bloggang.com mainmenu search
พระวิหารหลวง

วัดประจำรัชกาลที่ ๘ มาตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ความเดิมตอนที่แล้ว...นำชมพระอุโบสถแล้ว วันนี้มาที่พระวิหารหลวงค่ะ เสียดายว่าศาลาการเปรียญของวัดสุทัศน์ฯ ไม่ได้เปิดให้เข้าชม (อยู่ในเขตสังฆาวาส) มีพระพุทธรูปสำคัญคือ "พระพุทธเสรฏฐมุนี" พระพุทธรูปหล่อองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นจากกลักฝิ่นที่ทรงประกาศให้เลิก และนำมาเผาให้หมดทั้งเมือง นับเป็นพระพุทธรูปอนุสรณ์ประวัติศาสตร์ของการเลิกฝิ่นในสมัยรัชกาลที่ ๓

หาเว็บของวัดไม่มี ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมวัดสุทัศน์ฯ ที่นี่ เว็บของที่เที่ยวไทย คลิกเลยค่ะ

เผื่อใครอยากชม ตอนที่ ๑ ที่นี่ค่ะ





เราเดินมาจากพระอุโบสถ จะผ่านสัตตมหาสถาน สถานที่สำคัญทั้ง ๗ แห่ง





หลวงพ่อปลอดโรค





๖ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๒๗ น.





ถึงแล้วค่ะ




พระวิหารคดหรือพระระเบียงคด ล้อมรอบพระวิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน ๑๕๖ องค์ (เลข ๕๖ มาจากจำนวนพยางค์ในบทพุทธคุณ (อิติปิโส...) ) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองคำเปลว ปางสมาธิราบ ประดิษฐานบนฐานชุกชี ที่มุมพระวิหารคดมีซุ้มหลังคาจตุรมุข ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่มุม











พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีขนาดกว้าง ๘๙.๖๐ เมตร ยาว ๙๘.๘๗ เมตร เป็นอาคารเครื่องก่อขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๒๓.๘๔ เมตร ยาว ๒๖.๒๕ เมตร โครงหลังคาเป็นจั่ว มีหลังคาประธาน ๑ ตับ มีชั้นซ้อน หรือ หลังคามุข ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และมีหลังคาปีกนกลาดลงจากหลังคาประธานข้างละ ๓ ตับ หลังคามุขทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีหลังคาปีกนกลาดลงข้างละ ๒ ตับ  มีเสารับมุขเป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน ๑๒ ต้น และเสานางเรียงด้านข้าง ข้างละ ๖ ต้น






เก๋งจีนหน้าพระวิหาร เครื่องศิลาสลักจีนเก๋ง ประดับอยู่ที่ลานประทักษิณชั้นล่าง ด้านหน้า มีลักษณะเป็นปราสาทแบบจีน

ตั้งอยู่บนตั่งขาสิงห์ ล้อมรอบด้วยตุ๊กตารูปสัตว์ ฉากหลังเป็นเขามอ







ม้าสำริด หล่อเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒ สองตัว ต่อมาหล่อเพิ่มขึ้นอีก ๖ ตัว ตั้งประจำอยู่ที่มุมฐานทักษิณพระวิหารชั้นล่างและชั้นบนมุมละ ๑ ตัว รวม ๘ ตัว โดยช่างไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรำลึกถึงม้ากัณฐกะซึ่งเป็นพาหนะที่นำเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช









รอบพระวิหาร มี "ถะ" หรือเจดีย์ศิลาแบบจีนตั้งอยู่บนฐานทักษิณ เป็นถะ ๖ ชั้น จำนวน ๒๘ องค์ หมายถึงพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์




เสาพ่อฟ้า-แม่ดิน ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม ตรงทางขึ้นบันไดทั้ง ๒ ข้างของพระวิหารหลวง ประดับโคมไฟสีแดงแบบจีน  ตรงกลางคือเก๋งจีนหน้าพระวิหาร เครื่องศิลาสลักจีนอยู่ที่ลานประทักษิณชั้นล่างด้านหน้าพระวิหารหลวง เดิมตั้งอยู่บนลานประทักษิณชั้นบนย้ายลงมาชั้นล่างในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ จากลักษณะที่ตั้งเดิมหมายถึงวิมานไพชยนต์ของพระอินทร์แห่งเมืองสุทัสสนนครบนเขาพระสุเมรุ






บริเวณมุมพระวิหารคดทั้ง ๔ มุม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย





ซึ่งจะต่างจากพระพุทธรูปที่ประดิษฐานเรียงรายอยู่ทั้ง ๔ ด้าน ที่เป็นปางสมาธิราบทั้งหมด












พระบรมราชานุสาวรีย์ วัดสุทัศนเทพวรารามถือกันว่าเป็นพระอารามประจำรัชกาลที่ ๘ เพราะทรงมีความเกี่ยวข้องกับวัด คือ เมื่อคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก ได้เสด็จมาที่วัดนี้และทรงพระราชปรารภว่าสถานที่วัดสุทัศน์ฯ ร่มเย็นน่าอยู่ และเมื่อทรงประกอบพิธีแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สกลมหาสังฆปรินายก (แพ ติสสเทโว) ทรงเป็นพุทธมามกจารย์และถวายโอวาท เมื่อเสด็จสวรรคตและถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระอนุชาธิราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร มาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม และถวายพระราชทรัพย์เป็นปฐมให้วัดตั้งมูลนิธิ พระราชทานนามว่า "มูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์"





พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วันจันทร์ที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิด ณ วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๗

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ประดิษฐานไว้บริเวณลานประทักษิณ ชั้นล่างมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระวิหารหลวง พระบรมรูปหล่อด้วยสำริด ประทับยืน ขนาดเท่าพระองค์จริง






ทางขึ้นพระิวิหารหลวง










พระศรีศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่ปิดทอง มีพุทธลักษณะงดงาม ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ วา ๔ นิ้ว สูง ๔ วา เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย อายุกว่า ๖๐๐ ปี





ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระศรีศากยมุนี คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์พุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีในพระวิหารหลวงแห่งนี้ และในวันที่ ๙ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตจะจัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดสุทัศน์ นี้เป็นประจำทุกปี












ภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นภาพเล่าเรื่อง "ไตรภูมิกถา และอดีตพระพุทธเจ้า"





บานหน้าต่างทั้งหมดเป็นไม้จำหลักลาย และเสริมปูนปั้นงดงามฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓










ภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวง เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในมีจิตรกรรมประดับอยู่โดยตลอดไม่มีส่วนที่ว่าง เช่น ภาพเรื่องพระอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์ ภาพไตรภูมิโลกยสันฐานและภาพเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าโปรดเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์








































จิตรกรรมที่เสาในประธานมี ๘ ต้น มีจิตรกรรมทั้งสี่ด้านเรื่องไตรภูมิโลกยสัณฐาน มีศิลาจารึกกำกับที่โคนเสา ฯลฯ








พระสุนทรีวาณี ภายในพระวิหารหลวง เทพแห่งปัญญาบารมี ความสำเร็จทั้งปวง











รูปเยอะอีกแล้วค่ะ

















เดินออกมาแล้วค่ะ


























เสาชิงช้าค่ะ





มองกลับไปด้านหน้าวัด





มุมอื่นบ้าง...





ต้องเดินนะคะ ถึงจะได้ภาพแบบนี้ นั่งบนรถหาจังหวะยากค่ะ





ภาพสุดท้ายแล้วค่ะ




Create Date :26 สิงหาคม 2556 Last Update :26 สิงหาคม 2556 5:59:14 น. Counter : 17678 Pageviews. Comments :52