bloggang.com mainmenu search


ต่อจากตอนที่แล้ว ถนนทรงวาด เราเดินกลับมาที่ถนนเยาวราชอีกรอบ



ถนนเยาวราช (อักษรโรมัน : Thanon Yaowarat; จีน : 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443  เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช"

ถนนเยาวราช ประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน  ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี) ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร

บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า การเงิน การธนาคาร ร้านทอง ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชน่าทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  

ที่มา : วิกิพีเดีย


ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ


แปะแผนที่กันหน่อยเนาะ


มองเห็นวัดไตรมิตรไกล ๆ ค่ะ


อีกมุมของซุ้มประตู


วัดไตรมิตร ... วันนี้ไม่ได้แวะนะคะ


10 ตุลาคม 2559 ช่วงเทศกาลกินเจ ปีที่แล้วค่ะ


ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า - เดี๋ยวเข้าไปด้านในกันค่ะ



โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ อยู่ด้านหลังศาลเจ้าแม่กวนอิมค่ะ 

จากภาพนี้เป็นตึกด้านหน้าทางเข้าศาลนะคะ


สามารถบริจาคเงินเข้ามูลนิธิเทียนฟ้าได้ที่นี่ค่ะ


งามมากค่ะ



มูลนิธิเทียนฟ้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 เป็นมูลนิธิแห่งแรกในประเทศไทย โดยการรวมตัวกันของกลุ่มชาวจีน 5 ภาษา เพื่อสงเคราะห์ผู้ป่วยที่ยากไร้ ให้ได้รับการรักษาพยาบาล มีทั้งการรักษาแบบแผนปัจจุบันและแผนจีน ภายในมูลนิธิแห่งนี้ มีศาลรูปเคารพของ เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ปางประทานพร ประดิษฐานเป็นเทพเจ้าองค์ประธาน ซึ่งชาวพุทธนิกายมหายาน ได้ให้ความเคารพนับถือต่อพระโพธิสัตว์นอกเหนือจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเชื่อว่าพระโพธิสัตว์คือผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เพียงแต่ยังไม่เข้าสู่พุทธภูมิ จนกว่าจะช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากเสียก่อน

อ่านต่อที่นี่ค่ะ  







ลวดลายประตู






เดินออกมาแล้วค่ะ





ไม่ร้อนมากค่ะ เดินฟุตบาทมีร่มเงาจากร้านค้า 









บ่ายโมงกว่าแล้ว ชักหิวค่ะ / ร้านนี้คนเยอะ


ร้านนี้ละกันค่ะ 



เมนูค่ะ


สั่งตอนหิว ขอบะหมี่ 2 ก้อนเลย น้ำซุป เส้นบะหมี่ ลูกชิ้น อร่อยหมด Smiley


หน้าร้านมีขายลูกชิ้นกุ้งด้วยค่ะ ไม่ได้ถาม เค้าขายยังไง


ลูกชิ้นปลา เผือกทอด ก็มี


กินเสร็จก็เดินต่อ Smiley


ตึกเก่า


ย่านร้านทอง




กลางคืนก็จะอึกทึกครึกโครมบรรยากาศคนละแบบ




เดินเข้าตลาดบ้างค่ะ








วัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ค่ะ





แยกเสือป่า / ขามาก็ผ่าน ขากลับก็ต้องผ่านอีก




ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเฉลิมนคร ตั้งอยู่ในอาคารเก่าแก่ที่เคยเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ ห้างเอส อี ซี (S.E.C.) อาคารนี้ตั้งอยู่ ณ สี่แยกถนนเจริญกรุงตัดกับถนนวรจักร หรือ แยกเอส เอ บี ตรงข้ามกับอาคารเอส เอ บี (S.A.B.) ซึ่งเคยเป็นห้างสรรพสินค้าเช่นกัน และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเดียวกัน 

ปัจจุบัน ตึกเอส เอ บี เป็นที่ทำการหนังสือพิมพ์ซิงเสียนเยอะเป้า อาคารทั้งสองได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2530



อาคารที่ทำการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเฉลิมนคร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มุมอาคารมี 3 ชั้น ส่วนปีกทั้งสองข้างเป็น 2 ชั้น หลังคาปั้นหยา ตั้งอยู่ ณ หัวมุมสี่แยก จึงมีการตกแต่งมุมอาคารเป็นรูปโค้งอย่างสวยงาม รูปแบบสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค ผนังชั้นล่างตกแต่งปูนปั้นนูนเลียนแบบหินก่อผนัง ชั้นบนเรียบประดับเสาอิงเซาะร่องเลียนแบบหินก่อ เหนือประตูหน้าต่างเป็นกันสาดคอนกรีตเสริมเหล็ก รับด้วยคานยื่นหล่อแบบเป็นลวดลายสวยงาม หน้าต่างเป็นบานเปิดไม้ ภายในเป็นบานเกล็ด ที่หัวมุมชั้น 3 มีระเบียงโค้ง ราวระเบียงเป็นลูกกรงปูนปั้น รอบหลังคาก่อเป็นกำแพงบัง ที่มุมมีแผงประดับปูนปั้น ใจกลางแผงประดับเป็นตราครุฑในกรอบปูนปั้นรูปวงกลม


ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เช่าอาคารนี้จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อใช้เป็นที่ทำการธนาคาร และได้ตกแต่งภายในและอนุรักษ์อาคารเป็นอย่างดี ตามนโยบายของทางธนาคารที่เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์มาโดยตลอดทำให้อาคารเอส อี ซี ที่เก่าแก่ ยังคงมีชีวิตชีวาและสนองประโยชน์ใช้สอยได้เป็นอย่างดีมาจนปัจจุบัน  ที่มาข้อมูล



เวิ้งนาครเขษม


เวิ้งนาครเขษม มีความหมายถึง เวิ้งอันเป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ต่อมาชื่อเรียกเพี้ยนเป็น เวิ้งนครเกษม

ถึงยุคปัจจุบัน บริเวณแห่งนี้เป็นสมบัติกองมรดกรวมของตระกูล 5 ตระกูล ประกอบด้วย กิติยากร สวัสดิวัตน์ เทวกุล โสณกุล และบุณยะปานะ ซึ่งสืบสายจากพระธิดาทั้ง 5 ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และได้โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้บริษัท ทีซีซี เวิ้งนาครเขษม จำกัด บริหารจัดการ ด้วยราคาประมาณ 4,800 ล้านบาท โดยทำการโอนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บริเวณที่ดินแปลงนี้ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน และร่างฉบับใหม่ที่จะประกาศเดือนพฤษภาคม 2556 ได้กำหนดเป็นพื้นที่สีแดง "พ.3" หรือที่ดินประเภทพาณิชยกรรม สามารถพัฒนาได้ทั้งที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ แต่มีพื้นที่ไม่เกิน 1 หมื่นตารางเมตร หากจะสร้างเกินจะต้องอยู่ในเขตทางมีความกว้างไม่น้อยกว่า 10, 16 และ 30 เมตร หรือรัศมี 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า

อ่านต่อที่วิกิพีเดีย






แยกวัดตึก



เดินทะลุสำเพ็งมาค่ะ


มาโผล่ที่นี่


จริง ๆ คือ หาทางกลับบ้านค่ะ  Smiley



พาหุรัด  /  วันเวย์นี่นา


เลยถามป้าที่ขายของแถวนี้ สรุปคือต้องเดินย้อนกลับไปทางเดิม / สะพานหัน



ป้าเค้าบอกว่า เราต้องมาขึ้นรถเมล์แถววัดจักรวรรดิ



มาหลายรอบก็ยังเหวอ...  สรุป เรานั่งรถเมล์สาย 21 กลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพค่ะ Smiley



Create Date :21 สิงหาคม 2560 Last Update :21 สิงหาคม 2560 4:57:43 น. Counter : 8076 Pageviews. Comments :39