0065. ONLY THE PARANOID SURVIVE : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร


เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2546 นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "แนวนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคนไทยให้เข้มแข็ง" ณ ลานคณะสังคมศาสตร์ ระหว่างอาคาร 1-2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์บางเขน มีข้อความตอนหนึ่งว่า....
..."โลกยุคใหม่จะต้องผลักดันให้คนใช้สมองให้มากที่สุด มนุษย์พันธุ์ใหม่จะต้องขายโปรดักต์ของสมอง โลกในยุคใหม่ กำลังผลักดันสังคมเข้าสู่ฐานความรู้ข้อมูลข่าวสาร เพราะฉะนั้นสังคมยุคใหญ่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ปัจจุบัน คนจำนวนมากไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะต้องทำให้ยุคที่สังคมต้องการเปลี่ยน มีสภาพเกื้อกูลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น ปัจจุบันเศรษฐกิจที่ดี ควรส่งเสริมให้ข้าราชการออกไปเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยให้ทุนไปดำเนินการธุรกิจใหม่ จะต้องไปอ่านหนังสือ Only The Paranoid Survive เขียนโดย Andrew S. Grove สาระสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลง จะต้องทำในช่วงที่กำลังดี ทฤษฎี S-curve คือ ก่อนที่ปลายของ S จะตกนั้น จะต้องลากปลายออกไปให้ยาวที่สุด ก่อนที่จะหา S ตัวใหม่ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน"
หนังสือเล่มนี้ ได้รับการแปลแล้ว โดย อินนอฟ สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า ชื่อภาษาไทย ผู้ตื่นตัวเท่านั้นที่อยู่รอด
Create Date : 10 มีนาคม 2551 |
Last Update : 10 มีนาคม 2551 15:07:59 น. |
|
4 comments
|
Counter : 2984 Pageviews. |
 |
|
|
โดย ผศ.ดร.ชวนะ ภวกานันท์ [6-3-2004]
จำได้ว่า เคยมีหนังสือเล่มหนึ่งเป็นหนังสือทีเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจที่ขายดีมากที่สุดเล่มหนึ่งราวปีพ.ศ.2539 ก่อนเกิดวิกฤตในเอเชียหนังสือเล่มนั้นคือ Only the Paranoid Survive : How to Exploit the Crisis Points that Challenge Every Company and Career เขียนโดย Andrew Grove ประธานกรรมการบริษัท อินเทล จำกัด และนิตยสารฟอร์จูนฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ปีเดียวกันก็นำมาอธิบาย พาดหัวปกว่า INTEL Andy Groves Amazing Profit Machine and his plan for five more years of explosive growth
ถึงแม้ดูปีพ.ศ.แล้วก็ออกจะ ดักดาน วิทยา คือถือว่าเก่าแต่แนวคิดยังใช้เตือนการทำธุรกิจได้ดีและทันสมัยอยู่น่าจะได้หามาอ่านกันใหม่
ที่หยิบยกมาเขียนนี้ก็ด้วยแนวคิดจาก หนังสือเล่มนี้ ประการแรก ได้บรรยายการเปลี่ยนแปลงโดยเรียกว่า 10X Change ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไปจะรุนแรงเป็น 10 เท่าของการเปลี่ยนแปลงในอดีตที่ผ่านมา แล้วแสนจะรวดเร็วด้วย พร้อมกับจะนำพาธุรกิจไปสู่ภาวะวิกฤตได้จากการสูญเสียความสามารถในการกำหนดชีวิตหรือชะตากรรมของตัวเอง จะก่อความสมดุลใหม่ที่บางธุรกิจจะรุ่งเรืองกว่าเดิม ขณะบางธุรกิจย่ำแย่ลงกว่าเดิมและอาจล้มหายตายจากไปก็ได้
แนวคิดที่มาเสริมแนวคิดแรกนี้ ประธานอินเทลกล่าวว่า เกี่ยวข้องกับจุดที่ธุรกิจจะต้องทำความเข้าใจเรียกว่า Strategic Inflection Points(SIPs) เป็นจุดที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และเป็นจุดที่นักบริหารต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่า กำลังเกิดวิกฤตหรือโอกาส หรือเกิดทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันไป เพราะบางครั้งวิกฤตกับโอกาสมีความใกล้ชิดกันมาก และประเทศหรือนักบริหารถ้าทำความเข้าใจกับวิกฤตให้ดีบางทีก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้
ตัวอย่างเห็นชัดคือ ญี่ปุ่นแม้โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์จะต้องเผชิญวิกฤตมากมาย เช่น แผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น บ้านเมืองแพ้สงคราม แต่เพราะมีนายกรัฐมนตรีที่มองโลกแง่ดีอย่างนาย Tanzan Ishibashi ที่มองว่า ญี่ปุ่นจะต้องไม่ผกผันกับการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ต่อไป แต่หันมาสร้างในทางเศรษฐกิจจนญี่ปุ่นลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้
ในสหรัฐอเมริกาเองก็เคยมีวิกฤตเกิดกับบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท เช่น IBM GM Chryler Sears&Roebuck Coca-Cola หรือ Coke กับ New Coke จนแทบจะหมดตัว ล้มละลายหรือภาพลักษณ์สลาย แต่บริษัทเหล่านี้ก็หันมาค้นหาจุด SIPs ดังกล่าว พอพบก็ทำการแก้ไขเสีย เช่น เปลี่ยนตัวผู้บริหาร ปรับกลยุทธ์ ลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นต้น จนฟื้นคืนกลับมายิ่งใหญ่ได้
แม้กระทั่งในการสร้างให้สหรัฐฯยิ่งใหญ่ในด้านการส่งออกผลผลิตทางข่าวสาร ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากรแวร์ สหรัฐฯก็นำหน้าญี่ปุ่นที่เคยทำตลาดมาก่อนหน้าปีค.ศ.1998 ได้ด้วยการหันไปพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ พัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งในสถาบันการศึกษาภาครัฐและเอกชนแทนการมุ่งผลิตเทคโนโลยีแต่อย่างเดียวจนเป็น จ้าวตลาดของการส่งออกผลผลิตทางข่าวสาร ในปัจจุบัน
ในประเทศไทยขณะนี้เศรษฐกิจเริ่ม จะดีขึ้นก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจเพราะมีอีกหลายปัจจัยที่บอกความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และ วิกฤตเงียบ ได้อย่างดี
ขอให้ข้อคิดปิดท้ายบทความตามเป็นการจุดประกายดังนี้
1.ในภาครัฐนั้น ระบบราชการมีความเป็นประสิทธิภาพขนาดไหน การจัดสรรงบประมาณ การควบคุมดูแลด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค ด้านตลาดการเงินอยู่ในระดับไว้ใจได้แล้วหรือว่าเป็นโอกาส
2. ในการบริหารและการจัดการภาคเอกชนนั้นต้องทบทวนระดับอุตสาหกรรมและภาคบริการว่าปรับตัวได้ดีแค่ไหน ความเป็นลักษณะธุรกิจครอบครัวนั้นมีขนาดไหน ควรนำความรู้ในเรื่องการบริหารคุณภาพ การควบคุมความเสี่ยงทั้งองค์กร (Total Security Management) เห็นความสำคัญกันมากน้อยขนาดไหน
3.ในภาคการเงินเอง สภาพคล่องและปัญหาหนี้เสีย ตลาดตราสารหนี้ อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเป็นเช่นไรในปัจจุบัน โครงการต่างๆ ทั้งระดับรากบนและระดับ รากหญ้า สร้างปัญหาเงียบในอนาคตกับสภาพคล่องและหนี้เสียได้ในระดับจุดเฉลี่ยสมดุลที่จะเกิด SIPs ได้หรือไม่
Resource://www.businessthai.co.th/content.php?data=407346_Opinion