bloggang.com mainmenu search

วัดชลธาราสิงเห มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พรมแดนไทย-มาเลเซีย เนื่องจากเป็นสถานที่ที่รัฐบาลสยามใช้เป็นเหตุผลอ้างอิงในการปักปันเขตแดนใน สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2452 ในเวลานั้นเมื่อแหลมมลายูได้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช จากสนธิสัญญาอังกฤษ-สยาม พ.ศ. 2452 อังกฤษได้พยายามที่จะผนวกจังหวัดนราธิวาสให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพมาลายาด้วย ซึ่งอังกฤษได้อ้างการปักปันเขตแดนโดยใช้สันเขาและแม่น้ำเป็นแนวตามหลักสากล เข้ามาถึงบ้านปลักเล็กเลยจากวัดชลธาราสิงเห 25 กิโลเมตร ซึ่งเส้นแบ่งเขตรัฐกลันตันกับประเทศไทยจะอยู่ที่ตำบลบ้านสะปอม ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอตากใบในปัจจุบัน  

แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลสยามจึงถือยกเอาพระพุทธศาสนา วัด และศิลปะในวัด เป็นเครื่องต่อรองการแบ่งปันเขตแดน โดยให้เหตุผลว่าวัดชลธาราสิงเหเป็นวัดไทยที่มีความสำคัญ เป็นมรดกทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอตากใบ มีอาคารสถานที่และถาวรวัตถุเป็นแบบไทย ประชาชนนับถือศาสนาพุทธเป็นเวลาช้านาน ประกอบกับท้องที่อำเภอตากใบ มีวัด ชาวพุทธอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงควรไม่รวมพื้นที่เหล่านี้ไปในเขตรัฐกลันตันที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

สุดท้ายอังกฤษยอมจำนนต่อเหตุผลและยอมรับให้เป็นจังหวัดนราธิวาสในประเทศไทยต่อไป ฝ่ายอังกฤษจึงยอมเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำแม่น้ำโก-ลก ทำให้พื้นที่ทางตอนเหนือแม่น้ำตากใบของจังหวัดนราธิวาสอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้ 4 อำเภอชายแดนไทย คือ อำเภอตากใบ อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี และ อำเภอสุไหงโก-ลก ไม่ต้องผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย วัดชลธาราสิงเหจึงเป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า "วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย"       

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
 



กุฏิสิทธิสารประดิษฐ์ หรือ กุฏิพระครสิทธิสารวิหารวัตร (อาคารพิพิธภัณฑ์วัดชลธาราสิงเห)







กุฏิสิทธิสารประดิษฐ์ (อาคารพิพิธภัณฑ์วัดชลธาราสิงเห) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2498 โดยพระครูสิทธิสารวิหารวัตร

เป็นอาคารไม้ยกพื้นสูง หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผา มีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น ตรงยอดหลังคาและปลายมุมหลังคาทำเป็นรูปตัวนาคและหางหงส์










หลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผา มีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น ตรงยอดหลังคาและปลายมุมหลังคาทำเป็นรูปตัวนาคและหางหงส์








เดินขึ้นบันไดมาข้างบน ไม่ได้เข้าไป แค่กล้องส่องถึงค่ะ







ภายในกุฏิตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรม เช่น บริเวณหน้าบันเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนปรินิพพาน

บานประตูเป็นภาพทวารบาล ฝ้าเพดานตกแต่งด้วยรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์และเหล่าเทวดา

















ภาพจิตรกรรมพระจันทร์ทรงราชรถเทียมม้า





เดินมาบันไดอีกฝั่ง











กุฏิพระครูวิมลถาปนกิจ













สวยจริง ๆ ค่ะ 

































กุฏิอดีตเจ้าอาวาส



















พระเจดีย์





หอพระนารายณ์





เป็นอาคารเครื่องก่อ ขนาด 5.45 เมตร ยาว 6.30 เมตร มีมุขขนาดกว้าง 3.40 เมตร ยาว 4.06 เมตร มีหน้าต่างด้านละ 1 ช่อง

ส่วนทางด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีประตู 3 บาน ตรงหน้าบันมีจารึก “ปฏิสังขรณ์ พ.ศ. 2499” เพดานมุขมี 2 ห้อง ตกแต่งลวดลายเป็นภาพดวงดารา



ภายในมณฑปมีรูปพระนารายณ์ 4 กร บนฐานชุกชีมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย 3 องค์



เพดานด้านในประธานตกแต่งลายดวงดารา พื้นหลังประดับด้วยภาพผีเสื้อ หงส์ ช่อดอกไม้และดาวดวงเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป พื้นหลังมีสีขาว ตกแต่งลวดลายดอกไม้ร่วง คอสองเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ คานตกแต่งลายก้านปู ด้านนอกมีการตกแต่งลายเขียนสีและประดับกระจก

กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะตัวหลังคาและโครงสร้างหอพระนารายณ์ในปี พ.ศ. 2541






หลังคาทรงมณฑป 4 ชั้นยอดแหลม มุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ ฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐ มุมหลังคาแต่ละชั้นประดับด้วยหัวนาค ส่วนยอดของหลังคาหล่อด้วยปูนซีเมนต์







วิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าเจดีย์ เป็นวิหารคลุมพระไสยาสน์ มีขนาดกว้าง 5.90 เมตร ยาว 9.90 เมตร

สร้างโดยพระครูสิทธิสารวิหารวัตรเมื่อปี พ.ศ. 2484

ภายในวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ตอนท้ายของวิหารโถงและติดกับฐานเจดีย์เป็นอาคารเครื่องก่อ

มีฝาผนังทั้งสี่ด้าน มีประตูทางเข้าทางทิศตะวันตก (สันนิษฐานว่าอาคารโถงน่าจะเป็นการต่อเติมในสมัยหลัง)



องค์พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดับด้วยกระจกสีทองโดยประทับอยู่บนนาค
ประดิษฐานอยู่ในคูหาที่ประดับด้วยเครื่องถ้วยยุโรป จีน และ ญี่ปุ่น





อีกมุมของหอพระนารายณ์







มะขามป้อม เพิ่งเคยเห็นต้นค่ะ











แม่ลูกอ่อน 










 

  ความเดิม  

ปัตตานี : วัดช้างให้ วังยะหริ่ง
ปัตตานี : หาดตะโละสะมิแล ชุมชมตลาดจีน ย่านเมืองเก่าปัตตานี
ปัตตานี : ริมน้ำปัตตานี สกายวอล์คปัตตานี
ปัตตานี : สะพานไม้บานา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน จ.ปัตตานี
ปัตตานี : สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดกรือเซะ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
ปัตตานี เบตง : มัสยิดกลางปัตตานี, เดินทางไปเบตง
ปัตตานี เบตง :  เดินเล่น ชมเมืองเบตง
ปัตตานี เบตง : สกายวอล์ค อัยเยอร์เวง
ปัตตานี เบตง : น้ำตกเฉลิมพระเกียรติ ร.๙, เฉาก๊วย เบตง
ปัตตานี เบตง : อุโมงค์ปิยะมิตร, บ่อน้ำร้อนเบตง, ป้ายใต้สุดสยาม
ปัตตานี เบตง : วัดพุทธาธิวาส, หอนาฬิกาเบตง
ปัตตานี เบตง : ทะเลหมอกฆูนุงซีลีปัต 
ปัตตานี เบตง นราธิวาส : เดินทางไปนราธิวาส, พักที่ใจดีจริงจริง&คาเฟ่ ใจใส
ปัตตานี เบตง นราธิวาส : วัดชลธาราสิงเห (1)

Create Date :28 มิถุนายน 2564 Last Update :28 มิถุนายน 2564 15:48:42 น. Counter : 2127 Pageviews. Comments :0