bloggang.com mainmenu search




เดินเล่น ย่านเยาวราช


ตอนที่ 1 วัดมังกรกมลาวาส

ตอนที่ 2 ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

ตอนที่ 3 
วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร



วันนี้อัพบล็อกผิดเวลาเกือบหมดวันแล้ว.... ไม่มีดราฟท์บล็อกไว้เลย ทำรูปเสร็จลุยเลยละกันค่ะ





ตลาดน้อย

ชุมชนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก 

ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ

       ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง

อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน

ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน

ตามประวัติศาสตร์ ย่านตลาดน้อยคือชุมชนชาวจีนที่ขยายมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งเศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลดีติดแม่น้ำเจ้าพระยา บวกกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่านและขุดคลองผดุงกรุงเกษม ไม่แปลกหากที่นี่จะเคยเป็นย่านการค้าสำคัญแห่งหนึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่รองรับการค้าขายทั้งทางบกและทางน้ำ จนพ่อค้าชาวจีนไหหลำอพยพขึ้นมาตั้งรกรากและโรงงานมากมาย อย่างโรงงานน้ำแข็ง โรงเลื่อย โรงสีข้าว แถมยังเป็นแหล่งค้าขายผลไม้สำหรับงานมงคลที่คนเฒ่าคนแก่รู้จักกันดี - See more at: //www.sarakadee.com/2014/07/30/hidden-in-taradnoi/#sthash.XK8J7ktn.dpuf









ดูแผนที่ประกอบ - ศาลเจ้าโจวซือกง อยู่มุมขวาล่าง เดี๋ยวเราไปที่นี่กันค่ะ 




















เพิ่งเคยมาครั้งแรกค่ะ























ศาลเจ้าโจวซือกง

ตามประวัติสันนิษฐานว่า สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากป้ายจารึกที่มีคำว่า “เจิ้ง ฟ่า ชัง หมิง” ซึ่งระบุไว้เป็นปี เจี่ย จื่อ เหนียน ของรัชสมัย เจีย ฉิ้ง ราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1804)

โดยชาวจีนฮกเกี้ยนได้ร่วมกันซ่อมแซมเปลี่ยนวัดซุ่นเฮงยี่ เป็นศาลเจ้าแห่งใหม่ โดยอัญเชิญองค์เทพเจ้าโจวซือกง (พระหมอ) ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างมากของชาวจีนฮกเกี้ยนมาประดิษฐาน ณ ศาลเจ้า 

และขนานนามว่า “ศาลเจ้าโจวซือกง” แปลเป็นไทย หมายถึง “ปรมาจารย์ปู่” เทพเจ้าโจวซือกงหรือที่ ชาวตลาดน้อยเรียก “หลวงปู่โจวซือกง”


ประติมากรรมปูนปั้น ประดับผนัง

















สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชม ศาลเจ้าโจวซือกง เมื่อวันที่  14  กุมภาพันธ์  2550





 พระองค์ภาฯ  ก็เคยเสด็จค่ะ





เทพเจ้าโจวซือกง มีลักษณะเด่นคือทั้งองค์เป็นสีดำในขณะที่เทพองค์อื่นๆ เป็นสีทอง

ตามประวัติท่านหลวงปู่โจวซือก๋ง ชื่อเดิม เฉิน ผู่ จู้  เป็นชาว อำเภอยงชุน มณฑลฮกเกี้ยน เกิดในสมัยราชวงศ์ซ่ง  เมื่อวันที่ 6 เดือน 1 ค.ศ. 1047 

ได้อุปสมบทเป็นสามเณร เมื่ออายุยังน้อย ที่สำนักสงฆ์ต้าหยินเอี้ยน บวชเรียนถือศีลตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ภายหลังได้ธุดงค์มายังเขากาวไท่ซัน ได้ทราบถึงชื่อเสียงเรียงนามของหลวงพ่อ หมิงกงฉานซือ

เป็นพระสงฆ์องค์เจ้า ที่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาธิการ จึงได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ เมื่อได้รับการสืบทอดวิชาความรู้ จากหลวงพ่อหมิงกงแล้ว ก็ได้เดินทางไปพำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์หม่าจาง

เผยแผ่ธรรมะและรักษาผู้เจ็บป่วยที่ประสบความทุกข์ยากทั้งหลาย ทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ ซึ่งมีนามในขณะนั้นเรียกว่า “หลวงพ่อหม่าจาง” ได้ขจรขจายไปทั่วทุกแห่งหน          





ต่อมาในปี ค.ศ. 1083 อำเภอชิงซี  (ปัจจุบันเป็นอำเภออันซี) ได้ประสบภัยแล้งอย่างหนักชาวหมู่บ้านเผิงหลายในอำเภอนั้น เคยได้ทราบถึงความมีอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงปู่

จึงได้ร่วมกันนิมนต์ท่านมาทำพิธีขอฝน ครั้นเมื่อท่านได้เดินทางมาถึง ฝนฟ้าก็ตกลงมาดังปาฏิหาริย์ ชาวบ้านได้เกิดความศรัทธาต่อท่านเป็นอย่างมาก และขอให้ท่านพำนักไว้ ณ ที่แห่งนี้

เนื่องด้วยภูเขาเผิงหลาย เป็นภูมิประเทศที่สวยงามและเงียบสงบ มีลำธารใสสะอาดไหลรินอยู่ตลอด ชาวบ้านได้เรี่ยไรเงิน ปลูกสร้างอาคารไว้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม หลวงปู่โจวซือก๋ง ได้ตั้งชื่อแห่งนี้ว่า “ชิงสุ่ยเหยียน”

หลวงปู่โจวซือก๋ง ได้รับหยางต้าวและโจวหมิง 2 คน ไว้เป็นลูกศิษย์ ก่อสร้างวัดวาอาราม ปลูกป่าไว้สำหรับปฏิบัติธรรม สร้างสะพาน ถนนหนทาง และรักษาคนเจ็บป่วย

ท่านได้เดินธุดงค์เผยแพร่ธรรมะ ไปยังเมืองติงโจวและจังโจว ซื่อเสียงของท่านได้ก้องไกลไปทุกแห่งหน ที่ใดประสบภัยพิบัติก็จะนิมนต์ท่านมาปัดเป่า หรือช่วยขจัดภัยพิบัติต่างๆ เหล่านี้






วันที่ 13 เดือน 5 ปี ค.ศ. 1102 ท่านหลวงปู่โจวซือก๋งได้ถึงแก่มรณภาพ ได้มีการกล่าวขานกันว่า  “ท่านมรณะได้ 3 วันแล้ว แต่หน้าตาของท่านยังไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากเดิมเลย”  

ทำให้สาธุชนทั้งหลายต่างดั้นด้นมากราบไหว้บูชาเป็นการใหญ่ อัฐิของท่านได้ประดิษฐานไว้ใต้เจดีย์  “เจิน คง ถ่า”  ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สุสานโจวซือ

และในโบสถ์ของวัดชิงสุ่ยเหยียน ก็ได้ประดิษฐานรูปแกะสลักไม้จันของหลวงปู่ ไว้ให้ผู้คนกราบไหว้บูชาต่อไป

จากความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่โจวซือกง ทำให้มีผู้มาร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก งานประเพณีในรอบปี

เช่น งานเทกระจาด งานถือศีลกินเจ ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี มีการแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) ภายในงานด้วย











เจ้าพ่อกวนอู





เจ้าแม่ทับทิม




















โครงสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบสมัยราชวงศ์ชิง














เจดีย์ทรงจีนแปดเหลี่ยม จีจินเกาะ ตั้งอยู่อีกฝั่งเจ้าพระยาตรงข้ามศาลเจ้าโจวซือกง





เคยนั่งเรือผ่านศาลเจ้านี้บ่อยมาก วันนี้มาทางบกค่ะ








ยืนตรงท่าน้ำ ส่องไปเรื่อย





ที่จะได้เห็นประจำจากบล็อกเราแน่ๆ  คือ เรือ + น้ำ + สะพาน











12.13  น.  วันที่  25  กุมภาพันธ์  2558











ไปค่ะ เดินกันต่อ...








บ้านเรือนแถวชุมชนตลาดน้อย








วิทยาลัยสารพัดช่าง





ศาลเจ้าฯ ไม่ได้แวะค่ะ








ภาพสุดท้ายของตอนนี้ค่ะ










Create Date :03 สิงหาคม 2558 Last Update :3 สิงหาคม 2558 20:49:28 น. Counter : 15810 Pageviews. Comments :33