี้ ร้อนมาก 















มีเด็กนักเรียนมาทัศนศึกษาเยอะเลยค่ะ 





วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้ง พ.ศ. 1900 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดศพเจ้าแก้วและเจ้าไท ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคขึ้นมาเผา ที่ปลงศพนั้นโปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม นามว่า วัดป่าแก้ว ต่อมาคณะสงฆ์สำนักวัดป่าแก้วที่ได้บวชเรียนมา จากสำนักรัตนมหาเถระในประเทศศรีลังกา คณะสงฆ์นี้ได้เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่ชาวกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทำให้ผู้คนต่างมาบวชเรียนในสำนักสงฆ์คณะป่าแก้วมากขึ้น สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง จึงทรงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์ มีตำแหน่งเป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายคันถธุระ ต่อมาเป็นที่พำนักของพระภิกษุคณะป่าแก้ว ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัตน์ เป็นประธานสงฆ์ จึงได้ชื่อว่า วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว







เป็นหนึ่งในวัดที่มีนักท่องเที่ยวมาเยอะมาก



























พระพุทธไสยาส์น วัดใหญ่ชัยมงคล











ขัดใจร่มแดงจัง







ออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล เราไปกินมื้อกลางวัน ที่ร้านก๋วยเตี๋ยวในคลอง อัปบล็อกไปตอนที่แล้ว



12.02 น. วัดกุฎีดาว



วัดกุฎีดาว มีสภาพเป็นวัดร้าง  กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติใน พ.ศ. 2478
ซากโบราณสถานของวัดกุฎีดาวเป็นกลุ่มโบราณสถานในเขตพุทธาวาส อยู่ในวงกำแพงแก้ว มีเฉพาะอาคารพระตำหนัก หรือที่เรียกกันว่า กำมะเลียน เท่านั้น ส่วนที่อยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศเหนือ เข้าใจว่าอาจเป็นเขตสังฆาวาสในสมัยโบราณ แต่กุฏิเสนาสนะอื่น ๆ คงปรักพังสูญหายไปตามกาลเวลา เนื่องจากสมัยโบราณนิยมสร้างด้วยเครื่องไม้









 อุโบสถตั้งอยู่ด้านหน้าวัดและหน้าเจดีย์ใหญ่ ลักษณะฐานด้านข้างเป็นเส้นโค้งหย่อนดังท้องสำเภาตามแบบอยุธยาสภาพอาคารปัจจุบันปรักพัง เหลือผนังเพียง 3 ด้าน คือ ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง หลังคาคงจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งหักพังหมดแล้วเหลือร่องรอยเป็น ช่องรับขื่อคานและคันทวย







เจดีย์ประธาน





























อุโบสถ









หน้าต่างหลอก





ศาลปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ขวามือของภาพค่ะ





ฐานหน้าต่างหลอก



หน้าต่างจริง



ศาลปู่โสมเฝ้าทรัพย์











12.43 น. วัดมเหยงคณ์





วัดมเหยงคณ์ หรือ วัดมหิยงคณ์ มีความหมายถึง ภูเขา หรือ เนินดิน คำว่า มเหยงคน์เป็นชื่อของพระธาตุที่มีความสำคัญของศรีลังกา เรียกว่า มหิยังคณ์เจดีย์ เดิมเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ
 ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมเหยงคณ์เป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2484 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2544







อุโบสถที่เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่บนฐานสูง 2 ชั้น ความกว้าง 18 เมตร ความยาว 36 เมตร มีประตูทางเข้าด้านตะวันออก 3 ช่อง ด้านตะวันตก 2 ช่อง















มีเจดีย์ฐานช้างล้อม อยู่ด้านหลังอุโบสถทางทิศตะวันตก พ้นเขตกำแพงแก้ว ลักษณะขององค์เจดีย์เป็นรูปแบบของลังกาเหนือ เหมือนเจดีย์ช้างล้อมที่สุโขทัย 











อุโบสถ









พระวิหาร













































ภาพสุดท้าย จบทริปแล้วค่ะ



 ความเดิม 
  
ตอนที่ 1 น้ำตกคลองลาน กำแพงเพชร
ตอนที่ 2 อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร - วัดอาวาสใหญ่, วัดช้างรอบ, วัดสิงห์
ตอนที่ 3  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร - วัดพระสี่อิริยาบถ, วัดพระนอน, วัดพระธาตุ, วัดพระแก้ว
ตอนที่ 4 โบสถ์ศิลาแลง, วัดพระบรมธาตุ กำแพงเพชร
ตอนที่ 5 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - วัดศรีชุม, วัดพระพายหลวง, วัดช้างล้อม
ตอนที่ 6 อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - วัดมหาธาตุ, วัดตระพังเงิน, วัดศรีสวาย, วัดตระพังทอง
ตอนที่ 7 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดจุฬามณี พิษณุโลก
ตอนที่ 8 วัดพระงาม, วัดไชยวัฒนาราม, วัดนักบุญยอแซฟ พระนครศรีอยุธยา
ตอนที่ 9 วัดพุทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
Create Date :05 เมษายน 2567 Last Update :5 เมษายน 2567 14:40:42 น. Counter : 827 Pageviews. Comments :0