" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
005. A HISTORY OF KNOWLEDGE : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ












A History of Knowledge
The Pivotal Events, People, and Achievements of World History
Charles Van Doren ©1991

A condensed summary of all the transforming elements of history from ancient times, about five thousand years ago, to the present. I appreciate this book's approach of condensing history to pivotal, transforming elements since I am more enthusiastic about understanding the past than merely collecting knowledge of it. (This is probably the reason I was uninterested in grade school history but find myself fascinated by it as an adult.) I enjoyed reading it from cover-to-cover and also find it useful as a reference. Prior to writing this history, the author was an editor of Encyclopaedia Britannica, and before that, he garnered some notoriety as a scandalous contestant on the quiz show "Twenty-One." (The 1994 movie "Quiz Show" portrays the scandal.)

In order to compress all that history into one book, the author had to determine which events, people, and achievements were pivotal and summarize them. In my opinion, he does a fantastic job. Some readers have criticized this book (on Amazon.com) because of neglected elements or biased interpretations, but the gift of teaching contained in this book overshadows any such criticism. Furthermore, the author never claims to have written "THE" history of knowledge, but "A" history of knowledge. He clearly strives for objectivity, but some bias is inherent in any such endeavor.







นักกวีส่วนใหญ่
จะรู้สึกเคลือบคลุมเมื่อพวกเขาบังเอิญเจอกับสูตรทางคณิตศาสตร์

ส่วนนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก
ก็คลุมเครือเมื่อพวกเขาต้องพบกับบทกวี.




Create Date : 03 มีนาคม 2551
Last Update : 21 ธันวาคม 2551 11:03:39 น. 8 comments
Counter : 1426 Pageviews.

 
รากฐานของความเป็นอัจฉริยะ

รากฐานของความเป็นอัจฉริยะ / อะไรที่ทำให้อัลเบริท์ ไอน์สไตน์เป็นคนที่ฉลาดเป็นเยี่ยม ? บางที ดังที่บรรดานักวิจัยชาวคานาเดี่ยนค้นพบ นั่นคือเป็นเพราะสมองในส่วนของอินเฟอเรีย พาเรียเทาโลบ อันเป็นฐานของการใช้เหตุผลแบบคณิตศาสตร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปกตินั่นเอง แต่ที่แย่ก็คือ คุณไม่สามารถหาซื้อมันได้จาก Amazon.com (นิตยสาร"ไทม์" 20 ธันวาคม 1999 / หน้า 41)



การค้นคว้าและการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายครั้ง มักจะมีการสังหรณ์ใจเสมอ พวกนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะอธิบายมันได้ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ปรากฎผลออกมาในท้ายที่สุดว่าถูกต้อง, อย่างน้อยที่สุดก็ในเรื่องเกี่ยวกับนวนิยายวิทยาศาสตร์หลายๆเรื่องที่เป็นพยานอยู่ (ชุดความรู้"วิทยาศาสตร์เข้าใจง่าย"/(มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)



การคิดค้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์

ความรู้ทุกชนิดที่ตะวันตกได้ให้ไว้กับโลก บางทีสิ่งที่ทรงคุณค่ามากที่สุดก็คือ วิธีการที่ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ๆนั่นเอง ซึ่งเรียกกันว่า”วิธีการทางวิทยาศาสตร์” มันได้รับการคิดค้นขึ้นมาโดยบรรดานักคิดชาวยุโรปนับจากปี ค.ศ.1550 ถึง 1700.

ต้นตอกำเนิดของวิธีการทางวิทยาศาสตร์อาจสามารถย้อนกลับไปได้ถึงสมัยกรีก. อันนี้ก็เหมือนกับพรสวรรค์อื่นๆ กล่าวคือ การให้การสนับสนุนเรื่องของการสังเกตุหรือการเฝ้าดูนั่นเอง. แต่แม้ว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งดูเหมือนว่าจะเป็นอันตรายเท่ากับที่มันได้ให้ประโยชน์ แต่เราก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าหากว่าปราศจากมัน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง)

สำหรับบทความนี้ เวลาที่เราใช้คำว่า”ความรู้” ปกติแล้ว เราหมายความว่า สิ่งที่ทุกๆคนสามารถรู้ได้. ในภาษาลาตินยุคกลาง คำว่า”knowledge”(ความรู้) ก็คือคำว่า “scientia”, และทุกๆคนสามารถที่จะเป็นเจ้าของบางส่วนหรือทั้งหมดของมันได้. จากรากภาษาลาตินดังกล่าวนี่เอง ที่ได้เป็นที่มาของคำศัพท์สมัยใหม่ของคำว่า science หรือ วิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่า knowledge อีกต่อไป อย่างที่ทุกคนมีความเข้าใจ.

คำว่า”วิทยาศาสตร์” มันไม่ได้หมายความถึงความรู้ของกวีคนหนึ่ง, หรือช่างไม้, หรือของนักปรัชญา หรือของนักเทววิทยา. ปกติ มันก็ไม่ได้หมายถึงความรู้ของนักคณิตศาสตร์ด้วยเช่นกัน. “วิทยาศาสตร์” ทุกวันนี้ เป็นความรู้พิเศษประเภทหนึ่งซึ่งถูกครอบครองโดย”บรรดานักวิทยาศาสตร์”ทั้งหลาย. นักวิทยาศาสตร์คือคนที่พิเศษ พวกเขาไม่ใช่ใครๆก็ได้.

ความหมายของวิทยาศาสตร์

ความชัดเจนแจ่มแจ้งเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าจะมีจุดประสงค์อย่างนั้น มันก็ยังสลับซับซ้อนอยู่ดีในความหมายเกี่ยวกับ”วิทยาศาสตร์” ซึ่งยากที่จะคลายออกมา. ขอให้เราอธิบายความหมายของวิทยาศาสตร์ด้วยประโยคดังต่อไปนี้

วิทยาศาสตร์ไม่เคยเข้าใจความลึกลับของชีวิต

ในไม่ช้าหรือหลังจากนั้น บรรดานักวิทยาศาสตร์จะค้นพบวิธีการรักษาโรคเอดส์

วิทยาศาสตร์และศิลปะไม่มีอะไรร่วมกันเลย

ข้าพเจ้ากำลังเรียนวิทยาศาสตร์ แต่ข้าพเจ้าก็กำลังศึกษาประวัติศาสตร์บางอย่างไปด้วย

คณิตศาสตร์คือภาษาของวิทยาศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายกำลังพยายามจะกำหนดให้แน่ลงไป หากว่า Shakespeare ได้เขียนบทละครต่างๆทั้งหมดของเขาขึ้นมาจริง ซึ่งได้ถูกลงความเห็นว่าเป็นตัวเขาจริงๆ

การวิจารณ์วรรณกรรม ที่จริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องของวิทยาศาสตร์ เพราะมันไม่เกี่ยวกับการทำนายหรือการคาดการณ์

นักกวีส่วนใหญ่จะรู้สึกเคลือบคลุมเมื่อพวกเขาบังเอิญเจอกับสูตรทางคณิตศาสตร์; ส่วนนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากก็คลุมเครือเมื่อพวกเขาต้องพบกับบทกวี.

การเป็นคนที่พูดได้สองภาษามิได้หมายความว่าคุณรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับภาษาศาสตร์

ข้าพเจ้ารู้คำตอบ แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถอธิบายมันได้

ทั้งหมดของประโยคที่ยกขึ้นมาเหล่านี้คือ”ความจริง”ในความหมายที่ว่า พวกมันได้ถูกนำเอามาจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ และได้รับการเขียนขึ้นมาโดยบรรดานักเขียนที่น่านับถือ (หรืออย่างประโยคที่ 4, ที่ 9, และที่ 10 ได้รับการบันทึกมาจากการสื่อสารกันด้วยคำพูด โดยนักพูดที่น่าเคารพหลายคน).

อะไรที่ข้าพเจ้าหมายถึง”น่าเคารพนับถือ ?” ข้าพเจ้าหมายความว่าบรรดานักเขียนหรือนักพูดเหล่านี้เป็นคนที่มีเหตุผล มีการศึกษาที่ดี และมีความจริงจังในการสื่อความหมายในสิ่งที่พวกเขาเขียนและพูด; นั่นคือ พวกเขาคิดว่า สิ่งที่พวกเขาพูดและเขียนนั้นมันทั้งเข้าใจได้และเป็นความจริงนั่นเอง. ยิ่งไปกว่านั้น ประโยคที่ยกมาเป็นตัวอย่างทั้งหมด เพิ่งเขียนหรือพูดขึ้นมาเร็วๆนี้ หรือไม่เกินสิบปีมานี้เอง. พวกมันเป็นตัวแทนอย่างชัดเจนต่อความเห็นร่วมกันสมัยใหม่เกี่ยวกับความหมายของคำว่า”วิทยาศาสตร์”.

ขอให้เรามาสำรวจดูถึงประโยคต่างๆกันสักเล็กน้อย. ประโยคแรก, ยกตัวอย่าง: “วิทยาศาสตร์ไม่เคยที่จะเข้าใจความลึกลับของชีวิตเลย”. อันนี้เป็นความจริงล่ะหรือ ? ในเชิงที่แสดงออกมาของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเมื่อเร็วๆนี้, และในบางกรณีก็นานมาแล้วด้วย, นักวิทยาศาสตร์ได้มีการค้นพบมากมายเกี่ยวกับ”ความลับของชีวิต”, ในท่ามกลางสิ่งเหล่านั้น มีทั้งโครงสร้างและวิวัฒนการของเซลล์, การปฏิบัติการของระบบคุ้มกันโรค, บทบาทของ DNA ในทางพันธุศาสตร์, และอะไรอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก. และเราสามารถคาดหวังได้ว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจะยังคงศึกษาเรื่องเกี่ยวกับชีวิตต่อไป และค้นพบความลึกลับของมันออกมา.

แต่มันมีบางสิ่งเกี่ยวกับคำว่า”ลึกลับ”ในประโยคที่ยกมา ที่ทำให้ประโยคดังกล่าวเป็นทั้งจริงและไม่เปิดโอกาสให้มีข้อสงสัยขึ้นมาได้. โดยนิยามความหมาย วิทยาศาสตร์ยังไม่อาจเข้าใจความลึกลับที่ ความลึกลับของชีวิตได้ถูกทึกทักหรือสมมุติให้เป็น, ซึ่งโดยนัยะ มีบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวกับความลึกลับที่ไม่อาจหยั่งถึงได้. ความรู้บางอย่างถูกเรียกร้องให้แก้หรือคายความลึกลับ(mystery)นั้นออกมาอย่างมีหลักฐาน ไม่ว่าความรู้อะไรก็ตามที่บรรดานักวิยาศาสตร์มีเกี่ยวกับชีวิต, ในตอนนี้และในอนาคตข้างหน้า.

และในประโยคที่ 5 ที่บอกว่า : “คณิตศาสตร์เป็นภาษาของวิทยาศาสตร์”. คำประกาศอันนี้มันชัดเจนที่ว่า คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด, แต่มันก็เท่าๆกันกับการประกาศว่า มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน. นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายอาจใช้คณิตศาสตร์ แต่พวกเขาไม่ได้ทำคณิตศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน พวกเขาอาจหรือสามารถเมินเฉยต่อวิธีการทางวิทยาศาสตร์และผลลัพธ์ต่างๆก็ได้ ดังที่คนทั่วๆไปที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์เป็น.

Albert Einstein เป็นนักทฤษฎีคนหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่เขาไม่ได้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่; เมื่อใดก็ตามที่เขาต้องเจอกับปัญหาที่ยากลำบาก เขาจะไปหาเพื่อนๆของเขาซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งคิดค้นสูตรคณิตศาสตร์เพื่อให้เขาหลุดออกมาจากสถานการณ์อันยุ่งยากนั้น. แต่เพื่อนๆของเขา ด้วยทักษะความชำนาญของคนเหล่านั้น ก็ไม่เคยตามได้ไล่ทันทฤษฎีสัมพัทธภาพเลย.

ในเวลาเดียวกันนั้น ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะบอกว่า ภาษาคณิตศาสตร์เป็นภาษาที่แตกต่างไปจากภาษาฝรั่งเศสและภาษาจีน, หรือจากภาษาการเคลื่อนไหวของร่างกาย(ภาษาท่าทาง) หรือโน๊ตทางดนตรี. ทั้งหมดนั้นเป็นภาษาในลักษณะหนึ่ง แต่ไม่มีภาษาใดเลยที่สามารถได้รับการเรียกว่าเป็นภาษาของวิทยาศาสตร์ได้, ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะศึกษาภาษาใดภาษาหนึ่งในจำนวนที่ยกมานี้ก็ตาม.

ประโยคที่ 7, “การวิจารณ์ทางวรรณกรรม อันที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพราะมันไม่ได้เป็นการคาดการณ์หรือการเก็งความจริง”, ซึ่งประโยคนี้ค่อนข้างจะฟังดูแปลกๆ. มันเป็นตลกแบบเก่าๆอันหนึ่งที่ว่า “วิทยาศาสตร์จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เว้นเสียแต่มันจะเกี่ยวกับเรื่องการคาดการณ์” ; นั่นคือ ที่จริงแล้ว คุณไม่รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับวิธีการที่ธรรมชาติทำงาน เว้นแต่คุณสามารถคาดการณ์ว่า มันจะทำงานอย่างไรภายใต้สถานการณ์อันนี้หรือสภาพการณ์อันนั้น. สิ่งที่น่าแปลกก็คือว่า บทบาทหน้าที่หลักอันหนึ่งของการวิจารณ์วรรณกรรม(ดังตัวอย่าง การวิจารณ์หนังสือในหนังสือพิมพ์รายวัน)ก็คือ การบอกกับคุณว่าคุณจะชอบ(หรือน่าจะสนใจ)ในหนังสือเล่มนั้นที่ยกมาวิจารณ์. แน่นอน การคาดการณ์หรือการทำนายเป็นเรื่องซึ่งไม่แน่นอน. แต่ก็ไม่ใช่ว่าการทดลองทั้งหมดนั้นที่ได้แสดงผลออกมาคุณจะคาดหวังกับมันไม่ได้เลย. และการตัดสินของนักวิจารณ์ก็ไม่ได้แสดงด้วยสูตรต่างๆทางคณิตศาสตร์ออกมาเช่นเดียวกัน.

ข้าพเจ้าเป็นคนแรกที่ยอมรับว่า การวิจารณ์วรรณกรรมไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ในความหมายธรรมดาเกี่ยวกับเรื่องนี้. แต่ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าที่มันเป็นเช่นนั้นเพราะ มันล้มเหลวที่จะคาดการณ์ต่างๆ. อย่างไรก็ตาม ประโยคดังกล่าวได้นำไปสู่ความรู้สึกหนึ่งที่เรามีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, และสนับสนุนต่อความหมายของคำว่า”วิทยาศาสตร์”.

ประโยคที่ 9 ที่ว่า, “การเป็นคนที่พูดได้สองภาษา ไม่ได้หมายความว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องภาษาศาสตร์”, ประโยคนี้ได้ทำให้เรามาถึงความรู้สึกที่เป็นพื้นฐานอีกอันหนึ่งที่เรามีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าเราควรจะมีมันหรือไม่ก็ตาม. นั่นคือ มันประกาศว่า โดยทางอ้อมอันน่าพิศวง ความรู้ชนิดดังกล่าวที่ใครก็ตามมี มันเป็นไปเพื่อประโยชน์ได้มากมายในการมีความสามารถสื่อสารได้สองภาษา แต่มันก็ไม่ใช่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์.

โดยนัยะ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในตัวมันเอง ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหรือประโยชน์. ประโยคนี้ไม่ได้พูดถึงความดีของวิทยาศาสตร์. ผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชอบที่จะเป็นคนที่พูดได้สองภาษายิ่งกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาศาสตร์. ในข้อเท็จจริง การพูดได้สองภาษาเป็นเรื่องที่ดีสำหรับสมองของเรา (มันสร้างและทำงานได้ดีกว่าและเร็วกว่า). ในทางตรงข้าม การรู้เกี่ยวกับภาษาศาสตร์มันมีประโยชน์น้อยมาก เว้นแต่คุณต้องการงานๆหนึ่ง อย่างเช่น การเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย. นัยยะของประโยคดังกล่าวนั้น บ่อยครั้ง(แต่ไม่เสมอไป) ความรู้ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์มี ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญ และค่อนข้างไม่มีประโยชน์สำหรับคนธรรมดาแต่อย่างใด.

อย่างไรก็ตาม, ประโยคที่ 2, “ในไม่ช้า บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายก็จะค้นพบการรักษาโรคเอดส์” ซึ่งอันนี้ได้แสดงถึงศรัทธาอันลึกซึ้งของผู้คนที่มีต่อวิทยาศาสตร์ ความรู้สึกของเราที่มี และสามารถจะพึ่งพิงวิทยาศาสตร์ได้ในการแก้ปัญหาที่ยากๆ เป็นปัญหาเร่งด่วน ปัญหาต่างๆทั้งในในทางปฏิบัติและความเป็นจริงที่เราเผชิญอยู่. ประโยคดังกล่าวยังได้เสนอความรู้สึกของเราว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่สามารถจะได้รับการคาดหวังว่าจะค้นพบวิธีการรักษาโรคเอดส์. ส่วนบรรดานักกวี ช่างไม้ และพวกนักปรัชญาทั้งหลาย แน่นอนเรามั่นใจว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่ค้นพบวิธีการรักษานั้นได้. และคนธรรมดาทั่วไปก็จะไม่เช่นเดียวกัน เพราะคนเหล่านี้เพียงคิดถึงเกี่ยวกับโรคดังกล่าว หรือรับรู้ถึงการรักษาโรคชนิดนี้เท่านั้น. นี่เป็นหนึ่งในความนึกคิดอันกว้างขวางที่ดำเนินไปกับคำว่า”วิทยาศาสตร์”.

ในยุควิทยาศาสตร์ของเรา ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ได้ยินนักศึกษาพูดถึงประโยคอย่างประโยคที่ 10 ว่า “ผมรู้คำตอบ แต่ผมไม่สามารถที่จะอธิบายมันได้”. เมื่อได้ยินอย่างนี้ ครูบางคนก็จะยั่วโทสะนักศึกษาว่า “ถ้าหากว่าคุณไม่สามารถอธิบายมันได้ ก็แสดงว่าคุณไม่รู้เกี่ยวกับมันหรอก”. แล้วก็ให้ค่าอักษรเป็น F สำหรับนักศึกษาคนนั้น.

ความรู้ที่ไม่สามารถถูกใส่กรอบและสื่อสาร, ในทางคณิตศาสตร์หรือในทางใดๆ, ก็คือการไม่รู้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันไม่ใช่ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน. ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ถูกรู้สึกว่า(บางทีก็มีอิทธิพลมาก)เป็นความรู้สาธารณะในความหมายที่ว่า มันสามารถ และจะต้องพูดหรือสื่อสารออกมาได้ เพื่อว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆจะสามารถทดสอบและทำให้มีเหตุผลหรือใช้ได้ขึ้นมา.

แต่อันนี้จะต้องปฏิเสธในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์. การค้นคว้าและการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายครั้ง มักจะมีการสังหรณ์ใจเสมอ พวกนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะอธิบายมันได้ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ปรากฎผลออกมาในท้ายที่สุดว่าถูกต้อง, อย่างน้อยที่สุดก็ในเรื่องเกี่ยวกับนวนิยายวิทยาศาสตร์หลายๆเรื่องที่เป็นพยานอยู่. บรรดานักกีฬาอเมริกันฟุตบอลล์ที่ยิ่งใหญ่ จะมีสิ่งที่ไม่อาจอธิบายได้ และพรสวรรค์ไม่สามารถแสดงออกอย่างเปิดเผย นั่นคือ ในการรู้ว่าตัวเองต้องวิ่งไปที่ไหน หรือขว้างบอลล์ไปที่ใดและอย่างไร. พวกทหารที่รอดชีวิต บ่อยครั้ง อาจทำเช่นนั้นเพราะเนื่องมาจากสัมผัสที่หกเกี่ยวกับการเผชิญหน้ากับภัยอันตราย. และนักบุญทั้งหลายต่างแน่ใจมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนใดเกี่ยวกับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเผยพระวจนะแก่พวกท่าน หรือเกี่ยวกับสิ่งที่พวกท่านรู้เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าในวิถีทางบางอย่าง.

แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่ได้กำลังพยายามที่จะพิสูจน์ว่าประโยคที่ยกมาเหล่านี้ผิด และในอันที่จริงมันไม่ผิด สำหรับการที่มันได้แสดงถึงบางสิ่งซึ่งเรารู้สึกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ มันไม่อาจที่จะเป็นเรื่องของสหัชญานในลักษณะผูกขาด, แม้ว่าสหัชญาน(การหยั่งรู้) ด้วยเหตุผลบางประการ อาจถูกนำเข้ามาพัวพันกับการค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญๆ หรือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ก็ตาม.

ท้ายสุด ประโยคที่ 3 ที่ว่า “วิทยาศาสตร์และศิลปะ มันไม่มีอะไรที่ร่วมกันเลย”. ประโยคนี้ได้เผยให้เห็นถึงสิ่งที่ บางทีอาจจะเป็นอคติที่ลึกสุดของเราเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และศิลปะ. ในเวลาเดียวกันนั้น มันก็ไม่เป็นความจริงที่กล่าวออกมาเช่นนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ในระดับที่เราเห็นๆกันอยู่ นั่นคือ วิทยาศาสตร์และศิลปะ มันมีอะไรหลายสิ่งหลายอย่างที่ร่วมๆกันอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ทั้งสองศาสตร์นี้เป็นกิจกรรมซึ่งเกี่ยวพันกันกับความสามารถของมนุษย์ทั้งชายและหญิง, ทั้งสองศาสตร์นั้นคือ วิทยาศาสตร์และศิลปะได้ให้ความรู้ความสว่างแก่เรา และทำให้เราสิ้นสุดหรือถอนตัวออกจากความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ศาสตร์ทั้งสองเป็นศาสตร์ที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน และเรียกร้องต้องการความพยายามและสติปัญญาความฉลาดในทุกๆส่วนเพื่อทำให้เกิดความสำเร็จขึ้นมา และนั่นมีเพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่กระทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้.

แต่ ประโยคดังกล่าวก็จริงเช่นเดียวกันในอีกความหมายหนึ่ง ซึ่งได้นำเสนอขึ้นมาโดยประโยคที่ 8, พวกเรามีความแน่ใจมากว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์และศิลปิน, แม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างมากมายที่พวกเขาทำ มันเป็นไปในทำนองเดียวกัน – นั่นคือ คิดถึงนักผสมโลหะคนหนึ่งและประติมากรคนหนึ่งดูซิ – ดูว่าพวกเขาที่อะไรที่ต่างกัน และกระทำสิ่งนั้นด้วยเหตุผลที่ต่างๆกันอย่าไงร. ด้วยทัศนคติและข้อคิดเห็นที่ต่างกันไปของพวกเขา อันนั้นได้บอกกับเราอย่างมากว่า อะไรที่”วิทยาศาสตร์”มุ่งหมาย และอะไรที่”นักวิทยาศาสตร์ฆ”ทั้งหลายกระทำกัน.

อัตลักษณ์ 3 ประการของวิทยาศาสตร์

คำว่าวิทยาศาสตร์ ในสามัญสำนึกของเราทุกวันนี้ คือกิจกรรมของมนุษย์ที่ได้ถูกให้อัตลักษณ์เอาไว้ 3 ประการ. อันดับแรกคือ, วิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติการโดยคนที่มีความเชี่ยวชาญด้วยทัศนะหรือโลกทัศน์ที่เฉพาะเจาะจงลงไปเกี่ยวกับโลก. บรรดานักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะทำให้มันเป็นเรื่องของวัตถุวิสัย, ปราศจากความรู้สึก, และไร้อารมณ์. พวกเขาจะไม่ยอมให้ความรู้สึกต่างๆของตัวเองเข้าไปในวิธีการสังเกตุเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นจริง ข้อเท็จจริง ดังที่เขาเรียกพวกมัน. บ่อยครั้ง พวกเขาทำงานในห้องทดลอง หรือในพื้นที่อื่นซึ่งพวกเขาสามารถควบคุมสิ่งต่างๆได้อย่างระมัดระวังในสิ่งซึ่งพวกเขาทำอยู่. พวกเขาจะไม่เตร็ดเตร่ออกไปดูพระอาทิตย์ตกดิน และมองดูโลกของเราใบนี้ด้วยสายตาที่ประหลาดใจ เช่นดั่งที่นักกวีทำ.

ในเชิงอุดมคติ นักวิทยาศาสตร์จะมีทั้งความซื่อสัตย์และความถ่อมตัว. พวกเขามักจะพยายามรายงานการค้นพบต่างๆ เพื่อว่าคนอื่นๆจะได้สามารถตรวจสอบพวกเขาได้ และต่อจากนั้นก็นำไปใช้ประโยชน์ในงานของตน. พวกเขาจะไม่ประกาศอะไรที่มากเกินไปกว่าที่พวกเขาสามารถพิสูจน์ได้ และบ่อยทีเดียว ก็จะพูดน้อยกว่าที่เป็น. แต่ทว่า พวกเขามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่ออาชีพของตนเอง และชื่นชอบที่จะคุยกับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆมากกว่าจะคุยกับใครก็ได้, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกวี, ผู้ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบาย กระสับกระส่าย และตกต่ำ (แน่นอน นักกวีก็รู้สึกว่านักวิทยาศาสตร์ทำให้เขารู้สึกเช่นเดียวกันนี้เหมือนกัน).

ประการที่สอง, วิทยาศาสตร์จะเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ ไม่ใช่ในแง่ของไอเดีย ความคิด และความรู้สึก แต่จะพัวพันกับโลกภายนอกและการทำงานภายนอกของมัน ไม่ใช่ภาวะภายในและการทำงานภายใน, แม้ว่าแรงพยายามของนักจิตวิทยาบางคนจะเป็น หรือดูเหมือนว่าเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ก็ตาม. เรือนร่างของมนุษย์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกภายนอก; ส่วนวิญญานนั้นไม่ใช่ ถือเป็นโลกภายในและลึกลับ. ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจึงทำงานเพื่อทำความเข้าใจร่างกายของมนุษย์ แต่ไม่ใช่วิญญานของมนุษย์.

นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความสงสัยและไม่แน่ใจในเรื่องของวิญญานว่ามีอยู่. ระบบสุริยะและจักรวาลก็เป็นส่วนของโลกภายนอกเช่นเดียวกัน, ถึงแม้ว่าพวกเราจะมีหลักฐานตรงๆเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเกี่ยวกับความเป็นไปของมันเกี่ยวกับความมีอยู่. บรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะสันนิษฐานเกี่ยวกับเงื่อนไขพื้นฐานของธรรมชาติบนโลกว่าเป็นอย่างเดียวกันในทุกๆที่ในโลก.

ยังน่าสงสัยว่า มนุษยชาติเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกภายนอกในความหมายอันนี้. นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย โดยทั่วไป ไม่เต็มใจที่จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนเป็นกลุ่มใหญ่ๆไม่ว่าทั้งชายและหญิง. ดังนั้น บรรดานักเศรษฐศาสตร์ เป็นตัวอย่าง จึงดิ้นรนเพื่อให้ได้รับการพิจารณาให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ปกติแล้วจะไม่ได้รับการยอมรับและดูเหมือนจะไร้ประโยชน์.

โลกภายนอกของนักวิทยาศาสตร์ได้บรรจุเอาบางสิ่งบางอย่างไว้ อย่างเช่น quanta, quarks, และ quasars, ซึ่งยังเต็มไปด้วยความลึกลับคล้ายกับเทพธิดา และปกติแล้วเป็นเรื่องที่มองไม่เห็น. แต่อันนี้ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับพวกเขา เช่นดังที่พวกเขาเชื่อว่า สามารถเกี่ยวข้องกับเรื่องอนุภาคพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่จริงแล้วบรรดานักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถมองเห็นได้ และมันเป็นไปตามหลักของความไม่แน่นอนที่มองไม่เห็น. แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้เกี่ยวพันกับสิ่งเหล่านี้ในฐานะอย่างเดียวกับเรื่องของเทวะ ซึ่งเป็นไปได้มากว่าจะไม่ปรากฏแก่ตาของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย เพราะนักวิทยาศาสตร์ต่างไม่เชื่อในสิ่งเหล่านี้นั่นเอง.

โลกภายนอกเป็นสิ่งใดๆก็ตามที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายสามารถวัดและอธิบายมันได้ในเทอมของคณิตศาสตร์, และมันจะกันทุกสิ่งที่ไม่อาจทำเช่นนี้ได้ออกไป. นี่หมายความว่าโลกภายนอกค่อนข้างเป็นความเชื่อหรือความเห็นที่สลัวลาง, แต่ไอเดียหรือความคิดที่อยู่เบื้องหลังมันไม่เลือนลางแต่อย่างใด.

ประการที่สาม, เมื่อวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับอะไรก็ตาม มันก็จะเกี่ยวพันกับสิ่งนั้นในหนทางที่พิเศษ มีการใช้วิธีการที่พิเศษและภาษาหนึ่งเพื่อรายงานผลลัพธ์ต่างๆที่ชี้เฉพาะเกี่ยวกับมัน. ระเบียบวิธีซึ่งรู้จักกันดีมาก แต่ไม่จำต้องถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด ประกอบด้วยการทดลอง ซึ่งเกี่ยวพันกับการได้มาซึ่งไอเดียหรือความคิด – จากที่ซึ่ง นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่สงสัย – แล้วกำหนดกรอบมันเข้าไปในสมมุติฐานที่สามารถทดลองได้ และต่อจากนั้นก็ทำการทดลองสมมุติฐานดังกล่าวในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการควบคุม เพื่อคลี่คลายหรือทดสอบข้อเท็จจริงนั้นออกมาไม่ว่ามันจะชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ก็ตาม. สภาพแวดล้อมนั้นจะต้องได้รับการควบคุมอย่างระมัดระวัง เพื่อว่าปัจจัยภายนอกจะได้ไม่รุกล้ำหรือเข้ามาก้าวก่ายทำให้การทดลองดังกล่าวไม่ได้ผล และเพื่อว่าคนอื่นๆจะสามารถทดลองซ้ำได้ในความหวังที่จะได้มาถึงผลลัพธ์ที่ออกมาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งจะเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดของความน่าเชื่อถือหรือวางใจได้นั่นเอง.

ภาษาที่ใช้สำหรับรายงานผลและใช้งานรวมทั้งใช้ในการควบคุมวิทยาศาสตร์ก็คือ ภาษาคณิตศาสตร์ ซึ่งบางที เรื่องของภาษาคณิตศาสตร์นี้ ดูจะเป็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัดมากที่สุด. บรรดานักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่า ถ้าหากว่าคุณไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ได้ด้วยเทอมต่างๆทางด้านคณิตศาสตร์ คุณก็ไม่ได้กำลังทำวิทยาศาสตร์อยู่ และการที่พวกเขานิยมรายงานผลงานต่างๆของพวกเขาในเทอมของคณิตศาสตร์ก็เพราะ การทำเช่นนั้นมันง่ายกว่าและเร็วกว่า และเป็นเพราะนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถเข้าใจมันได้นั่นเอง.

มันเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่ง ผลงานในตัวของมันเองนั้นถูกทำขึ้นในเชิงคณิตศาสตร์ หมายความว่า การสังเกตุการณ์สิ่งที่ถูกศึกษา จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ – หรือลดทอนลงสู่ – จำนวนตัวเลขเป็นการด่วน, เพื่อว่าพวกมันจะถูกศึกษาได้ในวิธีการทางเหตุผล. ความคิดเก่าแก่ของบรรดานักวิทยาศาสตร์กรีกในช่วงแรกสุด – ซึ่งโลก โดยสาระแล้ว เป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ เพราะมัน ด้วยเหตุผลบางประการ ได้รับการทำให้ลงรอยสอดคล้องกับใจของมนุษย์ – ด้วยเหตุนี้ จึงได้เปลี่ยนทัศนะของ Pythagorean ไปว่า โลก, อย่างน้อยที่สุดก็โลกภายนอกนั้น เป็นสาระเรื่องราวของวิทยาศาสตร์, โดยแก่นแท้ มันเป็นเรื่องทางคณิตศาสตร์ และด้วยเหตุนี้ มันจึงสามารถเข้าใจได้ เพราะจิตใจของมนุษย์ โดยสาระแล้วเป็นคณิตศาสตร์ด้วยเช่นกัน.

ไม่ว่ากรณีใดก็ตามที่มนุษยชาติสามารถวัดสิ่งต่างๆได้ การทำเช่นนั้น หมายถึงการเปลี่ยนแปลงหรือการลดทอนสิ่งทั้งหลายลงมาเป็นตัวเลข อันที่จริงแล้ว มันสร้างความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านความเข้าใจและการควบคุมสิ่งต่างๆเหล่านั้น. ส่วนกรณีใดก็ตามที่มนุษย์ล้มเหลวที่จะค้นพบวิธีการในการวัด พวกเขาก็จะประสบความสำเร็จน้อยมาก. ตัวอย่างของความสามารถในการอธิบายที่ค่อนข้างจะล้มเหลวก็คือ เรื่องของจิตวิทยา, เศรษฐศาสตร์ และการวิจารณ์ศิลปะ และวรรณกรรม. ดังนั้น ศาสตร์เหล่านี้จึงไม่ได้รับสถานะของการเป็นวิทยาศาสตร์ (เนื่องเพราะมันวัดไม่ค่อยได้นั่นเอง).

วิทยาศาสตร์ของศตวรรษที่ 17 คือศาสตร์แห่งการค้นพบ หรือการประดิษฐ์คิดค้น. ผู้คนในช่วงเวลานั้นเรียนรู้ว่า จะวัดสิ่งต่างๆได้อย่างไร จะอธิบาย และควบคุมหรือใช้ประโยชน์ปรากการณ์ธรรมชาติอย่างไร ในวิธีการที่ทุกวันนี้เราเรียกว่า”วิทยาศาสตร์”. นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา วิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก และได้ค้นพบความจริงมากมาย และยังได้ให้ประโยชน์นานัปการ ซึ่งในศตวรรษที่ 17 เองก็ไม่เคยรู้มาก่อน. แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่ได้พบหนทางใหม่ในการค้นพบความจริงของธรรมชาติ. ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมานี้ ศตวรรษที่ 17 เป็นไปได้ที่จะถือว่า”เป็นศตวรรษที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษย์”. มันได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่อาจหวนคืนกลับไปอีกได้ในวิถีการดำรงอยู่ของมนุษย์บนโลกของเราใบนี้. เราไม่สามารถที่จะหวนคืนกลับไปดำรงชีวิตเช่นดังที่คนในสมัยเรอเนสซองค์ได้อีกแล้ว. เราเพียงแต่อาจจะรู้สึกประหลาดใจเท่านั้น หรือว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในทุกๆด้านเป็นไปเพื่อชีวิตที่ดีกว่า.

---------------------------------------------------------------------------

(จากหนังสือ : A History of Knowledge ของ Charles van Doren) แปลจากหัวข้อเรื่อง The Invention of Scientific Method หน้า 184-187) 1991

Resource:
//midnightuniv.org/miduniv/newpage22.htm


โดย: รากฐานของความเป็นอัจฉริยะ (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:20:03:52 น.  

 
ผลงานจิตรกรรมของ Giotto ชื่อภาพ Lamentation





Giotto, though a master, was not a wholly Renaissance painter, in that he did not experiment with perspective as the Florentine artists of the fifteenth century did (the quattrocento, as Italian say). The discovery of the possibilities of perspective helped to produce works of art that are decided more familliar to us than those of Giotto, and more "Renaissance-looking." Perspective provided the painters of the century after the death of Giotto and Dante with expanded opportunities to emphasize realism and to bring the viewer into the picture. (from: A History of Knowledge by Charles van Doren)

ผลงานจิตรกรรมของ Giotto ชื่อภาพ Lamentation (ความโศกเศร้าเกี่ยวกับการสูญเสียองค์พระเยซูคริสต์) เทคนิค จิตรกรรมปูนเปียก / ค.ศ.1305 / Arena Chapel, Padua




โดย: ผลงานจิตรกรรมของ Giotto ชื่อภาพ Lamentation (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:20:07:06 น.  

 
คำนำ
จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ จาก มุมมองของพระเจ้า มาสู่ มุมมองของมนุษย์

บทความในสัปดาห์นี้ เป็นงานเรียบเรียง(ร่างแรก)ของ สมเกียรติ ตั้งนโม (คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) [มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน] จากหนังสือเรื่อง A History of Knowledge ในบท "What was reborn in the Renaissance" ซึ่งเกี่ยวพันกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ความรู้ของมนุษย์ โดยเฉพาะ เรื่องที่เกี่ยวกับสาระทางศิลปะเป็นประเด็นสำคัญ

แต่อย่างไรก็ตาม โดยไม่จำกัดที่จะต้องเป็นคนที่มีความรู้ทางด้านศิลปะเท่านั้น ที่จะได้รับประโยชน์จากบทความชิ้นนี้ เพราะเนื้อหาที่เป็นแก่นของหนังสือเล่มดังกล่าว ซึ่งนำมาเป็นต้นฉบับในการเรียบเรียง เป็นเรื่องของพัฒนาการทางด้านความรู้ที่มีเนื้อหากว้างและเข้าใจได้ง่าย ดังนั้น แม้จะเป็นการนำเสนอเนื้อหาในส่วนของพัฒนาการทางศิลปะก็จริง แต่ก็สอดล้องไปกับความเปลี่ยนแปลงกับความรู้อื่นๆในสังคมยุคสมัยเดียวกันอย่างเป็นระบบ ทำให้เห็นถึงบริบททางสังคมที่มีความสัมพันธ์และเป็นปัจจัยต่อกันและกันอย่างแยกไม่ออก

เนื้อหาสำคัญของบทความชิ้นนี้ หากสรุปเอาไว้อย่างสั้นๆ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเสนอให้เห็นถึงพัฒนาการทางศิลปะทั้งทางด้านจิตรกรรมและวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในยุคเรอเนสซองค์ ซึ่งยุคดังกล่าว ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางความรู้และความเข้าใจของมนุษย์ที่สำคัญ จากการที่เคยได้รับอิทธิพลจากคริสตศาสนาอย่างเต็มที่ มาสู่การคลายตัวและพัฒนาไปสู่แนวคิดมนุษยนิยมอย่างสมบูรณ์ในเวลาต่อมา

ในด้านการพัฒนาทางจิตรกรรมนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลงานศิลปะ จากมุมมองของสายตาแบบพระเจ้า มาสู่มุมมองสายตาของมนุษย์. จากภาพเขียนในสไตล์อุดมคติ มาสู่สไตล์ในแบบเหมือนจริง โดยนำเอาหลักทัศนียวิทยาเข้ามาใช้. ส่วนเนื้อหาในงานจิตรกรรมก็เช่นกัน ได้มีการแปรเปลี่ยนจากเรื่องราวที่มีศาสนาและพระผู้เป็นเจ้าเป็นหัวใจ มาสู่เรื่องราวของความเป็นมนุษย์

พัฒนาการทางด้านวรรณกรรมของยุคเรอเนสซองค์ก็เช่นกัน ได้มีการกลับไปค้นหาตำรับตำราของกรีกคลาสสิคและโรมันโบราณ มีการฟื้นฟูวรรรกรรมเหล่านั้นขึ้นมา และเผยแพร่ออกไปสู่สังคมในวงกว้าง มีการพูดถึงเรื่องอื่นๆของชีวิต เช่นความรัก และผู้คนธรรมดา นอกเหนือไปจากสาระที่ถูกครอบงำโดยเรื่องของพระผู้เป็นเจ้าเป็นพันปีมาก่อนหน้านั้น

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทางด้านศิลปะในยุคสมัยเรอเนสซองค์ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น มันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับการเปลี่ยนแปลงของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเลยทีเดียว จากฟิสิกส์ของนิวตัน มาสู่ฟิสิกส์ควอนตัม แม้ว่าสาระจะต่างกันก็ตามในรายละเอียด แต่ความสำคัญอันยิ่งใหญ่นั้นเทียบเท่ากันได้อย่างไม่ขัดเขิน แล้วสาระเช่นนี้, นักศึกษา และสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะละเลยไม่อ่านบทความชิ้นนี้ไปได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


โดย: จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ จาก มุมมองของพระเจ้า มาสู่ มุมมองของมนุษย์ (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:20:08:16 น.  

 


ยุคเรอเนสซองค์เป็นยุคแห่งการเกิดขึ้นมาใหม่ของหลายสิ่งหลายอย่าง และคุณค่าต่างๆเหล่านี้ได้วางอยู่ ณ กึ่งกลางหัวใจของยุคสมัยทีเดียว. ในบทที่ 10 ของโคลงขนาดยาวเรื่อง the Purgatorio (การชำระบาปหลังความตาย), Dante, ได้รับการนำทางโดยพระแม่พรหมจารี ให้เข้าไปยังหุบเขาอันวกวนแห่งความภาคภูมิ, ที่นั่น บรรดาเหล่าผู้ประพฤติบาปในยามมีชีวิตอยู่ด้วยความหยิ่งทะนงของพวกเขา จะได้รับการชำระล้างโดยการทำให้เห็นถึงตัวอย่างของความถ่อมตัวที่อยู่รายรอบพวกเขา.

ขณะที่คนเหล่านี้กำลังสาละวนอยู่กับการป่ายปีนไปบนภูเขาด้วยความอดทน, พวกเขาต้องผ่านภาพแกะสลักที่เป็นคำสอนบนผนังหินซ้ำแล้วซ้ำเล่า ภาพแกะสลัก 4 ภาพที่นูนเด่นขึ้นมาในจำนวนทั้งหมด ได้รับการอธิบายเอาไว้โดย Dante ดังนี้. ภาพแรก, เป็นภาพของเทพ Gabriel (ประมุขแห่งฑูตสวรรค์), ผู้ซึ่งเชื่อฟังคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า และมีความเคารพบูชาเป็นหัวใจของท่าน ได้กล่าวต้อนรับองค์พระแม่พรหมจาร ีด้วยคำทักทายอันมีชื่อเสียงดังนี้ : "คารวะต่อพระแม่ Mary, ผู้เปี่ยมล้นไปด้วยความงดงาม". ส่วนภาพที่สอง, องค์อิตถีพรหมจารีเอง, ได้ขานรับต่อคำกล่าวทักทายนั้น อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความนอบน้อมถ่อมตน: "Ecce ancilla dei! ดูซิ ข้าผู้รับใช้พระผู้เป็นเจ้า!". ภาพที่สาม, เป็นภาพกษัตริย์ David ร่ายรำต่อหน้าเรือลำใหญ่ของ Noah ด้วยความต่ำต้อย, พระบาทของพระองค์เปลือยเปล่า, ขณะที่พระเหสีอันหยิ่งทะนงของพระองค์, Michal, มองต่ำลงมาด้วยการดูถูกจากหน้าต่างเบื้องบน. ภาพที่สี่, จักรพรรดิ์โรมัน Trajan ยอมรับต่อคำแก้ตัวของหญิงหม้ายที่ยากจนนางหนึ่งอย่างถ่อมตน, ผู้ซึ่งได้กุมบังเหียนของพระองค์และขอร้องให้พระองค์รับใช้ความต้องการของนาง ก่อนที่พระองค์จะทรงรับใช้ตัวของพระองค์เอง.

สัญลักษณ์เหล่านี้เป็นที่ชัดเจนพอ. แต่ Dante ก็ได้เพิ่มเติมคำวิจารณ์ในทางศิลปะบางประการ เข้าไปในบทเรียนทางศีลธรรมของเขา. ภาพแกะสลักเหล่านั้น, เขากล่าว, "มันไม่ใช่เพียงแค่ผลงานของ Polyclitus เท่านั้น แม้แต่ธรรมชาติก็ยังรู้สึกละอายใจ ณ ที่นั้น". (เป็นคำชมถึงภาพแกะสลัก ที่ได้สลักเสลาขึ้นมาอย่างสมจริง).

Polyclitus เป็นประติมากรกรีก เขาเป็นบุคคลที่ Dante รู้จัก(เพียงแค่ชื่อเสียง) ในฐานะที่เป็นศิลปินคลาสสิคที่ยิ่งใหญ่. ผลงานหลักๆที่จำหลักอยู่บนผนังหินซึ่งเขาได้พบเห็นนั้น มันมีความงดงามอย่างวิเศษยิ่งกว่างานประติมากรรมของ Polyclitus เสียอีก. ภาพเหล่านั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าสิ่งซึ่งธรรมชาติสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้. มันคือความจริงที่ยิ่งกว่าจริงเสียอีก.

Dante มีชีวิตอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของศตวรรษที่ 14. ในห้วงเวลานั้น อิทธิพลของประติมากรรม Gothic ได้ถ่ายทอดเข้าไปสู่อิตาลี จากทางตอนเหนือของยุโรป และได้ให้ชีวิตใหม่แก่ศิลปกรรมทั้งหมด. ประติมากรสมัย Gothic ได้เน้นในลัทธิเหมือนจริงในงานจำหลักหินของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องราวทางศาสนา, และทิศทางที่โน้มไปสู่ความเหมือนจริงนี้ ในไม่ช้าก็พิชิตความเป็นนามธรรม, สไตล์สัญลักษณ์ของ Byzantine ซึ่งได้มีอิทธิพลส่วนใหญ่ในอิตาลีมาก่อน.

บรรดาประติมากรแห่ง Pisan และ Florentine เริ่มลอกเลียนแบบสไตล์ของ Gothic.
เพื่อนและผู้ร่วมงานชาว Florentine ของ Dante, Giotto (c.1270-1317), ได้เขียนภาพจิตรกรรมปูนเปียกหรือภาพ frescoes ซึ่งเป็นไปตามลัทธิเหมือนจริง และมีชีวิตชีวาแบบใหม่อันนี้. ส่วนตัว Dante เองนั้น, กระทำในสิ่งที่เหนือยิ่งไปกว่านั้นในด้าน dole stil nuovo, (the sweet new style) หรือสไตล์ใหม่อันมีความอ่อนหวานและไพเราะ เกี่ยวกับการเขียนโคลง เขาได้โฟกัสเรื่องราวลงไปบนประสบการณ์เกี่ยวกับความจริง, แม้แต่เรื่องราวของผู้คนธรรมดาๆ. (ใน Purgatorio นั้น Dante กล่าวถึง Giotto ว่า, "ในงานจิตรกรรมของ Cimanbue (Giovanni) คิดที่จะยึดครองในขอบเขตความรู้อันนั้น และตอนนี้ Giotto ได้กระทำขึ้นมาแล้ว, ดังนั้นมันจึงทำให้ชื่อเสียงของศิลปินคนอื่นๆ ได้ถูกทำให้ริบหรี่ลงไปเลยทีเดียว").

สไตล์ใหม่ในงานจิตรกรรม : หลักทัศนียวิทยา (The New Style in Painting: Perspective)
การเขียนภาพแบบเหมือนจริงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ และการกระทำของผู้คนธรรมดาไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่ศิลปะสามารถทำได้ และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ศิลปะตามขนบประเพณีประสบความสำเร็จมาโดยตลอดหลายศตวรรษ จวบจนกระทั่งถึงยุคสมัยของ Dante.

ในศตวรรษที่ 14 แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงข้างต้นเกี่ยวกับการเขียนรูปแบบเหมือนจริงขึ้นมา แต่บรรดาศิลปินทั้งหลายจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ยอมลดลาวาศอกที่จะต่อต้านกับสไตล์ใหม่อันนี้. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาจิตรกรสกุลช่าง Sienese แห่ง Siena ก็ยังคงผลิตผลงานต่างๆที่เป็นสไตล์ในแบบ Byzantine อย่างเด่นชัด พวกเขาคงกระทำเช่นนั้นไปอย่างเงียบเชียบ, ทั้งรูปร่างและหน้าตาตามสไตล์ ในแบบสัญลักษณ์นิยมทางศาสนาอย่างชัดเจน. โดยเหตุผลนี้ ปกติแล้วเราจึงไม่ได้คิดถึงพวกจิตรกร Sienese ในศตวรรษที่ 14 เท่าใดนัก ว่ามีความยิ่งใหญ่อย่างที่พวกเขาเป็น อันถือเป็นส่วนหนึ่งของอิตาเลี่ยนเรอเนสซองค์. พวกเขาเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่, แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ศิลปินเรอเนสซองค์.

ขณะที่เรอเนสซองค์ได้แผ่ขยายไปจนทั่วทั้งทวีปยุโรป ทุกหนทุกแห่งได้ผลิตผลงานในสไตล์งานศิลปะแบบใหม่ขึ้นมาที่เน้นในเรื่องของความเหมือนจริง, ความเป็นธรรมชาติ, และสิ่งที่ดูเหมือนของจริง(verisimilitude). ส่วนเรื่องราวที่นำมาเขียนนั้น ยังคงเป็นอย่างเดียวกันกับสไตล์ที่เป็นสัญลักษณ์ในสมัย Byzantine อันเก่าแก่นั่นเอง: อย่างเช่นเรื่อง Annunciation (ฑูตสวรรค์ Gabriel มาประกาศข่าวต่อพระแม่มารีผู้บริสุทธิ์ถึงการจุติลงมาเกิด), หรือเรื่อง Crucifixtion (การถูกตรึงกางเขนขององค์พระเยซูคริสต์), Deposition (การปลดองค์พระเยซูลงมาจากกางเขน), the Marriage at Canna (การอภิเษกที่เมือง Canna), และเรื่องราวต่างๆในทำนองนี้. แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปในทางรูปแบบก็คือ พอมาถึงยุคดังกล่าว ผู้คนได้ถูกวาดขึ้นมาเพื่อสะท้อนถึงโลกของผู้ดู, แสดงออกซึ่งความรู้สึกเหมือนกับตัวของพวกเขา และน่าเร้าใจ, ในวิธีการใหม่ทั้งหมด.

Giotto แม้ว่าจะเป็นปรมาจารย์คนหนึ่ง แต่เขาก็ไม่ใช่จิตรกรเรอเนสซองค์อย่างเต็มตัว ด้วยเหตุนั้น เขาจึงไม่ได้ทำการทดลองนำหลักทัศนียวิทยา(perspective)มาใช้เช่นเดียวกันกับศิลปิน Florentine ทั้งหลายในศตวรรษที่ 15 ทำ (หรือตามรูปศัพท์อิตาเลี่ยนเรียกว่า quattrocento). การค้นพบเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของหลักทัศนียวิทยาดังกล่าว ช่วยทำให้การสร้างผลงานศิลปะเป็นที่คุ้นเคยกับเราอย่างไม่มีปัญหายิ่งกว่าวิธีการที่ Giotto ใช้ (ซึ่ง Cimabue หรือ Giovanni ก็ไม่ได้นำหลักทัศนียวิทยามาใช้เช่นเดียวกัน), และดูเป็นเรอเนสซองค์มากกว่า. หลักทัศนียวิทยา ได้ทำให้บรรดาจิตรกรในศตวรรษนั้น (หลังการตายของ Giotto และ Dante) ขยายโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเน้นความเหมือนจริงขึ้นมา และนำผู้ดูเข้าไปอยู่ในภาพ.

บรรดาศิลปิน Sienese ต่างต่อต้านและปฏิเสธที่จะใช้หลักทัศนียวิทยาดังกล่าว นับเป็นศตวรรษเลยทีเดียว. แต่แล้วในท้ายที่สุด พวกเขาก็ต้องยอมจำนนต่ออิตาล ี(ถ้าจะถูกต้องมากกว่า, หมายถึง Florentine) สไตล์เรอเนสซองค์ก็ได้เข้ามามีอิทธิพลครอบงำทั่วไปหมด และอันที่จริงมันได้เข้าครองงานจิตรกรรมของชาวยุโรปในอีกสามร้อยปีต่อมา, จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ในฝรั่งเศส บรรดาจิตรกรเริ่มทำการทดลองกับสไตล์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เช่นเดียวกันกับสไตล์เรอเนสซองค์เคยเป็น.

ขอให้เรามาทำความเข้าใจกันสักเล็กน้อย เพื่อให้เข้าถึงความหมายของหลักการทางด้านทัศนียวิทยา. หลักการดังกล่าว เริ่มต้นขึ้นจากการกำหนดจุดลับสายตาขึ้นมาบนภาพ แล้วใช้จุดดังกล่าวเป็นจุดของการรวมเส้นตรงในงานจิตรกรรมด้วย(บ่อยครั้งเป็นเส้นจินตนาการ). เส้นตรงที่พูดถึงนี้จะลากจากวัตถุเบนเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่าจุดลับสายตา หรือตามศัพท์เรียกว่า vanishing point ซึ่งอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของฉากหลัง (บ่อยมากมันจะอยู่ที่ตรงกลางของเส้นแนวนอนข้างหลัง). การลากเส้นตรงเข้าหาจุดดังกล่าวนี้จะสร้างความประทับใจเกี่ยวกับฉากที่เป็นจริงขึ้นมา เพราะมันได้ช่วยสร้างให้เกิดมิติของระยะที่ดูสมจริงขึ้น ซึ่งมองเห็นได้โดยผู้ดู.

วิธีการเช่นนี้ไม่เคยถูกใช้มาก่อน ไม่ว่าจะในงานศิลปะประเภทใดก็ตาม และมันไม่เคยได้รับการปฏิบัติกันมาเลย ไม่ว่าจะงานศิลปกรรมของชนชาติใด เว้นแต่ในงานศิลปกรรมตะวันตก(หรืองานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งโดยศิลปกรรมตะวันตก ที่มันได้สูญเสียอัตลักษณ์ที่พิเศษของมันไปแล้ว). กระนั้นก็ตาม ในศิลปะตะวันตก บ่อยทีเดียว มันก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้หรือปฏิบัติกันอีกต่อไป เมื่อความนิยมดังกล่าวได้ค่อยๆจางหายไป. จิตรกรในแนว Fauvist ฝรั่งเศสได้ทำลายแบบแผนหลักทัศนียวิทยาลงในช่วงปี 1900, ส่วนศิลปิน Cubists นั้น ได้ทุบทำลายหลักการนี้จนแตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย, และก็ไม่ได้จับมันมารวมเข้าด้วยกันอีกครั้ง เว้นแต่ในการเลียนแบบเกี่ยวกับสไตล์ขนบประเพณีที่แตกกิ่งก้านสาขาออกไป.

ผลงานศิลปะสมัยใหม่ได้ทักท้วงและตั้งคำถามผลงานในสมัยเรอเนสซองค์ ซึ่งได้นำเอาหลักทัศนียวิยามาใช้ว่า มันได้ผลิตความรู้สึกที่เหมือนจริงขึ้นมาจริงๆล่ะหรือ, โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ Dante พูด. อย่างไรก็ตาม กล้องถ่ายรูป ก็ได้กระทำในสิ่งนี้ได้ดีกว่าบรรดาศิลปินทั้งหลาย ที่ได้รับการฝึกฝนมาด้วยหลักการทางด้านทัศนียวิทยาทำ. แต่แม้ว่ากล้องถ่ายรูป จะสร้างสรรค์ความเหมือนจริงบางอย่างขึ้นมาได้ก็ตาม แต่มันก็ไม่สามารถทำในสิ่งที่งานจิตรกรรมสามารถบรรลุผลได้ (และงานจิตรกรรมในสมัยเรอเนสซองค์สามารถบรรลุผลสำเร็จ).

มนุษย์ในจักรวาล(Man in the Cosmos)
ศิลปะใหม่ ด้วยหลักแห่งทัศนียวิทยา ได้กล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไปอย่างถึงราก และมีความใหม่สดเกี่ยวกับตำแหน่งและบทบาทของมนุษย์ในจักรวาล, หรือในโลกของภาพเขียน ดังที่เราอาจกล่าวได้เช่นนั้น. ในงานศิลปกรรมก่อนมาถึงยุคเรอเนสซองค์ ภาพที่ถูกเขียนขึ้นมาจะได้รับการมอง มิใช่จากจุดยืนหรือมุมมองของผู้ดู ที่เป็นของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง, แต่มันมาจากมุมมองของพระผู้เป็นเจ้า หรือจากจุดที่ไร้ขอบเขต, หรือพอจะกล่าวได้ว่า มันได้รับการมองมาจากมุมมองของกาลและอวกาศ ซึ่งได้ถูกลดทอนลงมาสู่ความว่างเปล่าดังเปรียบเทียบกับภาพที่เกี่ยวกับศาสนา, รูปลักษณ์ หรือไอเดีย ซึ่งเป็นภาพภายในมากกว่าที่จะเป็นภาพภายนอก.

ศิลปิน Sienese ไม่เลือกที่จะรับเอาหลักทัศนียวิทยามาใช้ ทั้งนี้เพราะ พวกเขาต้องการธำรงรักษาภาพภายในอันนี้เอาไว้ หรืออาจเป็นเพราะพวกเขาไม่ปรารถนาที่จะสูญเสียมันไปก็ได้ ดังที่พวกเขาคิดว่าศิลปิน Florentine กำลังทำอยู่. จิตรกร Florentine ต่างมีเจตจำนงที่จะละทิ้งภาพภายใน เพราะพวกเขาต้องการงานศิลปะ เพื่อให้มันพูดบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับบทบาทของมนุษย์ในโลกนี้ และด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะหมายไปยัง การกล่าวถึงเรื่องบางอย่าง เกี่ยวกับบทบาทของศาสนาในโลกนี้.

หนึ่งในงานจิตรกรรมที่ยิ่งใหญ่แบบ quattrocento หรือภาพที่ใช้หลักทัศนียวิทยาดังกล่าว, โดยจิตรกรซึ่งยิ่งใหญ่สุดคนหนึ่งคือ Piero della Francesca (1420-1492) ถือว่าเป็นตัวอย่างรูปแบบใหม่อันนี้. แม้ว่าเขาจะเกิดที่ Borgo Sansepolcro, แต่ Piero ก็ได้รับการฝึกฝนฝีมือช่างขึ้นมาจาก Florence ในช่วงทศวรรษที่ 1440s และถือว่าเป็นศิลปินที่มีจิตวิญญานแบบ Florentine เต็มตัว. ในชุมชน Urbino ภายใต้การอุปภัมภ์ของ Federico da Montefelto, เขาได้สร้างผลงานบางชิ้นที่อยู่ในจุดที่สุกงอมเต็มที่ของเขาขึ้นมา ท่ามกลางศิลปินทั้งหลายเหล่านั้น มีบรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายที่วิพากษ์วิจารณ์ไปในเชิงเหน็บแนมอย่างเจ็บแสบอยู่ร่วมๆ 500 ปีร่วมอยู่กับวงการศิลปะ

ในท่ามกลางสิ่งต่างๆ งานจิตรกรรมเป็นการศึกษาอย่างหนึ่งในเรื่องของหลักทัศนียวิทยา เช่นดั่งผลงานทุกชิ้นของ Piero. (Piero เอง เป็นปรมาจารย์ทางเรขาคณิต และได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องนี้). มันได้ถูกแยกออกเป็นสองส่วน. ส่วนด้านซ้าย ซึ่งเป็นเรื่องของฉากหลัง ซึ่งใกล้ๆกันกับจุดลับสายตา, พระเยซูคริสต์, เป็นภาพที่ปรากฎเล็กๆเพียงลำพังซึ่งถูกผูกตรึงอยู่กับเสาในท่ายืน ขณะที่ทหารโรมันได้หวดแส้กระหน่ำลงไปเพื่อทรมานพระองค์. ส่วนทางขวาซึ่งเป็นด้านหน้าของภาพนั้นได้เขียนสีในลักษณะที่สั่นไหว เป็นภาพของบุรุษสำอางค์ท่าทางสำรวยแบบเรอเนสซองค์ 3 คน, ซึ่งกำลังพูดคุยกัน(ไม่รู้ว่าพูดเรื่องอะไร อาจเป็นเรื่องเงินๆ เรื่องผู้หญิง หรืออื่นๆ). พวกเขาไม่ได้ให้ความสนใจต่อเรื่องราวที่เร้าใจซึ่งเกิดขึ้นอยู่เบื้องหลังพวกเขาเลย. สายตาของพวกเขาเบนออกจากเรื่องราวอันทุกข์ทรมานของบุตรแห่งพระเจ้า และพวกเขาไม่ได้ยินเสียงร้องอันโหยหวนและเสียงเฟี้ยวฟ้าวของแส้ที่แหวกอากาศอย่างแน่นอน ขณะที่มันถูกหวดเข้าใส่ร่างอันเปลือยเปล่าขององค์พระเยซูคริสต์.

Piero ไม่ใช่คนที่ขี้สงสัยหรือคนที่ขาดศรัทธาในความเชื่อ ดูเหมือนเขาจะเป็นคริสเตียนที่ดีจนกระทั่งวาะที่เขาถึงแก่กรรม. ผลงาน Resurrection (ภาพการฟื้นคืนชีพของพระเยซู) ใน Borgo Sansepolcro เป็นหนึ่งในการพรรณาที่เร้าอารมณ์ได้อย่างรุนแรงที่สุดชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องราวอันนี้ในงานจิตรกรรมทั้งหมด. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงไม่อาจได้รับการตีความในการเขียนภาพนี้ขึ้นมาโดยความบังเอิญ จากการวิจารณ์ของนักวิจารณ์ปากเจ็บแห่ง Urbino ทั้งหลายในทำนองนั้น แม้ว่าภาพของสิ่งต่างๆที่เขาเชื่อในเรื่องศาสนาควรได้รับการนำมาวางไว้ข้างหน้า แต่กลับถูกผลักให้ไปอยู่ด้านหลัง ส่วนเรื่องราวที่เกี่ยวกับทางโลกกลับมาอยู่ด้านหน้า.

งานจิตรกรรมชิ้นนี้ได้เผยให้เห็นถึงโลก ซึ่งสาระต่างๆอย่างโลกๆ ได้รับการให้คุณค่าอย่างสูงขึ้นมามากกว่าแต่ก่อน. ความทุกข์ทรมานขององค์พระคริสต์ แม้ว่ามิได้ถูกลืมเลือนไป แต่ก็ได้กลายเป็นสิ่งซึ่งเกือบไม่มีความสำคัญและเป็นเรื่องที่เหลวไหล. นัยะสำคัญตอนนี้คือความเยาว์วัย, การดูดี, เสื้อผ้าที่ประณีต, เงินทอง, และความสำเร็จทางโลก (ซึ่งเป็นไปตามความนึกคิดของผู้ดู). และความเชื่อนี้ มันมากกว่าลัทธิเหมือนจริง, ลัทธิธรรมชาตินิยม, หรือการจำลองสิ่งที่เหมือนจริง, มันวางอยู่ที่ตรงกึ่งกลางมากของสไตล์ในทางศิลปะแบบเรอเนสซองค์. โรมัน และโดยเฉพาะกรีกก่อนหน้าพวกเขา ได้มองโลกเป็นไปในทำนองนี้. พวกเขา รักชอบความเป็นหนุ่มสาวและการมีภาพพจน์ที่ดี มีสุขภาพที่สมบูรณ์และมีเงิน. ส่วนสมัยกลางได้มีการเปลี่ยนจุดโฟกัสจากแง่มุมดังกล่าวไป. ตอนนี้มันกำลังเปลี่ยนกลับไปสู่ความเอาใจใส่อันเก่าแก่แบบนั้นอีกครั้ง.

จุดเปลี่ยนของยุคสมัยทางด้านวรรณกรรม
ยุคเรอเนสซองค์เป็นยุคแห่งการเกิดขึ้นมาใหม่ของหลายสิ่งหลายอย่าง และคุณค่าต่างๆเหล่านี้ได้วางอยู่ ณ กึ่งกลางหัวใจของยุคสมัยทีเดียว. การฟื้นฟูการเรียนรู้แบบคลาสสิค (The Revival of Classical Learning)[ทางวรรณกรรม] ถ้าหากว่าเรา ต้องการทราบวันเวลาที่แน่นอน สำหรับการเริ่มต้นขึ้นของยุคเรอเนสซองค์ คำตอบอาจจะเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม 1304 หรือคือวันเกิดของ Francesco Petrarch, ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่ถือกำเนิดชึ้นมาใน Arezzo (ชื่อชุมชนที่อยู่ตอนกลางของอิตาลี) แต่เขาชอบที่จะคิดถึงตัวของเขาเอง ในฐานะที่เป็นชาว Florentine, ชาวอิตาเลียนคนหนึ่ง และเป็นมนุษย์คนหนึ่งของโลก.

เขาได้รับการศึกษาที่ Avignon สถานที่ซึ่ง พ่อของเขาได้ย้ายเข้าไปอยู่ใกล้กับ ราชสำนักของสันตะปาปา นอกจากนี้ Petrarch ยังเป็นผู้ศึกษาด้วยตนเอง(autodidact) เขาไม่เคยที่จะหยุดเรียนจนกระทั่งวาระสุดท้ายมาถึง. ในช่วงที่เขาได้ถึงแก่กรรมลงนั้น เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 19 เดือนกรกฎาคม 1374 ศีรษะของเขาพับลงบนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระแม่พรหมจารี ซึ่งเขากำลังเขียนคำวิจารณ์และแสดงข้อคิดเห็นอยู่.

ตามเรื่องราวเกี่ยวกับ Petrarch, สิ่งซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขา เกิดขึ้นเมื่อตอนที่เขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเธอได้ถูกรู้จักกันเพียงว่าชื่อ Laura ในโบสถ์แห่งหนึ่งที่ Avignon ในวันที่ 6 เดือนเมษายน 1327. ขณะนั้น เขามีอายุได้ 22 ปี. ความรักของเขาที่มีต่อ Laura นั้น ปรากฎชัดว่าไม่ได้มีเรื่องรักๆใคร่ๆ หรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกันแต่อย่างใด ซึ่งอันนี้ยืนหยัดมาจนกระทั่งเขาตาย. เขาได้เขียนบทกวีอันไพเราะและยอดเยี่ยมที่สุดของเขาเกี่ยวกับความงามและความน่ารักของเธอ; เกี่ยวกับความรักของเขาที่มีต่อเธอ ซึ่งเธอได้ให้แรงบันดาลใจแก่เขา และเป็นที่ยอมรับต่อมาภายหลังว่า เขาได้หลงรักเธออย่างผิดๆ กล่าวคือ Petrarch ได้ยอมให้เรือนร่างของเธอให้อยู่เหนือจิตวิญญานของเธอ.

คาดกันว่า Laura เสียชีวิตลงด้วยโรคระบาดในวันที่ 6 เมษายน 1348 นั่นคือวันเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 21 ของการพบปะกันเป็นครั้งแรก. มีความพยายามมากมายที่จะชี้ตัวผู้หญิงคนหนึ่งจริงๆที่มีเลือดเนื้อ (ผู้ซึ่งอาจจะ หรืออาจจะไม่ใช่ตัวของ Laura, สำหรับคำๆนี้ในภาษาละติน อาจแปลว่า"คำเล่าลือ") ผู้ซึ่ง Petrarch ให้ความหลงรัก, แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และได้มีข้อสงสัยคลางแคลงใจว่า จริงๆแล้ว ผู้หญิงคนดังกล่าวมีอยู่จริงหรือ ?

Petrarch ทราบดีถึงพลังความรักของ Dante ที่มีต่อ Beatrice (ผู้ซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีอยู่จริง) และรู้ว่าเธอได้ให้แรงบันดาลใจแก่เขาอย่างไรในการเขียนโคลงอมตะขึ้นมา. Petrarch อาจจะสร้าง Laura ขึ้นมาจากเสื้อคลุมทั้งหมด และตกหลุมรักเธอ (อย่างน้อยที่สุด, ดังเทพธิดา muse[เทพแห่งศิลปะ]) ทั้งหมดอาจเกิดขึ้นมาจากการสร้างสรรค์ของเขาเองขึ้นมา.

บางทีอาจจะไม่ยุติธรรมนักกับการจะไปกล่าวหา Petrarch, หลังจากศตวรรษดังกล่าวล่วงไปแล้ว เกี่ยวกับการที่เขาได้สร้าง Laura ขึ้นมาในฐานะที่เป็นไปอย่างโลดโผนและเผยแสดงออกมาเช่นนั้น และต่อมา กับการใช้ชีวิตที่เหลือของเขาไปกับความทนทุกข์ทรมาน ด้วยความเสน่หาและคิดถึงเธอในวิธีการทางวรรณกรรม. และไม่ต้องมีใครไปว่าเขาถึงการกระทำนั้น. อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องตระหนักและยอมรับว่า เขาสามารถที่จะสร้างสรรค์ภาพดังกล่าวขึ้นมา เพราะเขาเป็นนักสร้างที่มีความชำนาญมาก เกี่ยวกับตัวของเขาเองและเกี่ยวกับสิ่งต่างๆยิ่งไปกว่านั้น และถ้าหากว่า Petrarch ปรารถนาที่จะทำให้ตัวเองเป็นผู้สืบทอดต่อมาจาก Dante, การสร้าง Laura ขึ้นมาก็นับว่าเป็นวิธีการที่ดีอันหนึ่งที่จะกระทำเช่นนั้น.

Petrarch ยังต้องการได้รับการมอง ในฐานะที่เป็นทายาทแห่งความเบ่งบานอย่างเต็มที่ ที่มีความสง่าของความเป็นมนุษย์ด้วย. ในขณะที่เขาเป็นเด็ก เขาได้หลงใหลต่องานคลาสสิค, และอายธรรมของกรีกและโรมันโบราณ ซึ่งในช่วงชีวิตของเขาขณะนั้น มันได้เสื่อมสลายแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมานับพันปีก่อนหน้านั้น. เท่าที่เขาสามารถทำได้ เขาได้อุทิศชีวิตไปเพื่อพยายามที่จะฟื้นฟูและสร้างสรรค์อารยธรรมนั้นขึ้นมาใหม่. ด้วยเหตุนี้ เขาจึงชอบที่จะรับรู้เกี่ยวกับตัวเองในฐานะที่เป็นชาวโรมันโบราณ ที่กลับชาติมาเกิดใหม่อีกครั้ง.

ความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ของเขาคือ ต้องการที่จะสร้างให้กรีกและโรมันกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่อีกครั้ง. ในช่วงที่เขามีอายุ 35 ปีนั้น Petrarch เป็นนักวิชาการซึ่งมีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งแล้วในยุโรป ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก การเรียนรู้อันยิ่งใหญ่ของเขา และบางส่วนเนื่องมาจากความสามารถที่น่าอัศจรรย์ของเขา ที่ทำให้พรสวรรค์และความสำเร็จของเขา ไปสู่ความสนใจเกี่ยวกับสิทธิและความชอบธรรมของผู้คน.

ในปี 1340 เขาได้สร้างตัวของเขาเองขึ้นมาในตำแหน่งที่สามารถจะเลือกได้ ระหว่างการได้รับเชิญอย่างสมเกียรติให้ได้รับรางวัลอันสูงค่าถึงสองแห่ง: นั่นคือ การได้รับเกียรติให้เข้ารับรางวัลในฐานะนักกวีที่ยอดเยี่ยมระดับที่สามารถประดับมงกุฎในปารีส(ฝรั่งเศส), หรือในโรม(อิตาลี)ได้. แต่ในที่สุด เขาก็เลือกที่จะสวมมงกุฎแห่งความทรงเกียรตินั้นให้กับตัวเขาเอง ที่โรม. Petrarch ได้รับการสวมมงกุฎ ณ รัฐสภาในวันที่ 8 เมษายน 1341. (แต่ความจริงเขาอยากจะให้มันเป็นวันที่ 6 เมษายน มากกว่า, ทั้งนี้เพราะเป็นวันครบรอบของการได้พบปะกับ Laura, แต่เหตุการณ์ต่างๆทำให้พิธีกรรมดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป). หลังจากนั้น เขาได้นำเอามงกุฎ laurel (เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ใช้ประดับเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ) วางลงบนหลุมฝังศพของพระสาวกแห่งพระเยซุคริสต์ใน St. Peter's Basilica, เพื่อทำให้โอกาสอันนั้นอยู่ในความทรงจำอันยาวนานและเป็นการเน้นว่า เป็นโอกาสแห่งการมาถึงของอารยธรรมโรมันโบราณที่กลับฟื้นคืนขึ้นมาใหม่ และเขาไม่ใช่ไม่ได้เป็นคริสเตียน.



Resource:
//midnightuniv.org/midschool2000/index.html


โดย: ยุคเรอเนสซองค์เป็นยุคแห่งการเกิดขึ้นมาใหม่ของหลายสิ่งหลายอย่าง (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:20:11:31 น.  

 
การสร้างตัวของยุคเรอเนสซองค์: Boccaccio (Inventing the Renaissance: Boccaccio)

Giovanni Boccaccio เกิดในกรุงปารีส ในปี 1313, แม้ว่าตามข้อเท็จจริงนั้น พ่อของเขาจะเป็นชาว Florentine แต่ต่อมาภายหลังถึงจะยินยอมให้เขาเรียกตัวเองว่าเป็นชาว Florentine คนหนึ่งเช่นกัน. ก็คล้ายๆกันกับ Petrarch, เขาได้ถูกกำหนดโดยครอบครัวของเขา ให้ประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจหรือทางกฎหมาย. และก็เหมือนกับ Petrarch อีกคือ, เขาเป็นคนที่ศึกษาด้วยตัวเอง และได้กลายเป็นนักประพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ.

Boccaccio ได้ใช้เวลาหลายปีในเนเปิล ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของกวีนิพนธ์. เขาเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งสิ้นหวังในเรื่องความรัก ซึ่งในช่วงนั้น เขาได้หลงรักกับหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งได้เรียกเธอว่า Fiammetta (Little Flame เปลวไฟน้อยๆ), ซึ่งอันนี้เกือบมั่นใจได้เลยว่า เธอมิได้มีตัวตนอยู่จริง. ในปี 1348 เขาได้ออกมาจากเมือง Florence ซึ่งเกิดโรคระบาดขึ้น และได้มาพำนักอยู่ในชนบท ช่วงดังกล่าวเขาได้เริ่มเขียนเรื่อง Decameron ที่เป็นเรื่องราวอันแปลกประหลาด.

สำหรับเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ในชีวิตของ Boccaccio นั้น ในทำนองเดียวกันก็เป็นก็เป็นเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่เหตุการณ์หนึ่งของ Petrarch ด้วยเช่นกัน - นั่นคือ การพบปะกันของคนทั้งสองในเมือง Florence ในปี 1350. Petrarch ตอนนั้นมีอายุ 46 ปี, ในขณะที่ Boccaccio มีอายุได้ 37 ปี. ในช่วงที่คนทั้งสองได้พบปะกันนั้น Boccaccio ได้เขียนหนังสือซึ่งเป็นการชมเชยต่อตัวของ Petrarch ไปแล้ว. มันเป็นความคล้ายๆกันของจิตวิญญานของคนทั้งสองที่ได้ดูดดึงเอาคนทั้งคู่มาพบกัน และทำให้พวกเขาเป็นเพื่อนกันอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทำให้พวกเขาผูกพันกันในการร่วมงาน เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ยุคเรอเนสซองค์ขึ้นมา. ซึ่งได้เป็นเช่นนั้นมาจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของ Petrarch มาถึง ในอีก 24 ปีต่อมา

เพื่อที่จะฟูมฟักการเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งของยุคคลาสสิค(หมายถึงฟื้นฟูกรีกคลาสสิค), ทั้ง Petrarch และ Boccaccio สำนึกว่า พวกเขาจะต้องสามารถอ่านมันให้ได้. พวกเขาประสบกับความยุ่งยากเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการทำความเข้าใจภาษาละตินคลาสสิค; ปัญหาก็คือการค้นหาตำรับตำราดังกล่าวมาอ่านนั่นเอง, จำนวนมากของตำรับตำรานั้น เหลืออยู่เพียงกิตติศัพท์หรือชื่อเท่านั้น. Petrarch มีความแน่ใจ และเขาทำให้ Boccaccio เชื่อมั่นว่า ตำรับตำราต่างๆดังกล่าวอันเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก จะต้องนอนฝังตัวแอบซ่อนอยู่, ซึ่งบางทีอาจหลงลืมกันไปแล้ว, ในห้องสมุดต่างของวัดวาอารามต่างๆ.

พวกเขาได้ท่องเที่ยวไปทางใต้ของยุโรป เพื่อค้นหาสถานที่ที่เก็บเอกสารสำคัญไปจนทั่ว เพื่อพลิกหน้าหนังสือโบราณเหล่านั้นขึ้นมาอ่าน. และด้วยการกระทำเช่นนี้ Petrarch ได้เจอะเจองานเขียนของ Cicero เป็นจำนวนมาก. ซึ่งในช่วงวันเวลาดังล่าวเชื่อกันโดยทั่วไปว่า งานเขียนเหล่านั้นได้สาบสูญไปแล้ว.

การอ่านภาษากรีกคลาสสิค คือสาระสำคัญอีกอันหนึ่ง, Petrarch รู้ว่าไม่มีใครสามารถอ่านมันได้ และความพยายามทุ่มเทของเขาในการเรียนรู้มันด้วยตัวเองนั้นไร้ความหมาย. เขาได้ยอมให้ความเจ็บปวดนี้ผ่านไปยัง Boccaccio. ซึ่งต่อมาได้นำพา Boccaccio ไปสู่การศึกษากรีกคลาสสิคด้วยการช่วยเหลือของชายผู้หนึ่ง นามว่า Leonzio Pilato, ซึ่ง Boccaccio ได้ให้ฉายาชายคนนี้ว่า นักอ่านภาษากรีก(Reader in Greek)แห่งมหาวิทยาลัยฟลอเรนส์.

Pilato ได้ใช้เวลาบางช่วงที่ Byzantium หรือ Istanbul, ที่ซึ่งยังคงมีผู้คนจำนวนมาก ที่ยังสามารถอ่านงานคลาสสิคของกรีกได้ และเป็นที่ที่มีการคัดสำเนาผลงานต่างๆของ Homer และ นักประพันธ์กรีกโบราณคนอื่นๆ ที่ยังค้นพบกัน. Pilato รู้ภาษากรีกพอที่จะแปลและถ่ายทอดเรื่อง Iliad และ Odysey ไปเป็นภาษาละตินได้อย่างหยาบๆ. มันเป็นงานแปลสองเล่มแรกที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับมหากาพย์, ซึ่งได้รับการรู้จักกันเป็นอย่างด ี(และจากบทสรุปต่างๆในภาษาละตินโบราณ)ในฐานะที่เป็นงานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด.

Boccaccio เองนั้นเรียนรู้ภาษากรีกเพียงเล็กน้อย และเมื่อเขานำตัว Pilato และงานแปลเรื่อง Iliad มาให้ Petrarch, Petrarch ถึงกับคุกเข่าลงต่อหน้าคนทั้งสอง เพราะรู้สึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยมาก กับชื่อเสียงที่ตนมีอยู่ และเขารู้สึกขอบคุณคนทั้งสองสำหรับพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่. ดังนั้น ในปี 1361 จึงถือเป็นปีแห่งการเริ่มต้นเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องกรีกโบราณโดยบรรดานักมนุษยนิยม ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีกมากกว่า 300 ปีให้หลัง

Petrarch ในฐานะที่เป็นผู้เหมาะกับเรื่องของโรมันโบราณ ได้เขียนงานของตนขึ้นมาหลายชิ้นในภาษาละติน. ซึ่งถือว่าเป็นงานภาษาละตินที่มีความประณีตมาก แม้ว่ามันจะไม่ถึงกับสละสลวยเช่นดังงานที่ได้รับการเขียนขึ้นมาภายหลังโดยนักมนุษยนิยมคนอื่นๆก็ตาม ผู้ซึ่งได้มีโอกาสมากกว่าในการศึกษางานของนักเขียนละตินคลาสสิคอื่นๆ. แต่ในงานกวีที่มีเสียงสัมผัส หรือบทเพลงบรรยายความรู้สึกของ Petrarch นั้น เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นไปในด้านความรักของเขาที่มีต่อ Laura ล้วนเป็นภาษาอิตาเลี่ยน.

มีเหตุผลอยู่สองประการสำหรับทางเลือกของเขาเกี่ยวกับเรื่องที่ใช้ภาษาธรรมดา หรือพื้นๆ ที่เป็นภาษาถิ่น. ประการแรก, Dante ได้เขียนเรื่อง Vita Nuova ของตัวเอง, งานรวบรวมเกี่ยวกับบทเพลงบรรยายความรู้สึกเกี่ยวกับ Beatrice (ซึ่งเป็นหญิงคนรัก) ในภาษาอิตาเลี่ยน. Dante ยังได้ประพันธ์เรื่อง Divine Comedy ในภาษาอิตลาเลี่ยนด้วย.

ประการที่สอง, เป็นความปรารถนาของ Petrarch เองที่ต้องการฟื้นคืนการเรียนรู้แบบคลาสสิค โดยที่เขาคิดว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องไปพัวพัน หรือถ่ายทอดงานเขียนในภาษาคลาสสิคแต่อย่างใด. การอ่านเป็นเรื่องหนึ่ง, ส่วนการเขียนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง, และ Petrach ทราบว่า เพื่อที่จะดึงดูดจิตใจผู้อ่านอย่างกว้างขวางนั้น เขาจะต้องเขียนมันออกมาในภาษาพื้นเมือง. เขายังมีความต้องการที่จะยกระดับภาษาในชีวิตประจำวัน(นั่นคือภาษาอิตาเลี่ยน) ขึ้นมาสู่ระดับของความเยี่ยมยอด ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับมาตรฐานของภาษาละตินของยุคทอง. ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้, Boccaccio จึงได้เขียนงานชิ้นสำคัญๆหลักๆของเขาด้วยภาษาอิตาเลี่ยนเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมทั้งเรื่อง Il Filostrato (ซึ่งเป็นต้นตอที่มาของเรื่อง Troilus and Criseyde ของ Chaucer) และเรื่อง Decameron; งานชิ้นหลังนี้ได้รับการบรรยายในบทร้อยแก้วอันมีชีวิตชีวา และรักษารสชาติเอาไว้ได้ในภาษาอิตาเลี่ยน.

ในการพบปะกันของ Petrarch กับ Boccaccio ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องเกี่ยวกับการถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ของการเรียนรู้ และได้มีการวางแผนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จอันนั้น. พวกเขาได้กระตุ้นไอเดียของตัวเองต่อผู้คนทั้งหมดที่ต้องการจะฟังเขาพูด ซึ่งอันนี้รวมไปถึงองค์สันตะปาปาทั้งหลายด้วย, ผู้ซึ่ง เป็นไปตามโอกาสครั้งคราว ได้ใช้คนทั้งสองในภารกิจของฑูตสันทวไมตรี และด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้ทำให้เขาทั้งสองมีรายได้เป็นจำนวนมาก. และพวกเขายังจัดการหลายสิ่งหลายอย่างให้ได้มาซึ่งความสนใจของผู้คนเป็นจำนวนมากด้วย.

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ได้ทุ่มเทหยาดเหงื่อ และแรงกายลงไปมากที่จะฟื้นฟูการเรียนรู้ในเรื่องโบราณมากเช่นนี้จะได้ผลตามที่พวกเขาตั้งใจ. ในเดือนตุลาคม 1373, Boccaccio เริ่มต้นกระบวนวิชาอันหนึ่งขึ้นมา เกี่ยวกับการอ่านงานเขียนเรื่อง Divine Comedy โดยเปิดให้มีกิจกรรมดังกล่าวอย่างเป็นสาธารณะในโบสถ์ของ Santo Stefano ในเมือง Florence. เขาได้อ่านงานดังกล่าวโดยคลอไปกับการแสดงข้อคิดเห็น และอธิบายความต่างๆให้กับผู้ฟังที่เป็นคนธรรมดาที่อ่านหนังสือไม่ออกส่วนใหญ่ฟัง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้คนได้รู้ถึงความหมายและประเด็นของสิ่งที่ Dante ได้เขียนขึ้นมา.

ตำรับตำราที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับคำวิจารณ์และข้อคิดเห็นต่างๆยังคงเหลือรอดต่อมา. แต่มันได้สะดุดหยุดลง หลังจากโคลงบทที่ 17 ที่เกี่ยวกับเรื่อง inferno ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุเกี่ยวกับปัญหาทางด้านสุขภาพของ Boccaccio นั่นเองที่เขาต้องยุติงานสอนดังกล่าวลง ทั้งนี้เพราะ Boccaccio ได้ล้มเจ็บลงในต้นปี 1374. แต่อันนี้ก็ไม่ใช่สาเหตุเพียงประการเดียวเกี่ยวกับสุขภาพที่อ่อนแอของเขาซึ่งทำให้ต้องยุติกิจกรรมดังกล่าว. Boccaccio ถูกทำให้รู้สึกท้อถอยโดยการโจมตีอย่างเดือดดาลเกี่ยวกับการเรียนรู้อันนั้น ซึ่งมีต่อกิจกรรมที่เขาวางไว้ในการนำเอา Dante มาสู่ความสนใจและความเข้าใจของผู้คนธรรมดา.

นอกจากนี้ หัวใจของเขาต้องแตกสลายลงอีกครั้ง เพียงไม่กี่เดือนต่อมา เมื่อ Petrarch ต้องถึงแก่กรรมลง. Boccaccio ตัวเขาเองนั้นก็ถึงแก่กรรมลงเพียงอีก 18 เดือนหลังจากนั้นที่บ้านของเขาใน Certaldo. ผู้คนทั้งหลายต่างรักใน Boccaccio และ Petrarch, และพวกเขาต่างเข้าใจดีถึงสิ่งที่ผู้คงแก่เรียนทั้งสองปรารถนาที่จะทำ และมันเป็นสิ่งที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่น่าตะลึงพึงเพริดมากเมื่อผู้คนต่างกล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่า มาถึงตอนนี้ บทกวีทั้งหมดได้มาถึงวาระแห่งกาลสิ้นสุดลงแล้ว.

บทความนี้ ยังมีต่อ ซึ่งจะนำมาเผยแพร่ในสัปดาห์ต่อไป

Resporce:
//midnightuniv.org/midschool2000/index.html


โดย: การสร้างตัวของยุคเรอเนสซองค์: Boccaccio (Inventing the Renaissance: Boccaccio) (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:20:12:54 น.  

 
ณ วันที่ศาสตร์ต่างๆ มาพบกัน โดย จารุพรรณ กุลดิลก

ณ วันนี้ วันที่เทคโนโลยีเจริญเติบโตถึงขีดสุด ยังมีเหตุการณ์วิกฤตหลายต่อหลายเหตุการณ์บนโลก เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด การก่อความไม่สงบ ความขัดแย้งในสังคมและสงคราม ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง ประดุจความทุกข์ของมวลมนุษย์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ชวนให้คิดเสมอๆ ว่า “ฤา ความรู้ของมนุษย์จะยังไม่เพียงพอ” แต่เมื่อไตร่ตรองดีๆ แล้ว ศาสตร์ต่างๆ อาจเพียงพอแล้วก็ได้ แต่มนุษย์เราอาจจะขาดความรู้อย่างอื่น ซึ่งก็คือ “ความรู้ในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน”

ในหนังสือเรื่อง A History of Knowledge: Past, Present, and Future โดย ชาร์ลส์ แวน ดอเรน (Charles Van Doren) อดีตบรรณาธิการของสารานุกรมชื่อดัง Britannica ได้เขียนบรรยายความรู้และวิทยาการของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจ จุบัน รวมถึงแนวโน้มของความรู้ในอนาคต โดย แวน ดอเรน ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง ความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะเจาะจง รวมทั้งความรู้ที่พยายามเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และคว ามสุข (Relationship between Knowledge and Happiness) ทำให้ผู้อ่านได้เห็นความเพียรของมนุษย์ ในการศึกษาค้นคว้า เพื่อขจัดความไม่รู้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งการเตรียมการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาเดิมๆ เช่น ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และสงคราม อย่างไรก็ตาม เราจะได้เห็นความรู้ชุดใหม่ๆ ในการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น ดังที่องค์กรหลายๆ กลุ่มทั่วโลก เช่น สถาบัน IONS (Institute of Noetic Sciences) และมหาวิทยาลัยนาโรปะ สหรัฐอเมริกา กำลังสนใจ ในเรื่องของจิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) อันจะเป็นการแก้ไขวิกฤตการณ์ปัญหาใหญ่ๆ ในปัจจุบัน

โดยเฉพาะโลกในตะวันตกนั้น มีการศึกษาในเรื่อง จิตวิญญาณ (Spirituality) กันอย่างจริงจัง มีการศึกษาเชื่อมโยงกับศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งมีการเขียนและตีพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับจิตสำนึกใหม่มา กมาย เช่น หนังสือเรื่อง Paths beyond Ego โดย โรเจอร์ วอลฌ์ (Roger Walsh) และ ฟรานเซส วอฮาน (Frances Vaughan) ซึ่งพูดถึงการวิจัยในด้านจิตสำนึกที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันท ั่วโลกในขณะนี้ เช่นเรื่องการเจริญเติบโตทางด้านจิตใจของมนุษย์ การบำบัดและการแปรเปลี่ยน ความฝัน วิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณ ปรัชญา ความรัก ประสบการณ์ใกล้ตาย การรับใช้ และนิเวศวิทยา

หรือหนังสือเรื่อง The Quantum and the Lotus : A Journey to the Frontiers Where Science and Buddhism Meet ที่เป็นการสนทนาระหว่าง มัธธิเยอร์ ริคาร์ (Matthieu Ricard) นักบวชทิเบตอดีตนักเคมีและ ตรินฮ์ ซวน ธวน (Trinh Xuan Thuan) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง บนโจทย์ที่ว่า “จริงหรือที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบรับกับความต้องการทางจิตวิ ญญาณของมนุษย์ที่จะหยุดความทุกข์ และความเข้าใจในตัวตนของมนุษย์” และ “จะเป็นไปได้อย่างไรในการที่จะให้ค้นหาความหมายของจิตวิญญาณในเ ชิงศาสนาเมื่อวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งความรู้แหล่งเดียวบนโลก” ริคาร์ บอกว่าทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธเข้าหาความจริงบนทางที่แตกต่างกัน ธวนเห็นด้วยกับความคิดที่มนุษย์ต้องการความรู้ทางจิตวิญญาณพอๆ กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้อ่านเรื่อง บิ๊กแบง (Big Bang) กลศาสตร์ควันตัม ธรรมชาติของเวลา คอมพิวเตอร์และความคิด และธรรมชาติของจิตสำนึก ซึ่งล้วนมีธรรมชาติของความสัมพันธ์ ธวนบอกว่า การเกิดของสะเก็ดดาวในจักรวาล ทำให้สรรพสิ่งล้วนมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ทั้งมนุษย์ สัตว์โลก และพืชไพร เราต่างเชื่อมโยงกันผ่านห้วงของเวลาและสถานที่

นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่คลาสสิกยาวนานกว่า ๑๐ ปี ได้แก่เรื่อง Transformations of Consciousness โดย เคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) ที่ผสมผสานเรื่องจิตวิทยาและจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์ ด้วยถ้อยคำพื้นฐานที่เข้าใจง่าย เชื่อมโยงวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน หลุดพ้นจากพันธนาการด้วยจิตวิญญาณที่เติบใหญ่ เป็นคู่มือสำหรับหลายต่อหลายคนทั่วโลก

รวมทั้งหนังสือที่กล่าวขวัญกันยาวนานอีกเล่มชื่อ The Global Brain Awakens โดย ปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell) นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ที่กล่าวถึงภาวะคุกคามสรรพชีวิตบนโลก อันเกิดจากมายาและภาพลวงตา โดยเชื่อมโยงเรื่องกายวิภาคและสังคมศาสตร์ รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่และศาสตร์โบราณต่างๆ เข้าด้วยกัน รัสเซลล์อธิบายถึงศักยภาพของมนุษย์ในการมองเห็นที่มากกว่าการมอ งเห็นด้วยตา โดยผ่าน “จิตสำนึก” ทำให้สามารถเชื่อมโยงมวลมนุษย์เข้าด้วยกันเหมือนเซลล์สมอง ผ่านการสื่อสารและเครือข่ายต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเป็นรูปธรรม

เหล่านี้เป็นหนังสือที่กลุ่มจิตวิวัฒน์ได้รวบรวมขึ้น และได้รับความอนุเคราะห์จากห้องสมุดประชาชนแสงอรุณในการดูแลหนั งสือ โดยผู้ที่สนใจสามารถขอยืมอ่านได้จาก ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ เลขที่ ๖๔ ซ.สาธร ๑๐ ถ.สาธรเหนือ เขตบางรัก กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๑-๒๒๓๗-๐๐๘๐ ต่อ ๑๐๑ ทุกวันจันทร์-เสาร์ ตั้งแต่ ๐๙.๐๐-๑๘.๐๐ น.

ยังมีหนังสือที่น่าอ่านและน่าศึกษาอีกมากมายหลายร้อยเล่ม ซึ่งผู้เขียนไม่สามารถยกขึ้นมาได้ทั้งหมด จึงอยากเชิญชวนผู้ที่สนใจ สมัครเป็น Book Reviewer หรือผู้ถอดบทเรียนหนังสือ โดยมาร่วมอ่านร่วมเรียนรู้กับกลุ่มจิตวิวัฒน์ เพื่อเป็นก้าวต่อก้าวในการสั่งสมความรู้และศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างเชื่อมโยงกัน อันจะสร้างความเข้าใจและความสุขให้กับพี่น้องเพื่อนพ้องมนุษยชา ติบนโลกแห่งความแตกต่างนี้ ได้ในราคาถูก

หากท่านสนใจสามารถขอรายชื่อหนังสือและสอบถามรายละเอียดได้ที่โค รงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ๑๑๖๘ ถนนพหลโยธิน ๒๒ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๕๑๑-๕๘๕๕ ต่อ ๑๒๙, โทรสาร ๐๒-๕๑๑-๕๘๕๕ ต่อ ๑๔๕ หรือ อี-เมล์: NewConsciousness@thainhf.org

จารุพรรณ กุลดิลก
กลุ่มจิตวิวัฒน์
โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
NewConsciousness@thainhf.org
ตีพิมพ์ใน มติชนรายวัน ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘

Resource:
//www.praphansarn.com/new/forum/forum_posts.asp?PN=50&TID=733


โดย: ณ วันที่ศาสตร์ต่างๆ มาพบกัน โดย จารุพรรณ กุลดิลก (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:20:15:47 น.  

 
Wonderful goods from you, man. I've understand your stuff previous to and you are just too magnificent. I actually like what you have acquired here, certainly like what you are saying and the way in which you say it. You make it entertaining and you still care for to keep it smart. I cant wait to read far more from you. This is actually a great web site.
Cheap Louis Vuitton heels //www.indianpod.com/louisvuitton/Cheap-Louis-Vuitton-heels.html


โดย: Cheap Louis Vuitton heels IP: 94.23.252.21 วันที่: 17 กรกฎาคม 2557 เวลา:9:52:15 น.  

 
I was just looking for this information for some time. After 6 hours of continuous Googleing, finally I got it in your web site. I wonder what is the lack of Google strategy that do not rank this kind of informative sites in top of the list. Usually the top websites are full of garbage.
mulberry sale //www.tnsi.com/pinterests.aspx


โดย: mulberry sale IP: 94.23.252.21 วันที่: 13 สิงหาคม 2557 เวลา:1:41:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.