bloggang.com mainmenu search

วัดจุฬามณี อัมพวา สมุทรสงคราม

ทริปเดียวกับเมื่อคราวมาวัดบางกะพ้อมค่ะ เมื่อ ๘ เมษายน ๒๕๕๖ เผื่อใครยังไม่ได้ชม วาง link หน่อยเนาะ

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=02-09-2013&group=3&gblog=209

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๙๓ หมู่ ๙ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ด้านหน้าติดกับคลองอัมพวา เชื่อมติดต่อกับคลองบางผีหลอก ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามราวประมาณ ๗ กิโลเมตรเศษ และห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภออัมพวา ประมาณ ๒ กิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ทิศใต้ติดกับคลองอัมพวา


แผนที่จากเว็บของวัดค่ะ



วัดจุฬามณี เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์”

ตามประวัติว่า วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ว่ากันว่า ท่านท้าวแก้วผลึก (น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด เป็นผู้สร้างวัดจุฬามณีขึ้น บริเวณด้านหลังวัดห่างไป ๕ เส้น เป็นนิวาสถานเดิมของท่านทองและท่านสั้น พระชนกและพระชนนีของสมเด็จพระอมรินทร์ทรามาตย์ (นาค) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งภายหลังถูกไฟไหม้ ครอบครัวของท่านจึงย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม

อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๑ พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จ







ขึ้นมากราบหลวงพ่อเนื่องกันก่อนค่ะ ทางขึ้น...คุณยายโพสต์ท่าชูสองนิ้วให้ถ่ายรูป










พระพุทธจุฬามณี เนื้อเงิน พระประธานในพระมหาเจดีย์จุฬามณี










ยังสวยงามเหมือนเคยค่ะ










ไม่ได้มานาน งงๆ เล็กน้อย ไหว้หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อวัดบ้านแหลม แต่ก่อนอยู่ข้างล่างเค้าย้ายขึ้นมาชั้นบนค่ะ






มองลงไปข้างล่าง


















กลับเข้ามาด้านในอีกรอบ














ลงมาแล้วค่ะ เดี๋ยวเดินไปโบสถ์กันต่อ มาวัดจุฬามณีหลายครั้ง ยังไม่เคยไปโบสถ์ ครั้งนี้ตั้งใจเลยค่ะ






อุโบสถจตุรมุข หินอ่อน ๓ ชั้น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร










พื้นอุโบสถปูด้วยหินหยก จากกรุงการาจี ประเทศปากีสถาน




ด้านในแกะสลักเป็นลายไทย และเรื่องราวในนิทานชาดก ด้านนอกจะเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก ภาพตราพระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๙ , พระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สก. , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สว. ,สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามบรมราชกุมาร มวก. , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี สธ. , สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จภ. , ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) ๒๔๘๔ , นพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) ๒๔๘๔ , ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) ๒๔๖๑ , มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ๒๔๕๒ , มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ๒๔๑๖ , ประถมภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ๒๔๑๒ , ประถมภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ๒๔๓๖






ภาพสมุกรักฝังมุกทุกภาพจะมีลักษณะวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ ซ.ม. อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมของบานหน้าต่าง บานละ ๗ ภาพ บานซ้ายและบานขวาของแต่ละช่องหน้าต่างจะเป็นภาพที่เหมือนกันเมื่อรวมกับช่องบานหน้าต่าง ทวารประตูอุโบสถทั้งสี่ทิศแล้ว











































ภาพพุทธประวัติ น่าจะเป็นตอนเจ้าชายสิทธัตถะจะออกบวช














น่าจะเป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์










ออกมาแล้วค่ะ ด้านนอกโบสถ์อีกมุม










ภาพสุดท้ายค่ะ













Create Date :30 ตุลาคม 2556 Last Update :9 พฤศจิกายน 2556 15:47:06 น. Counter : 19915 Pageviews. Comments :52