ทริป พังงา ภูเก็ต
วันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ 2567 3 วัน 2 คืน
วันสุดท้ายของทริปนี้ค่ะ 26 กุมภาพันธ์ 2567 เช้านี้ เรามีนัดหมายกัน 6 โมงเช้าออกมาเดินเล่น ถ่ายรูปกัน ใครใคร่มาก็มา ใครอยากนอนต่อก็นอน
06.16 น.
7 โมงเช้าไปเจอกันที่ร้านบุญรัตน์ ติ่มซำค่ะ น้องอ้นแจ้งในไลน์กรุ๊ปว่า เอากระเป๋ามาวางรวมกันข้างล่างเลย
รถตู้จะมารับกระเป๋าก่อนที่โรงแรม และ 8 โมงเช้า รถจะไปรับพวกเราที่ร้านติ่มซำ

วันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ 2567 3 วัน 2 คืน
วันสุดท้ายของทริปนี้ค่ะ 26 กุมภาพันธ์ 2567 เช้านี้ เรามีนัดหมายกัน 6 โมงเช้าออกมาเดินเล่น ถ่ายรูปกัน ใครใคร่มาก็มา ใครอยากนอนต่อก็นอน
06.16 น.

7 โมงเช้าไปเจอกันที่ร้านบุญรัตน์ ติ่มซำค่ะ น้องอ้นแจ้งในไลน์กรุ๊ปว่า เอากระเป๋ามาวางรวมกันข้างล่างเลย
รถตู้จะมารับกระเป๋าก่อนที่โรงแรม และ 8 โมงเช้า รถจะไปรับพวกเราที่ร้านติ่มซำ

หอนาฬิกาภูเก็ต สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ รูปทรงของอาคารเป็นรูปตัวแอล ตรงมุมถนนตรงกันข้ามกับธนาคารชาร์เตอร์ ด้านหนึ่งอยู่บนถนนภูเก็ตมีสามคูหา อีกด้านหนึ่งอยู่ถนนพังงามีสามคูหาเช่นกัน มีมุมตรงสี่แยกส่วนโค้งอีกหนึ่งคูหา รวมเป็นเจ็ดคูหา
เป็นอาคาร 2 ชั้น ไม่มีทางเดินที่เรียกว่า หง่อก่ากี่เหมือนอาคารอื่น แต่การแบ่งช่องคูหารูปโค้งแบบโรมัน ที่น่าสังเกต คือ คูหากลางมีความกว้างกว่าคูหาซ้ายขวารวมทั้งคูหาตรงมุมถนนด้วย แต่ละคูหาประกอบด้วยเสาทรงสี่เหลี่ยมแบบโดริก ตรงตอม่อมีฐานรอบรับแต่ไม่มีเสา ระหว่างตอม่อทั้งสองข้างส่วนโค้งก่อปูนทึบขึ้นไปเฉพาะขอบเส้นโค้งทำเป็นลายเส้นลดหลั่นกัน จนถึงคีย์สโตน หรือสลักหิน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเสาสำหรับประตูหน้าต่าง ส่วนช่องเสาทางโค้งตรงมุมถนนก่อทึบตั้งแต่ฐานชั้นล่างขึ้นไปจนถึงคีย์สโตน เช่นเดียวกับช่องเสาแรกถนนพังงาก่อทึบทั้งหมด เหลือไว้เพียงสองคูหา
ส่วนรูปคีย์สโตน ทำเป็นรูปเฟลอร์เดอลี เอาเฉพาะสามแฉกส่วนล่างเท่านั้น น่าจะมีความหมายถึง กองเสือป่าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือตำรวจในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ช่วยจับผู้ร้าย ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างหน่วยงานรัฐกับชาวบ้าน
อาคารหลังนี้จึงน่าจะสร้างหลังจาก รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ภูเก็ต พ.ศ. 2460 ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้แสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในส่วนที่เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ และเป็นส่วนหนึ่งของอาคารธนาคารชาร์เตอร์
ข้อมูลจาก https://phuketcity.info/default.asp?content=contentdetail&id=33182
เป็นอาคาร 2 ชั้น ไม่มีทางเดินที่เรียกว่า หง่อก่ากี่เหมือนอาคารอื่น แต่การแบ่งช่องคูหารูปโค้งแบบโรมัน ที่น่าสังเกต คือ คูหากลางมีความกว้างกว่าคูหาซ้ายขวารวมทั้งคูหาตรงมุมถนนด้วย แต่ละคูหาประกอบด้วยเสาทรงสี่เหลี่ยมแบบโดริก ตรงตอม่อมีฐานรอบรับแต่ไม่มีเสา ระหว่างตอม่อทั้งสองข้างส่วนโค้งก่อปูนทึบขึ้นไปเฉพาะขอบเส้นโค้งทำเป็นลายเส้นลดหลั่นกัน จนถึงคีย์สโตน หรือสลักหิน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเสาสำหรับประตูหน้าต่าง ส่วนช่องเสาทางโค้งตรงมุมถนนก่อทึบตั้งแต่ฐานชั้นล่างขึ้นไปจนถึงคีย์สโตน เช่นเดียวกับช่องเสาแรกถนนพังงาก่อทึบทั้งหมด เหลือไว้เพียงสองคูหา
ส่วนรูปคีย์สโตน ทำเป็นรูปเฟลอร์เดอลี เอาเฉพาะสามแฉกส่วนล่างเท่านั้น น่าจะมีความหมายถึง กองเสือป่าที่มีหน้าที่ช่วยเหลือตำรวจในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ช่วยจับผู้ร้าย ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างหน่วยงานรัฐกับชาวบ้าน
อาคารหลังนี้จึงน่าจะสร้างหลังจาก รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ ภูเก็ต พ.ศ. 2460 ปัจจุบัน อาคารหลังนี้ใช้แสดงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในส่วนที่เกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ และเป็นส่วนหนึ่งของอาคารธนาคารชาร์เตอร์
ข้อมูลจาก https://phuketcity.info/default.asp?content=contentdetail&id=33182


เรามาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หลังเทศกาลตรุษจีน - หางมังกร








ในอดีตอาคารพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์ ถูกเรียกขานว่า ธนาคารชาร์เตอร์ ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2452 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต เล็งเห็นว่าภูเก็ตมีการค้าขายรุ่งเรือง เห็นสมควรให้มีการก่อสร้างธนาคารแห่งแรกขึ้น โดยในเวลาต่อมาธนาคารได้ขอให้มีการก่อสร้างสถานีตำรวจฝั่งตรงข้ามเพื่อรักษาความปลอดภัย เป็นสถานีตำรวจตลาดใหญ่ ธนาคารชาร์เตอร์ ดำเนินกิจการจนถึงปี พ.ศ. 2532 หลังจากนั้นธนาคารนครหลวงไทยเช่าเป็นสำนักงานสาขาภูเก็ต และภายหลังสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ตมอบให้เทศบาลนครภูเก็ตปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในตัวเมือง เทศบาลนครภูเก็ตได้ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคาร โดยได้รับการสนับสนุนจากหลาย ๆ ฝ่าย กระทั่งในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ “พิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560
รูปแบบดั้งเดิมของตัวอาคาร 2 ชั้นแห่งนี้ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน ชั้นบนเป็นพื้นไม้ ส่วนระเบียงชั้นสองเป็นพื้นปูน มีช่องโค้งเรียงตามแบบอาคารยุโรปยุคคลาสสิก พื้นชั้นสองอาศัยการค้ำจุนด้วยผนังหนา และคานเหล็กที่หล่อมาจากประเทศอังกฤษ หลังคาแต่เดิมเป็นกระเบื้องดินเผากาบกล้วยแบบจีน หน้าต่างประตูทำด้วยไม้ รูปแบบการก่อสร้างได้รับอิทธิพลมาจากทางปีนัง ด้านล่างเป็นสำนักงาน ด้านบนเป็นสโมสรพนักงาน แต่ปัจจุบัน หลังจากได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยมุ่งเน้นดำรงคุณค่าของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะอาคารแห่งนี้นับเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต อาคารถูกใช้เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากเหง้าของชาวพื้นถิ่นภูเก็ต หรือ ชาวเพอรานากัน ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยและแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ
รูปแบบดั้งเดิมของตัวอาคาร 2 ชั้นแห่งนี้ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน ชั้นบนเป็นพื้นไม้ ส่วนระเบียงชั้นสองเป็นพื้นปูน มีช่องโค้งเรียงตามแบบอาคารยุโรปยุคคลาสสิก พื้นชั้นสองอาศัยการค้ำจุนด้วยผนังหนา และคานเหล็กที่หล่อมาจากประเทศอังกฤษ หลังคาแต่เดิมเป็นกระเบื้องดินเผากาบกล้วยแบบจีน หน้าต่างประตูทำด้วยไม้ รูปแบบการก่อสร้างได้รับอิทธิพลมาจากทางปีนัง ด้านล่างเป็นสำนักงาน ด้านบนเป็นสโมสรพนักงาน แต่ปัจจุบัน หลังจากได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยมุ่งเน้นดำรงคุณค่าของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะอาคารแห่งนี้นับเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต อาคารถูกใช้เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากเหง้าของชาวพื้นถิ่นภูเก็ต หรือ ชาวเพอรานากัน ที่มีรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยและแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ






ร้านเมื่อวานที่เราเข้าไปซื้อกาแฟ


มาทันไฟ ก่อนสว่าง






มีรถประจำทางหลายสายเหมือนกัน


ถ่ายไปเรื่อยเนาะ



สว่างแล้ว ด้านนี้เห็นชื่อธนาคารชัด



ธนาคารออมสิน ไม่ได้เดินไปถ่ายด้านหน้า ทั้งเมื่อวาน วันนี้

รถเทศบาล มารดน้ำต้นไม้พอดี





ฝาท่อเทศบาลนครภูเก็ต

07.13 น. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 - ร้านบุญรัตน์

เมนู


รถโพถ้อง หรือรถสองแถว เอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของภูเก็ต มีหลายสายค่ะ

วัดพระนางสร้าง ถ่ายจากบนรถตู้ค่ะ


09.00 น. หาดไม้ขาว

มาดูเครื่องบิน มาถ่ายรูปกับเครื่องบิน

หาดไม้ขาว เป็นชายหาดที่ยาวที่สุดของจังหวัดภูเก็ต แนวหาดจะต่อจากหาดในยางผ่านสนามบินเรื่อยมาจนจรดหาดทรายแก้วติดต่อกันตลอดแนว นักท่องเที่ยวไม่นิยมเล่นน้ำบริเวณนี้เนื่องจากพื้นทะเลค่อนข้างลึกและลาดชัน นอกจากนี้บริเวณหาดไม้ขาวยังเป็นแหล่งที่อยู่ของจักจั่นทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดภูเก็ต อีกทั้งยังเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเลอีกด้วย








มาไว ไปไวมากค่ะ





ไปแล้วค่ะ นั่งรถสามล้อพ่วงข้าง กลับไปที่ลานจอดรถ

ตอนที่ 1 อ่าวพังงา เขาพิงกัน เขาตาปู
ตอนที่ 2 Street Art น้องมาร์ดี เมืองพังงา, เหมืองหินถ้ำทองหลาง, หาดนางทอง
ตอนที่ 3 จุดชมวิวเสม็ดนางชี, ร้าน Cafe Phuket View Point
ตอนที่ 4 วัดฉลอง ครัวระย้า Hotel Midtown Ratsada - ภูเก็ต
ตอนที่ 5 ตะวันลาที่แหลมพรหมเทพ
Create Date :30 กันยายน 2567
Last Update :30 กันยายน 2567 17:37:15 น.
Counter : 1071 Pageviews.
Comments :0
คุณหอมกร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณปัญญา Dh, คุณmultiple, คุณอุ้มสี, คุณปรศุราม, คุณทนายอ้วน, คุณกะว่าก๋า, คุณtoor36, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณSweet_pills, คุณThe Kop Civil, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณpeaceplay, คุณ**mp5**, คุณtuk-tuk@korat, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณเนินน้ำ