bloggang.com mainmenu search






BUKRUK Urban Arts Festival

เทศกาลเมืองศิลปะ "บุกรุก"



ผลงาน Street Art ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินไทยและนานาชาติ ที่เข้าร่วม เทศกาลเมืองศิลปะ “บุกรุก” (BUKRUK Urban Arts Festival) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา

นอกจากการสร้างสรรค์ผลงาน Street Art ให้กับพื้นที่ในย่านนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มี พื้นที่ทางศิลปะ (Art Space) ตั้งอยู่จำนวนไม่น้อย และคนในพื้นที่พยายามผลักดันให้เป็น Creative District หรือ พื้นที่สร้างสรรค์ ของกรุงเทพ ฯ และอีกไม่นาน ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ก็เตรียมจะย้ายบ้านใหม่ไปอยู่ย่านนี้ ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ถ.เจริญกรุง 32

เทศกาลที่ผ่านพ้นไปแล้วยังประกอบไปด้วยกิจกรรมอื่นอีกหลายกิจกรรมได้แก่ เทศกาลดนตรี, นิทรรศการศิลปะ, Mobile Print Shop, Animation Night และ Artist Talks

ทว่าผลงาน Street Art ตามจุดต่าง ๆ ยังมีให้ผู้สนใจแวะเวียนไปชมได้ตลอดเวลา จนกว่าผลงานแต่ละชิ้นจะถูกศิลปิน Street Art คนอื่นๆ มาบอมทับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของงานศิลปะประเภทนี้ แต่ก็คงอีกนาน เพราะผลงานหลายชิ้นในเทศกาลครั้งนี้ สร้างสรรค์บนผนังอาคารที่อยู่ในจุดที่อยู่สูงพอสมควร

//www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9590000010758




ได้เห็นภาพ street art  นี้ จากเน็ต จากทีวี ... เลยอยากไปเดินดูบ้าง




13 มิถุนายน  2559  นั่งรถเมล์มาคนเดียวค่ะ แถวเจริญกรุง พอเดินได้ พอคุ้น ไม่น่าจะหลง  Smiley




เดินได้ไม่ครบทุกจุดหรอกนะคะ เห็นว่าที่ เจริญกรุง 32 มีเยอะที่สุด เราเลยตั้งใจมาที่นี่




เค้าบอกว่า ในซอยนี้ มีภาพ street art เยอะที่สุดแล้วค่ะ




ฝั่งตรงข้าม




งานของ BONUS TMC กับ งานของ LOLAY ศิลปินชาวไทย  (มีชื่อศิลปินกำกับไว้ด้วย)




งานของ Alexmardi




งานของ  Sabek





งานของ Alexmardi  (มีถังขยะ ถุงขยะ กรวยยาง เป็นพร็อพด้วย)




มองย้อนกลับไป ...




งานของ Kult




งานของ LOLAY  รถจอดบัง Smiley





งานของ  BONUS TMC




งานของ PHAI




ยังดีว่า รถจอดบังแค่ภาพเดียวเนอะ





Thibaud Tchertdhian (ชื่อศิลปิน ที่มุมซ้ายของภาพ)




SAKYAI







เดินออกมาจากซอยเจริญกรุง 32 มาที่ ไปรษณีย์กลางบางรัก





เป็นอาคารแบบสากลสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น (Modern Architecture) ตามแนวทางของศิลปะในยุค Neo-Classicism ผสม Functionalism

เน้นการออกแบบที่มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ลดทอนการประดับประดา โดยใช้เส้นตรงและระนาบเข้ามาประกอบ

ลักษณะเด่นอยู่ที่การออกแบบเป็นรูปตัวที (T) สูง 4 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น

ส่วนหน้ากว้าง 103.80 เมตร ลึก 38.52 เมตร ส่วนหลังกว้าง 22 เมตร ลึก 96 เมตร




ครุฑ (ขนาดสูงกว่าสองเท่าของคนจริง)  ประดับที่มุมอาคาร ด้านหน้าทั้งสองด้าน





ตัวอาคารด้านหน้ามีการแบ่งความยาวออกเป็น 5 ส่วน โดยเน้นความสำคัญของตำแหน่งศูนย์กลาง ให้มุขหน้าบริเวณกึ่งกลางมีขนาดใหญ่ที่สุด

และมีการประดับด้วยปูนปั้นรูปครุฑ ที่บริเวณมุมหน้าทั้ง 2 ด้านของมุขหน้า ซึ่งเป็นเครื่องประดับอาคารที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น

ก่อสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483  ซึ่งประติมากร ผู้ออกแบบปูนปั้นคือ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

ศิลปินผู้บุกเบิกงานประติมากรรมแบบสากลในไทย สมัย ร.8 

ซึ่งมีคติการออกแบบสถาปัตยกรรมยุคนั้นจะต้องมีรูปปูนปั้นประกอบเสมอ เช่น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สนามกีฬาแห่งชาติ
ตัวอาคารเป็นรูปตัว ที (T) สูง 4 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น ส่วนหน้ากว้าง 103.80 เมตร ลึก 38.52 เมตร ส่วนหลัง กว้าง 22 เมตร ลึก 96 เมตร ตัวอาคารด้

อ่านข่าวต่อได้ที่: //www.thairath.co.th/content/93138






จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงมีคุณูปการกับการไปรษณีย์ไทยอย่างล้นเหลือ จึงได้มีการสร้างพระอนุสาวรีย์

เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ ณ บริเวณหน้าที่ทำการไปรษณีย์กลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมไปรษณีย์โทรเลขเดิม

โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เคยสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข คือ ธนาคารออมสิน องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย

โดยกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้ขอให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบพระอนุสาวรีย์





การออกแบบเป็นท่าประทับนั่งใกล้โต๊ะกลมมีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ เนื่องจากทรงโปรดหนังสือและตำราต่าง ๆ

โดยออกแบบให้พระรูปจำลองอยู่บนเนินสูงเพื่อความสง่างาม สอดคล้องกับจารีตธรรมเนียมของคนไทย

ที่มักจะเทิดทูนสิ่งที่เคารพไว้ในที่สูง รอบเนินมีต้นไม้เป็นส่วนประกอบ ขนาดพระรูปใหญ่กว่าพระองค์จริงเล็กน้อย

งบประมาณค่าก่อสร้าง กำหนดไว้ 600,000 บาท เป็นค่าจัดทำองค์พระอนุสาวรีย์ 360,000 บาท ระยะเวลาก่อสร้าง 24 เดือน

โดยมีคำจารึกพระนามที่แท่นฐานพระอนุสาวรีย์

"จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช"


 อธิบดีผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขพระองค์แรก พ.ศ. 2426 – 2433"

//www.clipmass.com/story/12167










ออกมาแล้ว ก็ งง-งง ไปทางไหนดี Smiley




ตั้งหลักหน้าปากซอย แล้วเดินย้อนขึ้นไป

มี street art ที่ เจริญกรุง 30 ด้วย แต่เราไม่รู้ เลยไม่ได้แวะดู




เดินถ่ายตึก ถ่ายอาคารมาเรื่อย ๆ




13.35 น. วันที่  13  มิถุนายน  พ.ศ. 2559




ปากซอยเจริญกรุง 40 เห็นป้ายบอก โบสถ์อัสสัมชัญ ... ไปแวะกันค่ะ





อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ หรือโบสถ์อัสสัมชัญ (อังกฤษ : Assumption Cathedral)

เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และ 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ตั้งอยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร  วิหารสร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบทรงไทยโดยบาทหลวงปาสกัล ซึ่งเป็นชาวไทย-โปรตุเกส

โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2452 โดยคุณพ่อกอลมเบต์ เจ้าอาวาสวัดชาวฝรั่งเศสในขณะนั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมีวัสดุก่อสร้างเช่นหินอ่อน และกระจกสี ซึ่งสั่งมาจากประเทศฝรั่งเศส สิงคโปร์ และอิตาลี

วิหารได้รับการออกแบบในรูปของงานสถาปัตยกรรมเรเนซองส์ มีความสูงของหอระฆังตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็ตกแต่งด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโก และประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อของทางศาสนาคริสต์ 

ปัจจุบัน วิหารมีอายุเก่าแก่อายุกว่า 107 ปี เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในไทยอีกด้วย วิกิพีเดีย




















อาคารอะไรไม่รู้ค่ะ สวยดี  อยู่ด้านขวามือโบสถ์ 




โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์







ออกจากอัสสัมชัญ เดินต่อ Smiley




เดินมาถึงอาคารหลังสุดท้าย ซ้ายมือ







สุดซอยเป็นริมน้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้าม คือ โรงแรมเพนนินซูล่า




น่าจะเป็นคอนโด




เวลานั่งเรือผ่าน ถ่ายภาพอาคารนี้หลายครั้ง เพิ่งได้มาทางบกครั้งแรก





EAC Building
  ตึกเก่าแก่อีกหลังหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่โดดเด่น ตั้งตระหง่านเคียงคู่ อาคาร Author Wing ของโรงแรมโอเรียนเต็ลมานานกว่า 100 ปี วันเวลาที่ล่วงเลยไป ไม่สามารถบดบังความสวยงามทางด้านสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้ได้เลย  อาคารหลังนี้คาดว่าสร้างขึ้นมาหลังปี พ.ศ. 2433 เพื่อใช้เป็นที่ทำงานของกลุ่มบริษัท อีสท์ เอเชียติก ที่ได้มาเปิดบริษัทการค้าขึ้นในเมืองไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2427 โดย มร.เอ็ช เอ็น แอนเดอร์เซ่น กัปตันเรือชาวเดนมาร์ก

พื้นที่เดิมตรงนี้เคยเป็นบ้านเก่าหลังหนึ่ง ที่ทางบริษัท อีสท์เอเชียติก ใช้เป็นโกดังเก็บสินค้า โดยที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ในช่วงเวลานั้นได้เช่าพื้นที่อยู่ในโรงแรมโอเรียนเต็ล ต่อมาบ้านหลังนั้นรื้อทิ้ง เพื่อสร้างเป็นอาคาร EAC ที่เห็นในปัจจุบัน

ตัวอาคารหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าอาคารเน้นทางเข้า โดยมีบันไดจากภายนอกเข้าสู่อาคาร ชั้น 2 บริเวณกึ่งกลางอาคาร มีการก่ออิฐฉาบปูน 3 ชั้น ด้านบนเป็นดาดฟ้า การประดับตกแต่งอาคาร ค่อนข้างเรียบง่าย ไม่หรูหรา ฟุ่มเฟือย การทำบันไดทางขึ้นด้านหน้าลักษณะนี้เป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4  ผนังด้านหน้าอาคารแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางทำเป็นส่วนเน้นของอาคาร โดยออกแบบให้ยื่นออกมาจากผนังด้านข้างเล็กน้อย และมีขนาด กว้างกว่าผนังอีก 2 ส่วนที่ขนาบข้าง

เมื่อบริษัทอีสท์ เอเชียติก ได้ย้ายไปยังสำนักงานแห่งใหม่ที่ถนนสาทร อาคารหลังนี้ได้ถูกขายให้กับ คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี  ราชาแห่งวงการน้ำเมา ที่กำลังรุกกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างหนัก ตั้งแต่คราวหลังสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 เป็นต้นมา  ในคราวนั้น คุณเจริญ ต้องการพัฒนาให้ตึก EAC เป็นโรงแรม และศูนย์การค้าที่สวยงาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในระยะเวลาดังกล่าว เขากำลังมีภาระหนักอยู่กับการพัฒนาโรงแรมอิมพีเรียล และโรงแรมต่าง ๆ ในเครืออิมพีเรียลที่ซื้อ ต่อมาจาก อากร ฮุนตระกล ถึง 7 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด รวมทั้งการซื้อโรงแรมภูแก้วรีสอร์ท ของบุญชู โรจนเสถียร โครงการออฟฟิศบิลดิ้งใหญ่ยักษ์บนถนนสาทร "เอ็มไพร์ทาวเวอร์" จากกลุ่มฮ่องกงแลนด์ ประจวบเหมาะกับปัญหาของวิกฤติเศรษฐกิจที่ส่งผลให้การพัฒนาโครงการคลาสสิก ริมแม่น้ำนี้ชะลอไปหลายครั้ง 

ประมาณปี พ.ศ. 2537 คุณเจริญได้มาซื้อโครงการโอเรียนเต็ล พลาซ่า หรือห้างสิงห์โตเก่า ศูนย์การค้าเก่าแก่อายุเกือบ 100 ปีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับตึก EAC เพิ่มขึ้นอีกหลังหนึ่งเพื่อพัฒนาเป็น O.P. Place ศูนย์การค้าที่ขายของแอนทีค ที่ใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  ความสวยงามของอาคารหลังนี้ ว่ากันว่า กลุ่มแมนดารินกรุ๊ป ผู้บริหารโรงแรมโอเรียนเต็ลเอง ก็เคยสนใจติดต่อ ขอซื้อเพื่อพัฒนาเชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของโอเรียนเต็ล แต่ทางคุณเจริญไม่ยอมขาย เพราะมีเป้าหมายชัดเจนที่จะพัฒนาเป็นบูทีคโฮเต็ล ที่เชื่อมต่อกับ O.P. Place ศูนย์การค้าเดิมของบริษัทแทน คงอีกไม่นาน บูทีค โฮเต็ล แห่งใหม่ที่สวยงามตระการตาริมแม่น้ำเจ้าพระยา จะปรากฏต่อสายตาของชาวไทย และชาวโลก

มีส่วนที่คล้ายกับสถาปัตยกรรมโรมัน คือ รูปแบบของอาคารได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตกใน Style Neo-Renaissance (คือเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นหลังยุค Classic สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15-16 บนพื้นฐานรูปแบบระเบียบและกฎเกณฑ์ ของสถาปัตยกรรมกรีกและโรมัน) 

https://sites.google.com/site/5103174rsu/assignment--04





ขวามือของอาคาร คือ โรงแรมโอเรียนเต็ล








ด้านบนเป็นผนังที่ก่ออิฐฉาบปูน ทำสัญลักษณ์เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม ยอดโค้งครึ่งวงกลม ภายในปั้นปูนลายสมอเรืออยู่ภายในธง 

อาคารชั้น 1 และชั้น 2 ผนังส่วนกลางอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ทำเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลม ต่อเนื่องกัน 3 ซุ้ม (ส่วนละซุ้ม)

และผนังที่ขนาบด้านข้างทั้ง 2 ข้าง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ทำเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 2 ซุ้ม

ผนังชั้น 2 อาคารตกแต่งด้วยลายปูนปั้น บริเวณระหว่างซุ้มโค้ง ผนังชั้น 3 แบ่งเป็นส่วน ๆ ตามชั้น 1 และ 2

แต่ละส่วนเจาะเป็นซุ้มหน้าต่างโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกันส่วนละ 2 ซุ้ม
















เดินกลับออกมาแล้วค่ะ







สถานทูตฝรั่งเศส




จะเดินไป ศุลกสถาน ... เค้าไม่ให้เข้าไปถ่ายรูปด้านในแล้วค่ะ โชคดีเราเคยมาแล้ว

ย้อนกลับไปดู  ศุลกสถาน เมื่อปี 2555



ถ่ายได้ด้านนอกค่ะ














จากอาคารศุลกสถาน เดินต่อมา เห็นป้ายแนะนำ มัสยิดฮารูณ




แผนที่ ที่ไปมา




เดิมเป็นเรือนไม้สัก ก่อสร้างใหม่เป็นแบบก่ออิฐถือปูน ส่วนที่เป็นไม้ของเดิมใช้ทำพื้น และเสากลม






ต่อตอนหน้าค่ะ







Create Date :25 กรกฎาคม 2559 Last Update :25 กรกฎาคม 2559 5:20:05 น. Counter : 7479 Pageviews. Comments :50