" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0045. WINNING THE MERGER ENDGAME : 1 ใน 109 หนังสือ ควรอ่านจาก นากยกฯ ทักษิณ ชินวัตร





WINNING THE MERGER ENDGAME: A PLAYBOOK FOR PROFITING FROM INDUSTRY CONSOLIDATION (HC)

ผู้แต่ง/แปล : DEANS, G.K.
ISBN : 007140998X
Barcode : 9780071409988
ปีพิมพ์ : 1 / 2003
ขนาด (w x h) : 160 x 235 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกแข็ง / 242 หน้า 1
ราคาปกติ : 1,285.00 บาท
ราคาพิเศษ : 1,157.00 บาท (ลดถึง 10 %) เฉพาะสั่งซื้อทางเว็บไซต์เท่านั้น

เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2546 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้แนะนำหนังสือให้กับคณะรัฐมนตรี อีกเล่มชื่อ WINNING THE MERGER ENDGAME: A PLAYBOOK FOR PROFITING FROM INDUSTRY CONSOLIDATION ซึ่งมีสาระที่ชี้ให้ ผู้นำในการบริหารประเทศควรคำนึงถึงหลักอะไรบ้าง ในการพัฒนาประเทศ

ได้กล่าวว่า ช่วงการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ ในอดีตใช้เวลา 20-25 ปี แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 16-17 ปีเท่านั้น และ ในอนาคตช่วงการพัฒนาจะลดลงอีก ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่า นักการเมืองควรจะเร่งสร้างสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สร้างกฏ กติกา ให้เกื้อกูลต่อบรรยากาศการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ สร้างระบบการศึกษาของประเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมและอื่นๆ ให้สามารถแข่งขันกับโลกกว้างได้

"ทักษิณ" แนะนำหนังสือ "Winning the Merger Endgame" ให้ ครม.อ่าน

โดยเป็นหนังสือที่เขียนถึงการรวมกิจการและความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ

หนังสือนี้จะแนะนำการรวมกิจการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะกล่าวถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆว่ามีการเติบโตมาอย่างไร และได้พูดถึงวงรอบของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท อีกทั้งยังได้กล่าวถึงประเทศต่างๆที่มีความสำเร็จทางภาคอุตสาหกรรม

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ฉบับ วันจันทร์ที่ 28 กรกฏาคม 2546 บทความเรื่อง "ข่าวสารสาระของไทย/ "ทักษิณ" แนะนำหนังสือใหม่ให้คณะรัฐมนตรีอ่าน ได้เขียนไว้ดังนี้

ในหนังสือได้แนะนำว่า
ผู้บริหารประเทศจะต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือผู้บริหารประเทศกำหนดยุทธศาสตร์ทางด้านการเมืองเพื่อเอื้อำนวยให้วงการอุตสาหกรรม เพื่อไปสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างเหมาะสม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. การสร้างกฎระเบียบและสิ้งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้วงการอุตสาหกรรม ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดย่อม มีการเจริญเติบโต
2. เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งเสริมต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น รวมถึงอุตสาหกรรม และบริษัทต่างๆ
3. เป็นการสร้างการศึกษาที่จะกระตุ้นให้ประชาชนได้ทราบถึงประโยชน์การสร้างอุตสาหกรรม เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ๆขึ้นมา และ

4. ได้แนะนำเกี่ยวกับความใหญ่โตของบริษัท

ซึ่งใน 4 ส่วนนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่าตรงกับนโยบายของรัฐบาลที่กำลังทำอยู่





Create Date : 08 มีนาคม 2551
Last Update : 8 มีนาคม 2551 6:35:36 น. 6 comments
Counter : 1331 Pageviews.

 
Winning The Merger Endgame
A Playbook for Profiting from Industry Consolidation

Publisher: McGraw-Hill Professional
Published: 2003
Edition: 1st
Format: Hb


โดย: Winning The Merger Endgame (moonfleet ) วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:6:13:07 น.  

 
Winning the Merger Endgame
by Graeme K. Deans, Fritz Kroeger and Stefan Zeisel



HERE is a `playbook' on `industry consolidation' from Tata McGraw-Hill (www.tatamcgrawhill.com): Winning the Merger Endgame, by Graeme K. Deans, Fritz Kroeger and Stefan Zeisel. The book is "a natural history of M&A" writes James K. Glassman in his foreword. The authors have picked from `a database of more than 25,000 global firms' about 1,500 large mergers and found that `more mergers destroy value than create it', though merger activity is logical rather than emotional or ego-driven. Other important findings are that an internal growth strategy is not superior to a merger strategy; and the same forces of consolidation and deconsolidation — of merging and demerging — drive every industry.

The merger Endgames S-curve travels through four stages, viz. opening, scale, focus, and balance and alliance. The curve is touted as `the next-best thing' since we don't have a crystal ball. The curve is based on two sets of values: "The concentration degree on the y-axis and the dynamics or speed of concentration on the x-axis." There are many concentration indicators, informs the book. One is CR3 or `three-firm concentration ratio', which is "the combined share of industry sales held by the three largest firms in an industry". Another is HHI or the Hirschman-Herfindahl Index, "the sum of the squared market shares of the firms in a market."

The only optimal size is bigger — bigger than last year, bigger than the competitors, with a strategy to get even bigger tomorrow, advise the authors. Speed is everything, they say. "Companies that move up the Endgames curve the fastest are the most successful... Slower companies eventually become acquisition targets and disappear from the curve."

The book shares its vision of 2010, in which there will be `new financial scorekeepers'; and the role of auditors would change too. The authors foresee "an annual report with an independent section written by a company's auditor on where the company and its industry are positioned on the Endgames curve, the five-year outlook for merger activity and consolidation in the industry, and the major strategic imperatives for the company's management to address." Will the profession be ready for the new challenge?



โดย: Winning the Merger Endgame, by Graeme K. Deans, Fritz Kroeger and Stefan Zeisel (moonfleet ) วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:6:15:10 น.  

 
"ทักษิณ" แนะนำหนังสือ "Winning the Merger Endgame" ให้ ครม.อ่าน

โดยเป็นหนังสือที่เขียนถึงการรวมกิจการและความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ

หนังสือนี้จะแนะนำการรวมกิจการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะกล่าวถึงภาคอุตสาหกรรมต่างๆว่ามีการเติบโตมาอย่างไร และได้พูดถึงวงรอบของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท อีกทั้งยังได้กล่าวถึงประเทศต่างๆที่มีความสำเร็จทางภาคอุตสาหกรรม

ในหนังสือได้แนะนำว่า ผู้บริหารประเทศจะต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือผู้บริหารประเทศกำหนดยุทธศาสตร์ทางด้านการเมืองเพื่อเอื้อำนวยให้วงการอุตสาหกรรม เพื่อไปสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างเหมาะสม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1. การสร้างกฎระเบียบและสิ้งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้วงการอุตสาหกรรม ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดย่อม มีการเจริญเติบโต 2. เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งเสริมต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น รวมถึงอุตสาหกรรม และบริษัทต่างๆ 3. เป็นการสร้างการศึกษาที่จะกระตุ้นให้ประชาชนได้ทราบถึงประโยชน์การสร้างอุตสาหกรรม เพื่อสร้างผู้ประกอบการใหม่ๆขึ้นมา และ 4ฬ ได้แนะนำเกี่ยวกับความใหญ่โตของบริษัท ซึ่งใน 4 ส่วนนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่าตรงกับนโยบายของรัฐบาลที่กำลังทำอยู่

ที่มา : คมชัดลึก


โดย: "ทักษิณ" แนะนำหนังสือ "Winning the Merger Endgame" ให้ ครม.อ่าน (moonfleet ) วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:6:16:14 น.  

 
2549 กระแส Convergence จะมาแรง
มองมุมใหม่ : กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2549

ถึงช่วงสิ้นปีต่อต้นปีก็ถึงช่วงที่เปิดโอกาสให้หลายๆ คน ได้กลับมานั่งพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นปีที่แล้ว พร้อมกันนั้น ก็เปิดโอกาสให้หลายๆ คน ได้มองไปข้างหน้าว่า ในปีหน้าจะมีแนวโน้มของสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง ?

ในความคิดเห็นของผู้เขียน จุดเชื่อมระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ (31 ธันวาคม ต่อ 1 มกราคม) เป็นเพียงแค่จุดสมมติที่เราคิดกันขึ้นมา เพื่อแบ่งแยกระหว่างปีที่กำลังผ่านไป กับปีใหม่ที่กำลังมาถึง การมองแนวโน้มหรือสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ย่อมไม่สามารถแยกออกได้ จากสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2548 หรือแม้กระทั่งปี 2546 หรือ 2547

การมองแนวโน้มในปีหน้าจึงไม่ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยปรากฏขึ้นบนโลกนี้มาก่อน เป็นเพียงแต่การนำข้อมูลหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาพิจารณาถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ผมจะทำในบทความชิ้นนี้ นั่นคือนำแนวโน้มหรือสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในปีที่ผ่านๆ มาแล้วมาประมวลแล้วพิจารณาว่าจะมีปัจจัยใดหรือเรื่องใดที่จะโดดเด่นหรือมีความสำคัญสำหรับปี 2549

ในปี 2549 สิ่งที่เราจะเห็นในด้านการบริหารจัดการนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากปีที่แล้วและปีนี้ เพียงแต่เราจะพบเห็นเรื่องเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ และเรื่องเหล่านี้จะทวีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทั้งในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนมากขึ้น

เรื่องแรกคือที่เราเรียกว่า Convergence หรือการรวมกันของปัจจัยและสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราได้พบเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และผมคิดว่าจะทวีความสำคัญมากขึ้นในปี 2549

คำว่าทวีความสำคัญไม่ได้หมายถึงการรวมกัน หรือ Convergence ที่จะมากขึ้น แต่จะเป็นเรื่องที่มีการรวม หรือ Converge กันมากขึ้น เรามาลองพิจารณากันนะครับว่า ที่ผมบอกว่าจะมีการรวมในด้านต่างๆ มากขึ้นนั้น จะมีเรื่องของอะไรบ้าง

ประการแรก ก็คือการรวมกันขององค์กรธุรกิจ ซึ่งท่านผู้อ่านอาจจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ และก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่จะเป็นสิ่งที่เรายังเห็นต่อในปี 2549 นี้ การรวมกันนี้อาจจะเกิดขึ้นทั้งในรูปแบบการซื้อขายกิจการ หรือการควบรวมกิจการ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนับวันจะมีมากขึ้น และเกิดขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น การรวมของกิจการต่างๆ นั้น เป็นไปตามหลักการที่อุตสาหกรรมต่างๆ จะมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะ Consolidate กันมากขึ้น

นั่นคือจะเหลือองค์กรในอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่อุตสาหกรรม และแต่ละรายก็จะมีขนาดใหญ่

แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยที่ปรากฏในหนังสือ Winning the Merger Endgame ที่ระบุว่า สุดท้ายแล้ว ทุกอุตสาหกรรมย่อมจะเข้าสู่สภาวะเดียวกัน คือภาวะ Consolidate ที่จะเหลือผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เพียงแต่ระยะเวลาและช่วงเวลาที่แต่ละอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ภาวะ Endgame ที่แตกต่างกัน

ประการที่สอง คือการรวมตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในช่วงหลังเราจะพบว่ามีอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยคิดเห็นหรือเคยคิดมาก่อน ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น การรวมตัวระหว่างอุตสาหกรรมบันเทิงและการศึกษา ที่ออกมาเป็น Edutainment

อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เราจะพบเห็นในปีหน้าและปีต่อๆ ไปจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของอุตสาหกรรมเดิมๆ พัฒนาการของอุตสาหกรรมใหม่ๆ นั้น เกิดขึ้นทั้งจากพัฒนาการของเทคโนโลยี และแรงกดดันทางด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมๆ ที่คอยบีบบังคับให้ผู้เล่นรายเดิมๆ ต้องหาหนทางในการเติบโตใหม่ๆ

เนื่องจากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมเข้าสู่สภาวะวิกฤติ และกลายเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมกลายเป็นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก ทำให้ผู้เล่นรายเดิมๆ ต้องหาหนทางใหม่ๆ ในการเติบโต โดยการสร้างอุตสาหกรรมหรือตลาดใหม่ๆ ขึ้นมา และสาเหตุข้างต้นทำให้ในปีที่ผ่านมาหนังสือทางด้านบริหารที่ขายดี และเป็นที่ยอมรับกันที่สุด คือเรื่องของ Blue Ocean Strategy ที่เสนอแนะแนวทางในการเติบโตเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ และการไปสร้างอุปสงค์ใหม่ๆ (New Demand Creation)

ประการที่สามเป็นการรวม (Converge) ของศาสตร์และวิทยาการต่างๆ ในแวดวงวิชาการเราจะพบการบูรณากา รระหว่างศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระหว่างทางด้านแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แนวโน้มที่เราพบเห็นในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน และน่าจะทวีความสำคัญมากขึ้น คือการบูรณาการระหว่างศาสตร์เหล่านี้ จนกระทั่งกลายออกมาเป็นศาสตร์ใหม่ เช่น Biomedical Engineering เป็นต้น

นอกเหนือจากการบูรณาการของศาสตร์ต่างๆ ในสถาบันการศึกษาแล้ว เรายังจะพบการบูรณาการในศาสตร์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริหารองค์กรด้วย สิ่งที่โดดเด่นก็หนีไม่พ้นการนำหลักการทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะเรื่องการทำงานของสมองเข้ามาผสมผสานกับการบริหาร และการตลาด

เราจะพบว่า มีการนำผลการศึกษาในเรื่องการทำงานของสมองเราเข้ามาใช้ร่วมกับการบริหารและจูงใจคนในด้านต่างๆ ผ่านทางการศึกษาในเรื่องของภาวะผู้นำ สำหรับการผสมผสานทางด้านการตลาดนั้น ก็มีความพยายามที่จะศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภคผ่านทางการศึกษาในเรื่องของการทำงานของสมองคนเรา

ประการที่สี่เป็นการบูรณาการของศาสตร์ทางการบริหารในโลกตะวันตกเข้ากับศาสตร์และหลักการของโลกตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำหลักในการบริหารจัดการผสมผสานและเชื่อมโยงกับพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งในช่วงหลังเราจะพบเห็นหนังสือและนักคิดในด้านนี้มากขึ้น

จริงๆ แล้ว ก็ไม่น่าแปลกครับ เนื่องจากถ้าเปรียบเทียบอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าหลักการบริหารของโลกตะวันตกนั้น โดยเฉพาะในเรื่องของภาวะผู้นำและการบริหารคนนั้น แทบจะไม่แตกต่างจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังได้มีความพยายามที่เห็นชัดเจนมากขึ้นในการศึกษาและเชื่อมโยงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ต่างๆ โดยในช่วงแรกจะพบเห็นความเชื่อมโยงกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์จีนก่อน เช่น นำเอาตัวละครและหลักการต่างๆ ในสามก๊ก เข้ากับแนวคิดการบริหารในปัจจุบัน เช่น เรื่องของกลยุทธ์ เป็นต้น

ไม่แน่นะครับ ในปีหน้า เราอาจจะเห็นผู้นำเอาเรื่องราวต่างๆ ของไทย เช่น พระยาพิชัยดาบหัก หรือหมู่บ้านบางระจัน หรือการต่อสู้ของท้าวเทพกษัตรีย์และท้าวศรีสุนทร เชื่อมโยงกับหลักของภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม หรือการต่อสู้ในภาวะวิกฤติ ก็เป็นได้

จากผลพวงของความตื่นตัวในเรื่องของ Convergence ในด้านต่างๆ ตามที่ได้เสนอไปข้างต้น ทำให้ผมเองได้กลับมานั่งคิดทบทวนว่า จากปรากฏการณ์เรื่องของ Convergence นั่นอะไรคือทักษะ หรือคุณลักษณะที่เราควรจะมี เพื่อให้สามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จในยุค Convergence?

คิดไปคิดมาก็คิดได้เรื่องเดียวครับ นั่นคือความสามารถในการมองภาพต่างๆ ในเชิงองค์รวม หรือที่เราเรียกว่า Holistic View หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า Sytemetic Thinking หรือ Conceptual Thinking ก็ได้

นั่นคือ คนทำงานและผู้บริหารต้องสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ได้ดี และชัดเจน ไม่ใช่การมองสิ่งต่างๆ ในลักษณะของการแยกชิ้นแยกส่วนและขาดความเชื่อมโยง การมองสิ่งต่างๆ ในองค์รวม จะทำให้เราสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ อันจะนำไปสู่การบูรณาการระหว่างสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

พวกเราส่วนใหญ่มักถูกสอนให้แยกส่วนวิเคราะห์ แต่สิ่งที่ขาดคือการสังเคราะห์สิ่งที่แยกส่วนนั้นให้รวมกลับมาเชื่อมโยงกัน ปัญหาดังกล่าวสามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากแผนกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ ที่มักเป็นลักษณะของการนำแผนของแต่ละหน่วยงาน มาประกบกัน โดยขาดความเชื่อมโยงที่ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริง

สิ่งที่ผมพบโดยทั่วไปคือเวลาเรากำลังคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือพิจารณาสิ่งใดอยู่นั้น เรามักจมเข้าไปสู่รายละเอียด หรือประเด็นปลีกย่อยของปัญหา จนในที่สุด ก็ไม่สามารถมองในภาพรวมของสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้ หลายๆ ครั้ง ที่เราจะต้องถอยหลังออกมาก้าวหนึ่ง เพื่อไม่ให้จมอยู่ในรายละเอียดมากเกินไป และสามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งปัญหาข้างต้นจะไม่เกิดเลยครับ ถ้าเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในเชิงองค์รวมกันได้มากขึ้น ซึ่งผมถือว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร แต่จะสร้างขึ้นมาก็ไม่ใช่ง่ายๆ คงต้องมีกรอบความคิดที่ชัดเจน รวมทั้งมีต้นแบบที่ดีอีกด้วย

หวังว่าแนวโน้มปี 2549 ของผม คงจะทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพในสิ่งที่น่าจะเกิดหรือมีความสำคัญในปีหน้านะครับ และอย่างที่เรียนในตอนต้นแนวโน้มปี 2549 นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นแนวโน้มที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านๆ มา แต่จะเป็นสิ่งที่ทวีความสำคัญมากขึ้น และน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการบริหารในปี 2549 นี้ สุดท้ายก็ต้องขออำนวยพร และสวัสดีปีใหม่ในปี 2549 ไปยังท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านด้วยนะครับ


มองมุมใหม่ : กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2549

ถึงช่วงสิ้นปีต่อต้นปีก็ถึงช่วงที่เปิดโอกาสให้หลายๆ คน ได้กลับมานั่งพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นปีที่แล้ว พร้อมกันนั้น ก็เปิดโอกาสให้หลายๆ คน ได้มองไปข้างหน้าว่า ในปีหน้าจะมีแนวโน้มของสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง ?

ในความคิดเห็นของผู้เขียน จุดเชื่อมระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ (31 ธันวาคม ต่อ 1 มกราคม) เป็นเพียงแค่จุดสมมติที่เราคิดกันขึ้นมา เพื่อแบ่งแยกระหว่างปีที่กำลังผ่านไป กับปีใหม่ที่กำลังมาถึง การมองแนวโน้มหรือสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ย่อมไม่สามารถแยกออกได้ จากสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2548 หรือแม้กระทั่งปี 2546 หรือ 2547

การมองแนวโน้มในปีหน้าจึงไม่ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยปรากฏขึ้นบนโลกนี้มาก่อน เป็นเพียงแต่การนำข้อมูลหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาพิจารณาถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ผมจะทำในบทความชิ้นนี้ นั่นคือนำแนวโน้มหรือสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในปีที่ผ่านๆ มาแล้วมาประมวลแล้วพิจารณาว่าจะมีปัจจัยใดหรือเรื่องใดที่จะโดดเด่นหรือมีความสำคัญสำหรับปี 2549

ในปี 2549 สิ่งที่เราจะเห็นในด้านการบริหารจัดการนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากปีที่แล้วและปีนี้ เพียงแต่เราจะพบเห็นเรื่องเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ และเรื่องเหล่านี้จะทวีความสำคัญต่อการบริหารจัดการทั้งในองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนมากขึ้น

เรื่องแรกคือที่เราเรียกว่า Convergence หรือการรวมกันของปัจจัยและสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราได้พบเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และผมคิดว่าจะทวีความสำคัญมากขึ้นในปี 2549

คำว่าทวีความสำคัญไม่ได้หมายถึงการรวมกัน หรือ Convergence ที่จะมากขึ้น แต่จะเป็นเรื่องที่มีการรวม หรือ Converge กันมากขึ้น เรามาลองพิจารณากันนะครับว่า ที่ผมบอกว่าจะมีการรวมในด้านต่างๆ มากขึ้นนั้น จะมีเรื่องของอะไรบ้าง

ประการแรก ก็คือการรวมกันขององค์กรธุรกิจ ซึ่งท่านผู้อ่านอาจจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่ใหม่ และก็ต้องยอมรับว่าไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่จะเป็นสิ่งที่เรายังเห็นต่อในปี 2549 นี้ การรวมกันนี้อาจจะเกิดขึ้นทั้งในรูปแบบการซื้อขายกิจการ หรือการควบรวมกิจการ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนับวันจะมีมากขึ้น และเกิดขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น การรวมของกิจการต่างๆ นั้น เป็นไปตามหลักการที่อุตสาหกรรมต่างๆ จะมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะ Consolidate กันมากขึ้น

นั่นคือจะเหลือองค์กรในอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่อุตสาหกรรม และแต่ละรายก็จะมีขนาดใหญ่

แนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยที่ปรากฏในหนังสือ Winning the Merger Endgame ที่ระบุว่า สุดท้ายแล้ว ทุกอุตสาหกรรมย่อมจะเข้าสู่สภาวะเดียวกัน คือภาวะ Consolidate ที่จะเหลือผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เพียงแต่ระยะเวลาและช่วงเวลาที่แต่ละอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ภาวะ Endgame ที่แตกต่างกัน

ประการที่สอง คือการรวมตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในช่วงหลังเราจะพบว่ามีอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เคยคิดเห็นหรือเคยคิดมาก่อน ที่เราคุ้นเคยกัน เช่น การรวมตัวระหว่างอุตสาหกรรมบันเทิงและการศึกษา ที่ออกมาเป็น Edutainment

อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เราจะพบเห็นในปีหน้าและปีต่อๆ ไปจะเป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของอุตสาหกรรมเดิมๆ พัฒนาการของอุตสาหกรรมใหม่ๆ นั้น เกิดขึ้นทั้งจากพัฒนาการของเทคโนโลยี และแรงกดดันทางด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมๆ ที่คอยบีบบังคับให้ผู้เล่นรายเดิมๆ ต้องหาหนทางในการเติบโตใหม่ๆ

เนื่องจากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมเข้าสู่สภาวะวิกฤติ และกลายเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดิมกลายเป็นการแข่งขันในด้านราคาเป็นหลัก ทำให้ผู้เล่นรายเดิมๆ ต้องหาหนทางใหม่ๆ ในการเติบโต โดยการสร้างอุตสาหกรรมหรือตลาดใหม่ๆ ขึ้นมา และสาเหตุข้างต้นทำให้ในปีที่ผ่านมาหนังสือทางด้านบริหารที่ขายดี และเป็นที่ยอมรับกันที่สุด คือเรื่องของ Blue Ocean Strategy ที่เสนอแนะแนวทางในการเติบโตเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ และการไปสร้างอุปสงค์ใหม่ๆ (New Demand Creation)

ประการที่สามเป็นการรวม (Converge) ของศาสตร์และวิทยาการต่างๆ ในแวดวงวิชาการเราจะพบการบูรณากา รระหว่างศาสตร์ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระหว่างทางด้านแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แนวโน้มที่เราพบเห็นในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน และน่าจะทวีความสำคัญมากขึ้น คือการบูรณาการระหว่างศาสตร์เหล่านี้ จนกระทั่งกลายออกมาเป็นศาสตร์ใหม่ เช่น Biomedical Engineering เป็นต้น

นอกเหนือจากการบูรณาการของศาสตร์ต่างๆ ในสถาบันการศึกษาแล้ว เรายังจะพบการบูรณาการในศาสตร์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการบริหารองค์กรด้วย สิ่งที่โดดเด่นก็หนีไม่พ้นการนำหลักการทางด้านการแพทย์ โดยเฉพาะเรื่องการทำงานของสมองเข้ามาผสมผสานกับการบริหาร และการตลาด

เราจะพบว่า มีการนำผลการศึกษาในเรื่องการทำงานของสมองเราเข้ามาใช้ร่วมกับการบริหารและจูงใจคนในด้านต่างๆ ผ่านทางการศึกษาในเรื่องของภาวะผู้นำ สำหรับการผสมผสานทางด้านการตลาดนั้น ก็มีความพยายามที่จะศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภคผ่านทางการศึกษาในเรื่องของการทำงานของสมองคนเรา

ประการที่สี่เป็นการบูรณาการของศาสตร์ทางการบริหารในโลกตะวันตกเข้ากับศาสตร์และหลักการของโลกตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำหลักในการบริหารจัดการผสมผสานและเชื่อมโยงกับพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งในช่วงหลังเราจะพบเห็นหนังสือและนักคิดในด้านนี้มากขึ้น

จริงๆ แล้ว ก็ไม่น่าแปลกครับ เนื่องจากถ้าเปรียบเทียบอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าหลักการบริหารของโลกตะวันตกนั้น โดยเฉพาะในเรื่องของภาวะผู้นำและการบริหารคนนั้น แทบจะไม่แตกต่างจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังได้มีความพยายามที่เห็นชัดเจนมากขึ้นในการศึกษาและเชื่อมโยงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ต่างๆ โดยในช่วงแรกจะพบเห็นความเชื่อมโยงกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์จีนก่อน เช่น นำเอาตัวละครและหลักการต่างๆ ในสามก๊ก เข้ากับแนวคิดการบริหารในปัจจุบัน เช่น เรื่องของกลยุทธ์ เป็นต้น

ไม่แน่นะครับ ในปีหน้า เราอาจจะเห็นผู้นำเอาเรื่องราวต่างๆ ของไทย เช่น พระยาพิชัยดาบหัก หรือหมู่บ้านบางระจัน หรือการต่อสู้ของท้าวเทพกษัตรีย์และท้าวศรีสุนทร เชื่อมโยงกับหลักของภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม หรือการต่อสู้ในภาวะวิกฤติ ก็เป็นได้

จากผลพวงของความตื่นตัวในเรื่องของ Convergence ในด้านต่างๆ ตามที่ได้เสนอไปข้างต้น ทำให้ผมเองได้กลับมานั่งคิดทบทวนว่า จากปรากฏการณ์เรื่องของ Convergence นั่นอะไรคือทักษะ หรือคุณลักษณะที่เราควรจะมี เพื่อให้สามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จในยุค Convergence?

คิดไปคิดมาก็คิดได้เรื่องเดียวครับ นั่นคือความสามารถในการมองภาพต่างๆ ในเชิงองค์รวม หรือที่เราเรียกว่า Holistic View หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า Sytemetic Thinking หรือ Conceptual Thinking ก็ได้

นั่นคือ คนทำงานและผู้บริหารต้องสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ได้ดี และชัดเจน ไม่ใช่การมองสิ่งต่างๆ ในลักษณะของการแยกชิ้นแยกส่วนและขาดความเชื่อมโยง การมองสิ่งต่างๆ ในองค์รวม จะทำให้เราสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ อันจะนำไปสู่การบูรณาการระหว่างสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

พวกเราส่วนใหญ่มักถูกสอนให้แยกส่วนวิเคราะห์ แต่สิ่งที่ขาดคือการสังเคราะห์สิ่งที่แยกส่วนนั้นให้รวมกลับมาเชื่อมโยงกัน ปัญหาดังกล่าวสามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากแผนกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ ที่มักเป็นลักษณะของการนำแผนของแต่ละหน่วยงาน มาประกบกัน โดยขาดความเชื่อมโยงที่ก่อให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริง

สิ่งที่ผมพบโดยทั่วไปคือเวลาเรากำลังคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือพิจารณาสิ่งใดอยู่นั้น เรามักจมเข้าไปสู่รายละเอียด หรือประเด็นปลีกย่อยของปัญหา จนในที่สุด ก็ไม่สามารถมองในภาพรวมของสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้ หลายๆ ครั้ง ที่เราจะต้องถอยหลังออกมาก้าวหนึ่ง เพื่อไม่ให้จมอยู่ในรายละเอียดมากเกินไป และสามารถมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งปัญหาข้างต้นจะไม่เกิดเลยครับ ถ้าเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในเชิงองค์รวมกันได้มากขึ้น ซึ่งผมถือว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหาร แต่จะสร้างขึ้นมาก็ไม่ใช่ง่ายๆ คงต้องมีกรอบความคิดที่ชัดเจน รวมทั้งมีต้นแบบที่ดีอีกด้วย

หวังว่าแนวโน้มปี 2549 ของผม คงจะทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพในสิ่งที่น่าจะเกิดหรือมีความสำคัญในปีหน้านะครับ และอย่างที่เรียนในตอนต้นแนวโน้มปี 2549 นั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นแนวโน้มที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านๆ มา แต่จะเป็นสิ่งที่ทวีความสำคัญมากขึ้น และน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการบริหารในปี 2549 นี้ สุดท้ายก็ต้องขออำนวยพร และสวัสดีปีใหม่ในปี 2549 ไปยังท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านด้วยนะครับ

Resource:
//www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q1/2006january03p7.htm


โดย: 2549 กระแส Convergence จะมาแรง (moonfleet ) วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:6:18:30 น.  

 
To Be Number One (ตอนที่ 5)
AstraZeneca People Management and Development

“Merger competence becomes the core competence of winners . The value of a merger or acquisition will be found in the increased competitiveness of the combined entity, the resulting increase in shareholder value and the move up the Endgames Curve” (จากหนังสือ Winning the Merger Endgame)

ปี 1999 บริษัท Astra ประเทศสวีเดน ได้ควบรวมธุรกิจกับบริษัท Zeneca ประเทศอังกฤษ เป็น AstraZeneca แน่นอนจุดประสงค์ของการควบรวมธุรกิจ ก็เพื่อสิ่งที่ดีขึ้น เช่น เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน (Increase Competitiveness), ส่วนแบ่งตลาด (Increase Market Share) การขยายตลาด (Market Expansion and Penetration), การเพิ่มอัตราเติบโต (Increase Growth Rate), การเพิ่มมูลค่าตลาดขององค์กร (Increase Market Value) และเป้าหมายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การลดต้นทุนและผนึกทรัพยากร (Cost Reduction and Resource Consolidation) แต่ไม่มีงานควบรวมธุรกิจใดที่ไม่กระทบต่อขวัญ กำลังใจและความมั่นคงของพนักงาน แม้กระทั่งต่อองค์กรธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่าน ถ้าสามารถลดผลกระทบโดยรวมให้เหลือน้อยสุด (Minimize Negative Impact) ได้เท่าใดก็จะเพิ่มประโยชน์ต่อองค์กรใหม่ในทุกด้าน (Maximize Positive Impact) ได้มากขึ้นเป็นทวีคูณ เรามาดูกันว่าในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition of Merger) ของการควบรวมธุรกิจ Astra กับ Zeneca คุณสิทธิชัย โอฬารกุล ผู้บริหารระดับสูงของ AstraZeneca มีปรัชญาและเคล็ดลับในการบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านของการควบรวมธุรกิจอย่างไร ซึ่งเป็นบทความตอนสุดท้ายของ To Be Number One ที่ PharMarketing เสนอติดต่อกันมาเป็นเดือนที่ห้า Concept ด้านทรัพยากรบุคลากรของ AstraZeneca คือ Merger for Equal หมายถึง ผู้บริการระดับสูงสุดในตำแหน่ง President ของทุกประเทศควรมาจากบริษัทละกึ่งหนึ่ง แต่ทว่าธุรกิจยาของ Astra มีมูลค่าใหญ่กว่าธุรกิจยาของ Zeneca มาก (Zeneca มีธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น เคมีเกษตร หรือ Agrochemical) จึงต้องจัดสัดส่วนของผู้บริหารระดับสูงให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจก่อนจะรวมกัน อัตราส่วนมูลค่าตลาดยาของ Astra ต่อ Zeneca ประมาณ 75 ต่อ 25 แต่หลังการควบรวมมีผู้บริหารสูงสุดที่มาจาก Astra ประมาณร้อยละ 65 อีกร้อยละ 35 มาจาก Zeneca ก็ไม่เป็นไรยอมรับกันได้ทั้งสองฝ่าย

เคล็ดลับและปรัชญาในการบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านของการควบรวมธุรกิจ คือ 1 บริหารความกลัวของผู้ร่วมงาน (Manage People’s Fear) ผมบอกผู้ใต้บังคับบัญชาว่า คุณไม่ต้องกลัวถ้าหากว่าคุณเก่ง แต่ถ้าคุณไม่เก่งเขาก็ไม่เลือกคุณอยู่แล้ว ซึ่งคุณก็ควรจะรู้ตัวเองดี และแฟร์กับตัวเองและบริษัท แต่ถ้าคุณเก่งแล้วเขาไม่เลือกคุณด้วยสาเหตุว่าผู้ใหญ่จะเอาคนนี้ก่อนหรือเอาคนโน้นก่อน หรือว่าหัวหน้าตาถั่วมองไม่เห็นความเก่งในตัวคุณ คุณไม่ต้องกลัวเพราะคุณจะได้รับ Package ที่ดีเยี่ยมไป และในเวลาเดียวกัน ผมเชื่อว่าวันรุ่งขึ้นพอคุณเดินพ้นจากบริษัท ต้องมีคนมาดักรอรับคุณไปทำงานอีกที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าคุณเก่งแต่เกิดไม่ได้รับเลือก คุณจะได้ทั้งเงินและกล่อง ไม่ต้องกลัวเลย ผมพยายามให้ลูกน้องผมหยุด Worry และความกลัว ในร้อยคนจะมีคนต้องออกประมาณ 15 คน แล้วทำไมอีก 85 คนที่เหลือจะต้องพลอยกังวลไปด้วย ส่วน 15 คนที่ต้องไปเราก็จ้างบริษัท Job Placement จากต่างประเทศมา Train วิธีการหางาน การสมัครงาน ตลอดจนการสัมภาษณ์งานให้เขามีความพร้อมที่ออกจากเราไปแล้วสามารถแข่งขันในตลาดได้ ทุกคนที่ต้องออกก็จากไปอย่างมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและผู้บริหารระดับสูง” 2 การตัดสินใจเร็ว (Establish Leadership Quickly) ผม Make Decision เร็ว ถ้ามันจะเจ็บปวดแล้วไม่กล้าทำมัวแต่รอมันก็ยิ่งเจ็บปวดนาน ต้องฟันธงไปเลยและให้เร็วที่สุด ผมแต่งตั้งผู้บริหารในระดับ First Line ได้รวดเร็วโดยมีการ Balance ของจำนวนผู้บริหารในระดับ Directors ที่มาจากทั้ง Astra และ Zeneca พอถึงระดับ Area Salesmanagers ก็มี Free Hand ในการเลือกและแต่งตั้ง ผมประกาศว่าในตำแหน่งระดับ Supervisors อาจเลือกจากคนเดิมของ Astra หรือ Zeneca แล้วแต่ Managers ที่จะเลือกคนที่ดีที่สุดเข้ามาร่วมทีมงานเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ถ้าอยากเลือกอย่างมี Bias เลือกพรรคเลือกพวกก็ไม่ว่า ทำได้แต่พอสิ้นวัน At the End of the Day แล้วไม่มีผลงาน Result ไม่เข้าเป้า ผมมีสิทธิจะเอา Manager ออกโดยไม่มี Compensation เชื่อไหมครับ ผลออกมาปรากฏว่าทุกคนแย่งเลือกแต่คนเก่งและคนดี โดยไม่คำนึงว่าเป็นคนของ Astra หรือ Zeneca มาก่อน ที่กล่าวมานี้เป็นการ Indirectly Force ให้หัวหน้าเลือกคนที่เก่งมาร่วมทีมงาน เราจึงมีคนเก่งในองค์กรมาโดยตลอด เราต้องทำได้เร็ว ผมเป็นคนที่ทำเสร็จก่อนประเทศอื่นในเอเชีย พอ Head Office ประกาศแต่งตั้งผมเป็น President ของ AstraZeneca ประเทศไทย ในวันที่ 6 เมษายน ช่วงประมาณกลางเดือน ถึงปลายเดือนเมษายน ผมก็ได้ Appoint ระดับ Directors แล้วผมก็เรียกทุกคนมาอยู่ตึกนี้ให้หมด ถึงแม้อีกที่ที่ Zeneca เคยอยู่เราต้องจ่ายค่าเช่าฟรีๆ ผมก็ไม่แคร์ จ่ายก็จ่าย การทำงานร่วมกันสำคัญกว่า ทุกคนต้องมาอยู่ที่นี่หมด เพราะที่นี่เป็นที่ทำการของพวกเรา ในขณะนั้นยังไม่ได้ Appoint ระดับกลางและล่างด้วยซ้ำ แต่ไม่เป็นไรให้ทุกคนมาทำงานที่นี่ด้วยกันก่อน 3 มีความจริงใจมุ่งเน้นต่อผลลัพธ์และสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจ (Be Sincere, Focus on Results and Communicate Them) ไม่มี Politic และ Fair กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนของ Astra และ Zeneca ส่วนใหญ่ก็เป็นรุ่นน้องของเราทั้งนั้น เป็นเด็กของเราทั้งนั้น เจอหน้าก็ยกมือไหว้ เรียกเราว่าพี่ เราจะ Bias จะเล่น Politic ก็ไม่ถูกต้อง ตัวเราจะอยู่ได้ไม่นาน แต่ถ้าเราตรงไปตรงมาก็จะไม่มีปัญหา คนที่ถูกกระทบอาจโกรธเราบ้างแต่ต่อไปก็จะเข้าใจเรา สิ่งนี้สำคัญมาก เราเป็นผู้นำต้องจริงใจต่อลูกน้องเขาจึงจะจริงใจกับเราและจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน องค์กรจึงจะเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน และไปด้วยความเร็วเร่ง ตอน Merge กันใหม่ๆ Astra รวมกับ Zeneca มียอดขายอยู่ในอันดับที่ 8 ของ PPA แต่สามปีผ่านไป เราแซงขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 5 และเรามั่นใจว่าจะขึ้นมาสูงกว่านี้อีก เราต้องสื่อให้เขารู้ว่าเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร เรา Merge to Grow 4 ประสานเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรที่อาจแตกต่างหรือขัดแย้งกัน (Be Sensitive to Culture Clashes) ผมว่าเป็นโชคหรือความเฮงส่วนหนึ่งที่บริษัทที่มารวมกับเราก็มีบุคลากรเป็นเภสัชกรรุ่นพี่รุ่นน้องที่รู้จักและเคารพนับถือกันมาก่อน และที่สำคัญคือเป็นคนดีที่มี Positive Thinking ไม่คิดอะไรในทางลบ เพราะฉะนั้นมันก็ Blend เข้ากันได้ง่ายและเข้ากันได้ดีและเร็ว ไม่มีการ Clash จากวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน อาจมีบ้างในบางระดับ เด็กๆ ที่เขาตั้งข้อสังเกตว่าทำไมคนนี้เป็นอย่างโน้น คนโน้นเป็นอย่างนี้ นั่นเป็นความรู้สึกส่วนตัวหรือ Take Things too Personal มันเป็นเรื่อง Basic เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เราเป็นผู้นำต้องหนักแน่นไม่หูเบา ผมดีใจที่ระดับหัวหน้าไม่มีปัญหาส่วนตัวเหล่านั้น เราประสานเรื่องของวัฒนธรรมได้ดีทีเดียว 5 เราต้องให้ทั้งความยุติธรรมและความเป็นธรรม (Enhance Equality and Fair Play) เมื่อเรารวมกันเป็นองค์กรเดียวกันแล้วทุกคนเป็นคนสำคัญขององค์กรใหม่ มีสิทธิเท่ากันไม่ใช่ว่าผู้นำมาจาก Astra แล้วจะลำเอียงให้สิทธิพิเศษกับคน Astra มากกว่า Zeneca ไม่ใช่ ทุกคนเป็น AstraZeneca จะต้องได้รับการปฏิบัติเหมือนกันและเท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างเรื่องห้องทำงาน ผมให้ทุกคนเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่หมดใช้วิธีจับสลากว่าใครจะได้อยู่ห้องไหน ใครมือดีก็ได้ห้องที่ตำแหน่งทำเลดี ทัศนียภาพดี แล้วแต่ดวง ไม่เลือกปฏิบัติ นี่คือปรัชญาและเคล็ดลับในการบริหารการเปลี่ยนผ่านและการควบรวมธุรกิจยาระดับยักษ์ใหญ่บริษัทหนึ่งโดยผู้บริหารคนไทย ที่ทำได้อย่างราบรื่นแบบ Smooth as Silk เพื่อนำองค์กรสู่เป้าหมายความเป็นเลิศต่อไป แถมท้ายด้วยการแสดงมุมมอง วิสัยทัศน์ ของนักการตลาดยาระดับพระกาฬของประเทศ ฝากไว้เป็นข้อคิดดังนี้ ระบบสุขภาพของไทยในภาครัฐขณะนี้อยู่ในระยะการเปลี่ยนผ่าน จากระบบงบประมาณเป็นระบบเหมาจ่าย Capitation คุณสิทธิชัยให้ความเห็นถึงแนวโน้มตลาดยา Industry Trend ว่า “นักการตลาดยาคงต้องเหนื่อย มากน้อยก็คงขึ้นกับเภสัชภัณฑ์ที่มีอยู่ ถ้าเป็น Mee-too Products (คุณมีฉันก็มีด้วย หรือทำตามผู้นำตลาด) คงไปได้ลำบาก ยาที่มี Generic ออกมาเยอะคงไปได้ยากและหนักหนาสาหัสพอสมควร อัตราการเติบโตจะช้าลงไหม ผมว่า Multinational Market คงจะเติบโตช้าลงมาหน่อย ในขณะเดียวกันมันก็คง Vary ระหว่างบริษัทต่อบริษัท ขึ้นอยู่กับยาใหม่ใน Pipeline ว่าจะออกมาอย่างไร ถ้าเป็นยาที่เป็น Breakthrough ผมก็ว่าไม่น่าจะลด ยิ่งเกิด Crisis คนยิ่งอยากจะใช้ยาดีที่สุด เพราะภาวะดังกล่าวรอไม่ได้ จะรอช้าหน่อยค่อยๆ หาย คงไม่ได้การ เพราะถึงคราว Critical คนจะเลือก The Best Products ในทาง Healthcare การรักษาพยาบาลที่ถือว่าจำเป็นมาก ต่างกันกับการไปกินอาหารหาความบันเทิงนอกบ้าน ซึ่งยามวิกฤตจะลดความฟุ่มเฟือยลง เคยไปโรงแรมห้าดาวก็ลดเหลือสี่ดาว แต่ถ้าเป็นความเจ็บป่วยทำอย่างนั้นไม่ได้ คนต้องการยาที่เป็น The Best แต่ตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤตที่มีคนตกงานกันมากหรืออยู่ในภาวะ Recession มันเป็นเรื่องของ Industry Position ตรงนี้เท่านั้น ที่ตลาดอาจจะหดตัวลงเพราะรัฐบาลต้องการซื้อของราคาถูกแต่ผมว่า At the End of The Day ทุกคนต้อง Aim for the Best ระบบ Healthcare System ในอนาคตจะเป็นอย่างไร มันมองยาก พูดยาก รัฐบาลแข็งมาก สิ่งที่รัฐบาลตั้งใจที่จะให้มีหลักประกันสุขภาพตั้งแต่เกิดเป็นสิ่งที่ดี แต่เราต้องดูความเป็นจริงว่าจะให้ประชาชนได้ขนาดไหน ถ้าจะให้ดีเยี่ยม คงต้องเก็บภาษีประชาชนในอัตราสูง เช่นเดียวกับในประเทศสวีเดน ถ้าเช่นนั้นรัฐก็ควรให้การรักษาพยาบาลในระดับพอสมควร ไม่ใช่ถูกที่สุด ให้แพทย์เป็นคนตัดสิน Make Justment ว่าจะ Provide อะไร ในระดับพื้นฐานแต่ไม่ใช่พื้นฐานที่ด้อยคุณภาพ และคนที่ Afford ได้ต้องมีส่วนร่วมจ่ายถ้าอยากได้คุณภาพที่สูงกว่าพื้นฐาน แต่ถ้าภาครัฐยังดำเนินระบบเหมาจ่ายโดยมุ่งเน้นที่ราคาถูกที่สุด ภาคประชาชนคงจะ Shift ไปที่ Private Healthcare Providers เพราะทุกคนอยากไปที่ดีกว่า สะดวกสบายกว่า ถ้า Afford ได้ เพราะฉะนั้น Private Providers จะโตขึ้นและโตเร็วขึ้น ที่สุดแล้วลูกค้าเป็นผู้ชี้ชะตาของตลาด ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ นี่คือมุมมองตลาดโดยภาพรวมของผม”

Resource://www.brandage.com/issue/edn_print.asp?id=1070




โดย: To Be Number One (ตอนที่ 5) (moonfleet ) วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:6:38:37 น.  

 
รายชื่อหนังสือใหม่ประจำเดือน

Resource://www.depthai.go.th/th/dbcyber/dbimages/217_thmonth12-46.doc


โดย: รายชื่อหนังสือใหม่ประจำเดือน (moonfleet ) วันที่: 8 มีนาคม 2551 เวลา:6:41:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.