bloggang.com mainmenu search



ถ้าเอ่ยถึงสะพานพุทธฯ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก...เราเองก็ผ่านไปผ่านมาอยู่บ่อยๆ ก็จัดว่าใกล้ตัว...วันนี้ขอเอาเรื่องใกล้ตัวนี่หล่ะค่ะมาดูกัน...อัพบล็อกเรื่องวัดติดๆ กันคงเบื่อแล้วเนาะ...




ภาพสะพานพุทธในมุมไกลๆ เพราะเราถ่ายจากสะพานพระปกเกล้า...










สะพานพระปกเกล้า (Phra Pok Klao Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นถึงจุดวิกฤต รัฐบาลจึงเห็นว่าควรมีสะพานอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยระบายการจราจร โดยได้เว้นที่ช่วงกลางสะพานไว้สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินด้วย ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท











ภาพนี้...ถ่ายตอนนั่งเรือผ่านท่าสะพานพุทธ













สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ ๒ ถัดจากสะพานพระราม ๖ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖
















โครงการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (ต่อมาเป็นกรมพระยา) อุปนายกราชบัณฑิตยสภา ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปกรรมคิดแบบอย่างเป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์เสด็จประทับเหนือพระราชบัลลังก์และหล่อด้วยทองสำริด ขนาดสูงตั้งแต่ฐานถึงยอด ๔.๖๐ เมตร ฐานกว้าง ๒.๓๐ เมตร ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน) เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยได้เลือกแบบของบริษัทดอรแมนลอง ประเทศอังกฤษ และสร้างเป็นสะพานเหล็กยาว ๒๒๙.๗๖ เมตร กว้าง ๑๖.๖๘ เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ ๗.๕๐ เมตร และอาจยกตอนกลางขึ้นด้วยแรงไฟฟ้า เปิดช่องกว้าง ๖๐ เมตรเพื่อให้เรือใหญ่ผ่านได้สะดวก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า
































รัฐบาลได้ประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ไว้เป็นจำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง รัฐบาลส่วนหนึ่ง ส่วนอีกจำนวนหนึ่งนั้นทรงพระราชดำริว่า ควรบอกบุญเรี่ยไรประชาชน เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕



















เราไปถึงตอน 7 โมงกว่าๆ ของวันอาทิตย์ค่ะ






ไม่มีคน...พยายามเก็บมาทุกมุม...เท่าที่จะเก็บได้ค่ะ










บริเวณปฐมบรมราชานุสรณ์ เพิ่งมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ไปได้ไม่นานนี้เองค่ะ




















ในปัจจุบัน นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าจะเป็นที่ประดิษฐานปฐมบรมราชานุสรณ์แล้ว ยังมีลานสาธารณะให้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นลานกีฬาของเด็กนักเรียนในย่านนั้นด้วย ทั้งฟุตบอลและสเกตบอร์ด ก็จะมีให้เห็นทุกวันในช่วงเย็นหลังโรงเรียนเลิก




















นอกจากนี้ ในยามค่ำคืนพื้นที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานพระปกเกล้าในปัจจุบัน ในยามค่ำประมาณ ๑๘.๐๐ - ๒๓.๐๐ น.โดยประมาณ จะเป็นตลาดนัดยามค่ำคืน ที่มีสินค้าแฟชั่นหลากหลาย โดยเฉพาะสินค้ามือสอง อาทิ เสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ อีกทั้งยังมีศิลปินอิสระ ส่วนมากเป็นนักศึกษาเพาะช่าง มารับวาดภาพและขายภาพวาดด้วย ด้วยราคาที่แสนถูก ประกอบกับรูปแบบที่กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่น ทำให้ตลาดสะพานพุทธในปัจจุบันคลาคล่ำด้วยวัยรุ่นจำนวนมากทุกค่ำคืน

ตลาดนัดสะพานพุทธเปิดทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์


ที่มาข้อมูล : วิกิพีเดีย








อาคารสีเหลืองนี้คือ โรงเรียนสวนกุหลาบค่ะ






ตรงนี้ก็...ปากคลองตลาดค่ะ






และนี่...สะพานเจริญรัช 31 ค่ะ









เมื่อครั้งที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประพาสยุโรปนั้น ประเทศไทยได้มีการสร้างสิ่งสาธารณูปโภค และการขนส่งมวลชนขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการขุดคูคลอง และตามด้วยสะพานข้ามคลองนั้น มีการสร้างกันมากในยุคสมัยนั้น

อ้างถึงเรื่อง สะพานในข้างต้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าในรัชสมัยของ รัชกาลที่ ๕ เรามีสะพานชุดเฉลิมที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างสะพานชุดนี้ขึ้นทุกๆ ปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ ครั้นมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงสานต่อพระราชดำริเดิมของพระราชบิดา โดยโปรดให้มีการสร้างสะพานชุดขึ้นเช่นกัน และสะพานชุดในรัชสมัยของพระองค์นั้นเรียกรวมๆ ว่า สะพานชุดเจริญ โดยโปรดให้เริ่มสร้างสะพานชุดเจริญสายแรกขึ้นที่ปากคลองตลาดคือ สะพานเจริญรัช 31

สะพานเจริญรัช 31 นั้นเป็นสะพานชุดเจริญสายแรกที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการสร้างขึ้นเพื่อฉลองพระชนมายุ ครบ 31 ปี ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ทรงสืบราชสมบัติต่อจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนก โดยสร้างขึ้นที่ตำบล ปากคลองตลาด สะพานนี้สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อใช้เชื่อมถนนจักรเพชรกับ ถนนมหาราช ตรงบริเวณคลองคูเมืองเดิมเข้าด้วยกัน โดยทำลวดลายบริเวณลูกกรงรอบสะพานเป็นลายปูนปั้นเสือป่ายึดพระขรรค์ ส่วนบริเวณกลางสะพานก็ทำเป็นปูนปั้นวงรีเป็นป้ายประดิษฐานพระนามาภิไธยย่อว่า ว.ป.ร. พร้อมทั้งตัวเลขระบุพระชนมายุเอาไว้


ที่มาข้อมูล : //travel.sanook.com/bangkok/bangkok_06805.php







ตรงนี้คงเป็นคลองคูเมืองเดิมที่ว่า...






บล็อกหน้า...คิดก่อนค่ะ ที่ทำรูปไว้มีแต่วัด...


ขอบคุณเฮดบล็อก และบีจีคุณญามี่

Create Date :22 กุมภาพันธ์ 2554 Last Update :22 กุมภาพันธ์ 2554 14:02:09 น. Counter : Pageviews. Comments :45