bloggang.com mainmenu search




ฉายาลักษณ์สยาม

ระลึกอดีต มองปัจจุบัน ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. 2403 - 2453

วันที่  9 กันยายน - 7 พฤศจิกายน 2559

ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 9

จัดโดย ฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ บริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ จำกัด

ผู้สนับสนุนโครงการ :

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ครั้งแรกในเมืองไทยของนิทรรศการถ่ายภาพโบราณสยามเมื่อแรกมีจนถึงสิ้นรัชกาลที่ 5 กว่า 150 ภาพ ซึ่งต้นฉบับเก็บอยู่ในต่างประเทศ

ภาพถ่ายโดยช่างภาพต่างชาติและคนไทยยุคบุกเบิกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นช่างภาพในราชสำนักสยาม

ในเวลาต่อมาภาพเก่าที่คนไทยไม่เคยเห็นเป็นการเปิดประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมให้กระจ่าง

ไม่ว่าจะเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระรูปเจ้านาย ภาพขุนนางและราษฎร

ภาพสถาปัตยกรรมและทิวทัศน์เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ภาพเหตุการณ์และพระราชพิธีสำคัญ

วิถีชีวิตคนไทยในกรุงและชนบท และนาฏศิลป์ โขน ละคร ลิเก จากภาพโบราณ

ได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อในมุมมองร่วมสมัย ด้วยผลงานของศิลปินที่ทำให้เห็นมิติและความเปลี่ยนแปลง

ที่เป็นไปของเมืองมหาชนเศรษฐกิจและสังคม วิถีชีวิตการสัญจรทางน้ำและบก

ศิลปการแสดงรวมไปถึงเทคโนโลยีการถ่ายภาพที่สำคัญสร้างวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์ที่ต่อยอดการตีความและเป็นการสืบต่ออายุภาพเหล่านี้





ภาพทั้งหมดนี้ จัดทำเป็นหนังสือด้วยค่ะ




สนใจ...ติดต่อได้ตามที่อยู่ข้างล่างนี้เลยค่ะ

River Books - 396 Maharaj Road, Tatien Bangkok 10200
Hours : Monday-Friday
8:45 am - 5:00 pm
Tel : +66 2 622 1900

Order online @ //www.riverbooksbk.com

https://www.facebook.com/River-Books-153928917970513/


























ก้ม ๆ เงย ๆ เริ่มปวดหลังขึ้นเรื่อย ๆ แขนล้าด้วย ภาพเบลอเยอะเลยค่ะ  Smiley


































เจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดมากคนหนึ่ง เพราะท่านสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง จึงได้รับพระกรุณาธิคุณให้ตามเสด็จประพาสชวาถึงสองครั้ง

ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2439 เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ตามเสด็จพระราชดำเนินโดยรับหน้าที่เป็นนางสนองพระโอษฐ์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี

ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2444 เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ตามเสด็จพระราชดำเนินอีกครั้ง โดยในครั้งนี้พระเจ้าลูกเธอของท่านโสกันต์แล้ว จึงได้ตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทั้งสองพระองค์ ส่วนสาเหตุที่เจ้าจอมมารดาชุ่มได้ตามเสด็จด้วยนั้นเป็นเพราะว่า "ท่านใส่ชุดฝรั่งขึ้น"

ในการตามเสด็จประพาสชวาครั้งที่ 2 ของเจ้าจอมมารดาชุ่มนั้น ยังมีเจ้านายฝ่ายในอีกหลายท่านตามเสด็จด้วย ได้แก่ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ , พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี , พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ , เจ้าจอมเอี่ยม และ เจ้าจอมเอิบ ส่วนพระราชธิดาที่ตามเสด็จด้วยนอกจากพระเจ้าลูกเธอทั้งสองของเจ้าจอมมารดาชุ่มแล้ว ยังมี สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสุทธาทิพยรัตน์ , สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา และ สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย ค่ะ




พระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ กับ เจ้าจอมมารดาชุ่ม และ คุณหญิงชลยุทธโยธินทร์

ฉายที่เมืองเบตาเวีย ร.ศ. 115 (จากหนังสือ จดหมายเหตุเสด็จประพาสเกาะชวา ในรัชกาลที่ 5)

 ที่มา : //www.reurnthai.com/index.php?topic=6084.195













ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสูญเสียพระอรรคชายาเธอ พระราชโอรส และพระราชธิดา ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ถึง 3 พระองค์ คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรรุตม์ธำรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2431 เพื่อระลึกถึงพระอรรคชายาเธอ พระราชโอรส และพระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนทั้ง 4 พระองค์ ตั้งอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม ที่พระราชวังบางปะอิน  

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย ค่ะ




เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) (สกุลเดิม บุนนาค) (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2486) เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำหน้าที่เป็นผู้เบิกพระโอษฐ์พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ต่อมา ได้รับการแต่งตั้งเป็น "เจ้าคุณจอมมารดาแพ" และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเกียรติยศขึ้นเป็นเจ้าคุณชั้นพิเศษให้ออกนามว่า "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์" และได้รับเกียรติให้ใช้คำว่า "ถึงแก่พิราลัย" เทียบเจ้าประเทศราชและสมเด็จเจ้าพระยา

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย ค่ะ










เจ้าดารารัศมี พระราชชายา

(คำเมือง : LN-King Dara.png) (26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476)

เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากจากนครเชียงใหม่ ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม

โดยการถวายตัวเป็นสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย ค่ะ







พันเอกหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระเชษภคินีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี) และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปนั้น พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทำให้พระองค์ทรงเป็นปฐมบรมราชินีนาถของประเทศไทย มีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์สภานายิกาสภากาชาดไทยพระองค์แรกอีกด้วย

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย ค่ะ

















Smiley




น่าจะเป็นนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฟังเจ้าหน้าที่บรรยายค่ะ






























Engraving - การแกะลาย ?

ด้านล่างภาพ มีลายมือเขียนว่า THE GREAT KING




ภาพนี้เขียนว่า พระพุทธเจ้าหลวง - King Chulalongkorn


































































สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

(พระนามเดิม : หม่อมเจ้ารำเพย ; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 — 9 กันยายน พ.ศ. 2404)

เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

และเป็นพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านต่อที่วิกิพีเดียค่ะ



พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว




พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช) หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เมื่อมีพระชนมพรรษาได้ 43 พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านต่อที่วิกิพีเดียค่ะ







สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (27 มิถุนายน พ.ศ. 2421 - 4 มกราคม พ.ศ. 2437) เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของประเทศไทย แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสยามกุฎราชกุมารได้เพียง 8 ปี ก็เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา

อ่านต่อที่วิกิพีเดียค่ะ










ต่อตอนหน้าค่ะ


Create Date :28 พฤศจิกายน 2559 Last Update :28 พฤศจิกายน 2559 5:08:58 น. Counter : 4484 Pageviews. Comments :40