" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 

015. บทที่ 3. เจตจำนงทั่วไป ผิดพลาดได้ หรือ ไม่ ?

บทที่ 3. เจตจำนงทั่วไป ผิดพลาดได้ หรือ ไม่ ?




จากที่กล่าวมาแล้ว ผลจึงว่าเจตจำนงทั่วไปย่อมมีความเที่ยงตรงและมุ่งไปหาประโยชน์ส่วนรวมเสมอ

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ข้อปรึกษาหารือของราษฏรจะมีลักษณะชอบด้วยเหตุผลเสมอไป

ผู้ทำหน้าที่ปกครองย่อมปรารถนาดีต่อราษฏรอยู่เสมอก็จริง แต่อะไรคือความดีที่ราษฏรต้องการนี่เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองหาทราบเสมอไปไม่

ผู้ปกครองย่อมไม่ประสงค์จะนำราษฏรไปในทางชั่ว แต่ผู้ปกครองที่มักจะหลอกลวงราษฏรเนืองๆ เมื่อมีการหลอกลวงเช่นนี้ ก็อาจทำให้เข้าใจกันได้ว่าผู้ปกครองมีความประสงค์ร้ายต่อราษฏร





อนึ่ง เจตจำนงทั่วไปกับเจตจำนงของทุกคนนั้นย่อมผิดแผกแตกต่างกัน เจตจำนงทั่วไปย่อมมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ส่วนเจตจำนงของทุกคนนั้นมักจะมุ่งประโยชน์ส่วนตัว อันที่จริงที่เรียกว่าเจตจำนงของทุกคนนั้น ก็คือจำนวนรวมแห่งเจตจำนงของเอกชนนั่นเอง

เมื่อราษฏรที่มีความรู้เพียงพอ มีความจำเป็นจะต้องพิจารณาทำความเห็นในปัญหาเรื่องใด แม้ในเบื้องต้นราษฏรจะมีความเห็นแตกต่างกัน แต่ไปๆมาๆในที่สุดราษฏรส่วนใหญ่ก็จะต้องมีความเห็นตรงกัน ความเห็นนี้มักจะถูต้องเสมอ และ กลายเป็นเจตจำนงทั่วไปขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีบุคคลบางกลุ่มคบคิดกันคิดไม่ซื่อ หรือ เกิดมีการแบ่งแยกเป็นชมรมย่อยๆขึ้นอย่างไม่เป็นผลดีต่อสังคมหรือรัฐ เจตจำนงของกลุ่มชนหรือชมรมนั้นๆ ก็อาจมีลักษณะทั่วไปได้เหมือนกัน แต่ก็คงเป็นเจตจำนงทั่วไปภายในวงกลุ่มชนหรือชมรมดังกล่าวเท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับสังคมหรือรัฐมั่นคง เป็นเพียงเจตจำนงเอกเทศ ทั้งนี้ทำให้กล่าวได้ว่าจำนวนผู้ออกเสียงมีไม่เท่ากับจำนวนคน คงมีเท่ากับจำนวนกลุ่มชนหรือชมรมเท่านั้นเอง

อนึ่ง ถ้าหากกลุ่มชน หรือ ชมรมใดมีลักษณะใหญ่โต จนมีอิทธิพลเหนือกลุ่มชน หรือ ชมรมอื่นๆทั่วไปหมด ก็จะต้องถือว่าความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มชนกับชมรมทั้งมวล คงเป็นเพียงความเห็นเดียว ไม่ใช่มากมายหลายความเห็น และ ความเห็นเดียวที่ว่านั้น ก็ไม่ใช่เจตจำนงทั่วไป คงเป็นแต่เพียงความเห็นเอกเทศ





ฉะนั้น หากจะต้องการให้เจตจำนงทั่วไปปรากฏออกมาอย่างแจ้งชัด ก็ไม่ควรจะให้มีชมรมย่อยๆขึ้นในรัฐ ทั้งจะต้องให้พลเมืองแต่ละคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

ทรรศนะเช่นนี้ ไลเคอร์กัส (ไลเคอร์กัส คือ นักบัญญัติกฏหมายลือนามแห่งรัฐสปาต้าในสมัยโบราณ เกิดและตายในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสกาล เป็นผู้ปฏิรูปการปกครองของสปาร์ต้าอย่างขนานใหญ่พร้อมกับให้รัฐนั้นมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักฐานด้วย) ได้เคยนำออมาใช้แล้ว ทำให้รัฐสปาร์ต้ามีสถาบันที่เลอเลิศอย่างหนึ่งไม่มีสอง อย่างไรก็ตามหากจำเป็นจะต้องมีชมรมย่อมๆขึ้นในรัฐแล้ว ก็จำจะต้องมีให้มากชมรมทั้งจะต้องคอยป้องกัน มิให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงขึ้นในระหว่างชมรมเหล่านั้น ด้วยดังที่ โซลอน(โซลอน คือ นักกฏหมายเรืองนามแห่งกรุงเอเธนส์ เกิดราวปีที่ 640 และ ตายในปี 559 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้ปฏิรูปภาวะสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งปรับปรุงรัฐธรรมนูญของเอเธนส์ ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น) , นูมา ( นูมา ปอมปีลิอุส คือ พระราชาองค์ที่ 2 แห่งกรุงโรม ชาตะปีที่ 714 มรณะปีที่ 671 ก่อนคริสตกาล เป็นนักบัญญัติกฏหมายและนักสันตินิยม) และ แซร์วิอุส (แซร์วิลอ๊ส ดุลลิอ๊ส คือ พระราชาองค์ที่ 6 แห่งกรุงโรม ชาตะปีที่ 578 มรณะปีที่ 534 ก่อนคริสตกาล เป็นผู้แบ่งพลเมืองออกเป็นห้าชั้นตามฐานะทรัพย์สิน) ต่างเคยปฏิบัติมาแล้วในยุคกระโน้น

การวางมาตรการป้องกันตามนัยนี้ ย่อมเป็นทางเดียวที่จะทำให้เจตจำนงทั่วไปถูกต้องอยู่เสมอ และ ราษฏรก็จะแสดงเจตจำนงออกมาอย่างไม่ผิดพลาด






ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจาก //www.เนื้อเรื่องคัดลอกมาจาก หนังสือ สัญญาประชาคม CONTRACT SOCIAL
ของ จัง จ๊ากส์ รุสโซ่
แปลและเรียบเรียงโดย จินดา จินตนเสรี
พิมพ์ที่ ศิริพรการพิมพ์ พ.ศ.2522





 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2553
0 comments
Last Update : 4 พฤษภาคม 2553 21:58:09 น.
Counter : 5674 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.