bloggang.com mainmenu search
10 เมษายน 2565 หลังจากแยกย้ายกับกลุ่มกิจกรรม Photo Walk แล้ว
เราแวะกินก๋วยเตี๋ยว ร้านข้างทางแล้วเดินเล่นถ่ายรูปต่อ



ป้อมพระสุเมรุ



ป้ายถนนพระอาทิตย์ และถนนพระสุเมรุ



พิพิธบางลำพู





ถ่ายใหม่ แบบไม่มีรถจอดบัง



เราเคยมาแล้ว เข้าด้านซ้ายมือค่ะ



เดินย้อนกลับมา ไปเดินแถวที่คุ้นเคยดีกว่า 



เดินตามมาค่ะ 





ชอบตึกอาคารเก่า





ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า





เดี๋ยวข้ามถนนไปฝั่งโน้นค่ะ



วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ วัดพระแก้ววังหน้า



พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ โรงละครแห่งชาติ 



เกาะกลางก่อนถึงฝั่งสนามหลวง



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



ถึงแล้วค่ะ ที่หมายแรก วัดมหาธาตุ



งาน “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2565” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 17 เมษายน 2565 ณ วัด 10 วัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 




 

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดสลัก” ในหนังสือเก่าบางแห่งเรียกว่า “วัดฉลัก” “วัดชะหลัก” สันนิษฐานว่า เมื่อแรกสร้างมีของสิ่งใดทำด้วยฝีมือสลัก ผิดกับที่ทำเกลี้ยง ๆ เป็นสามัญในวัดอื่น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า “วัดสลัก” อีกความเห็นหนึ่งเป็นคำเก่าเล่าต่อกันมาว่า วัดนี้แต่ก่อนมีพระภิกษุเป็นช่างฝีมือแกะสลักขึ้นอยู่มาก เป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกชื่อวัดว่า “วัดสลัก”

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี สร้างพระนครทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา วัดสลักอยู่ในพระนครฝั่งตะวันออก จึงทรงยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เป็นที่สถิตของพระราชาคณะ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนารถ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ย้ายพระนครมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้มีวัดที่อยู่ใกล้ชิดพระราชวังที่สร้างขึ้นใหม่ 2 วัดคือ วัดโพธาราม และวัดสลัก

1. วัดโพธาราม อยู่ชิดกับพระบรมมหาราชวังข้างด้านใต้ รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาวัดนี้และพระราชทาน นามว่า “วัดพระเชตุพน”
2. วัดสลัก อยู่ข้างเหนือพระบรมมหาราชวัง แต่อยู่ชิดด้านใต้พระราชวังบวรฯ สมเด็จพระอนุชาธิราชกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาวัดสลัก และขนานนามใหม่ ชื่อว่า “วัดนิพพานาราม”

ในปี พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชปรารภกับสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ จะทำสังคายนาพระไตรปิฎก ทรงมีพระราชดำริว่า วัดนิพพานาราม ควรเป็นที่พระสงฆ์ทำสังคายนา เพราะอยู่ระหว่างพระราชวังหลวงกับวังหน้า และก่อนการทำสังคายนาพระไตรปิฎกโปรดเกล้าให้เป็นนามใหม่ว่า “วันพระศรีสรรเพชดาราม”

ในปี พ.ศ. 2338 สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท ทรงออกผนวช ณ วัดพระศรีสรรเพชดาราม
ในปี พ.ศ. 2344 เกิดเพลิงไหม้เขตพุทธาวาส เนื่องจากสามเณรจุดดอกไม้เพลิงแล้วไปตกที่หลังคาพระมณฑป พระอุโบสถ และพระวิหาร
ในปี พ.ศ. 2346 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ประชุมพระราชาคณะสอบไล่พระปริยัติธรรม และโปรดให้เปลี่ยนนามพระอารามอีกครั้งว่า “วัดมหาธาตุ”
ในปี พ.ศ. 2439 รัชกาลที่ 5 ทรงบริจาคพระราชทรัพย์อันเป็นส่วนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2437 อุทิศพระราชทานให้ปฏิสังขรณ์พระอารามจนสำเร็จ และโปรดให้เพิ่มสร้อยต่อนามพระอารามเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชว่า “วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษดิ”




พระวิหารหลวง



หน้าบันพระวิหารเป็นรูปตราพระราชสัญลักษณ์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีอักษรย่อว่า ร.จ.บ.ต.ว.ห.จ. (เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ)





ภายในวิหารหลวงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต พระประธานในวิหาร และมีศิลาจารึกหินในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พบบนแท่นประดิษฐานหลวงพ่อพระประธานในโบสถ์แล้วจึงย้ายมาในวิหาร เป็นข้อความของสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) เพื่อใช้สอนนักเรียนบาลีก่อนจะมีหนังสือไวยากรณ์ ตู้ลายรดน้ำโบราณ พัดยศที่ระลึกในการพิธีสำคัญ






หลวงพ่อหิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้างประมาณ 5 ศอก มีความเป็นมาดังนี้ คือวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่โบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดสลัก ครั้นต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกตีแตกหนที่ 2 นายทองมาพร้อมสหายหลบหนีพวกพม่ามาทางเรือ มาพบเรือตรวจลำน้ำของพม่าจึงคว่ำเรือแล้วหลบอยู่บริเวณหน้าวัดสลัก พร้อมตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อหิน ขอให้รอดพ้นภัยในคราวนี้ แล้วจะกลับมาบูรณะฟื้นฟูวัด เมื่อเรือพม่าผ่านไปแล้วท่านและสหายได้ไปสมทบกับพระยาตากสิน และร่วมรบกับพระยาตากสินจนสามารถประกาศเอกราชของชาติได้

มาถึง พ.ศ. 2326 ในสมัยรัชกาลที่ 1 นายทองมาซึ่งได้ตำแหน่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้สั่งให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดสลักตามที่ได้อธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อหิน พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลัก เป็น วัดนิพพานาราม ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นชื่อพระวัดพระศรีสรรเพชญ์ และสุดท้ายจึงได้ชื่อวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช





 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสวรรคต พระองค์ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์อันเป็นส่วนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเพื่อปฎิสังขรณ์วัดมหาธาตุและเพิ่มสร้อยนามพระอารามเป็น “วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์” ในปีพ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัย เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุเรียกว่าสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย ใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร จากนั้นทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัยใช้เป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”





พระปรางค์และพระเจดีย์ราย

ตั้งอยู่ในเขตพระระเบียง ด้านเหนือพระวิหารและด้านใต้ของพระอุโบสถ มีเจดีย์ด้านละ 2 องค์ พระปรางค์ด้านละองค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หุ้มด้วยดีบุก และซ่อมในสมัยรัชกาลที่ 3 เอาดีบุกออก พระปรางค์องค์ใหญ่ 2 องค์ด้านหน้าพระมณฑป สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) และสมเด็จพระสังฆราช (มี)












พระมณฑป


สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสร้างเมื่อสถาปนาวัดนิพพานารามให้เป็นประธานของวัด โดยตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถและพระวิหารภายในพระระเบียงคด เดิมมีเครื่องยอดอย่างปราสาท ในปี พ.ศ. 2344 ได้เกิดเพลิงไหม้ยอดมณฑปเสียหายหมด จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะใหม่เป็นหลังคาโรง และสร้างพระมณฑปทองสูง 10 วา ขึ้นไว้ข้างในครอบพระเจดีย์ทองไว้แทนพระมณฑปที่ไฟไหม้ พระมณฑปนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ 5

















พระอุโบสถ





พระอุโบสถมีสีมาตั้งประจำ 4 ทิศ ใบสีมาสลักเป็นภาพครุฑยุดนาค





อยู่ตรงหน้าต่าง ไม่รู้เรียกว่าอะไรค่ะ











สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์





เดินไปท่าช้างค่ะ







ในวันที่ไม่มีนักท่องเที่ยวจาก ตปท.







ทางขึ้น-ลง อุโมงค์มหาราช (วัดพระแก้ว-ท่าช้าง)



กำแพงวัดพระแก้ว



วัดโพธิ์



ท่าเตียน









วันนี้ไม่ได้เข้าวัดโพธิ์ค่ะ









Create Date :10 มิถุนายน 2565 Last Update :10 มิถุนายน 2565 15:49:49 น. Counter : 698 Pageviews. Comments :0