0038. THE NEW LAW OF DEMAND AND SUPPLY : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร


เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2546 ในการประชุมเรื่อง "นโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา" ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี มูลนิธิวชิรเวชวิทยา ซอย ศูนย์วิจัย กรุงเทพฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง หนังสือเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับอุปสงค์ และ อุปทาน ดังนี้.....
 ... the laws of demand and supply ...
...." โลกใหม่ เขาให้กลับขั้ว เขาใช้ยุทธศาสตร์ ด้านอุปสงค์ มีหนังสือเล่มใหม่ปี ค.ศ.2002 นี้ ชื่อ The New Law of Demand and Supply เขียนโดย ริค คาช เขาพูดถึงว่า ตอนนี้ทุกอยางต้องเริ่มต้นที่ด้านอุปสงค์ เช่นเดียวกับมหาวิทยายาลัยที่ดี ศูนย์กลางต้องอยู่ที่นักศึกษา ไม่ใช่ศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัย ต้องอยู่ที่การศึกษา เช่นเดียวกับวันนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ต้องรับมอบภารกิจ เพราะเลขาธิการสภาพัฒน์ นั่งอยู่ที่นี่ ต้องสามารถพยากรณ์ทิศทางของโลกว่าโลกจะไปทางไหน แล้วเราควรจะมียุทธศาสตร์ของเราอย่างไร เมื่อรู้ว่ายุทธศาสตร์ของเรานั้นเป็นอย่างไร ต้องมีทรัพยากรบุคคลรองรับยุทธศาสตร์นั้นอย่างไร ต้องมีทรัพยากรรองรับแขนงไหน อย่างไร เท่าไร เมื่อไร แล้วจึงดำเนินการวาปี พ.ศ. ใด ควรจะผลิตบัณฑิตอะไร อย่างไร
" ถ้าเป็นเช่นนี้ จะแสดงให้เห็นว่า ความคล่องตัวของมหาวิทยาลัยที่ต้องปรับตัวเพื่อให้สายการผลิตของตนเองนี้ ปรับตัว มีสูงมาก ซึ่งย้อนจากที่ผมพูดเมื่อสักครู่นี้ไหมว่า ถ้าคณะใดต่างคนต่างอยู่ และ สร้างอาณาจักรให้โตขึ้นเรื่อยๆ บางสาขาเป็นความรู้ที่ตายแล้ว หรือ เป็นสาขาที่กำลังจะตายในความต้องการของโลกหน้า แต่บังเอิญว่าคณบดีคณะนี้มีพลังที่ดี สามารถบริหารให้คณะตนเองโตได้อย่างเต็มที่ ปรับงบประมาณได้ทั้งหมด เสร็จเลย ฉะนั้น ต้องบอกได้ว่าต่อไปประเทศไทยต้องการอาชีพอะไร ? เท่าไร ? เช่นเดียวกับอุตสาหกรรม ถ้าผมมีต้นแบบสินค้าชนิดนี้ และ ผมยืนยันจะผลิตสินค้าชนิดนี้เพราะผมมีต้นแบบสินค้าอยู่แล้ว ผมก็จะผลิตขายอยู่เรื่อยๆ และ ในที่สุดผมก็จะขาดทุนเพราะขายไม่ออก เพราะคนไม่ต้องการ ผมจะต้องมีความคล่องตัวในการปรับสายการผลิต เปลี่ยนตนแบบสินค้าได้ จะผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการซื้อเท่านั้น ผมจึงจะขายได้ ผมจึงจะรอด ฉะนั้น การผลิตของมหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน ต้องผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับความต้องการของประเทศ แต่วันนี้ไม่มีใครบอก จะโทษมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีใครบอก มหาวิทยาลัยก็ใช้ยุทธศาสตร์ด้านอุปทาน Supply Side Strategy ตลอดเวลา มีหน้าที่มาบอกทบวงว่า ปีนี้ผมสามารถรับได้เท่านี้ เช่น คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รับได้....คน จุฬา รับได้ ... คน รามคำแหงไม่อั้น สุโขทัยไม่อั้น จะออกมาในรูปแบบนี้ และ ถามว่าต่อไปนี้ เรายังต้องการนักกฏหมายอีกไหม คำตอบคือต้องการ แต่จำนวนน้อยลงหรือไม่ อะไรทำนองนี้
"ต้องมีการดำเนินการตรงนี้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาพัฒน์ สภาพัฒน์ มีหน้าที่มาก แต่ไม่จำเป็นต้องทำเอง ทำสัญญาให้ใครไปทำการศึกษาเรื่องนี้ว่าประเทศไทยจะสู้กับเขาได้ในอนาคตนั้น ประเทศไทยต้องไปทางไหน และ มีบุคลากรรองรับเท่าไร แล้วจึงผลิต ต้องมีตรงนี้ จึงจะเรียกว่าเป็น Demand Side Strategy ถ้าใครยังผลิสินค้ามากๆอยู่ ขาดทุนเพราะผลิตแล้วขายไม่ออก
"ฉะนั้น การวางแผนจาก Supply Side Strategy จึงเป้นสิ่งที่ผิดพลาด และ จะพลาดไปถ้าเรายังปล่อยให้การศึกษาของเราเป็น Supply Side Strategy ต่อไป จะไม่สามารถรองรับความต้องการของประเทศ เชื่อไหมว่า สิ่งที่ผมพบวันนี้ เวลาจะทำอะไร หาคนที่เหมาะสมกับสิ่งที่จะให้ทำ หาได้ยากมาก การสรรหาบุคคลสักที เช่น ผู้อำนวยการรัฐวิสาหกิจทั้งหลาย นี่คือสิ่งที่น่าเศร้า เพราะเราไม่มีคนเพียงพอในการขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต เพราะระบบการศึกษาขาดการวางแผนที่ถูกต้อง ฉะนั้น วันนี้เรื่องการวางแผนในการผลิตจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องทำ และ ต้องมอบให้สภาพัฒน์ฯ เป็นหลักร่วมกับอุดมศึกษา
"ผมอยากขอให้มีการพัฒนาร่วมกันในเรื่องของการวางยุทธศาสตร์ โดยอาศัย Demand Side Strayegy ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางแผน การพัฒนา การทำวิจัย การทำวิจัย ก็ต้องอาศัย Demand Side ไม่ใช่ว่าใช้ความรู้สึกว่าเราอยากจะทำอะไรก็จะทำ อยากจะทำวิจัยอะไรก็จะทำ ส่งรายงานมาว่า ขอทำเรื่องนี้ แต่ถ้ามีพื้นฐานว่าเราควรจะหาความรู้เรื่องอะไรก็ทำวิจัยเรื่องนั้น ทุกอย่างผมขอให้ไป Focus on Demand Side Strategy เช่นเดียวกับธุรกิจที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลก็เหมือนกัน ต้องมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง คิดอะไรต้องคิดว่าประชาชนได้อะไร ทำอย่างนี้ประชาชนได้อะไร ฉะนั้นการพัฒนาของรัฐบาลมีสองส่วน ส่วนหนึ่งพัฒนาโดยตรงไปยังประชาชน ส่วนที่สองพัฒนาไปยังกระบวนการเพื่อประชาชน คือ ต้องทำเรื่องกระบวนการเพื่อปรับปรุงการบริการให้กับประชาชน ทุกอย่างต้องมีเป้าหมายไปยังประชาชน คือ เป้าหมายพื้นฐานทั้งหมด เช่นเดียวกับลูกค้าของมหาวิทยาลัย คือ นักศึกษา"

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง "แนวคิดใหม่ของการบริหารราชการแผ่นดิน" ให้แก่นักสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการบริหารการปกครองระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 6 ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเมือง จังหวัดนนทบุรี มีข้อความตอนหนึ่งว่า...
..."หนังสือที่ออกมาประมาณสัก 10 กว่าปีหลัง เป็นหนังสือที่เขียนในแนวเดียวกันหมด เพราะกระบวนทัศน์บริบท กระบวนทัศน์ในความคิด มันเปลี่ยนจากการที่ตัวเองเป็นศูนย์กลาง กลับไปสู่ที่ ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง วันนั้น ที่ผมไปบรรยายให้คณบดีกับหัวหน้าคณะภาพวิชาฟัง ผมบอกว่า มหาวิทยาลัยไทยนี่ เป็นลักษระใช้ Supply Side Strtegy คือ มหาวิทยาลัยก็คิดเพียงว่า คณะของข้าพเจ้าจะผลิตปีนี้ ได้เท่าไร ข้าพเจ้าก็จะรับเท่านั้น แต่ไม่ได้คิดว่าความต้องการของประเทศ ความต้องการของเยาวชนที่ต้องการจะเรียน ต้องการจะเรียนคณะไหน อย่างไร เท่าไร หรือ ต้องการผลิตคนอย่างไหน อย่างไร เพราะว่ามันไม่มี ไม่มีมหาวิทยาลัย ก็เป็นคนคิด Supply Side แม้กระทั่งตำราออกมา 10 กว่าปี เกือบ 20 ปี พวกเราก็ยัง Supply Side อยู่ อันนี้อันตราย

..."หนังสือเล่มล่าสุดที่ออกมา คือ The New Law of Demand and Supply เขียน โดย รัค คาซ ออกมาปีนี้ กลางปี ปลายปี 2002 ซึ่งมันเป็นหนังสือที่ความจริงแล้วไม่ใหม่ แต่มันต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยที่ออกมา ตั้งแต่เรื่อง Inside-out, Outside-in ของ IBM บริษัท IBM พังในช่วงนั้น เพราะ Inside-out ( คิดจากความต้องการของตัว) หรือ เป็น Supply Side Strategy คือ คิดว่า ผมอยากจะผลิตอะไร ผมมีความรู้อย่างนี้ ผมจะผลิตอย่างนี้ ราคาผมก็จะกำหนดว่า ต้นทุนผมได้เท่านี้ ผมก็จะขายเท่านี้ อันนี้เป้นสิ่งที่มันผิดมาอย่างต่อเนื่อง 10 กว่าปี เหมือนกันครับ การบริหารประเทศ ถ้าเมื่อไหร่การบริหารประเทศรัฐบาลคิดเอาเอง ผมอยากจะทำอย่างนี้ แต่ไม่รู้ความต้องการนี้หรือเปล่า พัง งบประมาณเท่าไรก็เอาไม่อยู่ เพราะว่ารัฐบาลคิดเอาเอง ไม่รู้ว่าความต้องการจริงๆคิดอะไร ยกตัวอย่างที่เราล้อกันเล่นสมัยก่อน เขาอยากได้บ่อน้ำบาดาล เราเอาอะไรไม่รู้ไปยัดเยียดให้เขา เขาก็รับไปทั้งที่ไม่ต้องการ เพราะว่าเรายัดเยียดให้เขา เพราะฉะนั้น วันนี้ จุดการปฏิรูประบบราชการนี้ ปฏิรูปเพื่อที่จะปรับระบบให้ราชการยอมรับว่าประชาชนคือศูนย์กลาง ปรับระบบเพื่อให้เกิดการบริการที่ดีขึ้น แต่แน่นอนครับ การปรับระบบมันปรับโครงสร้างเสร็จต้องปรับวัฒนธรรม ใช้เวลา สิ่งที่เราปฏิรูประบบราชการนั้นก็คือว่า เราเอาลักษณะของงานที่เหมือนกันเกี่ยวเนื่องกันมารวมกัน ให้มากที่สุสด เท่าที่จะทำได้"
Create Date : 06 มีนาคม 2551 |
Last Update : 7 มีนาคม 2551 9:19:46 น. |
|
9 comments
|
Counter : 2537 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: moonfleet วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:43:50 น. |
|
|
|
โดย: นโยบายการพัฒนาระบบอุดมศึกษา (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:44:46 น. |
|
|
|
โดย: แนวนโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2546 (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:50:24 น. |
|
|
|
โดย: Demand Strategy (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:21:52:57 น. |
|
|
|
โดย: "นโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา" (moonfleet ) วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:22:00:10 น. |
|
|
|
โดย: Demand-side innovation (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:8:33:03 น. |
|
|
|
โดย: Demand-side or Border-Out issues: ... (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:8:34:33 น. |
|
|
|
โดย: On the demand side, the government ... (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:8:38:09 น. |
|
|
|
โดย: Demand Side Policy Needed to Extend the Information Highway (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:8:42:07 น. |
|
|
|
|
|
เรื่อง นโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2546
ณ อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี
ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายแก่คณบดี
หัวหน้าภาควิชา และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่อง นโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา
สรุปได้ดังนี้
1) การปฏิรูปการศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การจัดการอุดมศึกษาจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกรอบกระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift) สถาบันอุดมศึกษาจะต้องผลิตบัณฑิตตามความต้องการของตลาดหรือผู้เรียน (Demand Side) และมุ่งสร้างประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเป็นสำคัญ
2) แนวทางสำคัญในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
2.1) การบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย ควรมีลักษณะดังนี้
ความยืดหยุ่น (Flexible) และคล่องตัว ไม่ควรมี
เส้นแบ่งเขตแดน (Border Line) ระหว่างภาควิชา คณะ ในลักษณะที่ต่างคนต่างอยู่ แต่ควรสนับสนุนให้มีความร่วมมือทางวิชาการ
ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ควรส่งเสริมให้
บุคลากรในมหาวิทยาลัย/สถาบันมีความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของสถาบันร่วมกัน (Sense of Ownership) ควรส่งเสริมการสร้างระบบเครือข่ายความรู้และการใช้ทรัพยากร (Share Resource) ทุกประเภทร่วมกันในระหว่างภาควิชา คณะ ระหว่างมหาวิทยาลัย และนอกมหาวิทยาลัย โดยมุ่งพัฒนาที่ Software และตัวอาจารย์ แทนการลงทุนด้าน Hardware
2.2) การบริหารระบบห้องสมุด ควรพัฒนาให้ห้องสมุดมีความน่าสนใจ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library) ที่จัดหาหนังสือที่ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ เช่น E-Book, E-Library เพื่อจูงใจให้นักศึกษาสนใจที่จะเข้าห้องสมุดและใช้ประโยชน์จากห้องสมุดอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันอาจารย์จำเป็นต้องพัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ของตัวเองอยู่ตลอดเวลาด้วย
2.3) การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งความรู้ที่มาจากผลงานวิจัยของอาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมสังคมไทยสู่การเป็นสังคม ฐานความรู้ (Knowledge Based Society) โดย
ต้องมุ่งให้ความสำคัญต่อระเบียบวิธีวิจัย
มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆและถูกต้องแก่สังคม และมีการแสวงหาคำตอบที่เป็น วิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องมือวัดที่ถูกต้อง (Validity) และน่าเชื่อถือ (Reliability)
การสร้างระบบการจูงใจ (Incentive) ให้กับนักวิจัย
ทั้งด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career Path) และด้านการเงิน ได้แก่ การจัดสรรทุนสนับสนุนการทำวิจัย และผลตอบแทนจากลิขสิทธิ์ผลงานวิจัย
2.4) การกำหนดเป้าหมายและวางแผนการผลิตกำลังคนของประเทศ ควรพิจารณาจากความต้องการกำลังคนของตลาดเป็นตัวกำหนด (Demand Strategy) โดยมอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และ วางแผนความต้องการกำลังคนของประเทศโดยประสานกับทบวงมหาวิทยาลัย สำหรับในระดับสถาบัน อุดมศึกษาต้องมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับเป้าหมายความต้องการกำลังคนของประเทศได้ตลอดเวลา
2.5) การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตบัณฑิต ควรปรับปรุง
จากเดิมที่มีการผลิตจำนวนมากตามความสามารถในการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษา (Mass Production) เปลี่ยนเป็น การผลิตตามความต้องการของผู้ใช้ (Mass Customization) เพื่อให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดหรือสังคม และเน้นความเชื่อมโยงกับชุมชนและสังคม รวมถึงการพิจารณาระบบการรับเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษา (Admission) ให้มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเอื้อให้นักศึกษาได้เรียนในวิชาหรือหลักสูตรที่ตนชอบหรือต้องการเรียนให้มากที่สุด และเกิดจิตวิญญาณในการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ และใฝ่เรียน
2.6) การพัฒนาการศึกษาที่มุ่งให้บัณฑิตมีความรู้ใน
ศาสตร์หลายๆศาสตร์ (Multidisciplinary) มีการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Student Center) เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข่าวสารและเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่ๆจากองค์ความรู้พื้นฐาน เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) รวมทั้งเน้นเนื้อหาของหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อมุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรู้และสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยควรลดความเป็นระบบราชการ
(Debureaucratization) โดยผ่อนคลายกฎหรือระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ และสามารถส่งเสริมให้เกิดความรู้ เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเทียบโอนหน่วยกิต การเทียบโอนความรู้ ควรสร้างวัฒนธรรมและทัศนคติใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาที่สนับสนุนให้สามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการได้อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา รวมถึงการที่ครูอาจารย์ ควรให้ความเอาใจใส่ต่อลูกศิษย์ เสมือนเป็นลูกหลาน และพร้อมให้คำปรึกษา ความเข้าใจ และ คำแนะนำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของสังคมได้
Resource:นโยบายในการพัฒนาระบบอุดมศึกษา