|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
165. บัตรทอง บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1 ใน 1,000 ผลงานที่ดี ของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทย

บัตรทอง : สิทธิของคนไทย หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นบัตรที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ
1 ใน 1,000 ผลงานที่ดีของท่านนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และ ไทยรักไทย

บัตรทอง : สิทธิของคนไทย หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นบัตรที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ
** โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง
* การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ทั้งก่อนและหลังคลอดการคลอด การคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง
* การดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้ง วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
* บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส การคุมกำเนิด
* การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
* ค่ายาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
* ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
* การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการ คุ้มครองโรคค่าใช้จ่ายสูง
* ผ่าตัดตาต้อกระจก
* ผ่าตัดหัวใจ
* บำบัดรักษามะเร็ง
* การใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
* ยาต้านไวรัสเอดส์
* ล้างไตทางช่องท้อง สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อให้การดูแลรักษาโรคก่อนถึงระยะอันตราย ได้แก่ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อเฝ้าระวังโรคเบาหวาน ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านม เป็นต้น
บริการทันตกรรม ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันฟันผุ และการทำฟันปลอมฐานพลาสติก บริการการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ยาสมุนไพรหรือยาแผนไทย การนวดเพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ การอบหรือประคบสมุนไพรเพื่อการรักษา
บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
คนพิการตาม พรบ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 หรือคนพิการที่ได้รับการตรวจประเมินว่ามีความพิการอยู่ในเกณฑ์ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และได้รับการลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิบัตรทอง (ท.74)สามารถขอรับบริการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการได้
นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรทองยังได้รับความคุ้มครอง ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือได้ภายใน 1 ปี หลังจากทราบว่าได้รับความเสียหาย
ทำอย่างไร? จึงจะมีสิทธิบัตรทอง
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย
ดังนั้น ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้
ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น
1. ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีการ ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
2. ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
3. ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
- สถานีอนามัย - โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนทำบัตรได้ที่
- สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
- ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ ชั้น M สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาคารจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล 200 ม.4 ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 08.30 16.30 น
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง ?
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กต่ำอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด) 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่ 3. แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ (ดาวน์โหลด)
กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
2. หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
3. หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
4. เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง
การใช้สิทธิบัตรทอง
ผู้ประสงค์ใช้สิทธิบัตรทองให้แสดงบัตรทอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้ารับบริการสาธารณสุข ได้ที่หน่วยบริการประจำที่ระบุในบัตรก่อนทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
กรณีเจ็บป่วยทั่วไป
1. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตร ประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้
การวินิจฉัยว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้
1. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
2. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
3. โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
4. โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วนในการรักษาประกอบด้วย
แนวทางการใช้สิทธิ คือ
1. เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2551)
กรณีอุบัติเหตุ
ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยประจำครอบครัวได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ กรณีได้ประสบอุบัติเหตุทั่วไป
1. ควรเข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด 2. แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด) กรณีประสบภัยจากรถ
ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย 1.เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
1.1 แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
1.2 หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
2.เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
2.1 แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย 2.2 ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง 2.3 หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด) หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย
การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง
1. เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
3. หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค
หน่วยบริการประจำ คืออะไร
หน่วยบริการ หมายถึง โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานพยาบาลของเอกชน ศูนย์บริการสาธารณสุข ที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
หน่วยบริการประจำ หมายถึง หน่วยบริการที่ผู้มีสิทธิบัตรทองเลือกลงทะเบียนเพื่อรับบริการสาธารณสุขประจำ โดยทั่วไปจะเป็นหน่วยบริการที่มีสถานที่ตั้งใกล้เคียงกับที่อยู่ของผู้มีสิทธิบัตรทอง
การขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ สามารถติดต่อขอเปลี่ยนได้ที่หน่วยบริการ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานเขตของ กทม. ในวันเวลาราชการ โดยเปลี่ยนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต่อปี (ตุลาคม - กันยายนของปีถัดไป) ทั้งนี้ การขอรับบริการ ณ หน่วยบริการแห่งใหม่ สามารถใช้สิทธิไม่เสียค่าใช้จ่ายได้หลังการแจ้งความจำนงประมาณ 1 เดือน
สิทธิบัตรทอง...ดูแลทุกวัย...อุ่นใจใกล้บ้าน
กลุ่มที่ได้รับการคุ้มครอง
การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการควบคุมโรค
1. การตรวจและดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ 2. การดูแลสุขภาพเด็ก พัฒนาการและภาวะโภชนาการ รวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามแผน งานการให้ภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ 3. การตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง 4. การวางแผนครอบครัว (ยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ห่วงอนามัย ยาฝังคุมกำเนิด และการทำหมันถาวร) 5. ยาต้านไวรัสเอดส์ กรณีป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ตั้งครรภ์สู่ลูก 6. การเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 7. การให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการในระดับบุคคลและครอบครัว 8. การให้คำปรึกษา (counseling) และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ 9. การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำ ด้านทันตสุขภาพ การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ รวมทั้งการเคลือบหลุมร่องฟัน
บริการด้านการตรวจวินิจฉัย
1. การตรวจ การวินิจฉัย การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา ทั้งนี้ รวมถึงการแพทย์ทางเลือกที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. การคลอดบุตร รวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรคลอดแล้วรอดออกมามีชีวิต)โดยนับตั้งแต่ใช้ สิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3. ค่าอาหาร และค่าห้องสามัญ
4. การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันปลอมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาท ฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่
5. ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
6. การจัดส่งต่อเพื่อการรักษาระหว่างหน่วยบริการบริการทางการแพทย์ที่ผู้มีสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครอง
♦กลุ่มบริการที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน
1. การรักษามีบุตรยาก
2. การผสมเทียม
3. การเปลี่ยนเพศ
4. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
5. การตรวจวินิจฉัย และรักษาใดๆ ที่เกินความจำเป็นและไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
6. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
♦กลุ่มบริการที่มีงบประมาณจัดสรรเป็นการเฉพาะ
7. โรคจิต กรณีที่ต้องรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในเกินกว่า 15 วัน
8. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดและสารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยาเสพติด
9. อุบัติเหตุการประสบภัยจากรถและผู้อยู่ในความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประสบภัยจากรถเฉพาะส่วนที่บริษัทหรือกองทุนตามกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้จ่าย หลังจากใช้สิธิ พ.ร.บ. ครบจึงจะสามารถใช้สิทธิ ♦ กลุ่มบริการอื่นๆ
10. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยในเกินกว่า 180 วัน ยกเว้นกรณีมี ความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากการแทรกซ้อน หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
11. การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไต (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
12. การเปลี่ยนอวัยวะ (Organ Transplant)

Create Date : 01 พฤษภาคม 2552 |
Last Update : 1 พฤษภาคม 2552 23:06:23 น. |
|
0 comments
|
Counter : 4164 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|