bloggang.com mainmenu search






วัดบวรนิเวศวิหาร ตอนที่ ๔


สวัสดีบ่ายวันศุกร์ค่ะ ตั้งใจว่าจะลงรูปประมาณ ๓๐ รูปต่อบล็อก...ไม่รู้จะกี่ตอน และไม่รู้ว่าจะเกิน ๓๐ รูปอีกมั้ย เอาแน่นอนไม่ได้ค่ะ ต่อเลยเนอะ...เราเดินกลับมาจุดหมายต่อไป ตั้งใจจะไปตรงพระเจดีย์ใหญ่ค่ะ เวลานี้ เที่ยงกว่าเกือบบ่ายแ้ล้ว แดดแจ่มแจ๋ดีเหลือเกิน ไปกันค่ะ
































วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๙ ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน





















บริเวณรอบพระเจดีย์ค่ะ ตุ๊กตาจีนวางเรียงรายเยอะมาก


































































พระเจดีย์ใหญ่


วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ












ทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้มค่ะ












ไม่รู้ความหมายตุ๊กตาจีนแต่ละตัว ถ่ายรูปมาไ้ว้ก่อนค่ะ














ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มปรางค์ประดิษฐานพระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว















พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก เป็นพระบรมรูปที่หล่อขึ้นใหม่ จำลองจากพระบรมรูปองค์เดิม ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ตำหนักเพ็ชร พระบรมรูปจำลององค์นี้ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตถนอม ดิศกุล ทรงให้กรมศิลปากรหล่อ และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ซุ้มปรางค์นี้ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘
















ซุ้มปรางค์มุมพระเจดีย์ใหญ่





















รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย

คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์





















จากมุมบนที่ยืนอยู่ตรงพระเจดีย์ใหญ่ มองเห็นวิหารเก๋งด้วยค่ะ
























วิหารเก๋ง


ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกับวิหารพระศาสดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างตรงคลองที่โปรดฯ ให้ถม มีพระราชประสงค์ให้เป็นที่สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ แต่การก่อสร้างยังคงค้างอยู่ ไม่ทันได้ประดิษฐานในรัชกาลของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จและโปรดฯ ให้ประดับตกแต่งด้วยลวดลายอย่างจีน เขียนภาพจิตรกรรมเรื่องสามก๊กที่ผนังทั้ง ๔ ด้าน ตั้งแต่ตอนชีซีลาเล่าปี่ไปเมืองฮูโต๊จนถึง ตอนกวนอูปล่อยโจโฉหนีไป ที่เพดานเขียนลายมังกรดั้นเมฆ วิหารเก๋งมีลักษณะเป็นรูปทรงเก๋งจีน ขนาด ๓ ห้อง หลังคาชั้นลดซ้อน ๓ ชั้น หน้าบันประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบรูปคน ดอกไม้ หงส์ ปลา ส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์มงคลตามคติพุทธศาสนามหายานของจีน วิหารเก๋งมีมุขโถงยื่นออกมาจากตัวอาคาร ๒ ข้าง ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ปัจจุบันมุขทางทิศตะวันตกปิดทึบ มุขทั้งสองมีบันไดขึ้นทั้งสองข้างทางทิศเหนือและใต้ มุขทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธปฏิมาทีฆายุมหมงคล วิหารเก๋งมีประตูเข้าทางทิศใต้ บานประตูหน้าต่างภายนอกเป็นลายรดน้ำรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์ภายในเป็นรูปทวารบาลแบบจีน




















วันที่เราไป...อาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ วิหารเก๋งปิดค่ะ












รูปสลับไปมานะคะ ยืนหมุนไป หมุนมา อยู่แถวๆ นั้นหล่ะค่ะ






















จากมุมนี้ เห็นฟ้าขมุกขมัวชัดเจน แ่ต่ฝนไม่ตกค่ะ























ตรงนี้น่าจะเป็นวิหารพระศาสดา ปิดเหมือนกันค่ะ








































ภาพสุดท้ายของบล็อกนี้ค่ะ













อ่านเพิ่มเติมที่เว็บไซด์วัดบวรฯ ค่ะ ของทางวัดเอง... รายละเอียดครบถ้วนเลยค่ะ




บล็อกหน้า....ตอนที่ ๕ วัดบวรนิเวศวิหารค่ะ





เสาร์ - อาทิตย์ ไม่อัพบล็อก มีความสุขในวันหยุดเหมือนทุกๆ วันนะคะ






ขอบคุณทุกท่านที่แวะทักทายกันค่ะ


















Create Date :16 กันยายน 2554 Last Update :17 กรกฎาคม 2555 20:27:37 น. Counter : Pageviews. Comments :48