bloggang.com mainmenu search



ในวันเดียวกันที่ไปสวนนาคราภิรมย์ เรามาที่นี่ด้วยค่ะ สวนสันติชัยปราการ

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ ๘ ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยภายในบริเวณสวนมี พระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา










เวลาประมาณ ๘ โมงครึ่ง ของเช้าวันอาทิตย์ค่ะ ร้านรวง ถนนหนทาง...เป็นแบบนี้ค่ะ

















สวนแห่งนี้มีทัศนียภาพของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามมาก นับเป็นสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำ และสามารถชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินได้อย่างชัดเจน

























สวนสาธารณะสันติชัยปราการ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และโบราณสถาน นับเป็นนันทนสถานเอนกประสงค์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยทั้งด้านการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการอนุรักษ์ (ป้อมพระสุเมรุ) พื้นที่โดยรอยได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกายได้หลายประเภท เช่น การเต้นแอโรบิค รำมวยจีน สามารถเป็นสถานที่จัดงานของท้องถิ่นและรัฐบาล เช่น พิธีต้อนรับแขกจากต่างประเทศ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม เช่น พิธีลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น









เป็นอีกจุดหนึ่งที่มองเห็นสะพานพระราม ๘ ได้ชัดเจนเลยค่ะ










โรคเดิมกำเริบค่ะ สะพาน...เยอะมาก ชอบ





























ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ ๑๔ แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น ๑ ใน ๒ ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือ ป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุ ได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ

























ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ ๑ มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ กรมศิลปากรได้ ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕ จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม


































ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่า























ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก วิกิพีเดีย


ขอบคุณเฮดบล็อก และบีจี คุณญามี่ค่ะ


Create Date :01 ธันวาคม 2553 Last Update :1 ธันวาคม 2553 14:15:06 น. Counter : Pageviews. Comments :50