bloggang.com mainmenu search


ทริปนี้ วันที่  10 - 16  เมษายน  2559

ความเดิม วันที่ 14 เมษายน 2559 เราเช็คเอาท์จากชมพูนครินทร์กันตอน 8 โมงเช้า

แล้วไปแวะวัดกะพังสุรินทร์ - สวนสาธารณะพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี - มื้อเช้าที่เลตรัง 2 - วัดตันตยาภิรม - สถานีรถไฟกันตัง
11.17 วันที่ 14 เมษายน 2559  เทศบาลเมืองกันตัง



ผ่านอาคารเก่าสร้างในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ  ศาลเจ้าฮกเกี้ยน - ไม่ได้จอดค่ะ




ถึงแล้วค่ะ... พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี




ที่อยู่ : เลขที่ 1 ถ.ค่ายพิทักษ์ (ห่างจากเทศบาลเมืองกันตัง ประมาณ 200 เมตร) ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92000

โทรศัพท์ : 0-7525-1100 ติดต่อโรงเรียนกันตังพิทยากร

วันและเวลาทำการ : เปิดอังคาร - อาทิตย์  เวลา 9.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์)

ค่าเข้าชม : ฟรี  แล้วแต่จะบริจาค

การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ ไปตรังได้ 2 เส้นทาง คือ

- ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี ทุ่งสง แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 403 สู่อำเภอห้วยยอด จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 ไปจนถึงตรัง ระยะทางประมาณ 828 กิโลเมตร

- ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) จนถึงจังหวัดชุมพร แล้วแยกเข้าระนอง พังงา กระบี่ ตรัง ระยะทางประมาณ 1,020 กิโลเมตร จากนั้น ไปอีก 24.4 กม. ผ่าน ถนนหมายเลข 403 ปลายทางจะอยู่ทางขวา


รูปปั้นจำลอง พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี


อ่านกันชัด ๆ ค่ะ


หินลูกโม่หีบอ้อยโรงงานน้ำตาลทรายแดง



ประวัติความเป็นมา พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ในอดีตดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ท่านได้จับจองที่ดินบนเนินเตี้ย ๆ สำหรับสร้างบ้านพัก ตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองกันตัง ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า ในควน พระยารัษฎาฯ เรียกบ้านหลังนี้ว่า "ควนรัษฎา" รั้นเมื่อพระยารัษฎาฯ ถึงแก่อนิจกรรม บ้านตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท ต่อมาโรงเรียนกันตังพิทยากร ร่วมกับหน่วยงานราชการขอใช้สถานที่จากทายาทคือ ดาโต๊ะเบียนจง ณ ระนอง จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้น เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2535 

อาคารจัดแสดงเป็นบ้านพักลักษณะเรือนไม้ทรงปั้นหยาสองชั้น ทาสีฟ้า ตัวบ้านโปร่งมีระเบียงรับลมรอบด้าน แวดล้อมด้วยสวนเล็ก ๆ ภายในบ้านจัดแต่งไว้เช่นเดียวกับเมื่อพระยารัษฎาฯ ยังอาศัยอยู่



ชั้นล่างมีหุ่นขี้ผึ้งของพระยารัษฎาฯ ใส่เสื้อคอปิดสีขาว นุ่งผ้าม่วง ถือไม้เท้า 

นั่งเก้าอี้พักผ่อน ข้าง ๆ มีกระโถนทองเหลือง และเชี่ยนหมากแบบโบราณ


ชั้นล่างของบ้านมีภาพถ่ายเก่าแก่ของพระยารัษฎาฯ  ภาพบุคคลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองตรังหลายท่าน  

และภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ของเมืองตรังในอดีตจัดแสดงอยู่บนข้างฝาผนังมากมาย

นอกจากนี้บริเวณห้องด้านล่างยังมีทั้งห้องทำงานของท่านเจ้าเมืองตรัง ซึ่งจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยก่อนไว้มากมาย 

ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ ตู้ใส่ของที่สั่งทำโดยช่างฝีมือชาวจีน อีกทั้งยังมีกล้องถ่ายรูปพร้อมอุปกรณ์เก่าแก่ของท่านจัดแสดงไว้ให้ชมด้วย  

โดยมีหลักฐานจารึกว่าพระยารัษฏาฯ เป็นนักเล่นกล้องถ่ายรูปรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย จึงทำให้บ้านของท่านเต็มไปด้วยรูปถ่ายมากมาย 

และบริเวณด้านหลังบ้านยังเป็นส่วนของห้องครัวซึ่งจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำครัวสมัยก่อนให้ได้ชื่นชมกันอีกด้วย







รัชกาลที่ 6 พระราชทานให้พระยารัษฎาฯ



พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) 

อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่วิกิพีเดียค่ะ



ขึ้นชั้นบนกันค่ะ



ชั้นบนเป็นห้องนอน โถงชั้นบนมีโต๊ะบูชาบรรพบุรุษ นอกจากนี้ภายในบ้านยังมีภาพถ่ายเก่าแก่กว่าร้อยปี เป็นภาพเหตุการณ์สำคัญของเมืองตรังและหัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่ 6 เช่น การประชุมเทศาภิบาล ปี พ.ศ. 2445 และ 2446 การซ้อมรบเสือป่า การเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6 ภาพถ่ายพระยารัษฎาฯ ในอิริยาบทต่าง ๆ ชั้นบนยังมีภาพถ่ายเก่าแก่ต้นตระกูล ณ ระนอง เช่น คุณแม่กิ้ม มารดาพระยารัษฎาฯ ภริยาพระยารัษฎาฯ บุตรหลาน ล้วนเป็นภาพที่มีอายุเกือบร้อยปีทั้งสิ้น





ห้องนอนใหญ่








เดินออกมาตรงระเบียง





เมฆยิ้มเป็น ยิ้มได้นะครับ Smiley



มีนักท่องเที่ยวมาเพิ่มแล้วค่ะ 


ลงไปข้างล่างกัน




โต๊ะเครื่องแป้ง น่าจะใช่นะคะ



เดินมาส่วนหลังบ้านค่ะ


ครัว





พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เปรียบเสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ซึ่งลูกหลาน ณ ระนอง และเทศบาลกันตังได้ช่วยกันดูแลรักษาให้มีสภาพคงเดิมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงเครื่องเรือนเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นของเก่าแก่ที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้ลูกหลานชาวเมืองตรัง และนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสได้สัมผัสร่องรอยทางประวัติศาตร์ และกลิ่นอายความรุ่งเรืองของเมืองตรังเมื่อครั้งในอดีตผ่านสิ่งของเหล่านี้

//www.museumthailand.com/Prince_Ratsadanupradit_Mahison

//www.smartandaman.com/



ข้อห้ามค่ะ


ออกจากพิพิธภัณฑ์ฯ มาอีกนิด มาดูต้นยางพาราต้นแรกของประเทศไทยกันค่ะ



ไปแล้วค่ะ





Create Date :09 สิงหาคม 2560 Last Update :9 สิงหาคม 2560 20:36:19 น. Counter : 3274 Pageviews. Comments :28