bloggang.com mainmenu search




วัดเทพธิดารามวรวิหาร

วัดเทพธิดาราม เคยอัพบล็อกไปแล้วเหมือนกัน เคยลงข้อมูลไว้ค่อนข้างละเอียด

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=09-2012&date=03&group=3&gblog=159


อีกครั้งมา พระวิหารที่มีรูปจำลองภิกษุณีเปิดให้เข้ากราบไหว้ (ปกติปิดค่ะ) 

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=04-04-2016&group=3&gblog=321

ครั้งล่าสุดเอนทรี่นี้ วันที่ ๗ ธันวาคม  ๒๕๕๘ ค่ะ

๑๑.๓๗ น. ออกจากวัดราชนัดดา เราเดินมาต่อที่วัดเทพธิดาราม




บ้านเรือนชุมชนข้างวัดเทพธิดาราม




วัดเทพธิดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร 

ตั้งอยู่เลขที่ ๗๐ ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าชายลดาวัลย์ ต้นราชสกุล “ลดาวัลย์” พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเอมน้อย) เป็นแม่กองในการสร้างวัดเทพธิดารามวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส พระปิยราชธิดา และสำเร็จเรียบร้อย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดเทพธิดาราม” ซึ่งหมายถึง “อัปสรสุดาเทพ” และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๘๒ 

วัดเทพธิดารามวรวิหาร มีอาณาเขตและอุปจาร ดังนี้

ทิศเหนือ ยาวประมาณ ๑๖๕ เมตร ติดต่อกับคลองหลอดวัดเทพธิดาราม
ทิศตะวันออก  ยาวประมาณ ๑๑๑ เมตร ติดต่อกับถนนมหาไชย
ทิศใต้             ยาวประมาณ ๑๖๕ เมตร ติดต่อกับซอยสำราญราษฏร์
ทิศตะวันตก ยาวประมาณ ๑๑๑ เมตร    ติดต่อกับกำแพงกั้นบ้านเรือนประชาชน

รวมเนื้อที่   ๒๕ ไร่ และมีที่ธรณีสงฆ์  ๑  แปลง  เนื้อที่  ๑๐  ไร่ อยู่ที่ตำบลหนองขาม  อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตามโฉนดที่เก็บรักษาไว้ที่สำนักงานที่ดินอำเภอศรีราชา   จังหวัดชลบุรี พื้นที่วัดเทพธิดารามวรวิหาร มีลักษณะเป็นรูป ๔  เหลี่ยมผืนผ้า

วัดเทพธิดาราม เดิมเรียกว่า “วัดพระยาไกรสวนหลวง” ตามบริเวณที่สร้างวัดซึ่งเป็นที่เรือกสวนไร่นา และ คงเป็นที่ของพระยาไกร เจ้านายหรือขุนนางในสมัยนั้น   ในการสถาปนาวัดเทพธิดารามนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) ได้ทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนมากร่วมในการก่อสร้างโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย




ผังภายในวัดเทพธิดาราม

https://thepthidaramtemple.wordpress.com/

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดเทพธิดาราม แผนที่


เข้าด้านนี้เจอศาลาการเปรียญก่อน มีลายประแจจีนที่ซุ้มประตู



พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ 

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๑๔.๖๓ เมตร ยาว ๒๒.๓๗ เมตร สูง ๑๕ เมตร หลังคา ๒ ชั้น ๓ ตับ 

ตับล่างเป็นปีกนกรอบ มุงกระเบื้องเกล็ด ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา 

หน้าบันมีลายเกลียวใบเทศพวงอุบะ นกและดอกพุดตาน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี 




ซุ้มหน้าประตูเป็นลายรูปปั้นดอกไม้ บานประตูหน้าต่างเป็นลายรดน้ำ ฐานศาลาการเปรียญเป็นฐานสิงห์




ศาลา




เด็ก ๆ วัดเทพธิดาราม




พระปรางค์จตุรทิศ

 พระปรางค์จตุรทิศ ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ ๑๕ เมตร ตั้งอยู่บนลานทักษิณสูงมุมของพระอุโบสถทั้ง ๔ ทิศ คือ ทิศอาคเนย์ ทิศหรดี ทิศพายัพ และทิศอีสาน 

ที่ฐานพระปรางค์แต่ละองค์ มีรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ประจำรักษาในทิศทั้ง ๔ 


คราวที่แล้วมา ยังมีนั่งร้านวางไว้ มารอบนี้ สีสรรสวยงามหมดแล้วค่ะ




เขตพระอุโบสถ (ดูจากใบเสมา)

มีพระปรางค์และศาลาทั้ง ๔ มุม (ดูผังวัดประกอบ)




พระปรางค์ ถ่ายมาครบทั้ง ๔ ทิศเลยค่ะ





พระอุโบสถ



สร้างขึ้นตามแบบพระราชนิยมตามแบบอย่างจีน ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมของไทย ตัวอาคารก่อผนังหนา 

มีเสารายรองรับพาไลหลังคาโดยรอบ ซึ่งเป็นเสาสี่เหลี่ยม ส่วนหลังคาได้รับการเปลียนแปลงมากที่สุด 

เป็นหลังคาจั่วก่อเป็นแผงทึบ ไม่มีคูหา ไม่มีไขรา กรอบหน้าบันไม่ติดช่อฟ้ารวยระกาและหงส์ 

แต่ขึ้นรูปเป็นรวยหน้ากระดาน หน้าบันลักษณะนี้มีชื่อเฉพาะว่า “หน้าบันแบบกระเท่เซ”


แบบของหลังคามีหลายลักษณะด้วยกัน คือ แบบหลังคาไม่มีชั้นลด มีหลังคาปีกนกซ้อนด้านละ ๒ ชั้น และพาไลรอบด้าน 

หลังคามีชั้นลดหน้าหลังด้านละ ๒ ชั้น ซ้อนกัน ๓ ตับ มีพาไลเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง 

และแบบหลังคาไม่มีชั้นลดมีปีกนกคลุมระเบียงทั้ง ๒ ด้าน พาไล ด้านหน้าและด้านหลัง 


รูปแบบของโบสถ์ตามแบบพระราชนิยมนี้ เป็นที่แพร่หลายอย่างมากทั้งในวัดที่สร้างในสมัยต่อ ๆ มา 

นอกเหนือไปจากวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่ารัชสมัยอื่น ๆ



เดินออกประตูทางเข้าพระอุโบสถ มาหามุมถ่ายรูปค่ะ





รูปปั้นสิงห์หน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ



เครื่องประดับพระอาราม เป็นตุ๊กตาศิลาสลักแบบจีน  รูปคนและสัตว์ มีลักษณะท่าทางและอิริยาบถต่าง ๆ กัน  

เช่น  มีการแต่งกายแบบจีนบ้าง  แบบไทยบ้าง ตั้งประดับอยู่บริเวณรอบพระอุโบสถ  พระวิหาร  ศาลาการเปรียญ  

ตุ๊กตาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะชำรุด  และบางส่วนถูกขโมยลักไปบ้าง 



พระประธานในพระอุโบสถสลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ เรียกกันว่า หลวงพ่อขาว

รัชกาลที่ ๓ อัญเชิญมาจากพระบรมมหาราชวัง ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงเฉลิมพระนามว่า พระพุทธเทววิลาส เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๑๔



พระพุทธเทววิลาส เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนผสมสุโขทัย ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร จำหลักด้วยศิลายวงสีขาวบริสุทธิ์ 

มีความงดงาม พระเพลากว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๙ นิ้ว หนา ๘ นิ้ว พระอังสา (ไหล่) ๙ นิ้ว รอบพระอุระ (อก) ๑๘ นิ้ว



พระพุทธเทววิลาส ประดิษฐานอยู่ในเวชยันต์บุษบกไม้จำหลักลาย หรือบุษบกท้ายเกริน ปิดทองประดับกระจกเกรียบ ลายประณีตบรรจงมาก 



พระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ ปางห้ามสมุทร ประดิษฐานอยู่สองข้างของเวชยันต์บุษบก 

ด้านซ้ายขวาตั้งแต่งฉัตรเครื่องสูงทองแผ่ลวด ๕ ชั้น ๒ ดั้ง เหนือพระพุทธรูป กางกั้นสุวรรณฉัตรคันดาน ๕ ชั้น ๑ ดั้ง 

พระพุทธเทววิลาสองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาบดินทร์ รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) 

ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจำหลักด้วยศิลาขาว 

จากพระบรมมหาราชวังมาเป็นพระปฏิมากรประธาน 

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙  เสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศล

ถวายพระกฐิน ทรงเฉลิมพระนามว่า "พระพุทธเทววิลาส"

ตามหนังสือราชเลขาธิการที่ รล.๐๐๐๒/๒๕๒๒ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๑๔





วัดเทพธิดาราม ตอนเราเห็นภายในพระอุโบสถครั้งแรก ตะลึงเลยค่ะ งามมาก ถ้ามีโอกาส แวะมาเรื่อยค่ะ 



กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) ทรงพระสิริโฉมงดงามมากค่ะ 



บานหน้าต่างในและบานประตูด้านในเป็นลายโคมจีนและส่วนลึกของประตูหน้าต่างเป็นลายแจกันดอกไม้





พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓



เพดานมีดาวเพดาน คอสองเป็นลายพวงมาลัย เสาเหลี่ยมหลบมุมขนาดใหญ่



ฝาผนังพระอุโบสถเขียนลายรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ดอกพุดตาน แบบอย่างในรัชกาลที่ ๓






ออกมาเจอเจ้านี่งีบอยู่ 



พระวิหาร ก่ออิฐถือปูนหลังคาซ้อน ๒ ชั้น มี ๓ ตับ ตับล่างเป็นปีกนกรอบหลังคา ไม่ประดับด้วยเครื่องแต่งตก 

หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีลวดลายเหมือนกันกับพระอุโบสถ



หมู่ภิกษุณี หรือนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนา เป็นรูปหล่อลงรักปิดทอง ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนหน้าพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร 

จำนวน ๕๒ องค์ นั่ง ๔๙ องค์ ยืน ๓ องค์ อยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ หลากหลายท่า มีทั้งท่านั่งปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ฉันหมาก สูบยา ยืนไหว้ นั่งพนมมือ


วันนี้พระวิหารปิดค่ะ ส่องเข้าไปข้างในได้แค่นี้


รอบพระวิหาร มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ๑๔ องค์



ออกประตูนี้กันค่ะ









Create Date :06 กุมภาพันธ์ 2560 Last Update :7 กุมภาพันธ์ 2560 19:05:40 น. Counter : 7254 Pageviews. Comments :29