bloggang.com mainmenu search




เดินเล่น ย่านเยาวราช


ตอนที่ 1 วัดมังกรกมลาวาส

ตอนที่ 2 ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

ตอนที่ 3 
วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ตอนที่ 4  ศาลเจ้าโจวซือกง

ตอนที่ 5 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย , โบสถ์กาลหว่าร์



ทริปนี้ มากับ "นพ"  เพื่อนที่ชอบถ่ายรูปเหมือนกัน เลยเดินกันแบบสบายๆ  ต่างคนต่างหามุมตัวเอง ไม่ได้วางแผนไว้ก่อน ว่าจะไปไหนบ้าง เดินกันเรื่อยเปื่อย ไม่รีบร้อน แต่อากาศร้อนมากค่ะ  





วันที่  ๒๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๕๘   ออกจากโบสถ์กาลหว่าร์  เราเดินขึ้นมาตามถนนเจริญกรุง





แผนที่ จากแผ่นพับ "ยลเสน่ห์เยาวราช ย่ำแดนมังกรกลางกรุง"  จัดทำโดย สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์





ยังพอจะมีอาคารเก่าๆ ให้เห็นบ้าง





ถนนเจริญกรุง

เริ่มตั้งแต่ถนนสนามไชยถึงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก

ปัจจุบัน ผ่านพื้นที่เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมแปราบศัตรูพ่าย เขตบางรัก เขตสาทร  และ เขตบางคอแหลม

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย





ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๗


เดินเลียบถนนมาเรื่อย มองเข้าไป...วัดนี้ ยังไม่เคยมาเลย  แหงนมองด้านบน จะดูชื่อวัด


อ่านดูป้ายด้านหน้าความว่า...


เข้าไปดูด้านในหน่อยเนาะ


อุโบสถ



วัดญวนในประเทศไทยพอจะประมาณได้ว่าเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชหลังจากมีการตั้งหลักแหล่งของชาวญวน

ที่อพยพลี้ภัยสงครามมาตั้งแต่ปลายสมัยธนบุรีเมื่อมีการตั้งวัดญวนขึ้นก็ได้นิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งบวชมาจากประเทศญวนมาประจำในประเทศไทย

คณะสงฆ์ญวนชุดแรกๆมีพระผู้ใหญ่ ที่สำคัญ ๒ องค์ คือ พระครูคณาณัมสมณาจารย์ (ฮึง) และพระครูสมณานัมสมณาจารย์ (เหยี่ยวกร่าม) เป็นผู้นำของคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย

ต่อมาในรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ คณะสงฆ์ญวนในประเทศไทย ได้ขาดการติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนและได้กลับมาติดต่อสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕

ในสมัยนั้น มีพระสงฆ์ญวนเข้ามาในประเทศไทยอีกแต่เนื่องจากขณะนั้นญวนตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสพระสงฆ์ญวนในประเทศไทยไม่สามารถติดต่อกับพระสงฆ์ญวนในเมืองญวนได้สะดวกนัก

พระสงฆ์ญวนในประเทศไทยจึงได้ปรับปรุงแก้ไขระเบียบประเพณีและวัตรปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับพระสงฆ์ไทยหลายประการ เช่น การออกบิณฑบาต

การทำวัตรเช้าและเย็น การถือวิกาลโภชนา และการผนวกพิธีกรรมฝ่ายเถรวาท เช่นการมีพิธีทอดกฐิน และทอดผ้าป่า พิธีบวช พิธีเข้าพรรษา

วัดญวนในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นก่อนวัดจีนในรัชกาลที่ ๓ ระหว่างที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมา คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงพระผนวชอยู่

ทรงสนพระทัย ในลัทธิประเพณี และการปฏิบัติของพระสงฆ์ฝ่ายมหายานซึ่งในขณะนั้น พระสงฆ์ฝ่ายมหายานมีแต่ฝ่ายอนัมนิกายยังไม่มีฝ่ายจีนนิกาย จึงโปรดให้นิมนต์

องฮึง เจ้าอาวาสวัดญวนตลาดน้อยในขณะนั้นมาเข้าเฝ้า ซึ่งทรงถูกพระราชอัธยาศัยเป็นอย่างดีเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกาย

เข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และอยู่ในสถานะดังกล่าวเรื่อยมาแม้จะมีการผลัดเปลี่ยนรัชกาลมาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงแรกที่วัดญวนได้เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร วัดญวนแห่งแรกๆ เช่นวัดญวนตลาดน้อย ก็ได้รับพระราชทานเงินช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์

และยังโปรดเกล้าฯ ให้พระสงฆ์ญวนเข้าเฝ้าเป็นประจำรวมทั้งให้มีพิธีกรรมตามความเชื่อของฝ่ายอนัมนิกายในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงปฏิบัติตามแบบอย่างสมเด็จพระบรมชนกนาถในเรื่องที่เกี่ยวกับ การอุปถัมภ์ และการปฏิสังขรณ์วัดญวน

โดยพระราชทานเงินช่วยเหลือ ในการปฏิสังขรณ์วัดญวนตลาดน้อยอีกครั้งและได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดอุภัยราชบำรุง คำว่า "อุภัย" แปลว่าสอง แสดงให้เห็นถึงความหมายว่า

เป็นวัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ

พระราชทานสมณศักดิ์ขององฮึง เจ้าอาวาสวัด เป็นที่ "พระครูคณานัมสมณาจารย์" เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอนัมนิกาย ในประเทศไทย ต่อมายังได้พระราชทานนามวัดญวน และวัดจีนอื่นๆ อีกหลายวัดด้วย


ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน






ด้านในซุ้มประตูทางเข้า


ของวัด อยู่ในกรง  เดินไปส่อง





๑๓.๕๙ น. ออกมาแล้วค่ะ

สายไฟพะรุงพะรังดีแท้ 




ประวัติสังเขปของนางสาวลออ หลิมเซ่งท่าย ต.ม.

(คณะกรรมการจัดการมฤดกส่งมา)

นางสาวลออ หลิมเซ่งท่าย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๐๙ ณ บ้านเจ๊สัวษร ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร

บิดาชื่อฉ่ำ เป็นน้องหลวงอภัยวานิช (เจ๊สัวเกี๊ยด) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๓ คน พี่สาวชื่อละมุน น้องชายชื่อซิ่ว บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่บุตรทั้งสามยังเด็ก

ต่อมาภายหลังเมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ตรอกศาลจ้าวโรงเกือก คือบ้านที่อยู่จนถึงแก่กรรมนี้

นางสาวลออ เป็นผู้ที่ได้รับการอบรมจากมารดาที่ดี จึ่งเป็นผู้ที่ขยันขันแข็งในการงาน มีความมัธยัสถ์ในการใช้จ่าย ตั้งแต่เป็นอายุ ๑๒-๑๓ ขวบ ก็ต้องทำงานบ้านอย่างหนัก

นอกจากทำงานบ้านตามปกติแล้ว ยังต้องช่วยมารดาทำขนมขาย และยังรับจ้างเย็บแพรกับร้อยดอกไม้ขาย เป็นรายได้พิเศษในเวลาว่างอีกด้วย

ซึ่งเงินค่าร้อยดอกไม้นี้ได้นำมาพิมพ์หนังสือพระภิกขุปาฏิโมกข์คำแปลแจกจ่ายเป็นธรรมทานถึง ๑,๐๐๐ เล่ม

นางสาวลออได้ครองตนด้วยความสุขสวัสดีตลอดมา จนเมื่อวันศุกร์ที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ก็ได้เริ่มมีอาการป่วยด้วยโรคชรา

หลานได้หาแพทย์แผนโบราณ และปัจจุบัน รักษาเยียวยาจนสุดความสามารถก็หาทุเลาไม่

จนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ เวลา ๙.๒๗ น. จึงได้ถึงกาลกิริยาละโลกไปด้วยอาการอันสงบ สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี

การเสียชีวิตของผู้ที่มีคุณงามความดีเช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความปริวิโยคแด่ปวงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือ และบริวารตลอดจนสมณะที่ได้รับความอุปการะจากท่านเป็นอันมาก

(เสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ นางสาวลออ หลิมเซ่งท่าย ต.ม. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๒)


ขอบคุณ ข้อมูลจากเพจ คุณเจริญ ตันมหาพราน










ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒

ชาวไทยเชื้อสายจีน บริษัท ห้างร้าน กลุ่มมวลชน หน่วยงานราชการได้ร่วมใจกันจัดสร้าง ซุ้มประตูวัฒนธรรมไทย–จีน หรือ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ

เพื่อถวายเป็นราชสดุดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นสัญลักษณ์ของไชน่าทาวน์

ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ ออกแบบโดยช่างผู้ชำนาญด้านศิลปกรรมของจีน มีความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม

ยอดหลังคาซุ้มประตู ประกอบด้วยมังกร ๒ ตัว ชูตราสัญลักษณ์  "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒"

และทองคำบริสุทธิ์หนัก ๙๙ บาท ที่หุ้มพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. หมายถึง ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เทิดทูนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เหนือเกล้า

ใต้หลังคาซุ้มประตูเป็นแผ่นจารึกนามซุ้มประตู ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจารึกเป็นภาษาไทยด้านหนึ่ง

อีกด้านหนึ่งเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จารึกอักษรจีน "เซิ่ง โซ่ว อู๋ เจียง"

หมายถึง "ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน" พร้อมนามาภิไธย "สิรินธร"


ข้อมูลจากวิกิพีเดีย






เดินมาอีกนิด


๑๔.๐๙ น. วัดไตรมิตรวิทยาราม


วัดไตรมิตรวิทยาราม

เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ

วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม

ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม

       เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน ๓ คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน”


ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง มีพระนามว่า “พระพุทธทศพลญาณ”  มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทราบว่าพระประธานวัดสามจีนใต้มีพุทธลักษณะงดงาม ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตร

ให้ประจักษ์แก่พระเนตรว่างามสมคำเล่าลือกันหรือไม่ แม้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ก็ยังได้มาชมพระประธานของวัดสามจีนเสมอเมื่อทรงว่างจากพระภารกิจ


//www.wattraimitr-withayaram.com/






พระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

** ภาพเก่าเมื่อ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ **



พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือ หลวงพ่อทองคำ หรือที่มีนามซึ่งปรากฏตามพระราชทินนาม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ ๙) ว่า

“พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”  

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ

ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๕ ตันครึ่ง


อ่านเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ


























พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร หรือ พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร นับเป็น “พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก”

หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓)

และบันทึกไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑ ล้านปอนด์






พระเกตุเมาฬี





ข้อปฏิบัติภายในพระมหามณฑป





จากหน้าประตูมองเข้าไป (เป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเยอะกว่าคนไทย)





มุมมองจากพระมหามณฑป  --   พระอุโบสถค่ะ






ตอนหน้า ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช  (เคยอัพบล็อกไปแล้วล่ะค่ะ ครั้งนี้ ถือโอกาสมาถ่ายซ่อม...)









Create Date :24 สิงหาคม 2558 Last Update :24 สิงหาคม 2558 5:17:14 น. Counter : 7087 Pageviews. Comments :24