bloggang.com mainmenu search







อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์


หว้ากอ...ดินแดนแห่งนี้นับเป็นอนุสรณ์สถานที่ได้จารึกพระนาม คิงมงกุฎ ไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ให้โด่งดังปรากฏไปทั่วโลก และนำพระเกียรติยศเกียรติประวัติมาสู่ประเทศไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนชาวไทยตราบทุกวันนี้ โดยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เพื่อทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง 2 ปี ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร เดือน 9 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม 2411 โดยเส้นศูนย์ของอุปราคา จะผ่านมาใกล้ที่สุด ณ บ้านหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในพระราชอาณาจักรสยาม ทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ตรงเส้นวิตถันดร (แลตติดจูต) 11 องศา 38 ลิปดาทิศเหนือ และเส้นทีรฆันดร (ลองติดจูต) 99 องศา 39 ลิปดาทิศตะวันออก โดยคราสเริ่มจับเวลา 10 นาฬิกา 4 นาที จับเต็มดวง เวลา 11 นาฬิกา 36 นาที 20 วินาที กินเวลานาน 6 นาที 45 วินาที คลายคราสออกเวลา 13 นาฬิกา 37 นาที 45 วินาที ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตกมาก่อนหน้านี้

ในระหว่างนั้นประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศต่างก็เฝ้ารอวันพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ เมื่อใกล้ถึงวัน ทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาสร้างค่ายไว้ล่วงหน้า และพระองค์ได้ใช้ค่ายนี้เป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์กลางแจ้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกและคณะฑูตานุทูตประเทศต่างๆ แล้วก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงตามที่พระองค์ทรงคำนวณ โดยไม่คลาดเคลื่อน พระราชกรณียกิจในครั้งนั้นทำให้พระเกียรติยศระบือไกล บรรดาแขกต่างประเทศจำนวนมากได้รับทราบถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่มีไม่แพ้ชาติใด ทั้งๆ ที่ยังขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พระเกียรติคุณในด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับและปรากฏเด่นชัดแก่บรรดานักปราชญ์ และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก แต่ประชาชนชาวไทยก็ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระองค์เสด็จกลับกรุงเทพได้เพียง 5 วัน ก็ทรงประชวรและเสด็จสวรรคตด้วยไข้มาเลเรีย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2411 นั่นเอง

เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์ และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์นั้น ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบในหลักการ ให้ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามสถานที่แห่งนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นสถานศึกษา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2536 ปัจจุบัน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"


ข้อมูลจาก  //www.waghor.go.th/newweb/history/index.php







9.59 น. วันที่ 19  ตุลาคม  พ.ศ. 2558 

เสร็จสิ้นมื้อเช้าจากที่พัก เราตั้งต้นแวะเที่ยวที่นี่ เป็นที่แรกของวันนี้





พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4








แผนที่จากเว็บของอุทยานฯ ค่ะ





การเดินทางเข้าสู่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ

ทำได้โดยขับรถไปตามถนนเพชรเกษม จากสี่แยกประจวบฯ ลงไปทางใต้ อีกประมาณ 16 กิโลเมตร จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 335

เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหว้าโทน ขับตามทางเข้ามาอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร และข้ามทางรถไฟเข้าสู่อุทยานฯ

หรือ จากสี่แยกประจวบฯ หลักกิโลเมตรที่ 323 เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองประจวบฯ ขับรถตามถนนสละชีพ ผ่านกองบิน 5 (อ่าวมะนาว)

จนถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ (แยกไฟแดงคลองวาฬ) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านคลองวาฬ

ขับรถตามทางจนถึงอุทยานฯ (เส้นทางจากกองบิน 5 - อุทยานฯ ประมาณ 10 กม.)

//www.waghor.go.th/newweb/contactus/index.php






อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ตั้งอยู่ริมอ่าวหว้ากอ ในตำบลคลองวาฬห่างจากตัวเมืองประจวบฯ ไปทางทิศใต้ราว 12 กิโลเมตร

มีอาณาเขตรวมเนื้อที่ 485 ไร่ 1 งาน 56.2 ตารางวา พื้นที่ด้านตะวันออกถูกขนาบด้วยทะเลฝั่งอ่าวไทย

มีทิวสนทะเลขึ้นตลอดแนวชายหาด สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย






ป้ายชี้ด้านขวามือ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4





ถึงแล้ว





10.01 น.








ตามเข้ามาเลยค่ะ





แผนผัง เดินไม่ครบทุกจุดหรอกค่ะ








ตอนเด็กๆ เคยพาหมอกมา.. วันนี้เมฆเพิ่งมาครั้งแรก แต่หมอกไม่ได้มา








ไม่เคยไปท้องฟ้าจำลองค่ะ เลยเปรียบเทียบไม่ได้ เหมือนหรือต่างกันยังไง








อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ  เปิดให้บริการฐานการเรียนรู้ 23 ฐานการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม





1. กลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน ได้แก่ ฐานพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย , ฐานบันทึกเกียรติยศ , ฐานโลกอนาคต , ฐานเมืองเด็ก , ฐานคมนาคมและขนส่ง , ฐานเปิดโลกพลังงาน , ฐานสวนวิทยาศาสตร์ , ฐานเปิดโลกคอมพิวเตอร์ , ฐานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ , ฐานเทคโนโลยีเพื่ออาชีพ , ฐานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ , ฐานโบราณสถาน , ฐานพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย , ฐานอุทยานการศึกษาพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย , ฐานการแสดงทางวิทยาศาสตร์

2. กลุ่มดาราศาสตร์และอวกาศ ได้แก่ ฐานฟากฟ้า ณ หว้ากอ

3. กลุ่มธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ฐานธรรมชาติศึกษา , ฐานนกและแมลง , ฐานทรัพย์จากแผ่นดิน & สวนหิน , ฐานระบบนิเวศ & โลกเรา ขุนเขา และทะเล , ฐานพื้นที่ชุ่มน้ำ , ฐานพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ , ฐานเกษตรธรรมชาติบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง









โดยรูปแบบของนิทรรศการที่นี่ สามารถเดินดูเองได้ค่ะ ป้ายบรรยาย หรือ เสียงบรรยาย  เข้าใจง่าย





มีลูกศรชี้บอกเส้นทางเดินชม








พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 
"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"





มีป้ายบรรยายทุกอันค่ะ ไม่ได้ถ่ายเจาะมาเลย





























ห้องนี้ก็จัดดีค่ะ มืดไปหน่อย ถ่ายรูปยากนิด




















พระมหากษัตริย์ และราชวงศ์ สมัยรัตนโกสินทร์ กับดาราศาสตร์

















เขาวัง











ภาพฝีพระหัตถ์บนเครื่องกระเบื้องสมเด็จย่า








ถ้ามากันเป็นหมู่คณะ คงต้องจัดคิวกันล่ะค่ะ



































น่าจะครบทุกห้องแล้ว เดินลงค่ะ








อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งความรู้เชิงวิชาการ

เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.00 น.

ค่าเข้าชมนิทรรศการ ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท เด็กคนละ 20 บาท ( สูงไม่เกิน 120 ซม. )

* ยกเว้นพระภิกษุ สามเณร ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ต่างๆ โดยสามารถเข้าชม ได้ตามอัธยาศัย






ขับรถออกมาแล้ว -- ฐานการเรียนรู้ ฟากฟ้า หว้ากอ





หาดหว้ากอ





ต้นไม้ใหญ่ ถ่ายผ่านหน้ากระจกรถ





ผ่านอะไรบ้าง...








ชายหาดบ้านกรูด มองไปบนเขา





เห็นพระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ





และพระพุทธกิติสิริชัย








ต่อตอนหน้าค่ะ  ขึ้นเขาไปไหว้พระกัน  















Create Date :04 ธันวาคม 2558 Last Update :4 ธันวาคม 2558 5:30:03 น. Counter : 3687 Pageviews. Comments :24