0018. THE ATTENTION ECONOMY : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร


เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2544 นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐากถาเรื่อง "อนาคตประเทศไทยที่ผมอยากเห็น" เนื่องในวันประชุมสามัญประจำปีของสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ณ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัลพลาซ่า กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า...
..."อนาคตผมจึงอยากเห็นการบริหารจัดการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนคำงถึง Efficiency ให้มากที่สุด มีหนังสือออกมาอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่า Thw Attention Economy (ความใส่ใจในเศรษฐกิจ) ตอนนี้กำลังวางขายอยู่ เขียนโดย ดาเวนพอร์ต และ เบ็ค เขาพูด Efficiency ออกไปอีกทางหนึ่ง เขาบอกว่าวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมายไปหมด ใครก็รู้อย่างชั้นนี้ เขาเรียกว่า Awareness เรามีแต่ Awareness เรายังขาดการนำสิ่งที่เป็นประสบการณ์เป็นความรู้ เป็นตัวเลขทั้งหลายนำมาวิเคราะห์หยิบมาใช้ให้ถูกและใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่ ตรงขั้นนี้เรียกว่า Attention Economy ที่เราพยายามจะทำเรื่องของผู้ว่าราชการจังหวัดในลักษณะของ CEO นั้น สรุปแล้วจังหวัดของเราไม่มีเจ้าภาพ เมื่อไม่มีเจ้าภาพ ผู้ว่าราชการจังหวัดถูกมองว่าเป็นตัวแทนของมหาดไทย เกษตรจังหวัดเป็นตัวแทนของเกษตร ต่างคนต่างเป็นตัวแทนของแต่ละกระทรวง เท่ากับย้ายกระทรวงไปอยู่ในจังหวัด โดยไม่มีเจ้าภาพ ในรัฐบาลยังมีนายกเป็นเจ้าภาพ เมื่อไม่มีเจ้าภาพ ก็คือไม่มี Attention เมื่อไม่มี Attention ก็ไม่เกิด Proper Economy เพราะฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องหาเจ้าภาพ"
"เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับปรุงระบบบริหารการจัดการใหม่ เพื่อให้การเคลื่อนตัวของประเทศมีความเร็วที่เร็วกว่าเดิม นี่คือสิ่งที่อยากจะเห็น อยากจะเห็นต่อเนื่องจากเมื่อครู่นี้ Attention Economy R (Research) and D (Development) , S (Science) and T (Technology) พวก Internet พวก SIS (Geographical Information System) ทั้งหลาย ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด วันนี้เราใช้แต่กระจัดกระจายอยู่กันคนละที่คนละทาง ไม่มีเจ้าภาพที่จะรวมพลังสิ่งเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่มีการบอกผู้บริหารทั้งหลายว่า สิ่งเหล่านี้ Available เพื่อให้ท่านใช้ประกอบในการทำ Attention Economy คนยังไม่รู้ว่าเรามี GIS แล้ว เราทำอะไรได้บ้าง GIS สามารถใช้ในเรื่องของการจัดวางตำแหน่งเจ้าหน้าที่ได้ เพราะเราจะได้ดูว่าตำแหน่งของประชากรอยู่ตรงไหน มากน้อยเพียงใด นั่น คือ การมองภาพทางภูมิศาสตร์ คือ Geographical Information System เรื่องของการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี"

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2544 นายกรัฐมนตรี บรรยายในหัวข้อ "เศรษฐกิจประเทศไทยในสถานการณ์โลกใหม่" ต่อที่ประชุมหอการค้าทั่วประเทศ จังหวัดเชียงราย มีข้อความเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้อีกว่า...
..."ผมมีหนังสืออีกเล่มหนึ่ง คือ The Attention Economy คือ เราจะต้องให้ความละเอียด สนใจศึกษาลงไปลึกแล้วเราจะเห็นช่องทางในเศรษฐกิจอีกมากมาย แต่ ถ้าเราผิวเผิน มันก็ผิวเผินอยู่อย่างนั้น ฉะนั้น วันนี้ผมจึงมี TTR คือ มีผู้แทนการค้าไปทำหน้าที่เสริมรัฐมนตรี เพราะรัฐมนตรีไปไม่ไหวหรอกครับ ทุกๆที่ วันนี้ตลาดโลกยังมีอีกมาก ผมจึงคิดในแง่บวกว่า ผมไม่เคยคิดว่าประเทศไทยหมดความหวัง"
 ... of the Attention Economy is the ...
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2545 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการประชุมเอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศในสหภาพยุโรป ณ โรงแรมเดอะรอยัล แลนคาสเตอร์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ....
...."การที่จะต้องมีการบูรณาการในการคิด มีบูรณาการในการมองปัญหา ในการวางยุทธศาสตร์ในการทำงานร่วมกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเจ้าภาพ คือ การมีประธานของเรื่อง ประธานต้องมี Authority ต้องมีอำนาจพอสมควร ไม่มีก็ทำไม่ได้ เพราะสังคมไทยยังคงเป็นสังคมแบบนี้อยู่ จำเป็นมากที่ต้องมีเจ้าภาพเพราะเป็นคนคิด กำหนดกลยุทธ์ และ เป็นคนที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในปัญหาทั้งหมด เหมือนที่เราใช้ Attention Economy นั่นเอง ซึ่งตราบใดที่เราให้ความสนใจ ให้ความละเอียดต่อการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่าง มะพร้าว คือ ถ้าให้ Attention เข้าไป มันใช้ประโยชน์ได้ทั้งลูก แต่ถ้าไม่มี Attention มาก ก็กินแค่น้ำมะพร้าวแล้วโยนที่เหลือทิ้ง ผมชอบใช้เนื้อมะพร้าวพอใช้เนื้อเสร็จผมก็ทิ้ง แต่พอมีคนบอกว่ามันมีคุณค่ามากกว่านั้น ก็เอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกชิ้นของมัน เพราะฉะนั้น ถ้ามีเจ้าภาพ ทุกคนก็จะได้ Attention ถ้าไม่มี ทุกคนก็จะบอกว่าไม่ใช่เรื่องของผม ผมทำเรื่องของผมเสร็จแล้วก็เสร็จ ระบบเจ้าภาพ ระบบ CEO จึงต้องมี และ เมื่อมีเจ้าภาพแล้ว ก็ยังสามารถที่จะให้คำแนะนำ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขได้"
 ... the old Attention economy, ...
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2545 นายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อ ง"เศรษฐกิจไทยในสถานการณ์โลกใหม่" ในพิธีมอบเข็มและประกาศเกียรติคุณให้กับนักเรียนทุกนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2545 ณ ห้อง กมลทิพย์บอลรูม โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ มีข้อความดังต่อไปนี้....
...."มี หนังสือเล่มหนึ่ง เขาเรียกว่า The Attention Economy หนังสือเล่มนี้ดี ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ คือ มีมะพร้าวลูกหนึ่ง เราดื่มน้ำแล้วก็ทิ้ง แต่ถ้าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจก็ควรต้องใช้ประโยชน์ทั้งลูก แต่การใช้ประโยชน์ทั้งลูกนั้นต้องคำนึงถึงเวลา ความพยายามที่ใส่เข้าไปว่าคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มก็ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจ ถ้าคุ้กก็ใส่เข้าไป นั่นคือสิ่งที่เขาเรียกว่า Attention Economy คือ เอาใจใส่กับเรื่องที่น่าจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ให้ทำต่อไป ทำให้ดี ทำให้ละเอียด ทำให้มาก ทำให้คุ้มค่า ต้องเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการที่ได้มากของตัวเลข ถ้าตัวเลขมีความชัดเจน มันต้องบอกอะไรบางอย่าง"
 ... of the Attention Economy, ...
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2545 นายกรัฐมนตรีปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูชาติ" ในโอกาสครบรอบ 20 ปี สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ ไบเทค กรุงเทพมหานคร ฯพณฯ ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า .....
....."มีหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า The Attention Economy คือ ถ้าเราให้ความสนใจ ความละเอียดในความเข้าใจปัญหา และ เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ แก้ปัญหาและทำตรงน้นให้ดี ก็จะเกิดเศรษฐกิจในจุดนั้นเพิ่มขึ้น เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจขึ้น ก็ยกตัวอย่าง มะพร้าว 1 ลูก ท่านจะเฉาะน้ำดื่ม แล้วทิ้งไป ก็จบไป ถ้าท่านให้ความสนใจมากว่านั้น คือ ทานเนื้อ เอากะลามาใช้ประโยชน์ได้ มันใช้ได้ทั้งหมดเหมือนกันครับ"

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายในโอกาสตรวจเยี่ยมการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ ห้องปฏิบัติการ ชั้น 3 การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง กรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า...
...."ผมอยากเห็นการรถไฟแห่งประเทศไทยปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Self Financing ช่วยเหลือตนเองได้ และ บริการประชาชนในระดับที่ประชาชนรับได้ ผมดูแล้วว่าท่านได้แก้ไขปัญหามากมาย เฉพาะอย่างยิ่งตรงกับหนังสือเรื่อง The Attention Economy ซึ่งความจริงแล้วการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรที่ทันสมัย เพราะเป็นองค์กรต้นๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ แต่ปรากฏว่าระบบการบริหารข้อมูล (Management Information System : MIS) แย่มาก จนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยทราบ เป็นเพราะระบบ MIS แย่ ฉะนั้น ระบบ MIS ต้องดีไม่อย่างนั้นท่านแก้ไขปัญหาตรงนี้ไม่ได้เลย ท่านจะใช้ Attention Economy ไม่ได้ ถ้าท่านไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน การที่จะมานั่งขันนอตทีละตัวแล้วมองภาพรวมไปพร้อมๆกัน ซึ่งต้องมีความสมดุลในทุกๆเรื่อง
"เรื่อง Rolling Stock หลังจากที่มีการบริหารจัดการอย่างดีแล้ว โครงสร้างพื้นฐานรองรับอย่างเหมาะสมแล้ว ที่เขาลาดชันสูง แก้ไขได้ไหม คุ้มค่าไหม หลังจากที่ใช้ Attention Economy แล้ว มีข้อมูลแล้ว บริหารจัดการดีเรียบร้อยแล้ว ต้องถามว่า Rolling Stock หลังจากระบบดีแล้ว ใช้ความต้องการเป็นตัวกำหนดแล้ว Rolling Stock ที่มีอยู่ พอไหม คุณภาพต้องแก้ไขขนาดไหน อย่างไร คือ ยืดอายุการใช้งานได้แค่ไหน เพราะเราไม่มีสตางค์และคุ้มค่าไหม ถ้าไม่คุ้มค่า ก็ต้องเปลี่ยน คือ ต้องถามก่อนว่ายังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่หรือไม่ ถ้ามี ก็ยืดอายุการใช้งาน ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องยืดอายุการใช้งาน นี่คือหลักวิธีคิด"
Create Date : 04 มีนาคม 2551 |
Last Update : 4 มีนาคม 2551 21:32:29 น. |
|
8 comments
|
Counter : 1690 Pageviews. |
 |
|
|
ชื่อหนังสือ ผู้มีอุปการคุณโปรดทราบ : The Attention Economy Understanding The New Currency Of Business.
โดย Thomas H. Davenport & John C. Beck / โสภาพรรณ รัตนัย : แปล
สำนักพิมพ์ เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส จำกัด
ราคา 299 ฿
จำนวน 408 หน้า
จำหน่ายโดย บริษัท กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ซ จำกัด
ISBN 974825453-4
ปัญหาสำคัญที่สุดในโลกธุรกิจปัจจุบันไม่ใช่เรื่องของการแข่งขัน การขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ หรือ ภาวะเศรษฐกิจพันผวนอีกต่อไป
แต่เป็นปัญหาการขาดแคลน "ความใส่ใจ" จำไว้เสมอว่าขายผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ก็ตามสิ่งแรกที่ควรคำนึงก็คือจะดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้หันมาสนใจ สิ่งที่คุณกำลังนำเสนอและกลายเป็นลูกค้าของคุณตลอดจนการบริหารการรักษาความสนใจใส่ใจที่ว่านี้คงอยู่กับธุรกิจของคุณตลอดไปได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ