bloggang.com mainmenu search
คุณมะเฟือง มาส่งเราที่ โรงแรม ฮอลิเดย์ ฮิลล์ เบตง ถึงเวลาร่ำลากัน คุณมะเฟืองขับรถกลับปัตตานี

ต่างฝ่ายต่างถูกชะตากัน นัดกันคร่าว ๆ ว่า เราอาจจะได้มาเที่ยวแถวนี้อีก ไว้มาเที่ยวด้วยกัน 

ขึ้นห้องพัก เก็บของ นั่งพักแป๊บ ออกมาเดินเล่นกันค่ะ



หอนาฬิกาเมืองเบตง เป็นสิ่งก่อสร้างคู่เมืองเบตง โดยสร้างด้วยหินอ่อนจากจังหวัดยะลา เสน่ห์ที่คู่หอนาฬิกาคือ นกนางแอ่นนับพันตัวที่เกาะสายไฟบริเวณหอนาฬิกา มีจำนวนมากช่วงเดือนกันยายนถึงมีนาคม เพราะนกนางแอ่นเหล่านี้บินหนีความหนาวเย็นมาจากไซบีเรีย เพื่อมาอิงแอบพักอาศัยที่เมืองเบตง แม้จะดูแปลกตาแต่ก็มีความน่ารัก และเป็นความพิเศษอีกรูปแบบหนึ่งของเมืองเบตงที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง มีเรื่องเล่าว่าหากท่านโดนมูลของนกนางแอ่นตกใส่ในบริเวณนี้เข้าไม่นานท่านจะต้องกลับมาเยือนเมืองเบตงอีกแน่นอน

https://www.betongcity.go.th/travel/detail/106



อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ / น้องซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ ชูสองนิ้วให้ น่ารักดีค่ะ



เป็นอุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของเมืองไทย ที่ขุดทอดโค้งให้รถวิ่งไป-มา ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความยาวตลอดอุโมงค์ ประมาณ 273 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 7 เมตร ผิวจราจรคู่ กว้าง 7 เมตร ทางเท้าเดินกว้างข้างละ 1 เมตร ความเร็วรถสามารถวิ่งได้ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544



เดินลอดมาอีกฝั่งของอุโมงค์ค่ะ





รูปปั้น "พี่ตูน" ค่ะ จากโครงการ "ก้าวคนละก้าว" จุดเริ่มต้นวิ่ง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (ใต้สุด) วิ่งไป อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (เหนือสุด)



รูปปั้นไก่เบตง อยู่บริเวณใกล้เคียงกับปากอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ ไก่เบตงนอกจากจะเป็นอาหารขึ้นชื่อของเมืองเบตงแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของอำเภอเบตงอีกด้วย





สตรีทอาร์ต น่ารัก ๆ เยอะเลยค่ะ เราเก็บภาพได้ไม่หมด





เดินลอดอุโมงค์กลับไปทางหอนาฬิกาค่ะ





16.44 น. วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564


 
ตู้ไปรษณีย์ สูง-ใหญ่ ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ มุมถนนสุขยางค์ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีเส้นรอบวงของตัวตู้ประมาณ 140 ซม. ตู้มีความสูงถึง 290 ซม. นับจากฐานขึ้นไป รวมความสูงทั้งหมดประมาณ 320 ซม. อายุร่วม 97 ปี ในอดีตการเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างอำเภอเบตงกับอำเภออื่น ๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก การติดต่อสื่อสารด้วยจดหมาย จึงสะดวกที่สุด โดยนายสงวน จิระจินดา นายกเทศมนตรีอำเภอเบตงในขณะนั้น เคยเป็นนายไปรษณีย์มาก่อน จึงได้จัดสร้างตู้ไปรษณีย์นี้ไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การติดต่อสื่อสารของอำเภอเบตง และยังได้ติดตั้งวิทยุกระจายเสียงไว้ในส่วนบนของตู้ เพื่อให้ประชาชนได้รับฟังข่าวสารจากทางราชการด้วย และปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ใบนี้ ก็ยังใช้งานอยู่พร้อมบริการรับจดหมายเหมือนตู้ไปรษณีย์ทั่ว ๆ ไป และเพื่อความเป็นที่หนึ่ง เพื่อสื่อถึงสัญลักษณ์แห่งการสื่อสารของอำเภอเบตง เทศบาลเมืองเบตงจึงได้จำลองตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 3.5 เท่า ตั้งอยู่ในบริเวณสวนมหาดไทย ศาลาประชาคม 









มัสยิดกลางเบตง


 
อยู่ตรงข้ามเยื้อง ๆ กับที่ทำการไปรณีย์เบตง ถนนสุขยางค์  จุดกำเนิดของมัสยิดไม่ชัดเจนนัก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามาทำลาย ตำราศาสนา คัมภีร์อัลกุรอ่านในมัสยิด และงัดไม้กระดานไปจนหมด เหลือเพียงโครงสร้างของอาคารเท่านั้น แต่ก็ยังสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้เช่นเดิม กระทั่งท่านฮัจยีฮามะ ดาเด๊ะ กลับมาจากเมืองเม็กกะ จึงได้ชักชวนชาวมุสลิมมาร่วมกันบูรณะ จนถึงสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านฮัจยีฮามะฯ ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อขอสมทบทุนการก่อสร้างจากรัฐบาลจำนวน 500,000 บาท และนำมาสร้างจนแล้วเสร็จ เป็นมัสยิดกลางอันมีเอกลักษณ์ และเป็นจุดศูนย์รวมใจของพี่น้องชาวมุสลิมดังที่เห็นในปัจจุบัน
 




รถสองแถวสีเหลือง รถโดยสารในเบตง



ถ่ายรูปได้แค่ภายนอกมัสยิดค่ะ 



สตรีทอาร์ต ตามรายทาง











โรงแรม ฮอลิเดย์ ฮิลล์ ที่พักเรา



ยังไม่เข้าที่พักค่ะ เดินเที่ยวต่อ... วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิมเบตง


 
วัดโพธิสัตโตเจ้าแม่กวนอิมเบตง หรือวัดกวนอิม สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1966 โดยได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันบริจาค เพื่อสร้างวัดกวนอิมแห่งนี้ โดยวัดกวนอิมแห่งนี้ก่อสร้างบริเวณเนินเขาของสวนสุดสยาม ดึงดูดทุกสายตาด้วยเจดีย์ 7 ชั้น ที่ออกแบบก่อสร้างอย่างงดงาม วัดแห่งนี้ยังป็นสถานศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์เทพสำคัญ ๆ หลายองค์ อาทิ เจ้าแม่กวนอิม ท่านแป๊ะกง ท่านกวงกง เจ้าแม่จิวหวังเหย่ ยี่หวังตีตี้ หวาโถ่วเซียนซื่อ ขงจื้อ เป็นต้น มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและมาเลเซียเลื่อมใสศรัทธาเดินทางมาสักการะขอพรเป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะขอพรด้านการมีบุตรและโชคลาภ
 










ทางที่เราเดินขึ้นมา เป็นทางชัน





ฝั่งตรงข้าม เยื้องวัด



เดินตรงไปสวนสุดสยาม



ว่าจะมาพิพิธภัณฑ์เมืองเบตง เป็นอาคารสูง มองเห็นวิวเมืองเบตง...ปิดค่ะ



เดินคอตกกลับไป 



เดินไปด้านหลัง ประติมากรรมนี้ ตรงนี้ละกัน ได้แค่นี้ยังดี







เดินกลับทางเดิมค่ะ





ที่พักเรา ซ้ายมือ ที่มีโคมแดงค่ะ ฝั่งตรงข้ามเป็นร้าน 7-11



เช้ามืด วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564 ตั้งนาฬิกาปลุก 03.30 น. จองเดย์ทริปไว้

(ดูรายละเอียดจอยทริปที่ Foto Hostel โฟโต้โฮสเทลเบตง ที่พักในเบตง)

นัดไว้ว่ารถจะมารับที่โรงแรมที่พัก 04.30 น. รถมาก่อนเวลาค่ะ (กรุ๊ปเรา 3 คน ๆ ละ 800 บาท)



บังยีพาไปถ่ายรูปที่อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ก่อน ไม่มีคน กำลังสวยเลยค่ะ







ระหว่างที่รถวิ่ง 



04.38 น. เมืองเล็ก ๆ วนไปวนมา 



จุดต่อมา...OK BETONG อยู่ในโปรแกรมเดย์ทริป เราถ่ายไปเยอะแล้วเมื่อวาน





ด่าน เข้า-ออก เบตง ต้องผ่านจุดนี้ค่ะ



  ความเดิม  

ปัตตานี : วัดช้างให้ วังยะหริ่ง
ปัตตานี : หาดตะโละสะมิแล ชุมชมตลาดจีน ย่านเมืองเก่าปัตตานี
ปัตตานี : ริมน้ำปัตตานี สกายวอล์คปัตตานี
ปัตตานี : สะพานไม้บานา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน จ.ปัตตานี
ปัตตานี : สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มัสยิดกรือเซะ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
ปัตตานี เบตง : มัสยิดกลางปัตตานี, เดินทางไปเบตง
Create Date :26 พฤษภาคม 2564 Last Update :27 พฤษภาคม 2564 12:20:52 น. Counter : 1912 Pageviews. Comments :0