" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
003. Business @ The Speed of Thought. 1ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร











เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2542
พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อภิปรายเนื่องในโอกาสเข้าร่วมสัมนาเรื่อง "ประเทศไทยอีก 5 ปี ข้างหน้า กับ Digital Economy ณ ห้องประชุม Metro Campus บริษัท เมโทรซิสเตมส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)







มีข้อความตอนหนึ่งว่า...

"ถ้าใครอ่นหนังสือเล่มล่าสุดของ บิลล์ เกตต์ เรื่อง Business @ The Speed of Thought. เขาพูดถึงเรื่อง Digital Nervous System บอกว่า ร่างกายมนุษย์จะมีปฏิกิริยากับความร้อนความหนาวได้ดี ระบบประสาทจะต้องดี ระบบประสาทจะดีได้ก็ต้องมีเลือดหล่อเลี้ยง ประสาทส่วนไหนไม่มีเลือดหล่อเลี้ยงมันจะชาไปเลย เลือดในที่นี้ คือ Information

ดังนั้น ต้องมีข้อมูลไปหล่อเลี้ยงระบบประสาท ถึงจะมีปฏิกิริยา กับ สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว


"เราเคยพูดกันมากเรื่อง ข้อมูล คือ อำนาจ แต่ ณ วันนี้ โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ข้อมูล คือ อำนาจกลายเป็นเรื่องเชยไปเสียแล้ว โลกหันมาว่ากันถึงความสามารถในการเลือกสรร เลือกใช้ ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล กระทั่งล่าสุดมาถึงจุดความรวดเร็วในการได้มา การเลือกใช้ และ ความถูกต้องในการตัดสินใจของข้อมูล

ถ้าใครเคยอ่านหนังสือของ เรื่อง บิลล์ เกตต์ Business @ The Speed of Thought. จะพบว่า บิลล์ เกตต์ สรุป ความคิดไว้น่าสนใจว่า ในช่วง 1980 โลกมุ่งมาเรื่องการจัดการและคุณภาพมาก พอปี 1990 เราพูดถึงเรื่อง Quality พอปี 1990 โลกเริ่มมองกระบวนการ (Processing) หรือ การทำ Re-ingineering ปี 2000 บิลล์ เกตส์ ฟันธงเลยว่า โลกต้องแข่งขันในด้าน Velocity



เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2545 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่อสาร ครั้งที่ 1" ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล มีข้อความตอนหนึ่งว่า...









..."ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคราชการ จะต้องปรับตัวเองเข้าสู่การเป็น Knowledge Based Society เข้ามาสู่ขบวนการที่จะต้องสร้าง Knowledge Worker


ถ้า ใครได้อ่านเรื่อง Business @ The Speed of Thought.ของบิลล์ เกตส์ ก็คงจะรู้เรื่องของขบวนการ Digital Nervous System ซึ่ง กระบวนการ สร้าง Digital Nervous System จะทำให้เรากระจายการตัดสินใจลงไปสู่ระดับล่าง และ ระดับล่างก็สามารถตัดสินใจบนข้อมูลที่รู้จริง และ เป็นข้อมูลใหม่ที่ทันสมัย ถ้าไม่เช่นนั้น คนระดับล่างก็ไม่สามารถที่จะเป็น Knowledge Worker ได้ ก็จะเหมือนระบบราชการ เมื่อพิจารณาตั้งแต่หัวหน้าแผนกถึงรัฐมนตรีก็ไม่รู้ว่า มีคนทำไมมากมาย ทุกคนก็เพื่อพิจารณา เพราะไม่สามารถตัดสินใจได้

เมื่อ 26 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "รัฐบาลอิเลคทรอนิกส์" ณ วิเทศสโมสร กระทรวงต่างประเทศ มีข้อความตอนหนึ่งว่า...

"ส่วนระบบส่งผ่านข้อมูลอัตโนมัติมีอยู่ในหนังสือของ บิลล์ เกตส์ ชื่อ Business @ The Speed of Thought เป็นหนังสือที่ออกมานานแล้ว

คือหลักการบริหารองค์กร เหมือน การบริหารสิ่งที่มีชีวิต สิ่งทีมีชีวิตตอบสนองอะไรได้รวดเร็วเพราะเส้นประสาทดี

แต่ ถ้าองค์กรเหมือนสิ่งที่ไม่มีชีวิต องค์กรนั้นจะเป็นองค์กรที่เราเรียกว่า Static คือ นิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว คงจะไปดีได้ยาก โดยเฉพาะยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่มีความซับซ้อน เป็นยุคที่มีความเร็วในการแข่งขัน"

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2546 นายกรัฐมนตรีบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง "ประเทศไทยในบริบทใหม่ของการแข่งขันในเวทีโลก (Thailand in New Competitive Landscape) ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ณ อาคาร คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ อีกว่า....

..เขาบอกว่า ต้องกล้า ที่จะทำให้องค์กรนั้นมีความกะทัดรัดกล่องตัว องค์กรเล็กจะมีความคล่องตัว ปรับตัวตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่อปัญหาได้เร็วที่สุด แต่ ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีขนาดใหญ่ก็ตาม เหมือนที่ บิลล์ เกตส์ เขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ Business @ The Speed of Thought พูดกันว่า ในโลกสมัยก่อนพูดถึง Economiy of Scale หรือ ความใหญ่ยิ่งได้เปรียบ แต่ในโลกสมัยใหม่บอกว่า เราต้องแข่งกันที่ความเร็ว คือ Ecomy of Speed คนจะเร็วได้ องค์กรต้องกะทัดรัดปรับตัวได้ จะปรับตัวได้อย่างไร ทิศทางอย่างไร ต้องมีข้อมูลทีดี เพราะฉะนั้น จังหวัด หรือ องค์กรของท่านต้องมีระบบฐานข้อมูลที่ดี


เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในการประชุมร่วมศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) และ ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง (MOC) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ Business @ The Speed of Thought เล่มนี้ อีกว่า....






ภาพประกอบ: จาก //www.tactsoft.com/aspx/displaycontent.aspx?id=119

ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง : ประกอบไว้เพื่อความ เท่ห์ ...(แต่กินไม่ได้)



..."ร่างกายขององค์กร ก็ต้องมีเส้นประสาทที่ดี
บิลล์ เกตส์ ใช้คำว่า "Digital Nervous System"
คือ ระบบประสาททางดิจิตอล จะสัมผัสกับสิ่งที่เข้ามายังองค์กร

นั่นคือ ปลายประสาท มีคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ หรือ เป็นคนที่รับเรื่องราวของประชาชน คอยตรวจสอบข้อมูล สามารถตัดสินใจให้บริการประชาชนได้ทันที และ ข้อมูลเหล่าเหล่านั้นก็เข้ามาปรับในระบบข้อมูลกลางให้ทันสมัย ซึ่งทำให้มีการสะสมข้อมูลทั้งหลาย แล้วทำให้สามารถวิเคราะห์ได้

เมื่อมีข้อมูลแล้วก็จะมีซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีการนำเสนอเพื่อให้ข้อมูลนั้นได้เกิดความรู้ว่ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นปัญหาอยู่ เมื่อเห็นปัญหาบ่อยๆก็จะทำให้เกิดปัญญา สัญชาตญาณ บอกได้เลยว่า ต้องตัดสินใจอย่างนี้ ต้องดำเนินการอย่างนี้ จะเกิดความฉับพลันในการแก้ปัญหา







ผู้แต่ง/ผู้แปล
น.ต.ดร.วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ
ร.น.,นารีรัตน์ ลุ่มเจริญ,
ดร.ประสงค์ ประณิตผลกรัง

- , จำนวน หน้า , กระดาษปอนด์
สำนักพิมพ์ softwarepark
จัดพิมพ์ครั้งที่ 1/2543
ราคา 300 เหลือ 150 บาท







ร่างกายขององค์กร ก็ต้องมีเส้นประสาทที่ดี เรียกว่า "Digital Nervous System" คือ ระบบประสาททางดิจิตอล จะสัมผัสกับสิ่งที่เข้ามายังองค์กร

นั่นคือ ปลายประสาท มีคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ หรือ เป็นคนที่รับเรื่องราวของประชาชน คอยตรวจสอบข้อมูล สามารถตัดสินใจให้บริการประชาชนได้ทันที

และ ข้อมูลเหล่าเหล่านั้นก็เข้ามาปรับในระบบข้อมูลกลางให้ทันสมัย ซึ่งทำให้มีการสะสมข้อมูลทั้งหลาย แล้วทำให้สามารถวิเคราะห์ได้



Create Date : 03 มีนาคม 2551
Last Update : 21 ธันวาคม 2551 9:36:05 น. 1 comments
Counter : 2571 Pageviews.

 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542

คลังอาวุธสมอง บุญคลี ปลั่งศิริ


"ในวงการโทรคมนาคม ทุกคนใหม่หมด ผมจะถามจากใคร ผมต้องอ่านในตำรา"

เหตุผลสั้นๆ ที่ทำให้บุญคลีกลายเป็นหนอนหนังสือตัวยง ที่ให้ความสำคัญกับการหาความรู้ผ่าน "ตำรา" มากที่สุดคนหนึ่งของชินคอร์ป และเต็มไปด้วยความกระหายใคร่รู้

การที่โทรคมนาคมเป็นธุรกิจใหม่ที่มีอายุเพียงแค่ 10 กว่าปี การหาบทเรียน หรือตำนานในอดีต จึงไม่มีเหมือนกับธุรกิจอื่นที่มีอายุยืนยาว อีกทั้งธุรกิจนี้ก็เป็นการอาศัยเทคโนโลยีของโลก ตำราเหล่านี้ จึงใช้อ้างอิงความคิดอ่านให้ถูกต้องมากขึ้น

เพราะนี่คืออาวุธลับสำหรับเขาในการวางโครงสร้างในการบริหารองค์กร ที่เขามักจะได้มาจากตำราเหล่านี้

ของฝากที่บุญคลีและผู้บริหารชินคอร์ปมักจะได้จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างทักษิณ ที่จะหาซื้อมาฝากอยู่เป็นประจำ ก็คือ ตำราและหนังสือทั้งหลายที่เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะถ่ายทอดแนวหรือวิธีคิดได้อย่างดีที่สุด

การปรับโครงสร้างธุรกิจ และการบริหารงานล่าสุดของชินคอร์ป ที่มีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2541 ที่ผ่านมา บุญคลีก็เอาตำราของ Brouze Allen บริษัทการเงิน ที่มีชื่อว่า The centerless corporation


หนังสือเล่มนี้ถูกนำมาเป็นแนวทาง ยืนยันแนวคิดของเขา ที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์กรให้ไปสู่มาตรฐานสากล เป็นแรงผลักดันที่ทำให้เขาอยู่นิ่งไม่ได้ และยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารองค์กรของชินคอร์ป ที่นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และมากที่สุดนับตั้งแต่มีมา

สิ่งที่บุญคลีได้จากตำราเล่มนี้ ก็คือ การจัดโครงสร้างในลักษณะองค์กรแบบไร้หัว (Decenterize) ความหมายในที่นี้ก็คือ การกระจายอำนาจให้กับบริษัทลูก ที่เคยขึ้นตรงกับบริษัทแม่ มีโครงสร้างธุรกิจใหญ่โต ให้กระจายออกไปมีระบบการบริหารงานแบบอิสระ บริษัทแม่เพียงแค่ทำหน้าที่ลงทุน

ความที่มีพื้นความรู้ในเรื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้บุญคลีเรียนรู้จากตำรานี้ได้อย่างรวดเร็ว คำว่า Distributed สอดคล้องกับเทคโนโลยีคำว่า Distribute ในความหมายของคอมพิวเตอร์ก็คือ การทำงานของเครื่องเซิร์ฟ เวอร์ กับลูกข่ายคอมพิวเตอร์

การสร้างฐาน Data warehouse ที่จะเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญ สำหรับโครงสร้างใหม่นั้นก็มาจาก Management Challenges for the 21 Century ของ Peter F.Drucker

"หนังสือเหล่านี้มันคอนเฟิร์มความเชื่อของผม ในการ centralize ข้อมูลที่จะให้ผู้บริหารแต่ละรายเป็นคนกำหนดเองว่า จะเลือกใช้ข้อมูลอะไรบ้าง"

หนังสืออย่าง Digital Economy หรือแม้แต่ Entertainment economy เป็นหนังสืออีกเล่มที่อยู่ในคลังอาวุธของเขา

บุคลิกที่ประนีประนอมของบุญคลี จึงมักให้ความสำคัญกับการศึกษาคนเป็นอย่างมาก และสิ่งที่เขาค้นพบว่าการบริหารคนที่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอ ที่ต้องรักษาความสัมพันธ์ในระดับปกติ เป็นหลักสำคัญที่เขาใช้ในการบริหารองค์กร ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก และความสัมพันธ์ในการติดต่อพันธมิตร เขาก็ได้ตำรามาร์เก็ตติ้งเล่มหนึ่งที่ยืนยันความคิดที่ว่านี้

หนังสือ The Speed of Thought ของบิลล์ เกตต์ เล่มล่าสุด เป็นตัวขับเคลื่อนอีกตัวของการวางโครงสร้างการจัดการของชิน

"Driven system ข้อหนึ่งในนั้นที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คุณต้องรู้ยอดขายทุกวินาที เปิดจอรู้เลยว่า เซลลูลาร์วันนี้ขายได้เท่าไหร่ ประเทศเรามีข้อมูลดิบอยู่มากเลย แต่ไม่มีใครรวม ไม่มีใครวิเคราะห์ ตรงนี้ต้องใช้มาก ธุรกิจวันนี้เป็นเรื่องของข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ การตลาดก็ไม่ใช่เรื่องชอบไม่ชอบ นี่คือแนวคิดของผม

การอ่านหนังสือของบุญคลี จึงอาจคาดเดาได้ว่า เขากำลังแสวงหาอะไรในการเปลี่ยนแปลงให้กับชิน หรือก้าวต่อไปของชินคอร์ปจะเป็นเรื่อง อะไร

ล่าสุดที่บุญคลีได้มาก็คือ aliance business จะเป็นกระแสผลักดันของโลกาภิวัตน์ที่เกี่ยวกับการหาพันธมิตร

ในบางครั้งบุญคลี ก็ไปได้แง่มุมใหม่ๆ ที่ทำให้โลกในการมองกว้างขึ้น ซึ่งหนังสือเล่มนั้นก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่ก็เป็นบทเรียนที่ให้การมองในอีก แง่มุม

"ตอนนั้นผมไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง บอกถึงมนุษย์พันธุ์ใหม่ว่า ถ้าคุณจะทำความสำเร็จ คุณต้องเอาเปรียบ ซึ่งจริงๆ มันไม่ดีอย่าไปเชื่อ ซึ่งผมก็อ่าน ผมเป็นนักคอมพิวเตอร์ ผมต้องเอามาผสมผสาน ปรับปรุงอำนาจการตัดสินใจและกระบวนการไม่ไปไหน

และสิ่งที่บุญคลีพบมากไปกว่าการหาอาหารสมองให้กับตัวเขา ก็คือ เขาพบว่า ทฤษฎีการบริหารล้วนมาจากบริษัทใหญ่ๆ อย่างไอบีเอ็ม เยนเนอ รัลอิเลกทริกส์ ฟอร์ด แต่สักวันบุญคลีจะเขียนทฤษฎีการบริหารขึ้นมาบ้าง และนั่นจะทำให้เขาเปลี่ยนจากผู้อ่านมาเป็นผู้เขียนตำราเป็นครั้งแรก

Resource:
//www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1171



โดย: คลังอาวุธสมอง บุญคลี ปลั่งศิริ (moonfleet ) วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:16:54:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.