bloggang.com mainmenu search
ทริปเบตง หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๙ ป่าฮาลาบาลา 🌿

2 - 6 มิถุนายน 2565

หลังจากเก็บของเข้าห้องพัก สมาชิกร่วมทริปบางคนก็พักผ่อน บางคนก็ออกไปสำรวจเมืองเบตง รวมทั้งเรา รอบนี้ตั้งใจจะเดินเก็บภาพสตรีทอาร์ต ไม่ได้คาดหวังว่าจะเก็บได้ครบทุกภาพ มีทั้งภาพใหม่ และภาพเก่า เราเดินผ่านเจอก็ถ่ายภาพมาหมดค่ะ

14.25 น. วันที่ 3 มิถุนายน 2565



ดูสเกลภาพ เทียบกับประตู หน้าต่าง บ้านเรือน



ชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวงกลางใจเมือง ด้วยภาพของ Oba Yong


Oba Yong หรือ ศุภชัย มโนสารโสภณ ฝากผลงานไว้เป็นเรื่องราวของอาหารเมืองเบตง โดยเลือกเขียนเป็นภาพลายเส้นสไตล์จีน ที่มีนางฟ้าเบตงเลือกกินอาหารทั้งไก่สับเบตง เต้าหู้ยัดไส้ ที่ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง แหล่งท่องเที่ยวประจำอำเภอที่สามารถมองเห็นหมอกได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้เขายังวาดดอกดาหลา ดอกไม้ประจำภาคใต้ และดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดยะลาเพิ่มมาด้วย แถมชุดที่นางฟ้าเบตงใส่อยู่ก็เป็นผ้าปาเต๊ะด้วย



ภาพนี้ของปี 2020





Bigdel และร้านขายอุปกรณ์ไหว้เจ้า


 บริเวณร้านขายอุปกรณ์ไหว้เจ้าจะเจอกำแพงที่ BigDel หรือ เดเอล ฮอร์แกน พ่นรูปแป๊ะยิ้มกำลังเชิดมังกรเอาไว้ สาเหตุที่เขาสร้างสรรค์ผลงานให้เกี่ยวข้องกับความเป็นจีนเช่นนี้ก็เพื่อความเข้ากันกับร้านค้าเจ้าของกำแพงนั่นเอง



 ....มีการจัดงาน 111 ปี เล่าขานตำนานเมืองเบตง จุดประสงค์เพื่อสร้างความประทับใจให้ชาวเบตงและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ

สตรีทอาร์ตเบตง (Street Art Betong) แลนด์มาร์กใหม่ของเบตง เป็นผลงานที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวประทับใจและได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

ภาพที่เขียนส่วนใหญ่ จะเป็นภาพที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาวเบตง รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่จริงใน อ.เบตง เช่น ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ซึ่งภาพถูกวาดทั้งหมด 11 จุด ทั้งบนผนัง กำแพง ใต้สะพาน และตัวอาคารหลายจุดรอบเมืองเบตง

สตรีทอาร์ตเบตง (Street Art Betong) ทั้งหมดนี้ วาดโดยทีมนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งนำทีมโดยอาจารย์อํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ คณะบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ข้อมูลจากโอเคเบตง.com


ภาพวาดสีพาสเทลของ Jangornanong กับสัตว์เศรษฐกิจคู่เมืองเบตง



ภาพเพนต์ติ้งรูปสัตว์ท้องถิ่นประจำอำเภอเบตงก็รอเราอยู่ ทั้งกบภูเขา ไก่เบตง ปลาพวงชมพูราคาแพง และปลาจีนที่คนนิยมรับประทาน แจง–อรอนงค์ แก้วสมบูรณ์ ก็นำมาวาดรวมอยู่กับหญิงสาวตาแป๋วที่หากลองมองเข้าไปในตา จะพบกับรายละเอียดเล็ก ๆ ที่แจงใส่ไว้อย่างสนามบินเบตงด้วย















ส่องบ้านนกนางแอ่นหลังแรกกับ Qucan



อีกหนึ่งศิลปินที่เอาความเป็นจีนมาผสมผสานในภาพคือ Qucan หรือ เจ–พงศ์พันธุ์ พงษ์เจริญ กราฟฟิตี้ไรต์เตอร์ยุคแรก ๆ ของวงการ

เพราะตึกใกล้กันกับกำแพงแห่งนี้เป็นบ้านนกนางแอ่นแห่งแรกของเบตง เขาจึงพ่นสเปรย์ออกมาเป็นครอบครัวนกนางแอ่นที่มีความสุข เจใส่เรื่องราวให้นกนางแอ่นเหล่านั้นคาบเชือกซึ่งมีคำมงคล เกี่ยวกับโชคลาภ สุขภาพแข็งแรงแขวนเอาไว้เสริมความเฮง





ครูปานและนกนางแอ่นนับร้อย



ผลงานของ ครูปาน–สมนึก คำนอก ที่ใครได้เห็นคงต้องเอ็นดูไปตาม ๆ กัน เพราะครูปานยกนกนางแอ่นนับร้อยตัวบนสายไฟมาไว้บนกำแพง จากนี้ไปเลยไม่ต้องรอจนเย็นย่ำก็จะเห็นฝูงนกพวกนี้เกาะสายไฟอยู่ทุกเมื่อ





อะไหล่กับทีมบาสเมืองเบตง ตำนานที่ยังหายใจ

อะไหล่–ชวัส จำปาแสน ครั้งนี้พาพ่อมาร่วมทำงานศิลปะด้วยกัน โดยเขาเลือกบันทึกเรื่องราวในอดีตของเบตงด้วยเทคนิคใหม่อย่างการเอาสีทาบ้านมาผสมกับปูนซีเมนต์ ทำให้ภาพนูนขึ้น ดูแอ็บสแตรกท์และกระชากอารมณ์ เพื่อเล่าให้เห็นว่าคนเบตงนั้นกล้าแกร่งในการเล่นบาสมากแค่ไหน  



จุดเล็ก จุดน้อย ระหว่างทาง น่ารักดีค่ะ



ราฮวมกับภาษาจีนของคนเบตง

ราฮวม–สุวิทย์ มาประจวบ ศิลปินสาขาประติมากรรม เล่าให้ฟังถึงคอนเซปต์ของตัวเองด้วยการยอมรับว่าไม่ได้ทำการบ้านมามากนัก เขาจึงใช้วิธีการสังเกตและพูดคุยกับคนในพื้นที่ก่อนจะร่างออกมาเป็นภาพ เมื่อพบว่าคนในพื้นที่อำเภอเบตงนั้นใช้ภาษาจีนสื่อสารกันเป็นส่วนใหญ่ เขาจึงเลือกวาดดอกโบตั๋น ซึ่งเป็นตัวแทนของบทกวีจีน มาผสมกันกับนกกรงหัวจุกซึ่งเป็นตัวแทนของความสมบูรณ์ในธรรมชาติ เพื่อบอกเล่าถึงความดงามของพื้นที่แห่งนี้ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ



Kamijn และอาหารจานเด็ดบนกำแพงร้านเฉาก๊วย



kamijn หรือ ขมิ้น–เพียงขวัญ คำหรุ่น รับผิดชอบกำแพงขนาดยาวของบ้านซึ่งมีกิจการขายเฉาก๊วย



ขมิ้นใช้เทคนิคการเพนต์ วาดและระบายออกมาเป็นขบวนแมวกำลังแบกอาหารขึ้นชื่อของเบตง นอกจากเธอจะเป็นทาสแมวเองแล้ว คนเบตงก็นิยมเลี้ยงแมวกันมาก เพราะแมวเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่คอยเฝ้ามองและปกป้องเมืองเบตง ส่วนอาหารที่ขมิ้นยกมาวาดมีทั้งเส้นหมี่เบตง ผัดผักน้ำ ปลานิลนึ่ง ไก่สับเบตงเนื้อแน่น ข้าวหลามบาซูก้าของชาวมุสลิม เคาหยกหรือหมูสามชั้นและเผือกที่ตุ๋นนานจนละลายในปาก และเฉาก๊วย ที่นอกจากจะเป็นกิจการของเจ้าของบ้านเองแล้ว ยังถือเป็นหนึ่งในเมนูขึ้นชื่อของอำเภอเบตงด้วย 









Pakorn BNA กับการเดินทางมาเบตงที่ไกลเหมือนไปดวงจันทร์



อำเภอเบตงเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ค่อนข้างมีความเป็นจีนเยอะ Pakorn BNA หรือ ต่อ–ปกรณ์ ธนานนท์ จึงใส่รายละเอียดเปรียบเทียบวัฒนธรรมแบบจีน ๆ และการค้าขายออกมาเป็นรูปมังกรตัวยาว ที่บินทะลุเมฆมาคว้าดวงจันทร์ไว้ในกำมือ เพราะสมัยก่อนนั้นเบตงอยู่ไกลมาก เดินทางมาที่นี่ทีก็ว่ากันว่าลำบากราวกับเดินทางไปดวงจันทร์

แต่ถึงอย่างนั้นปัจจุบันนี้หากใครอยากมาเที่ยวเบตงก็ไม่ต้องกังวลแล้วว่าจะเดินทางนาน เพราะภายในปีนี้ที่เบตงกำลังจะมีสนามบินขนาดเล็กเปิดให้ใช้บริการ ต่อเลยใส่รูปเครื่องบินลำจิ๋วเข้ามาในภาพด้วย









เดี๋ยวข้ามไปซอยโน้นกันค่ะ เห็นผนังเหลือง ๆ 



14.50 น.



หอนาฬิกาเมืองเบตง











ผลงานสีสันสดใสและคาแร็กเตอร์แมวประจำตัวของ Jayoto หรือ แจ้–อุทิศ โพธิ์คำ โดยแจ้เล่าให้ฟังว่าที่เลือกวาดคาแร็กเตอร์แมวกำลังยืนคุยโทรศัพท์นั้นมีความหมาย เพราะจริง ๆ แล้วบริเวณนี้ในอดีตเป็นที่ตั้งของตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ชาวเมืองเบตงจะมารอหยอดเหรียญรอใช้บริการกันนั่นเอง 







เซ้ง ติ่มซำ กรุ๊ปเราจะมากินมื้อเช้าที่นี่







ค้นพบเบตง ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ไปกับ Pairoj และผองเพื่อน

เป็นผลงานที่รวมศิลปินเอาไว้มากมาย ทั้งป๊อก ไพโรจน์ ศิลปินผู้เป็นหนึ่งในทีมตั้งต้นที่ทำให้เกิดงานนี้ขึ้น แพรว–ศุภลักษณ์ ประภาศิริ, ตู่–ชัยศักดิ์ ศรีราแดง, แจ้ Jayoto และอะไหล่





15.01 น. ร้านรวงเริ่มตั้งโต๊ะ ตั้งร้านกันแล้วค่ะ













ข้อมูลจาก 
https://adaymagazine.com/atm-spray-batong-street-art/

Create Date :29 สิงหาคม 2565 Last Update :29 สิงหาคม 2565 17:39:50 น. Counter : 1223 Pageviews. Comments :0