bloggang.com mainmenu search

ทัวร์ไหว้พระ ๙ วัด ตอนที่ ๔ htmlentities(' >')>> วัดประดู่ฉิมพลี

สวัสดีวันจันทร์ค่ะ ทัวร์ไหว้พระ ๙ วัด จากดีลเอ็นโซโก้ ซื้อ ๑ แถม ๑ ทริปนี้ ตั้งแต่วันที่่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ต่อเลย...วัดที่ ๓ ค่ะ วัดประดู่ฉิมพลี

วัดประดู่ฉิมพลี เดิมเรียกว่า วัดสิมพลี แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดประดู่ฉิมพลี อีกชื่อหนึ่งนิยมเรียกว่า วัดประดู่นอก เพื่อให้แตกต่างกับ วัดประดู่ใน หรือ วัดประดู่ในทรงธรรม สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ได้บูรณะขึ้นเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาสำเร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้นเวลาถึง ๘ ปี เล่ากันว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดในพระพุทธศาสนา ๓ วัด คือ วัดประยุรวงศาวาส วัดพิชยญาติการาม และ วัดประดู่ฉิมพลี และได้ถวายให้เป็น พระอารามหลวง ๒ วัด คือ วัดประยุรวงศาวาส วัดพิชยญาติการาม ส่วนวัดประดู่ฉิมพลีนั้น ไม่ได้ถวายเป็นพระอารามหลวง เพราะประสงค์จะให้เป็นวัดราษฎร์ และประสงค์จะจองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินเป็นประจำทุกปี

วัดประดู่ฉิมพลี อยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๘ ถนนเพชรเกษม แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา



ดู วัดประดู่ฉิมพลี ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า



๐๘.๒๖ น. วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ ป้ายสีเขียวชี้ไปทางซ้ายมือ ไปคลองบางขุนเทียน








ผ่านก่อนค่ะ ยังไม่ใช่วัดนี้ เดี๋ยวไปกลับเรือก่อน








วัดข้างหน้านี้ค่ะ ที่เราจะไปกัน








เรือนักท่องเที่ยวที่วิ่งสวนมาเป็นระยะ














ถึงแล้วค่ะ วัดประดู่ฉิมพลี





ป้ายติดไว้ว่า "ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดประดู่ฉิมพลี"





หรือจะเคยเป็นหอสมุด...








ศาลาราชสังวราภิมณฑ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย ๒ ชั้น กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๖.๕๐ เมตร ไม่ได้ถ่ายด้านหน้ามา...





เป็นที่ประดิษฐาน รูปหล่อเหมือนพระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)



หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี (๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ – ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔) ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หรือ จังหวัดธนบุรี ในอดีต เป็นพระคณาจารย์ที่รู้จักกันดี ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทุกชนชั้น ท่านถึงพร้อมด้วยบุญบารมีและอิทธิบารมี พระเครื่องของท่านมีปาฏิหาริย์ศักดิ์สิทธิ์ มีประสบการณ์เล่าขานมากมายจากเหนือจดใต้ทั่วประเทศไทย จนกลายเป็นพระหลักยอดนิยมของเมืองไทย ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีเมื่อ (วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔) จนกระทั่งมรณภาพ รวมระยะเวลานานถึง ๖๘ ปี ขณะนี้ พระครูวิโรจน์ญาณวงศ์ ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติมที่วิกิพีเดีย คลิกเลยค่ะ













วัดนี้ มีชื่อเสียงเรื่องพระเครื่องค่ะ











ศาลารับเสด็จ





ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช




เจดีย์ทรงรามัญ องค์เจดีย์กลม แต่ฐานกบบัลลังก์เป็นแปดเหลี่ยม มีบัวประดับที่เชิงระฆัง ที่เหนือบัลลังก์ และที่ใต้ปลียอด มีเครื่องประดับประดาที่ยอดดังเช่นเจดีย์รามัญทั้งหลายทั่วไป เจดีย์นี้สร้างไว้เหนือเรือนตึกแปดเหลี่ยม ซึ่งเสามีรายและมีชานโดยรอบทำนองมณฑปแต่เรียกกันว่าวิหาร












ภายในวิหารเดิมจะประดิษฐานสิ่งใดไม่ทราบแน่ ปัจจุบันนี้ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็นของทำในชั้นหลัง











อุโบสถปิดค่ะ




อุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๑๓ เมตร หรือ ๖ วา ๒ ศอกยาว ๓๒ เมตร หรือ ๑๖ วา สร้างตามแบบที่เรียกว่า เป็นพระราชนิยม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ คือ ยกฐานสูง ๒ ชั้น โดยเป็นฐานของอุโบสถชั้นหนึ่ง และเป็นชานโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดที่ฐานทั้ง ๔ ด้าน ภายในไม่มีเสาประธาน หลังคาลด ๓ ชั้น ไม่มีช่อฟ้าใบระกาและคันทวย มีเสาราย รับชายคาที่ยื่นมาปกคลุมมุขหน้า-หลัง และชานโดยรอบอุโบสถ หน้าบันเป็นแบบกระเท่เซ ปั้นลายปูนประดับกระเบื้องเคลือบต่างสี ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นลายปูนเป็นลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูและหน้าต่างปิดทองประดับกระจกลายยา มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีนามว่า หลวงพ่อสุโขทัย พระพุทธสัมพันธมุนี ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๙ นิ้ว เป็นพระประธาน ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ได้เลือกมาจากพระพุทธรูปที่อยู่ ณ วัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี












วิหาร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง ๖.๑๐ เมตร ยาว ๑๗.๓๐ เมตร จำนวน ๒ หลัง





อยู่ด้านทิศตะวันตก ๑ หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระไสยาสน์ และอยู่ด้านทิศตะวันออก ๑ หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระยืน





ภาพสุดท้าย...เค้าว่าไอติมกะทิอร่อย เราซื้อไม่ทัน







Create Date :24 กุมภาพันธ์ 2557 Last Update :24 กุมภาพันธ์ 2557 15:24:16 น. Counter : 10194 Pageviews. Comments :48