" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0125. 29 เมษายน 2544 คำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติกา

คำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ในโอกาสเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษา

วันที่ 29 เมษายน 2544

ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

----------------------------------------

เราได้ชมการถ่ายทอดการพัฒนาคนไทยในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ผมจะพาท่านฝัน และคิดว่าเราจะสร้างคนอย่างไร เพื่อให้รองรับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปของโลก และของตัวเราที่ต้องปรับสู่ การเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ต้องการการเปลี่ยนแปลง วันนี้ผมต้องขอขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่ได้ สละเวลาวันหยุดเพื่อมาช่วยคิดกันแบบองค์รวม และเราทุกคนต่างคนต่างมีหน้าที่ทำงานในส่วนของเรา เราคิดอย่างองค์รวม เรามองปัญหาอย่างองค์รวม แล้วเราแยกส่วนกันไปทำ ทำในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างคน สร้างลูกหลานของเราในอนาคตให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

ผมอยากเรียนว่าในโลกนี้ถ้าสิ่งมีชีวิตไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลง ต้องปรับตัว แม้กระทั่งภายหลังโลกเย็นลง เรามียีราฟคอสั้น สักพักยีราฟ ยังต้องพัฒนาตนเองให้เป็นยีราฟคอยาว

ฉะนั้นวันนี้เมื่อโลกสิ้นสุดยุคสงครามเย็นค่ายเสรีประชาธิปไตยชนะเด็ดขาด สิ่งที่ติดตามมาจากค่ายเสรีประชาธิปไตยคือระบบการทำมาหากินที่เรียกว่าระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นการแข่งขันกันเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ แข่งกันใหญ่แข่งกันโต ส่วนหนึ่งของความใหญ่และความโตมาจากการมีทรัพย์สินทางปัญญาหรือมีการสะสม intelectual wealth หรือมีความมั่งคั่งทางปัญญาเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างหรือทำให้ความใหญ่และความเติบโตแตกต่างกันไป และส่วนที่เกี่ยวข้องกันคือการ access หรือการเข้าหาแหล่งทุน ซึ่งทำให้ระบบของทุนนิยม นั้นมีความได้เปรียบเสียเปรียบ และยิ่งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงนำความรู้ และความไม่รู้เป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดการขยายช่องว่างของความยากจน และความร่ำรวยขึ้น เพราะความรู้เป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่การดำรงชีวิตในยุคทุนนิยม

ท่านที่เคารพครับ How to survive คือจะรอดอย่างไรซึ่งสำคัญมากในชีวิตนี้ ในประเทศตะวันตก ได้ให้คำจำกัดความคำว่า “ความสุข” อยู่ที่การเติมกิเลสของตนเองให้เต็ม ส่วนทางตะวันออก บอกว่าความสุขนั้นคือการลดละกิเลส เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน ซึ่งความจริงแล้วการที่อยู่ในโลกทุนนิยม แล้วลดละกิเลสนั้น เป็นเรื่องที่พูดยาก ทำยากด้วย ฉะนั้นทุกคนต้องหาความสมดุลของสิ่งที่เราอยู่ สิ่งที่ขัดกันทั้งสองอย่าง ความสมดุลนี้ก็คือระบบที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าทางสายกลาง หรือเป็นลักษณะของการสร้างชีวิต ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (harmony)

โลกยุคใหม่บอกว่าถ้าใครไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ โอกาสที่จะอยู่รอดจากการแข่งขันลำบาก ระบบที่ใครทำอะไร ขอทำด้วยคนตามแบบเขา เราจะแพ้ เพราะทฤษฎีบอกว่าผู้ชนะคือผู้คิดเกมใหม่ ถ้าเมื่อไหร่เราคิดเกมใหม่ไม่เป็น เราเล่นตามเกมของคนอื่นเขา เราจะแพ้การแข่งขัน อย่างเก่งที่สุดจะเสมอตัว แต่โอกาสเสมอตัวแทบจะไม่มี ฉะนั้นเรื่องของนวัตกรรม (innovation) คือการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ฉะนั้นถ้าหากว่าเราไม่สามารถหาแนวทาง ในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กร ให้คนในองค์กร โอกาสที่เราจะเป็นผู้นำลำบาก

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเปลี่ยน ถ้าเราไม่เปลี่ยน เหตุการณ์จะบังคับให้เราเปลี่ยน ถ้าเมื่อไหร่ เราถูกเหตุการณ์บังคับ ให้เราเปลี่ยน เมื่อนั้นเราเปลี่ยนแบบชนิดที่บางครั้งขาดยุทธศาสตร์ ขาดทิศทาง และสิ้นเปลืองสูง แล้วได้ผลต่ำ แต่ถ้าเมื่อเราถูกบังคับให้เปลี่ยนแล้วเรายังตั้งหลักได้ว่าเราจะเปลี่ยนอย่างไร ตรงนั้นยังพอบรรเทาได้ นั่นคือสิ่งที่กำลังเกิดกับเราในวันนี้ ที่ท้าทายเราในวันนี้ว่าการศึกษาไทยนั้นนานมาก แล้วที่ถึงเวลาเปลี่ยน แต่ยังไม่เปลี่ยน (long over due) แต่วันนี้ผมต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่แล้วที่ได้เริ่มต้นกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ฉะนั้นรัฐบาลนี้มีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นจริงและผลักดันต่อให้ได้มากที่สุด ให้ถูกทางที่สุด ถูกยุทธศาสตร์ที่สุด เพราะว่าเรามีคนอยู่ในภาคการศึกษามาก แต่ว่าการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งยากหลายส่วน หนึ่งคือ attitude หรือว่าทัศนคติ สองคือวิธีการปฏิบัติงาน สามคือสตางค์ที่ต้องใช้ ฉะนั้นเราต้องคิดให้ฉลาด คิดให้ดีที่สุด ถึงจะเปลี่ยน แล้วได้ผลคุ้มค่า

ผมอยากจะเล่าอะไรให้ฟังหลายๆ อย่าง เพื่อให้เกิดภาพรวมกัน ว่าเราจะไปตรงไหน เพราะว่าเรากำลังจะปฏิรูป การศึกษา เพื่อสร้างบุคลากรของชาติคือลูกหลานเราวันนี้ เพื่อให้รองรับเศรษฐกิจของโลกใหม่ เพื่อให้รองรับสังคม ของโลกใหม่ที่เขาจะต้องอยู่แล้วรอดและดี ฉะนั้นวันนี้ก็จะพยายามให้ภาพต่างๆ เพื่อให้ท่านลองกลับไปคิดดูว่า ภาพอย่างนี้เราควรจะผลิตอย่างไร ผลิตอะไร ผลิตเท่าไร

ผมขอเอาหนังสือเก่าๆ ที่คนไทยรู้จักดีมาเล่าให้ฟัง เรื่อง อาวิล ทอฟเลอร์ ซึ่งเมื่อวานนี้ ผมได้เล่าให้กับทางฝ่าย เศรษฐกิจ อาวิล ทอฟเลอร์ พูดใน third wave สิ่งหนึ่งที่คนไม่ได้พูดถึงเขาในข้อนี้ ใน third wave เขาบอกว่าในยุคสังคมข่าวสารเป็นยุคที่คนเริ่มเรียนรู้ว่าอดีตในยุคที่หนึ่งมีของดีอะไร ยุคที่สองได้ทำลายสิ่งดีๆ เหล่านั้นไป มีอะไรบ้าง และยุคที่สามก็โหยหาสิ่งดีๆ ในยุคที่หนึ่ง แล้ว restored หรือว่าฟื้นสิ่งที่เสียหายไปจากยุค ที่สองให้ได้

ยุคที่หนึ่งมีสิ่งที่ดีๆ คือวัฒนธรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ยุคที่สองเป็นยุคที่เราเรียกกันว่า การประยุกต์อุตสาหกรรมที่มีการเร่งผลิต ใครผลิตมากที่สุดคนนั้นได้เปรียบ การผลิตยุคนี้จึงทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหายหมด พอยุคที่สาม อาวิล ทอฟเลอร์ บอกว่าคนเริ่มโหยหา ยุคที่สามคนหาเงินเก่งขึ้น คนที่หาเงินด้วยสมองจะหาเงินเก่งขึ้น ฉะนั้นคนเหล่านี้ จะเริ่มไปสะสมสิ่งที่เป็นศิลปะ อดีตและพยายามจะเรียกร้องให้มีการรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดีๆ ในอดีต ขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาหาพลังงานทดแทน รักษาสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เรามีอยู่ให้หมดไป สูญหายต่อไปอีก นี่คือสิ่งที่นอกเหนือจากการ ทำมาหากิน ด้วยระบบ information technology แล้ว ก็มีสองสิ่งนี้ที่เราไม่ค่อยพูดกันถึงตรงนี้

ฉะนั้น เราจึงเห็นการเกิดข้อมูลที่มากมายในยุคที่สาม อาวิล ทอฟเลอร์ เขียนหนังสือ เล่มหนึ่งซึ่งเชยไปแล้ว คือข้อมูลเป็นพลัง (information is power) เพราะวันนี้พอหลังจากยุค internet จะมีข้อมูล (information) มากเหลือเกิน จนต้องหาเครื่องมือในการค้นหาต่างๆ (search engine) มาใช้ ฉะนั้นวันนี้ข้อมูล (information) อย่างเดียวไม่พอ สิ่งสำคัญคือ knowledge นั่นคือการที่เราเลือกใช้ข้อมูล ที่ถูกต้อง แล้วเอาข้อมูล เหล่านั้นมาวิเคราะห์วิจัยจนเกิดความรู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นความรู้ต่างหากที่เป็นพลัง ไม่ใช่ข้อมูลเป็นพลัง
อีกต่อไปแล้ว นี่คือขั้นของการพัฒนาขึ้นมาถึงจุดนั้นแล้ว

ถามว่า ทำไมญี่ปุ่นฟื้นเศรษฐกิจยาก ทำไมอเมริกาฟื้นเศรษฐกิจได้เร็ว เพราะญี่ปุ่นเป็น คนประเภท hardware oriented อเมริกาเป็น software oriented มีพลวัตที่ต่างกันระหว่างคนเป็น hardware กับคนเป็น software ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่โตจากอุตสาหกรรมแล้วภูมิใจในความเป็นอุตสาหกรรม นั่นคือสิ่งที่คิดในเชิงของ hardware ญี่ปุ่น static มากกว่า อเมริกามีพลวัตดีกว่า เพราะอเมริกามีความ หลากหลายทางวัฒนธรรมของคนที่อพยพอยู่ในอเมริกามากมาย ฉะนั้นอเมริกาสามารถปรับตัวได้ดี

ตอนนี้ผมอยากจะพูดถึงเรื่อง convergence of technology คือการผสมผสาน การรวมตัวกันของความรู้ จากเทคโนโลยีที่ได้จากสาขาต่างๆ เข้ามาเป็นศาสตร์ใหม่ๆ เป็นความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน และกำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต เราเคยได้ยินว่าจะมี molecule chip ที่จะฝังเข้าไปในมนุษย์ เชื่อมเข้าไปในสมอง เส้นประสาทตา มีสตีวี วอนเดอร์จองไว้แล้ว คือจะทำให้คนตาบอดเป็นคนตาดี สมองที่มีปัญหาบ้าง ต่อไปใส่ molecule chip ลงไปก็คงจะฉลาดขึ้น นี่คือสิ่งที่มนุษย์กล้าฝัน คำว่ากล้าฝันจะนำไปสู่การท้าทายที่จะคิดค้น มนุษย์ในโลกตะวันตกกล้าฝันมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีของเขาคือกล้าฝันจึงเกิดเทคโนโลยีในหลายๆ ทาง แล้วนำมารวมกัน ก็จะเกิดอะไรใหม่ๆ ขึ้น มีการทำ mapping DNA ต่อไปมนุษย์ในปี ค.ศ. 2020 สามารถเลือกพันธุ์ได้ คนเอเชียอยากได้ตาสีฟ้า อยากได้ผมทองจะได้ ไม่ต้องย้อมผม นั่นคือการ mapping DNA เริ่มเกิดขึ้น เริ่มหวังที่จะได้ผลอะไรต่อไป ผมไม่ได้บอกว่าสิ่งนี้ ดีหรือไม่ดี แต่ผมกำลังบอกว่าเทคโนโลยีกำลังไปไกลมาก แล้วกำลังจะพาพวกเราไปไหนก็ไม่รู้ แล้วถามว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ เราต้องตั้งหลักกันให้ได้ นั่นคือสิ่งที่ผมจะบอกให้ทราบ ปี ค.ศ. 2020 เช่นกัน เขาบอกว่าร่างกายมนุษย์มีอะหลั่ยเปลี่ยนได้ทุกชิ้นยกเว้นผิวหนัง วันนี้เราเห็นแล้วว่ามีการเปลี่ยนหัวใจ เปลี่ยนไต ต่อไปก็สามารถเปลี่ยนได้หมดครับ ยกเว้นผิวหนังเท่านั้น สิ่งนี้คือความฝัน

เรากำลังพูดกันถึงเรื่อง telecom พูดถึงเรื่องความถี่ เดี๋ยวนี้เขามีเทคโนโลยีใหม่เรียกว่า pulse moderation คือไม่ใช้เรื่องความถี่แล้ว แต่ใช้ระบบการ moderate จาก pulse ซึ่งสามารถที่จะทำให้ดาวเทียมยุคใหม ่บังคับให้รถแทรกเตอร์ที่ไม่มีคน ไถนาและปลูกข้าวได้ในพื้นที่ที่มีรายละเอียดเป็นตารางฟุต ซึ่งละเอียดได้ถึงขนาดนั้น เดี๋ยวนี้เครื่องอินฟราเรดของเราที่ป้องกันขโมย แมวหรือหมาวิ่งเข้าไปก็ร้อง เพราะแยกไม่ได้ระหว่าง แมว หมาและคน แต่พอระบบ pulse moderation เกิดขึ้น แมวหรือหมาวิ่งผ่านก็ไม่ร้อง แต่คนเข้าไปจะร้อง สามารถแยกได้หมด นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนไปเร็วมาก

พอ internet ได้รับความนิยมมาก free flow of information คือข้อมูลไหลมาสะดวกมาก ข้ามคำว่าวัฒนธรรม ข้อมูลหลากหลาย มากมายจนแยกแยะกันไม่ออก internet กลายเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราสามารถใช้ประโยชน์จาก internet ในการหาข้อมูล หาความรู้ได้มากมาย ช่วงที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา ใช้เงินประมาณ 42% ของการลงทุนทั้งหมดไปที่ IT นี่คือเหตุหนึ่งของการที่สหรัฐฯ พัฒนาแบบก้าวกระโดด (leap frog) คนอื่นเขาหมด เพราะลงทุนใน IT สูงมาก เชื่อไหมครับตอนยุคที่ตลาดหลักทรัพย์ boom 60% ของมูลค่าการตลาดของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรวมกันประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 60% นี้เป็นบริษัทที่บริหารด้วย how ไม่ใช่ด้วย what คือเป็นการใช้เทคโนโลยี ใช้ความรู้ คือใช้ how มากกว่าใช้ what ฉะนั้นการบริหารเศรษฐกิจได้ keep จากคำว่า what access มาเป็น how to utilize access นั่นคือสิ่งที่เป็นความรู้อีกเช่นกัน

การค้าเริ่มเข้าสู่ระบบ E - commerce ตลาดกลายเป็น cyber space market ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า กับผู้ประกอบการจากที่เป็นลูกโซ่ กลายเป็นลักษณะของ matrix มากขึ้น เป็นลักษณะของการตลาดที่เปลี่ยนไป อย่างสิ้นเชิง ในอนาคตข้างหน้า การใช้ธนบัตรก็คงน้อยลง จะเป็น digital cash นั่นคือ everything is digital เดี๋ยวนี้ตู้เย็นของแม่บ้านยังต้องมี internet อยากจะทำอาหารอะไรก็มี menu อยู่หน้าจอตู้เย็น ส่วนประกอบอะไรขาดก็กดสั่งซื้อได้ มาส่งให้ถึงบ้าน นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนไปเร็วมาก เกิด digital organization เพราะว่าเริ่มมีองค์กรที่ใช้ computer ใช้ internet มาก เพื่อต้องการ ปลดปล่อยคนจากการทำงานต่ำกว่าความรู้ ให้มาทำงานที่สูงกว่าความรู้ของตนเอง นั่นคือการเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ แต่สิ่งที่ตรงกันข้ามในวันนี้คือพวก analog organization ทั้งหลายใช้คนต่ำกว่าความรู้ของเขา ส่งไปเรียนกลับมาทำงานเสมียนกันมาก เพราะเราไม่มี computer เป็นเสมียนให้เรา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องพัฒนา องค์กรต่างๆ เริ่มเกิดสิ่งที่เราเรียกว่า knowledge worker มากขึ้น ในโลกข้างหน้า ดร.มหาเธร์ฯ นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย การเข้าหาแหล่งเงินง่ายกว่าการ ที่จะแสวงหา knowledge worker เพราะ knowledge worker เริ่มหายากเพราะจะแย่งกันจนเกิด ESOP ทางภาษาธุรกิจ คือ employee stock option ปรากฎว่าคนที่มีความรู้ไปเป็นลูกจ้างที่ไหน บริษัทกลัวจะลาออก จึงต้องให้หุ้น สังเกตไหมว่า นายแจ็ค เวลต์ ประธาน GE เขามี stock option ของเขา เมื่อรวมกับเงินเดือนของเขา ได้ปีละไม่เกิน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รายได้ 258 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เพราะว่าคนที่เก่งๆ จะถูกแย่งตัวกัน เนื่องจากโลกทุนนิยมแย่งคนที่มีความรู้ เพราะความรู้นำไปสู่การสร้าง wealth ฉะนั้นจึงหาคนที่มีความรู้ยาก คนที่เป็น laber หาง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องกลับมาคิด แล้วคนที่มีความรู้ทำไมจะต้องมี ESOP ให้ เพราะคนมีความรู้เป็นเถ้าแก่ง่าย ระบบการสร้างเถ้าแก่ใหม่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก ระบบกองทุนร่วมทุน หรือ venture capital เกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้นคนมีความรู้มีทางไปมาก การรักษาคนมีความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญขององค์กร แต่วันนี้ประเทศของเรา เรามีคนที่มีความรู้มาก แต่เราใช้เขาต่ำกว่าระดับความรู้ของเขา เพราะเรายังเป็น analog organization อยู่

เมื่อเราถามว่า knowledge base economy เราต้องการอะไร เราต้องการคนที่มี global literacy ซึ่ง literacy แปลว่าอ่านออก เขียนได้ ดังนั้นความหมายของคำว่า global literacy มีส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ หนึ่งภาษาอังกฤษ สอง internet สาม ความรู้ทางวัฒนธรรมนานาชาติ ฉะนั้นคนในโลกยุคใหม่ ถ้าไม่มี global literacy เข้าสู่ knowledge base economy ลำบาก นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนมีลักษณะพิเศษคือต้องมีนวัตกรรม หรือ innovation ต้องสามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา คือต้องมีพลวัตในตัวสูง เพราะเราต้องการปัญญา เพื่อให้เขาคิดเป็น เพราะตลอดชีวิตของมนุษย์นั้นต้องสะสมทุนทางปัญญาเพื่อเก็บไว้เป็นทรัพย์ ความมั่งคั่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตัวเองคือทุนทางปัญญา ไม่มี wealth ใดที่จะยิ่งใหญ่กว่า intellectual wealth ฉะนั้นทุนทางปัญญาเป็นหัวใจสำคัญใน knowledge base economy

ตอนนี้ใครจะไปลงทุนที่ไหน เขาก็พยายามวัดศักยภาพทางการแข่งขัน ซึ่งมีมาตรฐานทางการวัดไม่กี่ตัว ตัวที่สำคัญก็คือเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั่นคือเขาต้องการเห็นพลวัตเห็น innovation เห็นการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาตนเองของสังคมนั้นๆ แน่นอนก็ต้องมีเรื่องของการศึกษาซึ่งต้องไปกับเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้เรื่องสุขภาพของ ประชากร ซึ่งรัฐบาลได้เน้นเรื่อง health มีการปรับปรุงสุขภาพของประชากรด้วยการใช้ระบบสุขภาพดีถ้วนหน้า การประกันสุขภาพ และวันนี้กำลังจะเน้น เรื่องการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของเรา รวมทั้งกำลังจะเน้นอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องของการบริหารการจัดการ

องค์กรที่ประสบผลสำเร็จมากในโลกนี้ เป็นองค์กรที่ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ และลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉะนั้นประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่วางไว้ได้ ต้องอาศัย government leadership อาศัยภาวะการนำของรัฐบาล และภาครัฐ โดยสรุปก็คือว่าเราต้องการเด็กไทยที่เรียนจบไปแล้ว ต้องเตรียมตัว ที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ เราต้องการเห็นเขาสะสมทุนทางปัญญา เราต้องการเห็นเขามี global literacy คือมีความรู้ทางภาษาอังกฤษ internet และวัฒนธรรมนานาชาติ เราต้องการเห็นเขาคิดเป็น เราต้องการเห็นเขารักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เราต้องการเห็นเขาเป็นคนที่ปรับตัว กับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ต้องมี ability to adapt to change

โดยทั่วไปกระบวนการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน แต่ที่เราพลาดกันตลอดเวลาเพราะเราจบแค่ ขั้นตอนที่สอง แล้วเราเลิก ขั้นตอนแรกคือการแสวงหาความรู้ ขั้นที่สองคือการเรียนรู้ และขั้นที่สามคือ การประยุกต์ใช้ เราจบตรงนี้ เราส่งลูกหลานไปเรียน แม้กระทั่งตัวเราเองได้ประกาศนียบัตรแล้วถือว่าจบ เราท่องทฤษฎีคล่องหมด สอบได้เกรด A เกรด 4 ทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าจะ apply อย่างไร เราจบเพียงเท่านั้น สุดท้ายแล้วการที่จะทำให้มนุษย์มีความเก่ง มีความคิดริเริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงได้ มีการมองอะไรที่มี ความคิดสร้างสรรค์ตลอดเวลานั้น คือขั้นสุดท้าย คือการนำความรู้มา apply วันนี้เรามีคนเก่งๆ มากให้ ท่องทฤษฎี ให้เขียนรายงาน เขียนถูกทั้งหมด แต่ปรากฎว่าไม่สามารถ apply เข้ากับชีวิตจริงได้ มหาวิทยาลัยบางแห่งมีอาจารย์เป็นดอกเตอร์ออก ข้อสอบยังให้เด็กท่อง นี่คือจุดอ่อน การสอนให้มีการ apply ตั้งแต่ วัยเด็ก เป็น activity base learning คือการเรียนรู้แบบมีกิจกรรมที่ใช้วิชาความรู้นั้นเข้ามาเกี่ยวพัน การให้เด็กอนุบาลฝรั่งไปเก็บใบไม้มาคนละ 1 กำ สามารถเรียนรู้ biology คือการสันดาป chlorophyll เรียนคณิตศาสตร์คือการนับใบไม้ เรียนเรื่องศิลปะคือการแยกสี นี่คือการเรียนทุกอย่างจากกิจกรรม และ apply กลับไป เรามีโรงเรียนสามัญที่บ้านโป่ง ที่ผมเคยเล่าให้ฟัง จับเด็กไปเรียนในไร่มะระ เรียนคณิตศาสตร์ เรียนภาษาอังกฤษ เรียนทุกอย่างในไร่นั้น แล้วให้เด็กให้คะแนนกันเอง ครูและผู้ปกครองให้คะแนนเด็ก แล้วนำมาเฉลี่ยกัน นี่คือการเรียนแบบ activity base learning ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้ให้ครบ 3 ขั้นตอน ไม่ใช่เพียงแค่ 2 ขั้นตอน

เรามาดูกันว่าชนิดของการเรียนรู้คือการเรียนรู้จาก present จาก past จาก future คือเรียนจากปัจจุบัน เรียนจากอดีต และเรียนจากอนาคต ซึ่งการเรียนจากปัจจุบันคือการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน วิเคราะห์ วิจัย ศึกษา เรียนจากอดีตคือการเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและนำมาสู่ การเปลี่ยนแปลง ส่วนการเรียนจากอนาคต คือการเรียนจากการทดลอง ทดสอบ หรือตั้งสมมุติฐาน นี่คือ หลักของการเรียนทั่วไปที่เราจะต้องเรียน และเราก็ต้องคิดว่าเด็กก็ต้องเรียนอย่างนี้

สิ่งที่เป็นปัญหามากและทำให้เกิดการเรียนที่ไม่ค่อยได้ผล เพราะว่าเราไม่ยอมรับข้อมูลที่แท้จริง มีความลำเอียงในเชิงข้อมูล และเป็นการตีความหรืออธิบายความที่ลำเอียง ฉะนั้นวันนี้เรากำลังเรียนว่า เราจะปฏิรูปการศึกษาอย่างไร เราจะเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีตอย่างไรเพื่อไปสู่อนาคตที่ถูกต้อง เราก็ต้องเรียนจากคำว่าปัจจุบันเราเป็นอย่างไร อดีตเป็นอย่างไร ความเป็นจริงในอดีตมีข้อดี ข้อไม่ดีอย่างไร แล้วก็ตั้งสมมุติฐานสำหรับอนาคต ฉะนั้นการป้องกันการพลาดเราจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่ลำเอียง แล้วตีความหรืออธิบายความที่ไม่มีอคติใดๆ เราก็จะเห็นว่าต่อไปนี้เราจะเดินอย่างไร ผมเชื่อว่าในส่วนของ การวิเคราะห์ วิจัยปัญหาในอดีตนั้น ทางสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย คงทำไปได้ลึกแล้ว ดังนั้นเราก็จะถามว่าในวันข้างหน้าเราจะผลิตเด็กไปอย่างไรเพื่อจะให้เข้าไปสู่โลกที่เปลี่ยนแปลง

ก่อนอื่นผมขอย้ำว่าผมพูดอะไรที่ทันสมัยไปมากมายนั้น ต้องกลับมาสู่โลกของความเป็นจริง ซึ่งเราไม่สามารถให้คนทุกคนไปสู่จุดนั้นได้ทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจว่า เราผลิตออกมาแล้ว ชาติเราจะมีคนอยู่ 3 กลุ่มแน่นอน คือ กลุ่มที่ต้องเข้าสู่ภาคการเกษตร กลุ่มที่ต้องเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มที่มีพลวัตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวที่ผลักดัน เศรษฐกิจในตัวเองและนำพาคนที่อยู่ในภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมให้มี การปรับตัว ให้ได้ใช้สิ่งที่มีความชำนาญ ในอดีตและปัจจุบัน โดยผสมผสานกันให้เกิดประสิทธิภาพที่สูง ฉะนั้นเราจะต้องสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีพลวัตที่พร้อมจะกลับไปสู่ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาค sceince technology เพื่อให้ตัวเขาเองเป็นคนที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงหรือดึงสังคมที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงให้สู่ การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น นี่คือสิ่งที่หวังว่าการศึกษาของเราจะนำไปสู่จุดที่เราพูดกันทั้งหมดครับ ขอขอบคุณ ทุกท่านที่ฟังผมเล่า และเดี๋ยวผมขอฟังท่านบ้าง ขอบคุณครับ

----------------------------------------

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก

อภิญญา ตันติรังสี /ถอดเทป/พิมพ์

Resource:
//www.thaigov.go.th/webold/news/speech/thaksin/sp29apr44-edu.htm


Create Date : 12 มีนาคม 2551
Last Update : 12 มีนาคม 2551 14:35:34 น. 0 comments
Counter : 793 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.