" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0112. Democracy at a Crossroads : ประชาธิปไตย ณ ทางแยก



Democracy at a Crossroads
March 2, 2007
Prepared for delivery

Thank you for your kind introduction. I truly treasure this occasion to speak before this august institution and the opportunity to contribute in my very small way to the tasks and mission of the International Institute of Strategic Studies.

Thank you very much for inviting me this afternoon to talk about democracy in the land where the world-renowned Westminster model of parliamentary democracy has become a blue-print for many new democracies over the world;

where democratic values have, for centuries, formed the natural parts of the people’s everyday life and seem to be running in their blood;

where people seem to breathe, eat and sleep in democracy;

where the political culture is synonymous to democratic culture; and

where it would be impossible to imagine a way of life in the absence of democracy.

I am no longer a politician.

Nor do Ihave any intention to return to politics ever again.

But with years of observations and my own personal experiences in various positions in government, I became convinced that history has proved that, of all the systems of government, democracy has been more successful in bringing genuine economic and social development and better living standard to all people.

I believe in democracy because it can offer the dignity, the freedoms and the rights befitting the human race.

I believe in democracy because it is a system of government that can deliver peace and prosperity with the people and the electorate at its centre. And I believe in democracy because it can provide us with the most effective means to bring about social justice.

A democratically elected government can remain a government only if it serves the interests of its electorate.

Therefore, a democratic government must be committed to and capable of delivering happiness, prosperity, and well-being to their respective citizens.

How successfully, however, varies with and depends on a number of conditions.

Only when a government derives its authority through a democratically elected process and is subject to re-seeking the electorate’s mandate, does it earn legitimacy and benefit from the perspective that comes from that humility.

But when a government, on the other hand, derives its authority from other means, it may be tempted to apply all means to sustain its power and can often be under the delusion that only what is best for themselves is best for the country. Indeed, power can easily be found too attractive to let go.

The last two centuries, and more particular the last century saw democracy flourished in number.

But we saw no single pattern of democratic government to offer as “the” democratic form of government. Instead, democracy has been developed in each political environment in accordance with its respective historical and cultural context.

However, there must seem to exist certain criteria and requirements that must be inherent in a democratic process.

These are, for instance, effective participation; voting equality; free, fair and frequent elections; freedom of expression, access to different and alternative sources of information, freedom of association, etc.

The post war years since 1945 saw the biggest surge in the number of new democracies, many of which were the legacy of decolonization and the influence of western democracies that the colonial powers left behind.

Throughout those 60 years after the war, the world witnessed a great number of successes in the adoption of democracy and, equally, a great number of failures and collapses of democracy in various parts of the world.

While the century became the most flourishing period for democracy in human history, as Professor Robert Dahl suggested in his book “On Democracy”, there were more than seventy instances of democratic breakdown that gave way to an authoritarian regime.

Democracy, whatever advantages one can argue in its favour, has experienced its ups and downs in countries in all corners of the world. So democracy may be said to be constantly at a crossroads. In non-democratic countries, the advantages and disadvantages of democracy never find conclusion.

In newly democratized countries, democratic institutions may be strengthened or undermined as the case may be so that democracy is firmly established in one and thrown out in the other.

In old democracies, questions are often asked if there is the need to deepen democracy and if democracy begins to be too much taken for granted.

There always a question of where do we go further in our steps of democratic development; which route to take at a crossroads.

As the newly democratized countries are greater in number, especially since the collapse of former Eastern European bloc in the late 80’s and early 90’s, we can learn to improve the prospect of stable democracy by encouraging a democratic political culture in such countries.

We can help promote democracy in newly democratized countries by pointing out the relation between prosperity and democracy and how a representative democracy can bring a more hospitable environment to the countries’ market economies.

In other words, we must help them take the proper turn if they are struck at the crossroads.

On my part, I truly believe that real economic prosperity cannot be sustained over the long term without democracy.

In both a democracy and a market economy, in order to succeed, freedoms must be protected. Where freedoms are protected, there is transparency, accountability and predictability.

These are all the elements for both economic and democratic stability.

I firmly believe that economic development is tied to a country’s sustained democratic governance.

As democracy grooms economic conditions for market economy to prosper, in the long-run such an economic growth will also turn favorable to strengthen democracy.

Growth will reduce poverty, improve living standards, and reduce social and political conflicts.

Growth will provide more resources to share and to utilize in education and welfare, which in turn will help strengthen democracy.

Across the globe, we see countries with vast natural resources and untapped intellectual opportunity, yet the populations live in poverty.

When leaders are not accountable to the people –when they are not reliant on the acceptance of their decisions by a majority of the population – those nations remain immobilized and stagnant.

Democracy breeds creativity. The exchange of ideas that comes from free speech and free expression creates an economic engine from within the people.

And this linkage between democracy and economic development impacts the very development of civilization.

If we look back at centuries of old democracies which exist predominantly in Europe, we may find that in the eighteenth and nineteenth centuries, militarization preoccupied the system and mechanism of government.

Prestige became the objective.

The nineteenth century saw the arrival of industrialization where wealth creation surpassed prestige.

But today the western world is leading the new era of ‘informationization’ where the creation of knowledge has become the source of wealth and prestige.

Countries in Asia, Africa and South America that have not attained their democratic development to benefit from the new era of “informationization” will find it hard to do well economically and risk jeopardizing their democratic stability. Western Democracies, on the other hand, are already engaged in setting up a strategy to optimize the era of informationization.

Such strategy will create a better chance for citizens of these countries with freedom of expression to accumulate information and build an information strategy for their economic benefits.

It is therefore important that the European Union which has championed successes in strengthening democracy in their member countries can offer help and assistance to many of these newly democratized countries from the vast pool of EU experiences.

The success of the European countries in building both democracy and prosperous economies on the ashes of the Second World War stands as one of the singular achievement of the last century.

And to have built on that by forging a political and economic union represents a victory of hope and dreams over history and tragedy.

This is the example of how robust democracies can bring economic prosperity.

There are many places around the world where Europe can offer the lessons it has learned, nowhere more so than for those countries that are at a crossroads in their democratic development.

They need assistance to ensure that they do not set off in the wrong direction or are led astray.

For Asia, in my view, Europe should continue to engage Asian nations with sensitivity, respect and vision and to reinforce its support of democracy.

Your engagements will ensure that our shared visions and goals stand a greater chance of success. Asia and Europe can enhance and accelerate the synergy between economic development and democratic government in Asia.

We can certainly do more to promote good governance for both economic and democratic advancement.

In Southeast Asia in particular, the Association of Southeast Asian Nations or ASEAN is taking an important step to reaffirm our commitment to democracy and economic freedom.

After 40 years since its inception, ASEAN is working on the drafting of the first ASEAN Charter. The Eminent Persons Group representing all the 10 member countries of ASEAN to draft the Charter has recommended a provision in the new Charter stipulating that peace and stability of Southeast Asia depends on, and I quote, “the active strengthening of democratic values, good governance, rejection of unconstitutional and undemocratic changes of government, the rule of law including international humanitarian law, and respect for human rights and fundamental freedoms”.

While some of us in Southeast Asia are not open democracies to date, they understand this is the way forward.

More time may be needed for democratic values to be ingrained in our region as they are in Europe today, but the future direction for us is clear.

Just as further political and economic integration in our region is a certainty, so too is increased adherence to democratic values.

Democracy is no longer a luxury for our region, but a necessity. WE need democracy to give us confidence that when crises happen – as they always will - our individual economic and political institutions will be strong enough to be able to work together as a whole to find stable solutions.

After all, it makes little sense to seek closer economic cooperation – whether through treaties or simply through individuals working together in the free market – if all that can be placed in jeopardy by even a single country that lags behind in fostering a democratic and stable government.

And now if I may, let me say a few words about Thailand.

Above all, I want you to know that I remain strongly optimistic and hopeful about my country’s future. Let me tell you in brief why I feel this way.

Thailand first established our democratic institutions in 1932.

Since then – through 17 constitutions and various political disturbances – the roots of democracy have held firm amongst the Thai people.

Across the country, people still want to see the direct accountability that comes from elections.

They began to understand the close linkage between economic development and democracy.

When I took office as Prime Minister in 2001, 12.5 million people in Thailand were living below the poverty line.

By last September, that number had dropped to 7.5 million – still far too many – but we were heading in the right direction.

Despite one of the most devastating natural disasters in recent history – the 2004 tsunami – the GDP of Thailand has increased almost 50 percent in the last five years and we are now a creditor country.

After suffering the effects of the Asian financial collapse of 1997, we managed – against all odds – to repay our IMF debt two-years ahead of schedule.

We took care to ensure that the rural poor had access to capital so that the funding of local projects – and the pride that comes with managing one’s own income within the local community – was within the reach of all Thais.



By strengthening the Thai economy from the bottom up, we strengthened our overall domestic economy – which in turn increased foreign investment.

So perhaps you can understand why I remain optimistic about my country’s future.

I am certain that the resilience of the Thai people will serve to restore and continue economic prosperity once democracy is returned to Thailand.



And I believe very strongly that the good heartedness that characterizes the Thai people will enable Thailand to undertake soon a period of national reconciliation. But most important of all is the benevolent leadership and wisdom of our most beloved King. I know all Thais are grateful for His Majesty’s 60 years of hard work toward the wellbeing of the country.

Nothing can express that gratitude more deeply than making sure that our nation and its people are reconciled and are determined to work together for further collective well-being.

The restoration of democracy sooner rather than later will facilitate that progress.

And to all of you, as our friends, I note that when we were struck by the 1997 crisis you stood with us and were patient with us on our road to recovery.

You have seen our resilience and our determination to return to business as usual.

And we did.

We even have done it better than many had expected.

I am very certain that at this new crossroads we will again take the best turn for Thailand.

Thank you for your attention. I would be pleased to take any questions.







Create Date : 12 มีนาคม 2551
Last Update : 12 มีนาคม 2551 13:57:14 น. 1 comments
Counter : 1215 Pageviews.

 


ทักษิณบรรยายประชาธิปไตยบนทางแยก



พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกยึดอำนาจจากคณะทหารที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายนปีที่แล้วได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา (ตามเวลาท้องถิ่นของอังกฤษ) ที่สถาบันยุทธศาสตร์เพื่อการศึกษาระหว่างประเทศ (International Institute for Strategic Studies) ในกรุงลอนดอนในหัวข้อ Democracy at a crossroad หรือประชาธิปไตยบนทางแยกท่ามกลางความสนใจทั้งจากชาวต่างประเทศ และชาวไทย


ประชาธิปไตย ณ ทางแยก
๒ มีนาคม ๒๕๕๐

ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำด้วยไมตรีจิต ผมรู้ถึงคุณค่าที่ได้รับโอกาสมาพูด ณ สถาบันอันเพียบพร้อมแห่งนี้ เพื่อแสดงบทบาทร่วมเล็กๆ น้อยๆ ในภารกิจใหญ่ของสถาบันนานาชาติเพื่ือการศึกษาทางยุทธศาสตร์

ขอบคุณที่ได้เชิญผมมาบรรยายเรื่องประชาธิปไตยในดินแดนที่รูปแบบประชาธิปไตยแบบเวสต์มินสเตอร์ได้กลายเป็นพิมพ์เขียวให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยใหม่ๆ ทั่วโลก

ในที่ๆ ค่านิยมประชาธิปไตยได้กลายเป็นวิถีชีวิตของคนทุกคน จนดูประหนึ่งว่าอยู่ในสายเลือดไปแล้ว

ในที่ๆ คนทุกคนหายใจ ดื่มกิน และพักผ่อนหลับนอนด้วยหัวใจประชาธิปไตย

ในที่ๆ วัฒนธรรมทางการเมืองมีค่าเท่ากับวัฒนธรรมประชาธิปไตย และ

ในที่ๆ นึกไม่ออกเลยว่าถ้าขาดประชาธิปไตยแล้วชีวิตจะดำรงอยู่ต่อไปอย่างไร

ผมเองในขณะนี้ไม่ใช่นักการเมือง

และไม่มีเจตนาใดๆ ที่จะหวนคืนสู่การเมืองอีก

แต่หลังจากใช้เวลาหลายปีในการติดตามเฝ้ามอง และโดยประสบการณ์ส่วนตัวจากตำแหน่งหน้าที่หลากหลายในรัฐบาล ผมเชื่อมั่นว่าประวัติศาสตร์ให้พิสูจน์อย่างชัดเจนที่สุดว่า ในบรรดารูปแบบการปกครองต่างๆ นั้น ประชาธิปไตยประสบความสำเร็จมากที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจอันแท้จริง ในการพัฒนาสังคม และในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทั้งหมดในสังคมนั้นๆ

ผมเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะได้ให้เกียรติภูมิ เสรีภาพ และสิทธิอันสมควรแก่เผ่าพันธุ์ของมนุษย์

ผมเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นระบบการเมืองอันนำมาซึ่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่มีประชาชนและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นศูนย์กลาง และผมเชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตยเพราะได้ให้วิธีการอันทรงประสิทธิภาพที่สุดเพื่อบรรลุถึงความยุติธรรมในสังคม

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะคงอยู่ได้โดยการสนองตอบต่อผลประโยชน์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลประชาธิปไตยจึงมีพันธะผูกพันที่จะนำมาซึ่งความสุข ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของประชาชนทุกๆ คน

อย่างไรก็ดี จะประสบความสำเร็จได้ขนาดไหนนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ

รัฐบาลจะต้องได้รับอำนาจรัฐมาในกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย และมีความประสงค์จะได้รับอำนาจอย่างต่อเนื่องจากประชาชน จึงจะมีความชอบธรรมและได้รับสิทธิในการใช้อำนาจนั้นด้วยความนอบน้อมถ่อมตน

แต่ในทางตรงข้าม ถ้ารัฐบาลได้อำนาจมาในทางอื่นๆ ก็จะถูกยั่วยวนให้รักษาอำนาจนั้นไว้ด้วยวิธีการต่างๆ จนเกิดภาพมายาว่าอะไรที่ดีสำหรับตนก็คงดีสำหรับประเทศชาติด้วย อำนาจนั้นถึงเวลาแล้วก็หอมหวลเกินกว่าจะปล่อยให้หลุดจากมือไปได้

ในสองศตวรรษที่ผ่านมา และโดยเฉพาะในศตวรรษที่แล้วมานี้ เราได้เห็นการเติบโตของระบอบประชาธิปไตยในเชิงปริมาณ

แต่เราพบว่า ไม่มีรูปแบบประชาธิปไตยเดียวกันทั้งหมด ประชาธิปไตยที่แท้จึงถูกพัฒนาไปตามสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ในบริบทของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แต่ละถิ่นที่

อย่างไรก็ตาม มีองค์ประกอบและเงื่อนไขที่จำเป็นบางอย่างต่อกระบวนการประชาธิปไตยทั้งมวล

ตัวอย่างเช่น บทบาทร่วมอย่างมีประสิทธิภาพของประชาชน สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่เสมอภาคกัน การเลือกตั้งที่เป็นอิสระ เป็นธรรม และมีความสม่ำเสมอ การแสดงออกได้โดยเสรี การเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายและมีทางเลือก เสรีภาพในการรวมกลุ่ม ฯลฯ

โลกหลังสงครามใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๘ เป็นต้นมา เราได้เห็นการโถมเข้ามาของประชาธิปไตย อันเกิดจากการปลดปล่อยอาณานิคมให้เป็นอิสระ และอิทธิพลของระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกของประเทศที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมนั้นเอง

ตลอดเวลา ๖๐ ปีหลังสงครามโลก เราเป็นสักขีพยานในความสำเร็จมากมายของประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปประยุกต์ใช้ และเราได้เห็นความล้มเหลวและการล่มสลายของประชาธิปไตยในหลายมุมของโลกเช่นกัน

ในขณะที่ศตวรรษนี้เป็นเวลาที่ประชาธิปไตยเฟื่องฟูสุดขีด แต่ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ดาห์ล ได้เขียนไว้ในหนังสือ “ว่าด้วยประชาธิปไตย (On Democracy)” ว่ามีตัวอย่างกว่าเจ็ดสิบรายที่ระบอบประชาธิปไตยล่มสลายและกลายเป็นเผด็จการอำนาจนิยมไปแทน

ประชาธิปไตยซึ่งมีข้อดีเป็นเอนกอนันต์นั้น ในที่สุดก็มีขาขึ้นและขาลงในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาทั่วโลก จึงกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยมักจะตั้งอยู่บนทางแยก ในประเทศที่ไร้ประชาธิปไตย จะสรุปไม่ได้สักทีว่าข้อดีและข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยนั้นคืออะไร

ในประเทศประชาธิปไตยใหม่ๆ สถาบันประชาธิปไตยจะแข็งแกร่งขึ้นหรืออ่อนแอลงเพ่ือส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยทั้งหมดอยู่ได้หรือต้องล่มสลายไป

ในประเทศประชาธิปไตยอันยาวนาน มักจะเกิดคำถามอยู่เสมอว่าประชาธิปไตยจะต้องลงลึกมากขึ้นในสังคมหรือไม่ หรือเกิดสงสัยว่าคนทั่วไปกำลังมองประชาธิปไตยอย่างดาดๆ โดยลืมคุณค่าอันแท้จริงไปหรือไม่

มีคำถามอยู่เสมอว่า เราจะเป็นประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้นในทางใดบ้าง อันเป็นคำถามนำไปสู่ทางแยกสู่ระบอบอื่นๆ ได้เสมอ

เราเรียนรู้ได้จากประเทศประชาธิปไตยใหม่ๆ จากอดีตยุโรปตะวันออกในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ และ ๑๙๙๐ ว่า อนาคตของประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ เหล่านั้น

เราส่งเสริมประชาธิปไตยได้โดยชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างประชาธิปไตยกับความจำเริญของสังคม และแสดงให้เห็นว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทนสามารถจูงใจและสร้างบรรยากาศอันเป็นมิตรให้กับระบบเศรษฐกิจการตลาดอย่างไรบ้าง

พูดอีกอย่างหนึ่ง เราต้องช่วยให้ประเทศชาติเลี้ยวมาในทิศทางที่ถูกต้อง เมื่อมาถึงทางแยก

ในส่วนของผมเอง ผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าความจำเริญอย่างแท้จริงจะไม่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เลยโดยปราศจากประชาธิปไตย

ถ้าจะให้ระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจการตลาดประสบผลสำเร็จ เสรีภาพจะต้องได้รับการคุ้มครองรักษาไว้ เมื่อมีเสรีภาพ ก็จะมีความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความสามารถในการคาดเดาวางแผนได้

นี่คือองค์ประกอบทั้งมวลของเสถียรภาพในทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตย

ผมมีความเชื่อมั่นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจผูกติดกับธรรมาภิบาลที่เป็นประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน จะย้อนกลับมาทำให้ระบอบประชาธิปไตยแข็งแรงขึ้น

ความเติบโตจะช่วยลดความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ และลดความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง

ความเติบโตจะทำให้การแบ่งปันทรัพยากรของชาติมีความเป็นธรรม และกระจายไปในระบบการศึกษาและสวัสดิการสังคม และย้อนกลับมาทำให้ระบอบประชาธิปไตยแข็งแรงขึ้น

เมื่อมองไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล และมีภูมิปัญญาที่ยังมิได้นำมาใช้ประโยชน์มากมาย แต่ทว่าประชาชนในประเทศกลับลำบากยากจน

เมื่อบรรดาชนชั้นนำไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อประชาชน เมื่อการตัดสินใจใดๆ ของเขาไม่ต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนแล้ว ประเทศนั้นๆ ก็ย่อมฝืดเคืองและขับเคลื่อนไม่ได้

ประชาธิปไตยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ๆ มาจากการแสดงออกโดยเสรี และการแสดงออกโดยเสรีเป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนออกมาจากภายในตัวของมนุษย์เอง

ความเชื่อมโยงระหว่างประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างนี้เอง ที่ส่งผลกระทบให้เกิดการพัฒนาอารยธรรม

ถ้าเรามองย้อนหลังกลับไปดูประชาธิปไตยเก่าๆ ที่เคยครอบงำยุโรป เราจะพบความจริงในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ ว่า ระบอบทหารได้ครอบงำระบบใหญ่และกลไกของรัฐบาลทั้งหมด

ความโอ๋อ่าใหญ่โตกลายเป็นเป้าหมายที่สำคัญ

ในศตวรรษที่ ๑๙ เราได้เห็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่นำความมั่งคั่งมาสู่ยุโรป และค่านิยมที่เน้นความโอ่อ่าอย่างเดียวก็เริ่มถูกข้ามไป

เมื่อมาถึงปัจจุบัน โลกตะวันตกกลับเป็นผู้นำยุคสมัยแห่งการพัฒนายุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การสร้างองค์ความรู้กลายเป็นแหล่งของการสร้างความมั่งคั่งและเกียรติภูมิไปพร้อมกัน

ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ที่ไม่อาจพัฒนาประชาธิปไตยอย่างได้ผล จนไม่ได้รับประโยชน์จากยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร จะประสบปัญหาอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและทำให้เสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตยเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ในขณะที่โลกตะวันตกวางยุทธศาสตร์ของตนเองไว้แล้วว่าจะแสวงประโยชน์สูงสุดจากยุคแห่งข้อมูลข่าวสารนี้อย่างไร

ยุทธศาสตร์เหล่านั้นจะสร้างโอกาสที่ดีขึ้นให้กับพลเมืองของประเทศใดก็ตามที่ได้รับเสรีภาพในการแสดงออก และสามารถนำไปพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์การสื่อสารที่จะนำมาซึ่งผลตอบแทนในทางเศรษฐกิจ

จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ หากประเทศในสหภาพยุโรปที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการเสริมสร้างเสถียรภาพในระบอบประชาธิปไตยของตน จะหยิบยื่นความช่วยเหลือให้กับประเทศประชาธิปไตยใหม่ๆ โดยใช้ประสบการณ์อันมากล้นมาเป็นฐาน

ความสำเร็จของประเทศในยุโรปที่ได้สร้างประชาธิปไตยและความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจบนเถ้าถ่านแห่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถือเป็นผลสัมฤทธิ์อันเป็นเอกแห่งศตวรรษก่อนทีเดียว

และยังได้สร้างสหภาพร่วมกันทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จที่ยังคงดำรงไว้ได้ซึ่งความหวังและความฝัน ตลอดห้วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์และโศกนาฎกรรม

นี่คือตัวอย่างที่ชี้ว่า ประชาธิปไตยอันแกร่งกล้าสามารถนำมาซึ่งเศรษฐกิจอันเรืองรองอย่างไร

ยุโรปสามารถแบ่งปันบทเรียนเหล่านี้ได้ในอีกหลายที่ของโลก โดยเฉพาะกับประเทศที่มาถึงทางแยกแห่งการพัฒนาประชาธิปไตยของตน

ประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือเพ่ือให้แน่ใจไม่ได้เดินไปในทางที่ผิด หรือทางแห่งความล่มสลาย

สำหรับเอเชีย ผมคิดว่ายุโรปควรจะมีพันธะผูกพันกับชาติเอเชียต่อไปบนพื้นฐานแห่งความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ความนับถือกัน และวิสัยทัศน์ และความยืนหยัดสนับสนุนแนวทางประชาธิปไตย

พันธกรณีของท่านจะช่วยให้เรามีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกันเพื่อความสำเร็จที่ยิ่งขึ้น เอเชียและยุโรปสามารถรวมพลังกันผลักดันและเร่งเร้าให้เกิดกำลังร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและเพื่อการดำรงอยู่ของรัฐบาลประชาธิปไตยในเอเชีย

เราร่วมกันทำได้มากกว่าเดิมแน่ ในการส่งเสริมธรรมาภิบาลเพื่อความก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจและประชาธิปไตย

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้กำหนดก้าวย่างที่สำคัญในการสร้างความพันธกรณีต่อเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพทางเศรษฐกิจ

หลังจากที่เกิดมาได้ ๔๐ ปี อาเซียนกำลังเร่งสร้างกฎบัตรฉบับแรกของตนเองขึ้นมา กลุ่มผู้นำทางความคิดที่มีตัวแทนครบทั้ง ๑๐ ประเทศสมาชิก ได้ยกร่างในรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นกฎบัตรฉบับใหม่ที่จะส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคบนฐานของ

“ค่านิยมประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและเป็นเชิงรุก ธรรมาภิบาล ปฏิเสธการ เปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วยวิธีที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยและขัดต่อรัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรมที่รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยหลักมนุษยธรรม และความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนตลอดจนเสรีภาพขั้นพื้นฐาน”

ถึงหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมิได้เป็นประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง แต่ทุกประเทศก็ตระหนักว่านี่คือทางที่ต้องก้าวเดินไป

อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรที่ค่านิยมประชาธิปไตยจะกลืนเข้ามาในภูมิภาคของเราเช่นเดียวกับยุโรปในวันนี้ แต่ทิศทางในอนาคตนั้นแจ่มชัดนัก

เท่ากับที่ความชัดเจนแน่นอนที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจ ความยึดมั่นผูกพันในค่านิยมประชาธิปไตยก็จะต้องเพิ่มพูนขึ้นด้วย

ประชาธิปไตยไม่ใช่ความฝันอันหรูหราของภูมิภาคนี้อีกแล้ว หากเป็นความจำเป็น เราต้องการระบอบประชาธิปไตยที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า ยามที่เกิดวิกฤติขึ้น สถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจของเราจะมีความแข็งแกร่งพอที่เดินหน้าร่วมกันต่อไปจนกว่าจะบรรลุทางออกอย่างมั่นคงได้

ในที่สุดแล้ว จะเกิดประโยชน์พียงน้อยนิดในความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะโดยสนธิสัญญาหรือการทำงานร่วมกันของบุคคลในระบบเศรษฐกิจการตลาด ถ้าผลแห่งความร่วมมือจะต้องอยู่ในสภาพที่เสี่ยงอันตรายจากการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มเกิดความถดถอยในการพัฒนาประชาธิปไตยและขาดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ

เมื่อถึงจุดนี้ ผมขอพูดอะไรเล็กน้อยเกี่ยวกับประเทศไทย

ก่อนอื่น ผมอยากจะให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่า ผมยังมองอนาคตของประเทศของผมในแง่ดีและมีความหวังอันสูงยิ่ง และอยากจะอธิบายโดยสังเขปว่าเหตุใดผมยังคงรู้สึกเช่นนั้น

ประเทศไทยเริ่มมีสถาบันตามระบอบประชาธิปไตยในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕
จากนั้นเป็นต้นมา โดยผ่านรัฐธรรมนูญจำนวน ๑๗ ฉบับและเหตุวุ่นวายทางการเมืองหลายครั้ง รากฐานของระบอบประชาธิปไตยยังคงเป็นสิ่งที่คนไทยยึดมั่น

ทั่วประเทศไทย ประชาชนก็ยังอยากเห็นความพร้อมรับผิดและการตรวจสอบโดยตรง โดยผ่านการเลือกตั้ง

คนไทยเริ่มเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการมีประชาธิปไตย

เมื่อผมเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ คนไทยจำนวน ๑๒ ล้าน ๕ แสนคนยังคงอยู่ภายใต้เส้นแห่งความยากจน

พอถึงเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ตัวเลขนั้นลดลงมาเป็น ๗ ล้าน ๕ แสนคน ซึ่งก็ยังคงเป็นตัวเลขที่มาก แต่เป็นสิ่งยืนยันว่าเรากำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

ถึงจะเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นั่นคือธรณีพิบัติภัยสึนามิแห่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ผลผลิตมวลรวมในประเทศหรือ GDP ก็ยังคงเพิ่มถึง ๕๐ % ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และประเทศไทยได้เปลี่ยนสถานะมาเป็นประเทศผู้ให้**้

หลังจากที่ผ่านผลกระทบอันหนักหน่วงของวิกฤติการณ์เศรษฐกิจแห่งเอเชียในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ เราก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการในการชำระหนี้คืนให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และกระทำสำเร็จถึงสองปีก่อนเวลาที่กำหนดไว้

เราได้กระทำการหลายอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าว่าคนจนในชนบทจะได้รับทุนทำกินอย่างพอเพียงโดยผ่านโครงการต่างๆ และเกียรติยศอันเกิดจากโอกาสที่จะได้สร้างรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวเป็นสิ่งที่ไม่เกินเอื้อมสำหรับคนไทยทุกคน

เมื่อเกิดความแข็งแรงของเศรษฐกิจจากระดับรากหญ้าขึ้นมา ก็เท่ากับเราได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจในประเทศในภาพรวม และเป็นผลให้การลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มพูนขึ้น

ท่านคงพอเข้าใจแล้วว่า เหตุใดผมยังคงมองอนาคตของชาติในทางบวกได้

ผมแน่ใจว่า คนไทยยังคงปรารถนาที่จะฟื้นฟูและสร้างความจำเริญทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเมื่อระบอบประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศแล้ว

ผมเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า จิตใจที่ดีของคนไทยซึ่งได้กลายเป็นบุคลิกลักษณะแห่งชาติ จะทำให้ประเทศไทยสามารถสร้างความปรองดองแห่งชาติภายใต้ร่มพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นที่รักยิ่ง ผมรู้ดีว่าชาวไทยทั้งปวงมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์และในความผาสุกแห่งแผนดินไทยโดยตลอดมา

ไม่มีการกระทำใดๆ ที่จะแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณยิ่งไปกว่าความสมานฉันท์ระหว่างคนไทยด้วยกัน และร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้สมบูรณ์พูนสุข

การฟื้นฟูประชาธิปไตยโดยเร็ว จะช่วยให้กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

และสำหรับท่านทั้งหลายในฐานะเพื่อนของเรา ผมขอกล่าวไว้ในที่นี้ว่า เมื่อเราถูกกระทบกระแทกจากวิกฤติเศรษฐกิจแห่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ นั้น ท่านเป็นมิตรที่ยืนเคียงข้างเรา และคบกันอย่างอดทนจนกระทั่งเราฟ้ืนตัวได้อีกครั้งในทางเศรษฐกิจ

ท่านคงได้เห็นมาบ้างแล้วว่าประเทศของเราได้ผ่านพ้นปัญหาต่างๆ และคืนสู่ความเป็นปกติสุขมาแล้วอย่างไรบ้าง

เราได้ทำสำเร็จมาแล้ว

เราประสบผลสำเร็จเกินกว่าที่หลายฝ่ายคาดหมายไว้ด้วยซ้ำไป

ผมมั่นใจว่า ณ ทางแยกใหม่ของประเทศไทยในครั้งนี้ เราจะเลี้ยวได้อย่างถูกต้องและราบรื่นอีกครั้ง

ขอขอบคุณที่ท่านได้ให้ความสนใจอย่างดียิ่ง จากนี้ไปผมยินดีจะตอบคำถามของท่าน.

Resource:
//www.hi-thaksin.org/contentdetail.php?ParamID=1034



โดย: ทักษิณบรรยายประชาธิปไตยบนทางแยก (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:13:08:03 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.