" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0102. ทักษิณ ชินวัตร จากคนตัวใหญ่สู่ใจดวงน้อย : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร








ทักษิณ ชินวัตร จากคนตัวใหญ่ สู่ใจดวงน้อย

ประมวลวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทางด้านเด็ก เยาวชน และการศึกษา หนังสือที่นายกฯ แนะนำให้รัฐมนตรีทุกคนอ่าน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในแนวทางเดียวกัน เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นโยบายด้าน การศึกษาอย่างเป็นทางการของรัฐบาล แต่เป็นประสบการณ์ตรงในวัยเด็ก และ วิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี ทั้งเรื่องการศึกษา ครอบครัว และมุมมองต่อเยาวชน รวมถึงการตอบคำถามเด็กๆ ในชื่อ "คุณลุงทักษิณไขปัญหา" "ผมเชื่อว่าการอ่านเท่านั้น ที่จะทำให้เรารู้การเปลี่ยนแปลงของโลกรอบตัวเราอย่างชาญฉลาด ยิ่งอ่านยิ่งฉลาด ยิ่งอ่านยิ่งเท่าทัน และยิ่งอ่านเราจะรู้ว่ายังมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกเยอะ"

ผู้แต่ง : คณะทำงานโครงการสภาเยาวชนไทย พรรคไทยรักไทย.
พิมพ์ครั้งที่ : 2
พิมพ์ลักษณ์ : กรุงเทพฯ : มติชน, 2546
บรรณลักษณ์ : 172 หน้า : ภาพประกอบ ; 18.5 ซ.ม.
เลขเรียกหนังสือ(Call Number) : 923.2593 ค141ท





จากคนตัวใหญ่ สู่ใจดวงน้อย
รหัส : [VB002635]
ผู้แต่ง : ทักษิณ ชินวัตร
ผู้แปล/เรียบเรียง : -
หมวด : พ็อกเก็ตบุ๊ค
ชนิดปก : ปกอ่อน
จำนวนหน้า : 172 หน้า
พิมพ์ครั้งที่ /พศ. : 1/2546
สำนักพิมพ์ : มติชน
ขนาด : 12 x 18 ซม.




Create Date : 12 มีนาคม 2551
Last Update : 12 มีนาคม 2551 8:31:50 น. 30 comments
Counter : 1828 Pageviews.

 
ทักษิณ ชินวัตร จากคนตัวใหญ่ สู่ใจดวงน้อย





ประมวลวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทางด้านเด็ก เยาวชน และการศึกษา

คำนำ
เด็กบ้านนอก
นายกกับครอบครัว
ประมวลวิสัยทัศน์
- ความรอบรู้คืออำนาจของโลกยุคใหม่
- ความเข้าใจสิ่งที่อยู่ร่วมกันทั้งระบบ คือ หัวใจสำคัญของความสำเร็จ
- ครูคือผู้ปลดปล่อยพลังสมองของเด็ก
- ซ่อมรากภูมิปัญญาเดิม ต่อยอดสู่สากล
- ความกตัญญู คือ หัวใจความสำเร็จของคนไทย
- ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างทุนทางปัญญา
- ความคิดสร้างสรรค์ คือ หัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่
- คนพิการมีศักยภาพ เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง
- ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ "ใจ"
- สมดุลของมนุษย์ ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และความเข้าใจชีวิต
- สร้างเยาวชนของชาติด้วยจิตวิญญาณความเป็น "ครู"
- หนังสือสร้างปัญญา
- ครอบครัว คือ พลังแห่งชีวิตที่ยิ่งใหญ่
- ปฏิรูประบบการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัย
- เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้
- โรงเรียนเป็นแหล่งสร้างชีวิต สร้างจิตใจ และสร้างปัญญา
- เสียงจากเยาวชนเป็นแนวทางการทำงานของรัฐบาล
- สังคมที่รู้จริงเป็นสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต
- พลังที่เข้มแข็งของมนุษย์ คือ พลังของครอบครัว
- การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ
- หลักสูตรใหม่ต้องเชื่อมโยงทั้งระบบและไม่ตายตัว
- การเห็นธรรมเป็นหัวใจสำคัญของคนทุกสังคม
- ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ
- เด็กอัจฉริยะคือกำลังสำคัญของสังคมฐานความรู้
- หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน
ลุงทักษิณไขปัญหา






โดย: ทักษิณ ชินวัตร จากคนตัวใหญ่ สู่ใจดวงน้อย (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:36:02 น.  

 




คำนำ

นับถอยหลังไปเมื่อวันวาร...ความทรงจำพิเศษในวัยเด็กของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อครั้งยังเป็นเด็กชาย เล่าเรียนหนังสือตามประสาเด็กบ้านนอกทั่วไป ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น”ครูควาย”หญิงวัยกลางคนที่อาศัยวัดและตอบแทนด้วยการสอนหนังสือให้เด็ก ๆ ด้วยวิธีการสอนที่เรียบง่าย เข้าถึงใจเด็ก สื่อการสอนซึ่งมีเพียงไม้กระดาน ชอล์ก และไม้เรียว ก็ทำให้เด็กชายทักษิณจดจำสูตรคณิตศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ

ภาพในอดีตดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของสำคัญต่อการสร้างฐานความรู้ที่ เข้มแข็ง ในขณะที่คำกล่าวซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน และการศึกษา ในวาระต่าง ๆ ที่นำมารวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นถึงหัวใจแห่งการเรียนรู้อยู่ ตลอดเวลารวมถึงความเข้าใจในวิถีความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยอย่างลึกซึ้งของ "คนตัวใหญ่" พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งผ่านไปถึง "ใจดวงน้อย" ของเด็ก และ เยาวชน รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

คณะผู้จัดทำคาดหวังว่าประมวลวิสัยทัศน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในหนังสือเล่มนี้จะเป็นแนวทางนำไปสู่การสร้างศักยภาพ คุณภาพ และความสามารถให้กับเด็กและเยาวชนไทยในทุกมิติ ทั้งทางด้านการศึกษา การเรียนรู้ และ คุณธรรม รวมถึง บทบาทของครอบครัว ครู และ โรงเรียน ต่อการพัฒนาให้เด็กไทย "เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี"



โดย: คำนำ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:38:47 น.  

 


"เด็กบ้านนอก" ปฐมวัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

“ทักษิณ ไหนลองหาร ๑๒๔ ด้วย ๘ ซิ” หญิงสูงวัยว่าพลางเคี้ยวหมากหยับๆ มือขวาหยิบชอล์กเขียนตัวเลขลงแผ่นกระดานที่วางบนหน้าตัก เด็กชายวัย ๓ ขวบ รูปร่างเก้งก้าง ใบหน้าแป้น ผิวขาวอย่างคนเหนือ รีบวิ่งมาทันทีเมื่อได้ยินชื่อของตัว คลานอย่างรวดเร็วมานั่งพับเพียบข้างๆ แกชะเง้อหน้ามองกระดานแล้วคิดในใจ
“เอ้า ไวๆ เข้าสิ” ครูส่งเสียงดุ จากนั้นก็หยิบไม้เรียวข้างกายขึ้นมา
เจ้าหนูเห็นเข้าดังนั้นก็เสียววาบ กลัวจะโดนสักป้าบสองป้าบ สมองคำนวณขนานใหญ่
‘...เท่าไหร่นะ ๘ หนึ่ง ๘ เหลือเศษ ๔ เป็น ๔๔ หาร ๘ ได้ ๕...อ๊ะ...ยังเหลืออีก ๔...’
แต่ไม่ทันเสียแล้ว ครูหวดไม้ลงไปหลายที ปัง...ปัง...ปัง...ปัง
หนูน้อยเกร็งตัวรับ แต่ปรากฎว่าไม้เจ้ากรรมนั่นดันซัดลงบนพื้น เพื่อสยบเสียงเจี๊ยวจ๊าวรอบข้าง
ทักษิณถอนหายใจโล่งอก เขียนตัวเลขบนกระดานทันที
“เออ ดีมาก ไหนลองอีกข้อซิ หารยาวอีกนะ” ดูเหมือนครูควายจะอารมณ์ดีขึ้น แต่มือก็ยังกระชับไม้เรียวมั่น
ถ้าจะเรียกที่นี่ว่าโรงเรียนอนุบาลคงไม่ถูกต้องนัก เพราะมันเป็นเพียงศาลาวัดที่ไม่มีแม้กระทั่งฝากั้นห้อง กระดานดำใหญ่ หรือโต๊ะเก้าอี้นักเรียน เป็นห้องโปร่งโล่ง ลมโกรกสบาย ใครไปใครมามองเห็นกันหมด แล้วเวลาเผลอเจ้าพวกตัวเล็กก็จะวิ่งซนออกไปนอกศาลา บางครั้งครูควายก็ต้องลุกขึ้นมาไล่ต้อนหรือส่งเสียงปรามบ้าง การศึกษาของผมเริ่มต้นที่ชั้นอนุบาลในวัดหลังตลาดสันกำแพงแห่งนี้ โดยมีครูควายเป็น ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาเป็นคนแรกด้วยการเรียนการสอนแบบที่เรียกว่า “เด็กบ้านนอก” ขนานแท้เลยทีเดียว
ครูควายเป็นความทรงจำพิเศษสำหรับผม แกเป็นหญิงวัยกลางคน แต่ด้วยความที่เคี้ยวหมาก นุ่งผ้าถุง เกล้ามวย แถมยังดุ จึงทำให้ผมรู้สึกว่าครูความแก่และขลังมาก แต่ผมก็รักและชื่นชมครูควายเพราะแกสอนหนังสือเก่ง ทั้งที่ความจริงแล้วครูควายไม่มีวุฒิหรือจบครูมา แกเป็นแค่หนึ่งในผู้ศรัทธาธรรมซึ่งมาอาศัยข้าวก้นบาตรพระและช่วยล้างปิ่นโต รวมทั้งอาสาสอนหนังสือเด็กเล็กลูกชาวบ้านในละแวกเพื่อแทนคุณวัด การเรียนการสอนของครูควายไม่เหมือนใคร อุปกรณ์มีเพียงไม้กระดานแผ่นเดียว ชอล์ก และไม้เรียวคู่ใจ วิธีการก็แสนง่าย แกจะนั่งกับพื้นศาลา วางไม้กระดานไว้บนตัก แล้วเรียกเด็กเข้ามาสอนทีละคน ว่ากันไปตั้งแต่ภาษาไทย ก. ไก่ ข. ไข่ ไปจนถึงวิชาเลขคณิต ถ้าเด็กที่เหลือ ส่งเสียงรบกวน แกก็จะใช้ไม้เรียนฟาดพื้นเพื่อสยบ หลักสูตรของครูไม่มีอะไรเป็นมาตราฐาน ขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็กแต่ละคน ใครอ่าน ก.ไก่ ถึง ฮ. นกฮูกได้แล้วก็ผสมตัวสะกดไปเลย ใครบวกลบเลขได้ก็เรียนคูณหารต่อไป และถ้าใครตอบคำถามแกได้ดี ครูควายก็จะพอใจสอนนานเป็นพิเศษ
ผมชอบวิธีกับหลักสูตรลูกทุ่งของแกมาก เพราะเป็นการสอนตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคนโดยไม่ยัดเยียด ผมจึงเรียนได้รวดเร็ว โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และยิ่งผมมี "ติวเตอร์" ส่วนตัวอีกหลายคน ความสามารถด้านนี้ก็ยิ่งรุดหน้าไปไกล ทำให้ผมสามารถหารยาวซึ่งเป็น ความรู้ของเด็กประถม 2-3 ได้ตั้งแต่จบแค่อนุบาล
"ติวเตอร์" ที่ว่านี้ผมจำชื่อไม่ได้ เพราะเป็นลุงป้าน้าอาลูกค้าร้านกาแฟของเราที่สัญจรไปมา วิธีติวเข้มของพวกเขาก็เป็นธรรมชาติเช่น ของครูควาย
"ทักษิณ สมมติลุงให้ตังค์ 10 บาท วานทักษิณไปซื้อไข่ไก่ 3 ฟอง ทักษิณจะต้องเอาตังค์มาทอนลุงเท่าไหร่" ลุงข้างบ้านถามเสร็จก็หัวร่อยั่วผม พอรู้กันว่าผมเป็นคนคิดเลขเก่ง พวกผู้ใหญ่ก็เห็นการทายปริศนาทำนองนี้เป็นเรื่องสนุก และเมื่อตอบคนหนึ่งเสร็จ ก็จะมีปุจฉาจากคนอื่นต่อ
"ทักษิณ ถ้าป้าซื้อโอเลี้ยงพ่อ 2 แก้ว ซื้อขนุนแม่ 2 ถุง ป้าต้องจ่ายเงินเท่าไหร่" ป้าแม่ค้าในตลาดแหย่บ้าง แล้วยังหยอดลูกอำด้วยว่า "ระวังนะ คิดผิดขาดทุนนะ" ความเป็นเด็กทำให้หลายคราวผมก็จริงจังเหมือนกัน คิดเคร่งเครียดเป็นเรื่องเป็นราวกลัวพ่อแม่จะขาดทุน แต่บ่อยครั้งผมไม่อยากตอบผิดเพราะไม่ชอบแพ้ใคร ทำให้ผู้ใหญ่ยิ่งอยากตั้งโจทย์ยากขึ้นเรื่อย ๆ ผลก็คือ ผมกลายเป็นคนคิดเลข รวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ได้ค่อนข้างเร็ว ใครว่าเด็กบ้านนอกสมองช้ากว่าเด็กกรุง ผมได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง ผมก้าวไปทำธุรกิจคอมพิวเตอร์และดาวเทียมได้ในวันนี้ ส่วนหนึ่งต้องยกให้เป็นเครดิตของครูควายกับติวเตอร์ ชาวสันกำแพง ผู้สร้างรากฐานด้านคณิตศาสตร์ ให้ผมแบบวิธีบ้านนอกนี่ละ
แต่ความไม่เท่าเทียมบางด้านระหว่างชนบทกับเมืองเจริญแล้วนั้นมีอยู่จริง
ผมตระหนักถึงข้อนี้ เมื่อจากครูควายมาเข้าเรียนชั้น ป.1 ที่โรงเรียนประชาบาลของ สันกำแพง จนจบ ป.3 พ่อกับแม่ผมคิดว่า ควรจะให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่เล็กทัดเทียมกับเด็กในเมือง จึงย้ายผมไปต่อชั้น ป.5 ที่มงฟอร์ตซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิกในอำเภอเมือง ทันสมัยและ มีชื่อเสียงเรื่องมาตรฐานการเรียนการสอนสูงมาก แต่ผมกลับถูกบังคับให้ซ้ำชั้น ป.3 เนื่องจากที่มงฟอร์ตเขาเรียนภาษาอังกฤษกันตั้งแต่ ป.1 บราเดอร์กลัวผมไม่ทันเพื่อน ประจวบกับช่วงนั้นมีเด็กนามสกุลชินวัตรสองคนสอบตกทั้งคู่ ทาง โรงเรียนเลยฝังใจว่าพวกชินวัตรนี่คงหัวขี้เลื่อยเหมือนกันหมด ไม่เปิดโอกาสให้ผมทดลอง แม้พ่อกับแม่จะส่งผมไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมก็ตาม ความจริงผมมั่นใจว่าบราเดอร์ปรารถนาดี หวังให้พื้นฐานผมแน่นแต่ตามประสาเด็กซึ่งมีผลการเรียนดีมาตลอด โดยเฉพาะเลขคณิตนั้น นำหน้าเพื่อนร่วมรุ่นไปหลายช่วงแล้ว การให้มาเรียนซ้ำชั้นนอกจากจะทำให้ผมอาย ยังทำให้ผมรู้สึกว่าตัวเองถูกลงโทษโดยไม่มีโอกาสอุทธรณ์ฎีกา เพียงเพราะความไม่เท่าเทียมกันในระบบการศึกษา
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมมีโครงการดาวเทียมไทยคม ผมจึงคิดที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา ถมช่องว่างระหว่างเด็กในเมืองกับชนบท และผมก็เลือกโรงเรียนประชาบาลสันกำแพงที่ผมไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นศูนย์ของเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม บราเดอร์ที่มงฟอร์ตก็รับผมเข้าพร้อมให้สัญญาปลอบใจว่า "ถ้าเธอเรียนได้เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ในปีแรก บราเดอร์จะพาสชั้นให้เธอ"
ผมเก็บเอาคำมั่นนั้นมาเป็นแรงฮึด เทอมแรกผมทำได้แค่ 57 เปอร์เซ็นต์ เพราะคะแนนภาษาอังกฤษต่ำ พอสอบไล่ผมกวดได้ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีการพาสชั้นตามที่คุยกันไว้ ย่าผมดูจะเข้าอกเข้าใจผมดี ย่าพยายามดันให้ลูกฮึดของหลานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเอารางวัลมาล่อผม ขึ้นชั้น ป.4 ย่าก็เรียกผมมาถามว่า
"ถ้าลูกได้คะแนนปีนี้ดี ย่าจะให้รางวัล อยากได้อะไร"
"ผมอยากไปเที่ยวกรุงเทพฯ" นั่นเป็นความใฝ่ฝันของเด็กบ้านนอกเกือบทุกคน "ถ้าผมสอบได้เลขตัวเดียว ย่าพาผมไปนะ"
"ไม่เอา ต้องสอบได้เกิน 80 เปอร์เซ็นต์"
"ได้ครับ" ผมตอบอย่างมั่นใจ
ปีนั้นเป็นปี 2502 ผมอายุ 10 ขวบพอดี ผมได้รับรางวัลเรียนดี เป็นครั้งแรก นั่นคือ การไปเที่ยวกรุงเทพฯ ตามข้อตกลงกับย่า แถมด้วยโปรแกรมทัวร์ไร่สับปะรดที่เขาสามร้อยยอด หัวหิน และพัทยา เป็นอภินันทนาการจากพ่อ คิดย้อนไปแล้ว การเป็นเด็กบ้านนอกนี่มีความสุขมากทีเดียว เป็นความสุขใกล้ตัว ไม่ต้องเสียเงินทองแสวงหา ถือเป็นการ "ได้โอกาส" ไม่ใช่ด้อยโอกาสอย่างเขาว่ากัน แล้วความจริงการที่ผมได้เกิดและเติบโตในชนบทมากกว่า 10 ปี แม้จะไม่ใช่ลูกชาวนายากไร้อดอยาก แต่พ่อแม่ก็เลี้ยงมาอย่างติดดิน จึงทำให้ผมสำนึกเข้าถึงชีวิตชาวบ้านมากทีเดียว
จากหนังสือเรื่อง ทักษิณ ชินวัตร
"ตาดูดาว เท้าติดดิน" เรียบเรียงโดย วัลยา


โดย: "เด็กบ้านนอก" ปฐมวัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:41:14 น.  

 


ครอบครัวอบอุ่น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ผมอาจจะเป็นคนที่ชอบคิดชอบพูดเรื่องวิสัยทัศน์ เรื่องปัญหาของเมืองไทยในระดับโครงสร้าง ระดับสถาบันใหญ่ๆ อยู่เสมอ แต่อันที่จริงแล้วสิ่งที่ผมยึดถือและปฏิบัติมาตลอดชีวิต คือ ผมให้ความสำคัญกับครอบครัวมาเป็นอันดับแรกๆ เชื่อและศรัทธาในสถาบันครอบครัวมากว่าถ้า แก้ปัญหาที่สถาบันครอบครัวได้ เท่ากับเราแก้ปัญหาเรื่องคนด้วย แล้วถ้าหากคนดี สังคมหรือระบบก็จะดีตามมาเองการแก้ปัญหาครอบครัวจึงเป็นการแก้ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ที่ต้นเหตุ
นอกจากนั้น ที่ผมให้ความสำคัญกับครอบครัวเนื่องจากผมโชคดีได้เติบโตในครอบครัวที่อบอุ่น เมื่อมีครอบครัวของตัวเอง ก็ยังโชคดีอีก มีภรรยามีลูกดี ทำให้ชีวิตผมเติมเต็มมีความสุข ผมมีวันนี้ได้เพราะครอบครัวของผมดี
ผมถือว่าครอบครัวเป็นพื้นฐาน เป็น Fundamental สำคัญที่สุดของชีวิต ตอนเล็ก ๆ บ้านผมไม่ได้ร่ำรวย แถมยังมีลูกหลายคน พ่อแม่ต่างต้องช่วยกันทำมาหากินตัวเป็นเกลียว แต่ผมไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองจนความรักเลย ได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่เต็มที่
ผมใกล้ชิดกับพ่อมาก พ่อมักนำผมติดสอยห้อยตามไปด้วยเสมอ ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการทำงาน การทำธุรกิจ ส่วนแม่ผมเป็นแม่บ้านแท้ๆ ท่านเป็นคนไม่ได้เรียนสูง จบแค่ ป.4 แต่กลับเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนจนผมรักการเรียน แม่มักพร่ำบอกว่าแม่เป็น คนรู้น้อย แม่ไม่ฉลาด เลยไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร ฉะนั้นลูก คือ ผมต้องเรียนหนังสือเยอะๆนะ จะได้ช่วยดูแลน้อง ๆ เพราะผมเป็นลูกชายคนโต คือครอบครัววัยเด็กที่หล่อหลอมให้ผมรักการเรียนและขยันทำงาน
ส่วนครอบครัวของผมเอง มีคุณอ้อเป็นเสาหลักสำคัญ เป็นคู่คิดคู่ชีวิต ผ่านทุกข์สุขมาด้วยกัน มากมายตั้งแต่ผมเรียนต่างประเทศ กระทั่งสร้างธุรกิจอย่างยากลำบากจนตั้งตัวได้สำเร็จ คุณอ้อเป็นกำลังสำคัญ โดยมีลูกเป็นกำลังใจและแรงผลักดัน ที่ว่าเป็นแรงผลักดัน เพราะช่วงทำธุรกิจนั้น มีบ่อยครั้งที่ผมเคยท้อถอยจนอยากจะเลิก แต่พอกลับบ้านมาเห็นหน้าลูก ได้กอดลูกนอกจากจะชื่นใจแล้ว ยังทำให้ผมเกิดแรงฮึดสู้ว่า เราจะต้องทำให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคงให้ได้ ลูกคือคนที่ เรารัก เราให้เขาเกิดมา เราก็ต้องสร้างอนาคตที่ดีกับเขา
พระเจ้าให้เวลาคนมา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ละคนต้องใช้ความสามารถและศิลปะในการแบ่งเวลาให้ดี ในฐานะนักบริหาร การแบ่งเวลาก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องรู้จักบริหาร สำหรับตัวผม จะแบ่งเวลาและให้ความสำคัญครอบครัวกับงานใกล้เคียงกัน คืองานก็ต้องทำให้ดี ครอบครัว ก็ต้องดูแลไม่ให้บกพร่อง ถามว่าทิ้งงานได้ไหม คงไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีงานทำ ครอบครัวก็ต้อง เดือดร้อน ไม่มีเงินใช้ ทิ้งครอบครัวยิ่งไม่ได้ใหญ่
ผมจะสื่อสารกับลูกอยู่เสมอ เดินทางไปไกลถึงไหนก็ต้องโทรศัพท์คุยกับลูก ถ้าคืนนี้กลับค่ำไม่มีเวลา พรุ่งนี้เช้าก็ต้องให้เวลากับเขา วันหยุดไม่ต้องพูดถึง ผมใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากที่สุด ในบ้านผม ภรรยาคือคุณอ้อจะใกล้ชิดกับลูกมาก เพราะเขาเรียนด้านอนุบาลมา ประกอบกับเป็นคนรักเด็ก ส่วนผมมักเป็นหลักทางความคิดในเรื่องใหญ่ ๆ ที่ลูกจะเดินเข้ามาปรึกษามากกว่า เพราะผมเลี้ยงลูกแบบเพื่อน คุยกันได้ทุกเรื่อง ให้ลูกได้กล้าแสดงออก แต่ต้องขัดใจเขาได้ต้อง มีเหตุผล
เรื่องการใช้ชีวิตทั่วไป ครอบครัวผมก็ใช้ชีวิตอย่างชนชั้นกลาง คือ กินข้าวนอกบ้าน ดูหนังฟังเพลง ชมคอนเสิร์ต เที่ยวไกลๆ ด้วยกันบ้าง แต่ไม่ใช่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินเหตุ เพราะเราเคยลำบากกันมาก่อน แม้วันนี้จะมีสตางค์ใช้กันโดยไม่ต้องกังวล เราก็ไม่อยากฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น ผมไม่เคยซื้อเรือยอชต์ เครื่องบินส่วนตัว ฯลฯ เครื่องประดับอะไรก็ไม่ได้มีหรูหรา ผมเลี้ยงลูกแบบให้ความสำคัญกับความใกล้ชิดและเวลาที่อยู่ด้วยกัน ไม่ใช่เงิน เพราะเงินไม่ใช่คำตอบ
ตั้งแต่ไหนแต่ไรผมถือคติว่า มัวแต่หาเงินให้ลูกใช้อย่างเดียวไม่มีประโยชน์ ลูกจะใช้ทิ้งขว้างอย่างไม่เห็นคุณค่า แล้วเราก็ต้องออกไปหาให้ลูกใช้อีก มันจะวนเวียนอย่างนี้ไม่มีวันจบ เหมือนอย่างพ่อแม่ในสังคมไทยทุกวันนี้เป็นทซึ่งผมมองว่าน่าสงสารและน่าเห็นใจนะ เพราะทุกคนก็รักลูก อยากให้ลูกสบาย แต่กลายเป็นยิ่งเหนื่อย ปัญหากลับยิ่งมากขึ้น ต้องยอบรับว่าครอบครัวเป็นสาเหตุใหญ่อันหนึ่งของปัญหา เพราะครอบครัวไทยเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น พ่อแม่ต้องดิ้นรนทำมาหากิน เศรษฐกิจแบบนี้ยิ่งต้องหาเลี้ยงปากท้องหนักขึ้นอีก ไม่มีเวลาให้กับลูก ความใกล้ชิดผูกพันกับลูกน้อยลง แล้วตอบสนองลูกด้วยเงินกับวัตถุเป็นการชดเชย ทำให้เด็กหันหน้าเข้าหาเพื่อนและถูกชักจูงให้ใช้ยาเสพติดได้ง่าย
สำหรับลูกของผมทั้ง 3 คน ผมมั่นใจในตัวลูก เพราะเราเลี้ยงลูกแบบใกล้ชิด ลูกจะกล้าเล่าอะไร ให้ฟัง ไม่แอบหรือปิดบัง ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ การที่เราสนิทกับลูกนี่ ช่วยให้การพูดคุยซักถาม หรือการตักเตือนง่ายขึ้นมาก เพราะเขาจะรู้สึกเหมือนคุยเหมือนฟังเพื่อนสนิทที่เขาไว้ใจและเคารพด้วยในตัว ในเรื่องการใช้ชีวิตเขาก็เหมือนเด็กทั่วๆ ไป อาจมีเฟอร์นิเจอร์ประดับตัวตามสมัยบ้าง แต้ก็ไม่ถึงกับใช้ของมียี่ห้อหรูหรา เพราะทั้งพ่อทั้งแม่ก็ไม่นิยม
คนมักเข้าใจว่าลูกเป็นเรื่องของแม่ ทำมาหากินเป็นเรื่องของพ่อ อันนี้ผมว่าไม่ถูก ทุกเรื่องของครอบครัวเป็นเรื่องที่ต้องช่วยเหลือกัน เหมือนอย่างภรรยาผมที่ช่วยทำธุรกิจ ผมก็ต้องดูแลลูกด้วย จริงอยู่ลูกผู้ชายอาจใกล้ชิดแม่ แต่ลูกชายมักยึดพ่อเป็นตัวอย่าง ลูกชายผมก็เหมือนกัน ทั้งมองพ่อเป็น role model แต่บางทีก็อึดอัดถ้าจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับพ่อ
เมื่อก่อนนี้ผมเคยเอาความคาดหวังของตัวเองมาใช้กับลูกเหมือนกัน อย่างเช่นผมเป็นเด็กเข้าเรียนช้า ผมเลยอยากให้ลูกผมเรียนเร็ว โอ๊ค (พานทองแท้) จึงถูกผมส่งเข้าโรงเรียนเร็ว แต่ผมก็ยอบรับได้ในที่สุดว่า คนแต่ละคน และคนแต่ละรุ่นนั้นแตกต่างกัน เส้นทางในชีวิต วิธีการเติบโต ย่อมต้องแตกต่างกันด้วย ไม่อย่างนั้นผลกระทบจะไปตกที่ลูก
มีอยู่ช่วงหนึ่งลูกชายผมเขาขาดความมั่นใจในการแก้ปัญหาของตัวเองบางอย่าง นี่อาจเป็นเพราะเขาเกร็งว่าจะทำได้ไม่ดี ผมก็ต้องคุย และให้กำลังใจกับเขาว่า ลูกดูสิว่าคนนี้น่ะ เขาอายุมากกว่าลูกหลายปี แต่ลูกยังทำงานได้ดีกว่าเขาในเรื่องนี้เลย ตั้งแต่นั้นมาเขาก็กล้าที่จะตัดสินใจหรือแก้ปัญหาใหญ่ ได้ด้วยตัวเองมากขึ้น
ผมคิดว่าพ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกก่อน เราไม่อยากเห็นเขาเป็นอย่างไร ก็ไม่ควรทำอย่างนั้นให้เขาเห็น พ่อแม่นี่ละจะเป็นตัวอย่างในการหล่อหลอมลูกในทุกเรื่อง ตั้งแต่ศีลธรรม จริยธรรม การรู้จักรับ รู้จักให้ ความรับผิดชอบ ไปจนถึงเรื่องการบริหารต่างๆ เป็นตัวอย่างด้วยการกระทำในชีวิตประจำวันนี่แหละ ไม่ต้องพูดมากหรอกครับ ผมอยากบอกกับทุกคนว่า ท่องคาถาไว้ในใจเถอะครับ ครอบครัวคือหลักสำคัญ หลักพื้นฐานที่สุด ที่คุณจะพึ่งได้ โดยเฉพาะในยุคที่ทุกคนต่างต้องดิ้นรนหาทางรอดได้ด้วยตัวเองเช่นทุกวันนี้
เรียบเรียงจาก นิตยสารฉบับพิเศษ พรรคไทยรักไทย "เมืองไทย ในศตวรรษใหม่"


โดย: ครอบครัวอบอุ่น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:42:28 น.  

 


ความรอบรู้คืออำนาจของโลกยุคใหม่

ประเทศไทยเรานั้นยังปรับตัวรองรับในเชิงของการสร้างสรรค์น้อยไป เราอยู่ในภาวะของความสะดวกสบายมาก พ่อแม่ก็มัวทำมาหากิน ไม่มีเวลาให้ลูก วิธีดีที่สุดคือให้เงิน ลูกมีเครื่องอำนวยความสะดวก ที่จะใช้ชีวิตสบาย ๆ โดยอาจจะไม่ได้คำนึงถึงสิ่งที่ตามมาหลาย ๆ อย่าง ปัญหาคือว่าเราจะต้องเตรียมตัวเราอย่างไรกับชีวิตของ โลกใหม่ ซึ่งวันนี้กำลังเป็นสังคมที่อาศัยฐานความรู้เป็นหลัก หรือเราเรียกว่า Knowledge Based Society เพราะฉะนั้นโลกต้องเปลี่ยนไปมาก พลังสมองเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ดังนั้นท่านจึงต้องเป็นนักคิดตั้งแต่วันนี้ ถ้าท่านไม่เป็นนักคิดตั้งแต่วันนี้ ท่านก็จะไม่สามารถคิดหาทางแหวกว่ายการต่อสู้ในระบบทุนนิยมสมัยใหม่ได้ ระบบทุนนิยมสมัยใหม่นั้นอาศัยความรู้จริงๆ ความรู้นี้มีได้ 2 แบบ แบบแรก คือ ความรู้ที่เป็นการเรียนอย่างเป็นทางการ อีกแบบหนึ่ง คือความรู้ที่เกิดจากความรอบรู้ แต่ถ้าทั้ง 2 อย่างผสมผสานกันก็เป็นสิ่งที่ดี ในอดีตเราบอกว่า Information is power แต่ในสมัยนี้ information ไม่ใช่ Power แล้ว ท่านใช้ Internet ได้ Information เต็มไปหมด แต่ Knowledge ต่างหากที่เป็น Power และ Knowledge ที่เป็น Power นั้นประกอบด้วย Information กับความสามารถในการวิเคราะห์และนำข้อมูลนั้นมาใช้อย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น Knowledge จึงเป็น Power ที่แท้จริง ไม่ใช่ Information
ผมอยากจะเตรียมตัวเด็กรุ่นใหม่คือพวกท่านทั้งหลายว่า ทำอย่างไรถึงจะให้ท่านทั้งหลายได้วาดอนาคตชีวิตของตัวเองตั้งแต่วันที่ยังเป็นนักศึกษา เพื่อเตรียมตัวว่าจบมาแล้วจะได้ไม่ต้องมาเดินหางานอย่างเดียว คือต้องมีทางเลือก การหางานไม่ได้มีอะไรผิด แต่ต้องมีทางเลือก นั่นคือสิ่งที่อยากจะเรียนว่าท่านทั้งหลายจะต้องมี ความรู้ในพื้นฐานว่าเราจะเตรียมตัวได้อย่างไร ผมอยากจะเตรียมตัวเด็กรุ่นใหม่คือพวกท่านทั้งหลายว่า ทำอย่างไรถึงจะให้ท่านทั้งหลายได้วาดอนาคตชีวิตของตัวเองตั้งแต่วันที่ยังเป็นนักศึกษา เพื่อเตรียมตัวว่าจบมาแล้วจะได้ไม่ต้องมาเดินหางานอย่างเดียว คือต้องมีทางเลือก การหางานไม่ได้มีอะไรผิด แต่ต้องมีทางเลือก นั่นคือสิ่งที่อยากจะเรียนว่าท่านทั้งหลายจะต้องมี ความรู้ในพื้นฐานว่าเราจะเตรียมตัวได้อย่างไร
1. อินเตอร์เน็ต
2. ภาษาอังกฤษ
3. วัฒนธรรมนานาชาติ
เพราะว่าทุกอย่างเป็นสากล ประเทศไทยต้องการพลังสมองจาก พวกท่านทั้งหลาย เด็กรุ่นใหม่ที่จะต้องตื่นตัวมากกว่านี้และสนใจเรื่องของประเทศชาติให้มากขึ้น ทำและตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมเป็นตัวตั้ง แต่ถ้าเมื่อไรคนเห็นแก่ตัวโดยไม่คิดว่ามันจะทำลายองค์กรที่เราอยู่หรือทำลายประเทศชาติ อันนั้นเป็นอันตรายต่อตนเองและต่อประเทศด้วย เราจะต้องช่วยกันและผมเองในฐานะที่เป็นคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก วันนี้มาทำหน้าที่ตรงนี้ ก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

เรียบเรียงจากปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เรื่อง ปัญญาชนรุ่นใหม่กับการพัฒนาประเทศ


โดย: ความรอบรู้คืออำนาจของโลกยุคใหม่ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:45:58 น.  

 


ความเข้าใจสิ่งที่อยู่ร่วมกันทั้งระบบ คือ หัวใจสำคัญของความสำเร็จ

สิ่งที่พวกน้องๆ จะได้ในการอบรมโครงการนี้ เป็นสิ่งที่ตรงกับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก คือ การแสวงหาว่าเราอยากจะเรียนรู้อะไร ขั้นตอนที่สอง คือ การเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้ดี ให้รู้จริง และขั้นตอนที่สาม คือ การประยุกต์สิ่งที่เรียนนั้นไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันหรือในกิจกรรมของชีวิตทั้งหลาย แต่ประเทศไทยนั้น นักศึกษาทุกคนมักถูกเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพียงสองขั้นตอน ไม่เคยมีการประยุกต์ใช้ ซึ่งตรงกับ กระบวนการปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ ที่เราใช้คำว่า “learning by doing” หรือ “activity based learning” นั่นคือนำสิ่งที่เราเรียนรู้มาทั้งหมดโดยที่เราไม่รู้ตัว มาประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เป็น กิจกรรมร่วมกันนั่นเอง
บางคนอาจเรียนรัฐศาสตร์มา บางคนอาจเรียนคณิตศาสตร์ บางคนอาจเรียนด้านสังคมศาสตร์ แต่เวลามาอยู่ร่วมกัน มาทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้าเราเรียนรู้และเรารู้จริงจะเป็นสัญชาติญาณที่ออกมาโดยอัตโนมัติในระหว่างที่เราปฏิบัติกิจกรรมเรื่องอะไร ซึ่งจะทำให้เรามีความรู้สึกว่าเราน่าจะไปเรียนรู้เรื่องนั้น เรื่องนี้อีก ทำให้อยากเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือเรียกว่า life long learning เกิดความอยากอ่าน อยากเข้าอบรม อยากเข้าสัมมนา อยากไปดูนิทรรศการต่างๆ อยากฟังรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ อยากอ่านสารคดี อยากอ่านบทความต่างๆ
ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในช่วงที่เป็นนักศึกษา ก็จะสั่งสมเป็นนิสัย แต่ถ้าระหว่างชีวิตนักศึกษาเรามุ่งขอประกาศนียบัตรเพียงอย่างเดียว อย่างอื่นไปตายเอาดาบหน้าจะทำให้เราท่อง หากท่องไม่ทันก็ต้องไปกวดวิชา สอบเสร็จก็ได้ประกาศนียบัตรฉลองจบการศึกษาก็จะกลายเป็นเลิกการศึกษา ไม่มีการศึกษาอีกแล้วในชีวิตนี้ จะทำให้เรากลายเป็นบุคคลซึ่งนับวันจะถอยหลัง
ผมเคยพูดตลอดเวลาว่าคนที่เรียนจบปริญญาเอกแล้วไม่อ่านหนังสือต่อ กับคนที่เรียนจบปริญญาตรีแล้วพยายามพัฒนาตนเองโดยอ่านหนังสือแทบทุกวัน ทุกเดือน สักสิบปีต่อมา คนที่เรียนจบปริญญาตรีจะเริ่มฉลาดกว่า ไม่ได้หมายความว่าเราเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร เพียงอย่างเดียวแล้วเพียงพอ ฉะนั้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้โดยมีกิจกรรมอย่างนี้ คือสิ่งที่เกิดประโยชน์อย่างมาก
ฉะนั้นคนที่ดีที่สุดคือ ไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือเก่งสุดๆ หรือไม่จำเป็นต้องเกเรสุดๆ ให้เป็นไปอย่างพอดี คือ เป็นคนมีเพื่อนและมีวิชา แล้วจะสามารถปรับตัวได้ดีที่สุด คนเรียนเก่งไม่มีเพื่อนก็ลำบาก
ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่ นอกจากจะมี IQ และ EQ แล้ว ยังมีคำใหม่อีกคำหนึ่งคือ Adversity Quotient หรือ AQ หมายถึง ความสามารถในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรค คือ การมีน้ำอด น้ำทนนั่นเอง ซึ่งเด็กต่างจังหวัดที่พ่อแม่ ส่งมาเรียนในกรุงเทพฯ อาจจะมีน้ำอดน้ำทนดี เด็กกรุงเทพฯ บางคนก็มีน้ำอดน้ำทนดี แต่บางคนที่เป็น คนรุ่นที่สอง หรือ second generation ที่พ่อแม่มีฐานะดี ก็อาจจะไม่มีน้ำอดน้ำทนดี ซึ่งต้องปรับตัว
ความเข้าใจในสิ่งที่อยู่ร่วมกันทั้งระบบเป็นหัวใจสำคัญของ ความสำเร็จของชีวิตของคน ถ้าเราจะเข้าใจเฉพาะโลกของเราซีกเดียว เราจะไม่เข้าใจของคนอื่น ซึ่งเหมือนกับการเห็นโลกเพียงซีกเดียว ความจริงโลกมีทั้ง ซีกสว่างและซีกมืด มีทั้งสิ่งที่เป็นอุปสรรคกับชีวิตกับสิ่งที่เป็นความสะดวกของชีวิต สิ่งที่เป็นโอกาสกับสิ่งที่เป็นวิกฤต เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป แต่การที่ท่านมีโอกาสได้เข้าใจและเรียนรู้ในหลายสิ่งหลายอย่าง ก็จะเป็นประโยชน์กับท่านอย่างม
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “เยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจบ้านเมือง”


โดย: ความเข้าใจสิ่งที่อยู่ร่วมกันทั้งระบบ คือ หัวใจสำคัญของความสำเร็จ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:47:36 น.  

 


ครูคือผู้ปลดปล่อยพลังสมองของเด็ก

วิธีคิดของโลกทุกวันนี้เปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยนไป นั่นคือสิ่งที่เป็นบริบทแห่งความคิดที่ปรับเปลี่ยนจากยุค พวกเรา ในสมัยเป็นเด็กอย่างชัดเจน กล่าวคือ ยุคเก่าหรือยุคของเรา ครูถือเป็นผู้มีอำนาจเหนือนักเรียน ผู้ที่มีอำนาจจะคิดจากตัวเองเป็นหลัก แล้วอนุญาต หรือสนใจ หรือเรียกหาความมีส่วนร่วมจากคนอื่นน้อยมาก ผมเรียกว่า inside out แต่ปัจจุบันนี้เป็นยุคของ outside in ซึ่งตรงข้ามกัน เป็นยุคที่การรวบรวมความคิด ความเห็นของบุคคลที่อยู่ในแวดวงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในโลกยุคใหม่ ทางระบอบประชาธิปไตยเรียกว่า people participation คือ ประชาชนมีส่วนร่วม ทางการเรียนการสอนคือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ครู อีกต่อไป นี่คือความเปลี่ยนแปลง
เมื่อโลกเปลี่ยนสังคมเปลี่ยน ถ้าเราต้องการคนที่แสดงความคิดเห็นมาก เพื่อให้เกิดความรู้มากๆ ครูจะทำอย่างไร จึงจะปลดปล่อยพลังสมองเด็กเพราะโลกเปลี่ยนแปลง ถ้าเราต้องการ outside in พลังสมองจะเป็นหัวใจสำคัญ
ดังนั้น การเรียนการสอนยุคใหม่ ครูต้องปรับทัศนคติ ให้เข้าใจ ตระหนัก และยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่ได้รับข้อมูลเข้าสู่สมองมากกว่ารุ่นพวกเรามาก เพราะโลกยุคใหม่มีสื่อทุกประเภทที่เข้าถึงสมองเด็ก ดังนั้น เด็กมีข้อมูลในหัวมากกว่ารุ่นของพวกเรามาก แต่ทำอย่างไรจึงจะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ในหัวของเขา สร้างให้เขาเกิด positive thinking เกิดความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์ จะทำอย่างไรเพื่อให้เขาเข้าใจคำว่าบูรณาการ การคิดแบบ เชื่อมโยง ไม่ใช่การคิดในมิติเดียว ทำอย่างไรทำให้คิดเป็น ไม่ให้เขาท่องจำ แต่ถ้าเด็กรับข้อมูลแล้ว เขา copy เขาไม่ apply นั่นคือ เขาได้รับข้อมูลมาแล้ว เขาก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาลอกเลียนแบบอย่างง่าย โดยไม่ได้คำนึงว่าวัฒนธรรมต่างกัน วิถีชีวิตของคนไม่เหมือนกัน แสดงว่าเขาคิดไม่เป็น
ฉะนั้น ถ้าครูมีทัศนคติที่จะเปลี่ยนให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นคนอำนวยความสะดวกให้นักเรียนนั้น ครูต้องเป็นคนท้าทายให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกัน เรียนรู้ร่วมกัน ครูก็เรียนรู้ไปกับนักเรียน นักเรียนก็เรียนรู้ไปกับครู สิ่งนี้ต่างหากที่เป็นวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ บางครั้งครูต้องยอมรับว่าบางเรื่องนักเรียนรู้มากกว่า ครู และต้องชื่นชมเขา
ทัศนคติเหล่านี้ครูต้องรับได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูต้องถามตนเอง ถ้าเรารับได้ เด็กจึงจะเก่ง ต้องสร้างให้เด็กเก่งด้วยการที่ให้เด็กปลดปล่อยพลังสมอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะสมองเหมือนมีด คือยิ่งลับยิ่งคม ถ้าไม่ลับก็ยิ่งโง่ ดังนั้น การปลดปล่อย การท้าทายพลังสมองของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ ให้เด็กทำในสิ่งใหม่ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญ เด็กรุ่นปัจจุบันนี้มีพลังสมองมากเพราะข้อมูลที่เขารับมีมาก เขาจึงเป็นคนที่ชอบท้าทายมากกว่าคนยุคพวกเรา เด็กยุคนี้ถูกท้าทายได้ทุกรูปแบบ เราต้องเปิดสิ่งท้าทายในทางสร้างสรรค์ให้กับเด็ก เพื่อเด็กจะได้ไม่ไปสู่การท้าทายในสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ทั่วประเทศ


โดย: ครูคือผู้ปลดปล่อยพลังสมองของเด็ก (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:49:27 น.  

 


ซ่อมรากภูมิปัญญาเดิม ต่อยอดสู่สากล

สิ่งที่ประเทศไทยมีปัญหาวันนี้คือว่า เราได้พัฒนาตัวเราเองโดยทิ้งความแข็งแกร่งเดิมที่เรามีอยู่ กระโดดเกาะความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งเกาะก็ไม่ค่อยได้ทันเท่าไร แต่ยังทิ้งของเก่าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นผมถึงใช้คำว่าเราจะต้องกลับมาช่วยกันซ่อมรากภูมิปัญญาเดิม แล้วต่อยอดเข้าสู่ความเป็นสากลโดยที่ไม่ทิ้งรากฐานแห่งภูมิปัญญาเดิม ภูมิปัญญาในที่นี้คือความมีวัฒนธรรม ความมีศิลปะ ความมีสิ่งที่ดีงามที่เราเป็นอยู่
ผมนั่งดูการทำงานของคนในชนบทตั้งแต่ผมเด็กๆ ไปดูเขาวาดร่มที่บ่อสร้าง เขาได้ค่าจ้างคันละสลึง วาดดอกไม้สวยงามมาก นี่คือสิ่งที่เรามีอยู่แล้วแต่การที่เราเอาวิชาที่เป็นสากลมาปรับเข้าสิ่งที่มีอยู่เดิมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ให้เกิดการรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามของเรานั้นเป็นสิ่งที่ผมเรียกร้องและชื่นชม และที่สำคัญที่สุดเราต้องยอมรับว่าถึงแม้เราจะมีสิ่งที่เป็นของเก่าของแก่ของดีงาม แต่เราต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านทั้งหลายที่เป็นนักศิลปะ พื้นฐานแล้วจะไม่มีหัวคำนวณ เมื่อไม่มีหัวคำนวณก็จะเริ่มไม่ค่อยชอบคอมพิวเตอร์ แต่เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์มีลักษณะพวก Software เป็น User friendly มาก ใช้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านต้องเรียนพวก Graphic แล้วเอา 2 อย่างมาเจอกัน ท่านสามารถที่จะพัฒนาอะไรได้ ตั้งมากมาย ทางวิชาการนั้นผมเชื่อว่าเราจะต้องยอมรับการรวมกันของวิชา ทั้งที่อยู่กันคนละมุม Graphic design ทำให้ศิลปะเปลี่ยนไป วิชาในโลกศิลปะเปลี่ยนไปมาก แม้กระทั่งรูปของ Picasso สามารถที่จะถูก ลอกแบบได้เหมือนมาก โดยมีความนูนความลึกอะไรเหมือนกันหมด
นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์นั้นมี Talent (ความสามารถพิเศษ) สูง ความฉลาดแสดงออกได้หลายทาง ความฉลาดที่สะท้อนออกเป็นงานศิลปะนั้นเป็นความฉลาดอีกอย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่าเราจะให้เขาดึงความ ฉลาดออกจากทางมุมไหนของวิธีการแสดงออกเท่านั้นเอง
วันนี้ผมกำลังตามล่าหาคนที่ดีที่สุดและเก่งที่สุดในทุกวงการ เพราะประเทศไทยเรากำลังต้องการ ตอนนี้เราอยู่ในโลกสงครามหาคนเก่ง เขาเรียก The war for talent สงครามล่าหาปัญญาที่ดี ซึ่งปัญญาที่ดีไม่จำเป็นต้อง คิดเลขเก่ง สะท้อนออกมาอะไรก็ได้ นักศิลปะอาศัยความฝัน มีความฝัน มีจินตนาการถึงจะออกมาได้ จินตนาการของนักศิลปะคือปัญญา ถ้าเอาคนที่ความสามารถพิเศษสองทางที่อยู่คนละมุมมาเจอกัน เราสามารถที่จะดึงปัญญาดึงแนวคิดที่แปลกๆ ใหม่ๆ มาสู่การพัฒนาสิ่งที่ใหม่ๆ
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในโอกาสเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการและบรรยายพิเศษ “กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการพัฒนาการศึกษาวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ศิลปะเพื่ออนาคตของประเทศไทย”


โดย: ซ่อมรากภูมิปัญญาเดิม ต่อยอดสู่สากล (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:50:41 น.  

 


ความกตัญญู คือ หัวใจความสำเร็จของคนไทย

ความสำเร็จของคนไทยในชีวิตส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ ความกตัญญู เพราะเรื่องนี้คนไทย มีเหนือกว่าหลาย ๆ ประเทศ ความกตัญญูที่สำคัญที่สุดคือต่อพ่อแม่ที่เลี้ยงดูเรามา ให้กำเนิดเรามา ความกตัญญูที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด คือบ้านเกิดเมืองนอนของเรา ตัวผมเองได้อาสาเข้ามาทำงานการเมืองก็ด้วยจิตสำนึกของความกตัญญูต่อแผ่นดินว่า อย่างน้อย ๆ แผ่นดินไทยนี้ให้เราเกิดมา เราได้ทำมาหากิน ได้สร้างอนาคตของเราและลูกหลานในแผ่นดินนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องอาสามาทำงานรับใช้แผ่นดิน
วันนี้ประเทศไทยกำลังต้องการคนเก่ง ๆ คนดี ๆ คนที่มีความรู้ที่หลากหลายมาช่วยประเทศไทย ตัวผมเอง ถึงแม้ว่าจะเรียนหนังสือมามาก แต่ผมก็ยังไม่เชื่อว่าผมจะเข้าใจเด็กรุ่นใหม่ หรือเข้าใจวิวัฒนาการของโลกใหม่ได้ดีพอ ผมยังต้องการเด็กรุ่นใหม่ คนที่มีความเข้าใจในวิวัฒนาการของโลกใหม่ ๆ มาช่วยกันคิด เพื่อให้ประเทศไทยเรานั้นมีความเจริญก้าวหน้าทันกับประเทศอื่นเขา วันนี้รัฐบาลกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากมาย
เยาวชนทั้งหลายที่ไปเติบโตที่อเมริกา ท่านมีโอกาสได้เรียนรู้ ได้อยู่ใกล้กับสิ่งที่กำลังพัฒนา เพราะฉะนั้นถ้าท่านมีความมานะขยันหมั่นเพียร มีความรัก กตัญญูต่อพ่อแม่ และผูกพันต่อความเป็นประเทศไทยของเรา ผมเชื่อว่าท่านจะเป็นคนที่มีความสามารถ เพราะเด็กในเอเชียนั้นเป็นเด็กที่หัวดีและมีความอดทนสูง
ท่านทั้งหลายมีโอกาส แต่โอกาสเหล่านั้นอยู่ที่ท่านเอง อยู่ที่ความรักและเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ ผมไม่รู้จักไทเกอร์ วูดส์ เป็นการส่วนตัว แต่ก็พอรู้ประวัติเขาบางอย่าง สิ่งหนึ่งที่เป็นความสำเร็จของไทเกอร์ วูดส์ นอกจาก พรสวรรค์ของเขาแล้วคือความที่เขารักและเชื่อฟังแม่ของเขา เขายังมีความเป็นไทยในหลายอย่างที่แม่ของเขาถ่ายทอดให้ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักการใช้สมาธิ ถ้าเมื่อมีความเครียดความวิตก เขาก็จะมีการหยุดเพื่อสร้างสมาธิ ซึ่งความจำเป็นสำหรับนักกอล์ฟก็คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้คือแม่ที่เป็นคนไทยสอนเขา
ทางตะวันออกเรามีอะไรดีหลายอย่าง แต่ทางตะวันตกก็มีอะไรดีหลายอย่าง ถ้าท่านสามารถเอาสิ่งที่เป็นของดีตะวันออกและของดีตะวันตกมารวมกัน แล้วเลือกใช้ ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมากมาย
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโครงการเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา เยือนแผ่นดินแม่ ครั้งที่ 4


โดย: ความกตัญญู คือ หัวใจความสำเร็จของคนไทย (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:51:38 น.  

 


ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างทุนทางปัญญา

การปฏิรูปการศึกษา หัวใจอยู่ที่ software มากกว่า hardware อยู่ที่ทำอย่างไร มากกว่าอยู่ที่อัฐบริขารที่เราจะเป็นตัวเริ่ม อัฐบริขารนั้นเป็นของประกอบเราค่อยๆ จัดเข้ามาได้ แต่ “ทำอย่างไร” เป็นสิ่งที่ใหญ่ที่สุด และ ผมเชื่อว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) ได้ทำการศึกษาล่วงหน้ามามากแล้ว แต่การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (implementation planing) ต้องชัดเจน สิ่งแรกต้องถามว่าเราอยากให้เด็ก อายุเท่าไรรู้อะไรแค่ไหน ต้องมองตั้งแต่เกิดจนถึงจบปริญญาเอก แต่หลักสูตรของเราไม่มีการเชื่อมโยงในอดีต ถ้าหลักสูตรไม่มีความเชื่อมโยงอย่างนี้ เราไม่ได้ผลิตมนุษย์ เราผลิตหุ่นยนต์ เราสร้างหุ่นยนต์เราไม่ได้สร้างมนุษย์ เพราะไม่เชื่อมโยง เป็นท่อนๆ แล้วนำมาต่อ เหมือนทำสายการผลิต แต่ถ้ามีความเชื่อมโยงมีการใส่จิตวิญญาณไปตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือจนจบ เพราะเราให้จิตและวิญญาณเข้าไปตลอด เนื่องจากเราพัฒนาทัศนคติไปพร้อมกับการเรียนรู้ การพัฒนาการทางสมอง ทาง IQ (Intelligence Quotient) และ EQ (Emotion Quotient) ไปพร้อมๆ กัน การบูรณาการทางความคิดต่างๆ ถูกพัฒนาตามไปเรื่อย
แล้วความจำเป็นในการสอบเข้า ต้องถามอีกว่าตกลงต้องมีการสอบเข้าในระดับอุดมศึกษา (Entrance) อีกไหม เรามีการสอบเข้า (Entrance) เพื่ออะไร เพื่อพัฒนาคนฉลาดใช่หรือไม่ แล้วคนโง่ เราเลิกพัฒนาหรือไม่ คนฉลาดน้อยกว่าเราจะไม่พัฒนาเขาแล้วใช่ไหม เขาจะต้องตกเป็นตะกอนของสังคม ใช่หรือไม่ เพราะเราใช้ระบบการสอบเข้า (Entrance) สมมติว่าระบบการสอบเข้า (Entrance) ของเราดีที่สุด วัดผลได้จริงๆ แสดงว่าเราเลือกเฉพาะคนฉลาดเข้าไปพัฒนาต่อ พวกที่ไม่ใช่คนฉลาดอย่าไปพัฒนา สิ่งนี้น่าจะผิดเหมือนระบบ ทุนนิยมที่บอกว่า ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ใครแข็งแรงกว่า นำไปใช้ ใครอ่อนแอกว่าไม่ต้องใช้ ปล่อยให้จนต่อไป สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องถามตนเองว่าเราจะย้อนกลับไปพิจารณาใหม่แค่ไหน
นั่นคือหน้าที่ของเรา ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาเขาให้ดี พัฒนาไปเถิด ถึงแม้เราคิดว่าวันนี้เขาโง่ สักวันหนึ่งเขาก็จะหายโง่ แล้วจะเป็นบุคลากรที่ดี สร้างทุนทางปัญญา (intellectual capital) ให้เขามากๆ ถ้าทุนทางปัญญา ของมนุษย์ไม่มี ก็ไม่สามารถทำมาหากินได้ นั่นคือโลกใหม่ วันนี้ผมบอกได้เลยว่าประเทศไทยเป็น หนี้ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ถ้าจะแก้ไขปัญหาด้วยสินค้าเกษตรและทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ใช่พลังสมอง ไม่มีปัญญาใช้หนี้แน่นอน การที่เราจะใช้หนี้ต่อไปนี้เราจะต้องเริ่มสะสมความมั่งคั่งทางปัญญาของชาติ ดังนั้นสมองของมนุษย์ของเด็กไทยต้องพัฒนา
ผมขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่เชื่อผลการศึกษาของอาจารย์เมื่อไม่กี่วันมานี้ ว่าเด็กไทยอายุ ตั้งแต่ 1-18 ปี ประมาณร้อยละ 50 มี IQ ต่ำกว่า 70 นั่นคือไม่ฉลาด ผมไม่เชื่อ อย่างไรก็ไม่เชื่อ ฉะนั้น วันนี้ผมจึงบอกว่า เด็กเกิดมามีพื้นฐานทางสมองไม่เท่ากัน ซึ่ง basic สมองของเด็กที่เกิดมาเป็นเรื่องของการถ่ายทอด ทางพันธุกรรมแต่ผมไม่เชื่อว่าเมื่อทำ genetic test แล้ว เด็กไทยจะมี IQ ที่แย่ไปทั้งหมด แน่นอนต้องมีบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หรือ ส่วนใหญ่ก็คงไม่ใช่ แต่หลังจากนั้นเกิดจากการพัฒนาการ ซึ่งพัฒนาได้ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเกิดมายากจนอย่างไร ถ้าได้มีโอกาสพัฒนาการทางสมอง เขาก็มีโอกาสที่จะเป็นคนที่มีทุนทางปัญญาไปต่อสู้กับโลกภายนอกได้
ผมอยากเตือนนักการศึกษาทั้งหลาย แม่พิมพ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นครูหรือเป็นอาจารย์ ส่วนหนึ่งของชีวิต หรือการคาบเกี่ยวของชีวิต ซึ่งเคยเป็นเหยื่อของระบบการศึกษาที่ล้มเหลวของไทย ฉะนั้น ถ้าท่านจะเป็นแม่พิมพ์ปฏิรูปการศึกษาแผนใหม่นั้น ท่านต้องกล้าและต้องเต็มใจที่จะเปลี่ยนตนเอง อย่าไปภูมิใจในอดีตของตนเองจนนำอดีตของตนเองเป็นตัวอย่างของอนาคตจนมากเกินไป เพราะว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนมาก ดังนั้น ทุกคนหลุดออกจาก กรอบเดิมๆ ของวิธีคิด แล้วมองไปข้างหน้า แล้วนำสิ่งที่มีอยู่ที่เป็นการเรียนรู้มานำไปปรับใช้กับความเป็นจริงในวันนี้จะช่วยได้มาก ฉะนั้น ผมจึงเรียนว่าเราต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนกันมาก เราท่องกันขึ้นใจว่า ไม่เอาแล้วครูอาจารย์เป็นผู้สอน แต่ต้องให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (learner learning) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learning) นั่นคือภาษาที่ถูกต้อง แต่ทำอย่างไรถึงจะไปสู่จุดนั้น
วันนี้สิ่งที่ท่านทั้งหลายทำอยู่นั้น ขอให้มองแบบบูรณาการ ตั้งแต่เรื่องหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ซึ่งขั้นตอนบางส่วนต้องปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน (bottom line) คือ ต้องการให้เด็กไทยเมื่อเรียนจบแล้วมี บูรณาการ และมีนิสัยที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นคือสิ่งสำคัญ การที่เรียนแล้วได้ปริญญา ได้ประกาศนียบัตร แล้วคิดว่าเป็นความสำเร็จ ผมคิดว่ายังไม่พอ แต่ความสำเร็จต้องอยู่ที่ว่าได้ปริญญาแล้วยังไม่เลิกเรียน ถึงแม้เขาจะไม่เข้าการศึกษาอย่างเป็นทางการ แต่เขายังสนใจ ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต นั่นคือ ขั้นตอนพื้นฐานที่อยากได้ ภาษาฝรั่งเขาใช้วันที่รับปริญญาว่า “วันเริ่มต้น” (commencement day) นั่นคือยังต้องเรียนใหม่อีก แต่ของไทยเราใช้คำว่าฉลองสำเร็จการศึกษา คือเลิกศึกษาหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ
ดังนั้น ผมขอย้ำอีกครั้งว่าผมอยากเห็นการปฏิรูปการศึกษา ผมเปิดเสรีพอสมควร ผมอยากเห็นระบบการศึกษาแบบหลุดโลก ผมใช้คำว่าหลุดโลก เรียนแบบหลุดโลก เรียนแบบชนิดที่มีระบบการเรียนการสอนที่สุดๆ ไปเลย คือ การท้าทาย (challenge) เด็กให้สุดๆ เลย ให้ปล่อยพลังสมองเต็มที่ โดยเรียนสารพัดแบบเรียนหลากหลาย เรียนเป็นสหสาขาวิชา (multi disciplinary)
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเป็นประธานการประชุมการปฏิรูปการศึกษา


โดย: ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างทุนทางปัญญา (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:52:36 น.  

 


ความคิดสร้างสรรค์ คือ หัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่

สมองของเด็กสามารถพัฒนาได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราไปตีกรอบไว้ ไม่ให้เด็กเกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ นั่นหมายถึงเรากำลังลดศักยภาพพลังสมองของเด็ก เราต้องปลดปล่อยพลังสมองของเด็ก นี่เป็นแนวคิดใหม่ ซึ่งเขาบอกว่าความสำเร็จของกระบวนการเรียนรู้มีสูตรว่า L = ASK + C โดย L คือ Learning , A คือ Attitude S คือ Skill , K คือ Knowledge และ C คือCollaboration ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะสำเร็จได้นั้น ต้องประกอบด้วย ทัศนคติ ความชำนาญ ความรู้ และความร่วมมือร่วมใจกัน แต่วิธีการเรียนรู้ในปัจจุบันที่เด็กต้องเรียนพิเศษ อย่างนี้แสดงว่ากระบวนการเรียนรู้ยังเป็นลักษณะการผลิต แบบอุตสาหกรรม ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาแผนใหม่ ได้เน้นเพื่อจะให้ “เด็กเก่ง ดี มีสุข” ดังนั้นเราจะต้องสร้างให้เด็กสามารถเรียนรู้ไปด้วยกันกับครู
ผมไม่ได้จบทางสื่อสาร ผมเรียนคอมพิวเตอร์มาเพียง 6 หน่วยกิต แต่ผมสามารถพูดกับนักสื่อสาร นักคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด เพราะว่าผมเรียนรู้ไปกับเขา เรียนรู้ไปกับเด็กๆ เวลาผมอยากจะเรียนรู้ ผมปล่อยสมองให้ว่างแล้วคุยกับเด็กจะได้ความรู้ ผมได้ไปทดลองแบบนี้ หลายที่แล้ว ไม่มีอะไรที่เรียนรู้ไม่ได้เลย เขามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ Life ling learning นอกจากนั้นยังไม่พอจะต้องมี Lift Learning คือการเรียนเพื่อ ยกระดับการเรียนรู้ คือเรียนเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ คนไม่ต้องจบอะไรก็เรียนได้
ฉะนั้น การศึกษาแผนใหม่นั้น จะต้องให้เด็กมีความรู้ที่หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในวิชาใดวิชาหนึ่ง แต่เป็นในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม หรือ Activity Based Learning ซึ่งจะบูรณาการวิชาที่เรียน เข้าด้วยกัน มหาวิทยาลัยยุคหน้าจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นลักษณะของ Interdisciplinary คือการเรียนรู้ข้ามวิชามากขึ้น ถ้าใครคิดว่าอยากจะสอนให้รู้เพียงเรื่องเดียว วิชาเดียวนั้น จะเป็นคนแคบ และ ล้าสมัย วันนี้ ถ้านักเรียนยังเรียนแบบท่องจำและเรียนแบบไม่มีบูรณาการ ไม่มีลักษณะของการเรียนด้วยกิจกรรม และไม่เรียนรู้ไปพร้อมกันระหว่างครูกับนักเรียน ครูไม่ทำหน้าที่อำนวย ความสะดวกและติวเตอร์ ครูยังเป็นครูที่ สอนอยู่ เรากำลังจะสร้างเด็กให้แคบ
ดังนั้น การเรียนรู้ในโลกยุคใหม่จะต้องเรียนในลักษณะเรียนร่วมกัน เรียนไปด้วยกันและเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งเรียนแบบบูรณาการ เรียนวิธีคิดอย่างบูรณาการ ผมบอกได้เลยว่าจากวันนี้กับอีกสิบปีข้างหน้า ระบบการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปคนละเรื่อง ผมใช้คำว่าระบบการเรียนการสอนแบบหลุดโลก เพราะจะเปลี่ยนวิธีใหม่ทั้งหมด ฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดในวันนี้คือการปลดปล่อยพลังสมองของเด็ก อย่าไปบีบสมองของเด็ก บังคับให้เด็กทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ทิศทางการศึกษาของเยาวชนข้างหน้านั้น ผมเรียนได้เลยว่าเราจะเน้นการเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้เป็น Global Citizen จะเน้นในเรื่องภาษาเรื่องความเข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติเรื่องคอมพิวเตอร์ และแน่นอนว่าเราจะปูพื้นในเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องคณิตศาสตร์ ในวัยเด็กเพื่อให้เด็กมีทางเลือกในอนาคตได้มากขึ้น
ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อ Match Genes เขาพูดถึงว่า ความจริงคนที่เป็นนักศิลปะ เป็นนักภาษา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอ่อนคณิตศาสตร์เสมอไป เพียงแต่ว่าการพัฒนาการตั้งแต่แรกที่เกิดจากความชอบและ ไม่ชอบ คนที่เป็นนักศิลปะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คนเป็นนักคณิตศาสตร์ก็เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์สูง ดังนั้น ครูต้องตระหนักตรงนี้ว่าการที่เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ อย่าไปคิดว่าเป็นเด็กเกเรเสมอไป บางครั้งเด็กอาจจะอยากคิดแตกต่าง ถ้าเป็นการคิดแตกต่างที่สร้างสรรค์ต้องส่งเสริม นั่นคือ ส่งเสริมการคิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ถ้าไม่เช่นนั้นเด็กจะไม่มีทางออก แต่อย่าให้เด็กคิดแตกต่างที่ไม่สร้างสรรค์เท่านั้นเอง
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “BCC FAIR 150 ปี กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย”


โดย: ความคิดสร้างสรรค์ คือ หัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:53:36 น.  

 


คนพิการมีศักยภาพ เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง

วิสัยทัศน์ที่เราคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนพิการ เราจะต้องมุ่งมั่นช่วยเหลือให้เขาช่วยตัวเองได้เป็นหลัก ถ้าเราช่วยเหลือให้เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็จะเป็นเรื่องที่ถือว่าไม่สำเร็จ ความสำเร็จคือช่วยให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ เราต้องยอมรับว่าคนพิการและคนจน ถ้าเขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เขาคือภาระของสังคมที่จะต้องช่วยกันดูแล แต่เราจะต้องผลักดันให้เขาพ้นจากการเป็นภาระของสังคม ให้เขาช่วยตัวเองได้ให้เขายืนบนลำแข้งของตัวเองได้ เพราะฉะนั้นการที่จะช่วยให้เขาช่วยตัวเองได้นั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องช่วยกันทุกฝ่าย และก่อนอื่นเราต้องถามว่าเราจะเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง หรือจากคนที่เป็นภาระสามารถเป็นผู้ที่มีผลผลิตหรือยืนบนลำแข้งของตัวเองได้ เราต้องมีความเข้าใจกันก่อนว่าคนทุกคนมีศักยภาพ ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นอะไร เขาสามารถที่จะถูกพัฒนา ศักยภาพของเขา มาเป็นจุดที่ทำให้เขาช่วยตัวเองได้ในหลายเรื่อง
คนไทยเป็นคนขี้สงสาร แต่คนไทยก็ไม่อยากเวทนา เราต้องยอมรับว่าบางคนมองคนพิการด้วยความเวทนา เอาคนพิการมาอยู่ใกล้ ๆ ก็มีความรู้สึกเวทนา ทั้ง ๆ ที่สงสารแต่มีเวทนาก็เลยหนีปัญหา อยากจะช่วยเหลือเงิน ทีเดียวแล้วก็จบไป เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่าเรามีคนพิการอยู่ในสังคม และเราจะต้องช่วยเขา เมื่อเราจะต้องช่วยเขาเราจะต้องเผชิญกับสิ่งที่เราเวทนา แล้วในที่สุดจะกลายเป็นว่าเราจะภูมิใจ จากเวทนาจะเปลี่ยนเป็นความภูมิใจว่าคนพิการเหล่านี้มีศักยภาพ และเขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้ อยู่ร่วมกับสังคมได้โดยไม่มีปัญหา อันนี้เป็นทัศนคติที่จะต้องช่วยกันปรับเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือเขาอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญคือส่วนราชการจะต้องช่วยเหลือผู้ที่เป็นทีมสนับสนุนเพื่อการช่วยเหลือคนพิการ เช่น ล่ามภาษามือ นักไอทีที่ผลิตเพื่อช่วยเหลือคนพิการ ที่มีปริมาณไม่มาก ถ้าเราไม่ช่วยกองหนุนที่ช่วยคนพิการ กองหนุนทั้งหลายก็หมดกำลังใจ วันหลังเขาก็หนีไปหมด ก็จะไม่มีคนช่วยคนพิการ เพราะฉะนั้นการช่วย คนพิการต้องช่วยกองหนุนคนพิการด้วย
อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องที่ต้องถือว่าเป็นความหวัง คือ อยากเห็นคนพิการที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ที่ดี ได้มีโอกาสรับทุนการศึกษา เพื่อจะให้คนพิการเหล่านั้นได้กลับมาช่วยเหลือเพื่อนที่พิการของเขา ถ้าเขาได้มีระบบการศึกษา ได้รับการศึกษาที่ดี ไม่ว่าจะการส่งไปเรียนต่างประเทศ หรือการส่งเรียนระดับสูงในประเทศ ผมเชื่อว่า ยังมีเด็กอัจฉริยะที่เป็นคนพิการในบางเรื่องอยู่ แต่เขาอาจจะไม่อัจฉริยะในทุกเรื่อง ซึ่งเรายังสามารถที่จะ มองหาและส่งเสริม เราคิดว่าเขาพิการเพราะฉะนั้นเขาจะรู้เหมือนคนทั่วไปทุกอย่างคงไม่ได้ แต่บางอย่างเขาอาจจะเก่งกว่าคนไม่พิการ คือในร่างกายมนุษย์ถ้าความสมดุลมันมี คือไม่ดีเลิศอย่างใดอย่างหนึ่ง ดีใช้ได้เหมือนกันหมด แต่ถ้ามีพิการบางส่วนจะมีดีมากบางส่วน ตรงนี้เป็นเรื่องของธรรมชาติ
ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยนี้ช่วยคนพิการได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไอที ไอซีที สิ่งเหล่านี้เป็นความหวังเล็ก ๆ สำหรับคนพิการ ขอให้ความหวังครับ คนเราถ้าอยู่ไปในชีวิตหมดความหวังก็อยู่ไปก็รอ วันตาย เพราะฉะนั้นเราต้องอยู่อย่างมีความหวัง เราต้องพยายามมีความคิดเชิงบวกให้กับตัวเอง ให้กับสังคม และทุกคนสังคมมัวแต่พูดกันเรื่องปัญหา ไม่มองไปข้างหน้าก็จะว้าเหว่ สังคมจะไม่เจริญก้าวหน้า เพราะฉะนั้นทุกคนเข้าใจปัญหาและอย่าจมอยู่กับปัญหานาน ต้องมองไปข้างหน้าคิดหาทางแก้ไข คิดเชิงบวกให้มากที่สุด แล้วเราก็จะสามารถพัฒนาตัวเองและพัฒนาสังคมพัฒนาประเทศได้ในที่สุด ไม่ว่าใครทั้งสิ้นเมื่อเกิดมาแล้วเราจะต้องให้ความหวังกับตัวเอง แต่เป็นความหวังที่เราสามารถไปถึงได้ เราก็จะได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสปิดการประชุมเชิงบูรณาการเรื่องยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


โดย: คนพิการมีศักยภาพ เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:54:41 น.  

 


ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “ใจ”

พระพุทธทาสกล่าวว่า ความโง่สอนให้คนฉลาด ถ้าคนที่โง่ไม่เอาความโง่มาสอนให้ตัวเองฉลาดขึ้นแสดงว่าเราจะต้องโง่ตลอดไป ความผิดพลาดในอดีตนั้นต้องเป็นครูที่ดีสำหรับอนาคต เราจะได้เริ่มต้นชีวิตที่ดี สำคัญก็คือว่าลูกคนหนึ่งที่เกิดมา สิ่งที่ทำให้พ่อแม่หัวใจแทบแตกสลายก็คือลูกติดยาเสพติด เป็นการหลงผิดระยะสั้น รีบกลับไปตั้งต้นชีวิตใหม่ทำความดีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ เพราะพ่อแม่คงไม่ได้หวังว่าลูกจะต้องเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้หวังเกินความสามารถของลูก แต่สิ่งที่หวังคือขอให้ลูกเป็นคนดี เป็นคนที่ไม่หลงผิด เป็นคนที่คิดว่าจะทำดีที่สุดเท่าที่ตนเองพึงจะกระทำได้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้อีก
ทุกอย่างอยู่กับคำว่า “ใจ” ถ้าใจเข้มแข็งเสียอย่างก็ไม่มีอะไร ทำใจให้เข้มแข็ง ยาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดีทำลาย ทุกอย่าง ทำลายสมอง ทำลายอนาคต ทำลายปัญญาของเรา ทำลายโอกาสของเรา ทำลายความเป็นคนดีของเรา ทำลายความกตัญญูที่เรามีต่อพ่อแม่ ขอให้จบสิ้นไปในวันนี้
ลูกหลานวันนี้จะต้องกลับไปมีชีวิตใหม่ คนที่จะเรียนหนังสือก็เรียนต่อไป คนทำงานก็ทำงานต่อไป เราต้องการที่จะให้ท่านทั้งหลายเติบโตขึ้นมารับผิดชอบภาระของครอบครัว ของสังคม และของบ้านเมือง ถ้าเราอยากจะโตขึ้นเป็นคนที่ฝันได้ โดยไม่ต้องเสพยาเสพติด คือฝันว่าอยากจะเป็นใคร แล้วท่านพัฒนาตัวเองให้ได้ ผมเองขอความร่วมมือจากบริษัทค่ายเพลงแกรมมี่ และอาร์ เอส หรือทางสมาคมโอลิมปิค เพื่อที่จะให้ศิลปิน นักร้อง นักกีฬา ที่เยาวชนชื่นชมมาเป็นต้นแบบ ให้รู้ว่าคนเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรพิเศษกว่าเรา แต่สิ่งที่พิเศษก็คือมีความอดทน มานะ หมั่นฝึกฝนตนเองจนทำได้
ผมขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความพยายามอย่างน้อยๆ ต้องคิดว่าทำให้พ่อแม่ต้องเสียใจมาแล้ว วันนี้ตั้งต้นใหม่ พ่อแม่พร้อมอภัยให้ลูก แต่อย่าให้พ่อแม่ต้องร้องไห้หลายครั้ง ครั้งเดียวคงจะพอ โดยเฉพาะลูกผู้ชายคนหนึ่ง ที่ต้องเห็นน้ำตาพ่อแม่หวังว่าเราจะกลับไปเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ และผมขอให้กำลังใจผู้ปกครอง ทุกท่านว่าให้โอกาสลูก ให้กำลังใจเขา แล้วเขาจะกลับมาเป็นลูกที่ดีของท่านอีกครั้ง เพราะตอนเล็กๆ เขาน่ารักกันทุกคน แต่พอโตขึ้นเราต้องยอมรับว่าสังคมเราเลอะเทอะมานาน ซึ่งไม่ง่ายที่จะจัดระเบียบกันใหม่แต่รัฐบาลจะพยายามทำ
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสคณะนักเรียนโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง เข้าเยี่ยมคารวะ


โดย: ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ “ใจ” (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:55:52 น.  

 


สมดุลของมนุษย์ ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และความเข้าใจชีวิต

วันนี้ผมอยากให้ลูกหลานของเราได้มีความรู้ชีวิต มีความเป็นมนุษย์ เพราะสังคมไทยเราพอมีความรู้ ก็ขาดความเป็นมนุษย์ พอมีความเป็นมนุษย์ก็ไม่ค่อยมีความรู้ เราเรียนเราสอนให้คนเป็นเครื่องจักรหมด เราไม่ได้สร้างความเป็นมนุษย์ให้มนุษย์ มนุษย์ต้องมีความเป็นมนุษย์ ถ้ามนุษย์ไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์ มนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่ถูกไขลานหรือเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ให้ วันนี้เรากำลังเขียนโปรแกรมให้เด็กรุ่นใหม่ของเราเป็นหุ่นยนต์ของเรา แต่บังเอิญหุ่นยนต์เหล่านี้มีชีวิต ถูกเหวี่ยงซ้ายเหวี่ยงขวาโดยที่เราไม่รู้
ระบบการเรียนการสอนต้องมีการสะท้อนความเป็นมนุษย์ สะท้อนความเป็นชีวิตจริงๆ ของคน แล้วเอา วิชาความรู้ใส่เติมเข้าไปเพื่อให้ชีวิตนั้นมีความสุขยิ่งขึ้น ให้ชีวิตนั้นมีศักยภาพมากขึ้น ไม่ใช่ไปบังคับให้ชีวิตต้องทำอะไรที่ผิดจากความเป็นมนุษย์ ตรงนี้พูดง่ายแต่ทำยากมาก เพราะเป็นศิลป์และเป็นศาสตร์พร้อมกัน และ ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้ระบบการศึกษานั้นไม่เครียด ชีวิตนี้เรียนต้องเรียนให้สนุก จะเล่นก็เล่นให้มีสาระ เล่นให้สร้างสรรค์เล่นมีความรู้ ไม่ใช่ไปเรียนแบบชนิดที่บังคับต้องเรียนตั้งแต่เช้ายันเย็น ต้องไปท่องหนังสือ ต้องไปกวดวิชา ไม่อย่างนั้นสอบแพ้ สอบเข้าไม่ได้เสียคน ผมเชื่อในทฤษฎีของมนุษย์ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกวิถีชีวิตของตัวเอง แต่แน่นอนต้องมีทางเลือก รัฐบาลมีหน้าที่สร้างโอกาสให้คนได้มีทางเลือกมาก ๆ เป็นทางเลือกที่สร้างสรรค์ ทางเลือกที่รวมกันแล้วเกิดพลังกับสังคมไทย ไม่ใช่เป็นทางเลือกที่ทำลายระบบ แต่เป็นทางเลือกที่สร้างให้ระบบเข้มแข็ง ให้มีการ สร้างสรรค์รวมพลัง หนึ่งบวกหนึ่งมากกว่าสอง ต้องทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดพลังของสังคม พลังของประเทศ ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ
ผมอยากให้เด็กรุ่นใหม่ได้มองปรับทัศนคติใหม่ จบแล้วต้องรู้หมด รู้ทฤษฎี รู้ปฏิบัติ เข้าใจชีวิต ไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎี เขาให้ท่องก็ท่อง จนเวลาสอบเรียบร้อย เกรด 2.5 จบ ไม่ได้ประโยชน์อะไร ต่อไปข้างหน้าเขาไม่จ่ายตามประกาศนียบัตรแล้ว เขาจ่ายตามความฉลาดของปัญญา เพราะฉะนั้นอีกหน่อยคนที่จบปริญญาเอกแล้วไม่ได้เก่ง ไม่ได้รู้เรื่องอะไรนอกจากท่องทฤษฎีเป็นแล้วประยุกต์ไม่เป็น ก็อาจจะได้เงินเดือนน้อยกว่าคนที่จบปริญญาตรีหรือไม่จบด้วยซ้ำ แต่ว่ามีความเฉลียวฉลาดทำงานเก่ง ต้องเรียนให้รู้ว่าทุกอย่างต้องผสมผสาน ต้องไปด้วยกันอย่างสมดุล ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ของการปฏิบัติ และเข้าใจชีวิต
การเข้าใจชีวิต นี่คือ เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่น คนบางคนเข้าใจแต่ตัวเองไม่เข้าใจคนอื่น เพราะฉะนั้นต้อง เข้าใจตัวเองได้และเข้าใจคนอื่นได้ บางคนไม่เข้าใจตัวเองด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นอะไรต้องการอะไร บางทีถ้าเข้าใจตัวเองไม่ได้ด้วยแล้วจะเข้าใจคนอื่นได้อย่างไร
เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเปิดการแสดงนิทรรศการแสดงผลงานโครงการ“เรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์ชุมชน
” และแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นักศึกษารุ่นใหม่กับการพัฒนาประเทศ”


โดย: สมดุลของมนุษย์ ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และความเข้าใจชีวิต (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:57:00 น.  

 


สร้างเยาวชนของชาติด้วยจิตวิญญาณความเป็น "ครู"

ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อชาติ และยิ่งโลกกำลังเปลี่ยนไปมาก ครูจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญสูงและจะถูกคาดหวังสูง แต่ขณะเดียวกันนั้นหัวอกครูยังไม่มีใครเข้าใจอย่างถ่องแท้ ผมมีจิตวิญญาณของความเป็นครูตั้งแต่เด็ก แม้กระทั่งวันนี้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ยังเป็นครู บางครั้งอาจจะสอน ผิดที่ผิดเวลาและคนก็โกรธบ้างเป็นเรื่องธรรมดา วันนี้ผมขออนุญาตพูดแบบคนที่มีจิตวิญญาณของความ ผูกพันกับความเป็นครู ตอนผมอยู่ประถมศึกษาปีที่ 4 น้องชายคนที่ถัดจากผมจะเข้าเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เขาจะต้องได้รับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบ้าง เพราะไปเข้าเรียนที่มงฟอร์ด ผมต้องติวให้น้องและเพื่อน ๆ ของเขา เพราะฉะนั้น ผมจึงเป็นครูตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ นั่นคือความรู้สึกของผมที่ต้องสอนน้อง หลังจากนั้น ผมต้องคอยช่วยดูน้อง ทำการบ้านมาตลอด พอผมมาเป็นนักเรียนก็จะต้องติวให้เพื่อนก่อนจะสอบ แม้กระทั่งเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจได้เป็นหัวหน้าชั้นก็ต้องติวให้เพื่อน รวมทั้งให้การบ้านเพื่อนลอก เมื่อจบปริญญาโทได้ไปสอนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจและไปต่อปริญญาเอก ผมได้สอนในหลักสูตรปริญญาโทของมหิดล และ ไปบรรยายพิเศษในหลักสูตรของหลายๆ มหาวิทยาลัย รวมทั้งในสถาบันตำรวจ ผมสอนโรงเรียนผู้กำกับ ครั้งแรก ลูกศิษย์ของผมคนหนึ่งคือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์
ดังนั้น ผมจึงมีความเป็นครูอยู่ในใจ ถึงทุกวันนี้การประชุมคณะรัฐมนตรี ผมต้องอ่านหนังสือเพื่อให้ทันต่อ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก และทุกวันอังคารต้องมาเล่าให้ฟัง ถึงหนังสือใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ ใน การพัฒนาองค์กร พัฒนาประเทศ และแนวโน้มของโลกให้กับคณะรัฐมนตรีฟังทุกๆ วันอังคาร มีน้อยครั้งที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องหนังสือ นั่นคือ ความเป็นครูของผม
ส่วนความผูกพันระหว่างผมกับครูนั้น ในสมัยก่อนวันครูจะให้นักเรียนมาโรงเรียนครึ่งวันแต่ไม่ต้องเรียนหนังสือ ตอนเช้ามาประกอบพิธีไหว้ครู เย็นวันพุธก่อนวันครู หรือเช้ามืดของวันพฤหัสบดี ผมจะไปทำกรวยใบตองง่ายๆ และใช้ดอกเข็มซึ่งหาง่ายกว่าดอกมะเขือ แต่ดอกมะเขือเป็นสัญลักษณ์ที่ถูกต้อง พวกผมทำกันเอง ทำด้วยใจ เพราะรักครู อยากจะบอกกับครูว่าเรารักครู ครูจะมีความรู้สึกน้ำตาคลอเพราะว่านักเรียนมีความผูกพันกับครู และวันนั้นนักเรียนต้องการแสดงออกว่ารักครู แล้วเราก็ไหว้ครูกัน เราไม่มีพิธีกันมากมาย พอครึ่งวันเราก็กลับบ้าน แต่เดี๋ยวนี้เป็นวันหยุด แล้วเกิดอะไรขึ้นรู้ไหมครับ คืนวันนั้นเด็กเที่ยวเต็มผับเพราะเรากำลังเพิ่มวันเที่ยวอีกหนึ่งวัน เด็กถือถุงไป โรงเรียน เอาเสื้อผ้าไปเปลี่ยนที่บ้านเพื่อน ไปเที่ยวผับเที่ยวเธค กินเหล้าเพราะว่าวันนี้วันหยุด แต่ครูกำลังทำ พิธีของครู ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน คำว่าครูมีความหมายลึกซึ้ง ชีวิตครูเป็นชีวิตที่เสียสละ เป็นชีวิตที่ต้องอยู่กับเด็กด้วยจิตวิญญาณแห่งความเมตตา ความสัมพันธ์จึงจะใกล้ชิดลึกซึ้ง แล้วนักเรียนจะรักครูและครูจะรักนักเรียนเหมือนกับเป็นพ่อแม่อีกคนหนึ่งที่โรงเรียน ถ้าวัยใกล้กันก็จะเหมือนพี่ชายพี่สาว
แต่วันนี้สังคมเปลี่ยนไป คนแต่ละรุ่นมีช่องว่างสูง มีช่องว่างระหว่างวัยสูง แน่นอนว่าวันนี้ผมอายุ 50 ปีกว่า ความเข้าใจของผมกับโลกของคนอายุ 30 ปี แตกต่างกันมาก และความเข้าใจในโลกของคนอายุ 30 ปี กับ คนอายุ 10 ปี แตกต่างกันมาก ถ้าเราไม่พยายามจะเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถทำได้ถ้าเราพยายามจะ ใกล้ชิดและเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่วันนี้ความพยายามจะใกล้ชิดซึ่งกันและกันน้อยลงไป ความทุ่มเทของครู น้อยลง ความผูกพันของนักเรียนน้อยลง เพราะว่าสังคมเปลี่ยน สังคมทุนนิยมเข้ามา วัตถุนิยมเข้ารุนแรง
คำว่า “ครู” เป็นเพียงคำเดียวที่สามารถทำให้การปฏิรูปศึกษาทำได้จริง คือ การให้จิตวิญญาณแห่งความเมตตากับเด็ก ความเป็นผู้ให้ที่จะให้สุดๆ ให้ความรู้ ให้ความรัก ให้ความเมตตา แล้วเราจะเรียนรู้ด้วยกันอย่างเต็มที่ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กก็จะเกิดขึ้น
ขอให้วันครูเป็นวันสำคัญที่เรียกจิตวิญญาณของครูคืนมา แล้วเรานำจิตวิญญาณของครูเหล่านั้นมาช่วยกันสร้างเยาวชนของชาติ ใช้จิตวิญญาณความเป็นครูสร้างโอกาสให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา อย่าง คำขวัญของวันเด็กที่ผมให้ไปตลอดเวลา “เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต” ความจริงคือเรียน ได้ตลอดเวลา เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่จิตวิญญาณที่จะเรียนต้องมีตลอดเวลา การเรียนรู้ร่วมกันคือความ ผูกพันของครูกับเด็ก นี่คือหัวใจของการเรียนรู้ร่วมกัน
เรียบเรียงจากปราศรัยของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเป็นประธานมอบรางวัลในพิธีงานวันครู


โดย: สร้างเยาวชนของชาติด้วยจิตวิญญาณความเป็น "ครู" (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:58:05 น.  

 


หนังสือสร้างปัญญา

วันนี้ประเทศไทยมีจุดด้อยหลายเรื่องที่เราต้องแก้ แต่ที่แก้ไม่ได้อาจจะเป็นเพราะว่าการเมืองไม่มีความต่อเนื่อง หรือการเมืองที่คิดถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป มากกว่าคนรุ่นต่อไป เพราะฉะนั้น วันนี้โอกาสที่การเมืองจะนึกถึงคนรุ่นต่อไป ในขณะที่พวกเรากำลังถูกภัยใกล้ตัวเข้ามาจี้ว่าสังคมไทยกำลังอันตราย กำลังจะเข้าสู่สังคมฐานความรู้ที่มีความรู้ในลักษณะท่องจำ ความรู้ในลักษณะที่บูรณาการไม่เป็น
โลกยุคใหม่เราต้องการคนซึ่งจบหรือไม่จบอะไรก็ได้ แต่ชีวิตต้องรักการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเองได้ตลอดชีวิต นั่นคือสิ่งที่สำคัญ คนที่จบแล้วไม่เรียน กับคนที่ไม่จบแล้วเรียนไม่เลิก ผมยังเลือกคนที่ไม่จบแต่เรียนตลอดชีวิตมากกว่า คนที่จบแล้วไม่เรียนต่อแล้วสำคัญตัวผิดคิดว่าตัวเองรู้มากแล้ว และไปครอบงำความคิดของคนอื่นนั้นอันตรายยิ่งกว่าใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งผมอยากจะเห็นสังคมไทยเป็นสังคมที่สร้างบรรยากาศแห่งการใฝ่รู้ ใฝ่เรียนให้กับคนไทยทั้งชาติ
อินเตอร์เน็ตเป็นโลกของความรู้แหล่งหนึ่ง แต่ทำไมอินเตอร์เน็ตจึงมีปัญหากับเยาวชนไทยในระดับที่สูงกว่าระดับของเยาวชนในต่างประเทศ ก็เพราะเราสอนเยาวชนของเราไม่ให้ใฝ่เรียนรู้ บังคับให้เขาท่องจำ เขาจึง ไม่ชอบอ่านหนังสือ ไม่รักการอ่าน อินเตอร์เน็ตเป็นสังคมที่ต้องรักการอ่านจึงจะเกิดประโยชน์ ถ้าสังคมไม่รักการอ่าน สังคมรักความสนุก คงไม่มีใครห้ามไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีมาอยู่ในอินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด แต่แน่นอนว่า ตัวเลือกของคนขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของคนเหล่านั้นที่สั่งสมมา ถ้าสั่งสมวัฒนธรรมที่ผิดก็จะนำไปสู่สิ่งที่ผิด นี่คือสิ่งที่ผู้ใหญ่ในวันนี้ต้องตระหนักและเสียสละ โดยต้องเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน ด้วยการปรับตัวเราเองให้เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนแล้วจึงจะถ่ายทอดความใฝ่รู้ใฝ่เรียนนี้ไปให้เด็กได้ แต่ถ้าผู้ใหญ่ไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนเสียเองแล้วอย่าหวังว่าจะถ่ายทอดความใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้กับเด็กได้
ผมจะพูดถึงเรื่องห้องสมุด ห้องสมุดนั้นเป็นสิ่งที่ถ้าคนไม่รักการอ่าน มีห้องสมุดเท่าไรก็ไม่อ่าน เป็นเหมือนไก่กับไข่ มีห้องสมุดก่อนจึงจะรักการอ่าน หรือรักการอ่านก่อนแล้วจึงมีห้องสมุด ไม่ต้องเถียงกัน เพราะถ้าเถียงกันเมื่อไรก็ไม่จบ ในที่นี้ไม่มีใครตอบผมได้ว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน ต้องไม่เถียงกัน ไก่มีหน้าที่ฟักไข่ก็ฟักต่อไปเรื่อยๆ ไข่มีหน้าที่เปลี่ยนเป็นไก่ก็เปลี่ยนเป็นไก่ มันก็จะมีทั้งไก่และไข่ตลอดไป นั่นก็คือเราจะต้องพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้เด็กเป็นคนรักการอ่าน ปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่เกิดความเข้าใจมากกว่าเกิดการท่องจำ
ท่านพุทธทาสได้พูดเอาไว้ว่าความรู้ทั้งโลกนั้นเปรียบเสมือนจำนวนใบไม้ที่มีอยู่ทั้งป่า นับเท่าไรก็ไม่ถ้วน มีจำนวนมาก แต่ความรู้ที่ใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิตนั้นเปรียบเทียบได้กับจำนวนใบไม้เพียงกำมือเดียวเท่านั้น หลักมีแค่นั้น ถ้าเราไม่สอนหลักแล้วพยายามเอาใบไม้ทั้งป่ามาให้เด็กนับ ผลสุดท้ายเมื่อเด็กนับแล้วก็ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ถ้าสอนให้เด็กรู้ว่านี่เป็นไม้ประเภทไหน เป็นป่าประเภทไหน เมื่อเด็กรู้หลักแล้ว เด็กก็สามารถที่จะนำไปใช้ต่อไปได้
ขอพูดไปถึงเรื่องของการสร้างเด็กรุ่นใหม่ เราต้องทำคู่ขนานเหมือนไก่กับไข่ เราต้องให้ไข่ฟักเป็นไก่เราต้องให้ไก่ออกไข่ต่อไป แล้วมันจะไปคู่กัน และในที่สุดก็จะมีทั้งไก่และไข่ตลอดไป นั่นคือระบบส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาความรู้ที่ต้องให้มีการเรียนรู้ ต้องมีข้อมูล ซึ่งต้องทำไปพร้อมๆ กัน ระหว่างวันนี้ที่รอเด็กให้พัฒนาผู้ใหญ่ต้องใช้ห้องสมุด อย่าไปแปลกใจอะไรเลยถ้าสมมติว่ามีอธิบดีคนหนึ่งไปเข้าห้องสมุด แล้วไปนั่งอ่านหนังสือ ถ้าผมเห็นอย่างนั้นผมจะคิดว่ากระบวนการอยากเรียน อยากรู้ อยากพัฒนาตัวเองเกิดขึ้นแล้ว ในประเทศไทย ทุกวันนี้หลายคนไม่อ่านหนังสือ ไม่อ่านบทความ อ่านแต่หนังสือพิมพ์ แค่นั้นไม่พอ นี่คือสิ่งที่ต้องให้ผู้ใหญ่ทำเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นก่อน
มีคำที่ท่านพุทธทาสได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านคำหนึ่งว่าถ้าจะให้ท่านสร้างพระนั้นท่านทำไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ท่านสร้างหนังสือ สร้างตัวหนังสือแล้วท่านเลือกที่จะสร้างตัวหนังสือดีกว่า เพราะมันให้ปัญญาคนและพระนั้นมีมากแล้ว นั่นคือหนังสือของท่านพุทธทาส
หนังสือทุกเล่มมีคุณค่า แต่อ่านแล้วอย่าเชื่อทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงพูดถึงกาลามสูตร อย่าไปเชื่อเพราะปราชญ์พูด อย่าไปเชื่อเพราะคนนั้นคนนี้พูด แต่ต้องเชื่อจากการเรียนรู้ ถ้าเราไปหลงเชื่อตามเขาง่ายๆ เราก็จะไม่รู้จริง ถ้าอยากจะรู้จริงก็ต้องอ่านหนังสือหลายๆเล่ม หลายเล่มเป็นเรื่องดี แต่หนังสือทุกเล่มมีความดีของ ตัวเองอยู่ แต่ว่าต้องอ่านมากๆ แล้วเราจะรู้ และต้องคอยตรวจสอบ แม้กระทั่งสิ่งที่เราเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นศาสตร์ที่ถูกต้อง เมื่อวิวัฒนาการเปลี่ยนไปสิ่งที่เคยถูกต้องในอดีตก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถูกต้องในอนาคต

เรียบเรียงจากคำปาฐกถาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเป็นประธานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“มิติใหม่ : ระบบหนังสือสาธารณะ”


โดย: หนังสือสร้างปัญญา (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:8:59:12 น.  

 


ครอบครัว คือ พลังแห่งชีวิตที่ยิ่งใหญ่

ปัญหาปัจจุบันครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันน้อยลง เพราะว่าโลกเราวันนี้เต็มไปด้วยการแข่งขันและวัตถุนิยม ดังนั้น ชีวิตครอบครัวต้องดิ้นรน การตลาดสมัยใหม่ชวนให้เราซื้อของ เมื่อซื้อมากเราก็ต้องหามาก หาได้ทันก็ดีไป หาไม่ทันก็ต้องเป็นหนี้ สิ่งนี้ทำให้เราต้องบริหารความพอดี ถ้าบริหารไม่ได้ เราก็จะต้องตกอยู่ในภวังค์ เมื่อโลกสมัยใหม่เป็นอย่างนี้ การจัดการเรื่องเวลาจึงเป็นหัวใจสำคัญของครอบครัว คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากัน เวลาแรก ที่เราต้องให้คือหน้าที่การงาน ถ้าไม่มีหน้าที่การงานก็ไม่มีสตางค์ไปเลี้ยงครอบครัว ครอบครัวก็พัง เวลาที่สอง คือ ครอบครัว เราสุข เราทุกข์อยู่ที่ครอบครัว ครอบครัวจึงเป็นพลังแห่งชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พลังอื่นๆ ไม่ใช่พลังของแท้ พลังอื่นเป็นพลังชั่วคราว พลังของแท้คือพลังของครอบครัว ถ้าเรารักษาพลังครอบครัวให้ดี จะทำให้เรามีกำลังใจ มีความอดทนตลอดเวลา เวลาที่สาม คือเวลาที่ให้กับสังคม สังคมไทยเป็นสังคมที่ต้องมีเพื่อน มีพวกมีพ้อง และ ที่สำคัญที่สุดต้องมีเวลาให้ตัวเอง ถ้าเราไม่มีเวลาให้ตัวเอง เราก็จะไม่ได้ผ่อนคลายตนเอง เมื่อไม่ได้ผ่อนคลาย เราก็จะไม่มีอารมณ์ทำอย่างอื่น ทั้งครอบครัว งานและสังคม แต่เมื่อเรามีเวลาน้อย ก็ต้องทำให้ตนเองพอใจให้ได้
วัคซีนที่เราได้รับในสมัยก่อน คือ วัคซีนของการเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ มีความโยงใยของครอบครัว มีการดูแลลูกหลานโดยปู่ย่าตายาย แต่หลังจากที่สังคมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เราเริ่มเป็นครอบครัวที่แยกกันอยู่ คนที่ดูแลลูกส่วนใหญ่ จะเป็นคนใช้ คนเฝ้าบ้าน เราต้องไปทำงานกัน สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมดีๆ เริ่มหายไป เหมือนกับว่าวัคซีนที่คุ้มกันเราหมดไปด้วย โลกยุคโลกาภิวัตน์ สิ่งต่าง ๆ เข้ามาเร็วมากโดยเฉพาะ อย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตก ไม่มีใครดูแลและสอนลูกหลานให้รับวัฒนธรรมอย่างชาญฉลาด และยิ่งระบบ การเรียนการสอน สอนให้รับง่ายๆ เพราะคิดไม่เป็น เด็กจึงรับกันง่ายๆ ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วจะ รับเอาความสนุก ความสบาย ยกตัวอย่างเช่น เด็กอเมริกันเขามีอิสระ เขาจึงเที่ยว แต่ว่าพ่อแม่ไม่ได้ให้เงินไปเที่ยว อยากจะไปเที่ยวต้องทำงานหาเงินเอง เลิกเรียนไปล้างจาน เสาร์อาทิตย์ส่งหนังสือพิมพ์ ไปเป็นกระเป๋ารถเมล์ แต่ของเราเที่ยว เพราะอิทธิพลของเพื่อนฝูง และพ่อแม่ต้องให้เงินไปเที่ยวอีกต่างหาก เราเรียนรู้มา เฉพาะความสบาย แต่ความลำบาก ความอดทนอดทน เราไม่ได้เรียนรู้มาด้วย
วันนี้เราต้องช่วยกันทั้งภาคของบ้าน ภาคของศาสนา และภาคของโรงเรียน ตามแนวคิดคำว่า “บวร” ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน แต่คำว่าวัดนั้นมิได้จำกัดอยู่แค่ตัววัดเท่านั้น วัดยังมีความหมายครอบคลุมถึงศาสนาที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจริยธรรมด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน ศาสนา และโรงเรียนนั้น จะเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในสมัยใหม่นี้ ผมเคยคิดว่าในเมื่อโรงเรียนส่วนใหญ่มีอินเตอร์เน็ต น่าจะมี E-mail address ของครูประจำชั้น และผู้ปกครอง จะได้ส่ง e-mail ถึงกัน เพื่อให้ผู้ปกครองรู้ว่าเมื่อลูกอยู่โรงเรียนเป็นอย่างไร ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองแทนพ่อแม่ในที่โรงเรียนได้ไหม ถ้าเป็นไปได้ เราจะช่วยกันรวมเด็ก ไม่ใช่ช่วยกดดันเด็ก เพราะเด็กสมัยนี้สุขยาก ทุกข์ง่าย คือเครียดง่ายมาก เพราะระบบการเรียนทำให้เด็กเครียด ดังนั้น ผู้ปกครองและครูจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อจะได้รู้ว่าเด็กเป็นอย่างไร เป็นการช่วยกันดูแลเด็ก
ในโลกสมัยใหม่เราต้องพยายามสร้างให้มีองค์กรการเรียนรู้ นั่นคือมีครอบครัวที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พ่อแม่และครูทำหน้าที่คล้ายๆ กัน นั่นคืออำนวยความสะดวกให้แก่ลูก เพื่อให้เด็กใฝ่รู้ใฝ่เรียนในทุกขณะของชีวิต สังคมต้องพร้อมใจกันเลี้ยงลูกเหมือนเพื่อน เราต้องให้โอกาสลูก ให้ลูกมีโอกาสพูดคุยกับเรา ความพอดีเป็นหัวใจสำคัญของการเลี้ยงลูกในยุคใหม่ ให้ลูกได้เรียนรู้ ครูที่จะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก ย่อมไม่ใช่ครูที่ดุ แต่ก็ไม่ใช่ครูที่ใจดีจนกระทั่งไม่มีวินัย ความพอดีจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จของครูยุคใหม่
เมื่อเด็กต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งพ่อแม่และครูจะกลายเป็นคนสำคัญของเด็กในยุคใหม่ที่จะต้องเข้าใจเด็ก พร้อมสร้างระเบียบวินัย และให้เมตตาธรรมแก่เด็กพร้อมๆ กันไป พยายามให้เด็กรู้สึกสบาย ที่จะอยู่ด้วย รู้สึกเพลิดเพลินในการเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา รวมทั้งต้องช่วยแนะนำและชี้แนะทางเลือกแก่เขา แล้วให้เขาได้เลือกตัวเลือกเอง

เรียบเรียงจากคำปาฐกถาของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เรื่อง
“สถาบันครอบครัวและการศึกษาของเด็กยุคใหม่” ณ ห้องนภาลัย โรงแรมดุสิตธานี วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2544


โดย: ครอบครัว คือ พลังแห่งชีวิตที่ยิ่งใหญ่ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:00:20 น.  

 


ปฏิรูประบบการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัย

สิ่งมีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลง ต้องปรับตัว แม้กระทั่งภายหลังโลกเย็นลง เรามียีราฟคอสั้น สักพักยีราฟ ยังต้องพัฒนาตนเองให้เป็นยีราฟคอยาว วันนี้เมื่อโลกสิ้นสุดยุคสงครามเย็นค่ายเสรีประชาธิปไตยชนะเด็ดขาด สิ่งที่ติดตามคือระบบการทำมาหากินที่เรียกว่าระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นการแข่งขันกันเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ แข่งกันใหญ่ แข่งกันโต โดยการสะสมทรัพย์สินทางปัญญา หรือความมั่งคั่งทางปัญญา และการเข้าหาแหล่งทุน นอกจากนี้เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการนำความรู้ ความรู้จะเป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่การดำรงชีวิตในยุคทุนนิยม
ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเปลี่ยน ถ้าเราไม่เปลี่ยน เหตุการณ์จะบังคับให้เราเปลี่ยน ถ้าเมื่อไหร่เราถูกเหตุการณ์บังคับ ให้เราเปลี่ยน เมื่อนั้นเราอาจต้องเปลี่ยนแบบขาดยุทธศาสตร์ ขาดทิศทาง และสิ้นเปลืองสูงได้ผลต่ำ การปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งมีความยากหลายส่วน หนึ่งคือทัศนคติ สองคือวิธีการปฏิบัติงาน สามคือสตางค์ที่ต้องใช้ ฉะนั้นเราต้องคิดให้ฉลาด คิดให้ดีที่สุด ถึงจะเปลี่ยนแล้วได้ผลคุ้มค่า
โลกยุคใหม่ถ้าใครไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ โอกาสที่จะอยู่รอดจากการแข่งขันลำบาก ระบบที่ใครทำอะไร แล้วเราขอทำด้วยคนตามแบบเขานั้น เราจะกลายเป็นผู้แพ้ เพราะผู้ชนะคือผู้คิดเกมใหม่ ถ้าเมื่อไหร่เราคิดเกมใหม่ ไม่เป็น เราเล่นตามเกมของคนอื่นเขา เราจะแพ้การแข่งขัน อย่างเก่งที่สุดก็แค่เสมอตัวซึ่งแทบจะไม่มีโอกาสเลย ฉะนั้นเรื่องของนวัตกรรม (innovation) คือการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จึงเป็นความจำเป็น เพราะหากเราไม่สามารถหาแนวทาง ในการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ให้กับองค์กร และคนในองค์กร โอกาสที่เราจะเป็นผู้นำก็ลำบาก
การปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อสร้างบุคลากรของชาติ คือลูกหลานเราในวันนี้ เพื่อรองรับเศรษฐกิจของโลกใหม่ สังคมของโลกใหม่ที่เขาจะต้องอยู่แล้วรอดและดี ฉะนั้นวันนี้ผมจะพยายามให้ภาพต่างๆ เพื่อให้ท่านลองกลับไปคิดดูว่า ภาพอย่างนี้เราควรจะผลิตอย่างไร ผลิตอะไร ผลิตเท่าไร อาวิล ทอฟเลอร์ พูดในหนังสือ Third Wave ว่าในยุคสังคมข่าวสาร คนเริ่มเรียนรู้ว่าในอดีตหรือในยุคที่หนึ่งนั้น เรามีของดีอะไร ยุคที่สองได้ทำลายสิ่งดีๆ เหล่านั้น อะไรไปบ้าง และยุคที่สามก็โหยหาสิ่งดีๆ ในยุคที่หนึ่ง แล้วพยายามฟื้นสิ่งที่เสียหายไปจากยุคที่สองให้ได้
ยุคที่หนึ่งมีสิ่งที่ดีๆ คือวัฒนธรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ยุคที่สองเป็นยุคที่เราเรียกกันว่า การประยุกต์อุตสาหกรรมที่มีการเร่งผลิต ใครผลิตมากที่สุดคนนั้นได้เปรียบ การผลิตยุคนี้จึงทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหายหมด พอยุคที่สาม อาวิล ทอฟเลอร์ บอกว่าคนเริ่มโหยหา และพยายามจะเรียกร้องให้มีการรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดีๆ ในอดีต ขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาหาพลังงานทดแทน รักษาสิ่งแวดล้อม ในยุคที่สามซึ่งเป็นยุคของ internet นั้น จะมีข้อมูลมากเหลือเกิน จนต้องหาเครื่องมือในการค้นหาต่างๆ (search engine) มาใช้ ฉะนั้นวันนี้มีข้อมูลอย่างเดียวไม่พอ สิ่งสำคัญคือ ความรู้ในการเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเอาข้อมูล เหล่านั้นมาวิเคราะห์วิจัยจนเกิดความรู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นความรู้คือพลัง
ผมอยากจะพูดถึงเรื่อง convergence of technology ซึ่งก็คือการผสมผสาน การรวมตัวกันของความรู้ จากเทคโนโลยีที่ได้จากสาขาต่างๆ เข้ามาเป็นศาสตร์ใหม่ๆ เป็นความรู้ใหม่ๆ มนุษย์ในโลกตะวันตกกล้าฝันมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะการกล้าฝันจะนำไปสู่การคิดค้น และเกิดเทคโนโลยีขึ้นในหลายๆ ทางแล้วนำมารวมกัน จนกระทั่งเกิดเป็นสิ่งใหม่ๆ ขึ้น พออินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมมาก ทำให้ข้อมูลสามารถหลั่งไหลถ่ายเทได้อย่างสะดวกมาก จนกระทั่งข้ามวัฒนธรรม อินเตอร์เน็ตกลายเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราสามารถใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูล หาความรู้ได้มากมาย
ในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้นั้น เราต้องการคนที่มีลักษณะ global literacy ซึ่ง literacy แปลว่าอ่านออก เขียนได้ ดังนั้นความหมายของคำว่า global literacy มีส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ หนึ่งภาษาอังกฤษ สองอินเตอร์เน็ต และสามความรู้ทางวัฒนธรรมนานาชาติ นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนมีลักษณะพิเศษคือต้องมีนวัตกรรม สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา มีพลวัตในตัวสูง เพราะเราต้องการปัญญา เพื่อให้ คิดเป็น และเนื่องจากทุนทางปัญญาเป็นหัวใจสำคัญในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ดังนั้นตลอดชีวิตของมนุษย์จึงต้องสะสมทุนทางปัญญาเพื่อเก็บไว้เป็นทรัพย์และสะสมความมั่งคั่ง
เราต้องการให้เด็กไทยที่เรียนจบไปแล้ว เตรียมตัวที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ เราต้องการเห็นเขาสะสมทุนทางปัญญา เราต้องการเห็นเขามี global literacy คิดเป็น รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นคนที่ปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโ ดยทั่วไปกระบวนการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือการแสวงหาความรู้ ขั้นที่สองคือการเรียนรู้ และขั้นที่สามคือ การประยุกต์ใช้ เรามักจะจบแค่ขั้นตอนที่สอง คือท่องทฤษฎีคล่อง สอบได้เกรด A เกรด 4 ทั้งหมด แต่ไม่รู้ว่าจะประยุกต์ใช้อย่างไร ครูควรเปลี่ยนรูปแบบการสอนโดยหันมาใช้วิธีการเรียนรู้แบบมีกิจกรรมที่ใช้วิชาความรู้เข้ามาร่วมด้วย หรือที่เรียกว่า activity base learning ตัวอย่างเช่น การให้เด็กอนุบาลไปเก็บใบไม้มาคนละ 1 กำ สามารถเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่องการสันดาปของคลอโรฟิลล์ เรียนคณิตศาสตร์ ด้วยการนับใบไม้ เรียนศิลปะ เรื่องการแยกแยะสี นี่คือการเรียนจากกิจกรรม และมีการประยุกต์ใช้เข้ามาร่วมด้วย
สิ่งที่เป็นปัญหามากและทำให้การเรียนไม่ค่อยได้ผล คือเราไม่ยอมรับข้อมูลที่แท้จริงมีความลำเอียงในเชิงข้อมูล และเป็นการตีความหรืออธิบายความที่ลำเอียง ฉะนั้นวันนี้เรากำลังเรียนว่าเราจะปฏิรูปการศึกษาอย่างไร เราจะเรียนรู้จากความล้มเหลวในอดีตอย่างไรเพื่อไปสู่อนาคตที่ถูกต้อง เราก็ต้องเรียนจากคำว่าปัจจุบันเราเป็นอย่างไร อดีตเป็นอย่างไร ความเป็นจริงในอดีตมีข้อดี ข้อไม่ดีอย่างไร แล้วก็ตั้งสมมุติฐานสำหรับอนาคต ฉะนั้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดเราจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่ลำเอียง และตีความหรืออธิบายความที่ไม่มีอคติใดๆ เราก็จะเห็นว่าต่อไปนี้เราจะเดินอย่างไร

เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 29 เมษายน 2544


โดย: ปฏิรูประบบการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัย (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:01:29 น.  

 


เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้

เด็กและเยาวชนทั้งหลายคืออนาคตของชาติ ผมมีหน้าที่แก้ปัญหาปัจจุบันและวางรากฐานสำหรับอนาคตของประเทศชาติ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ขึ้นมารับช่วงที่จะทำให้บ้านเมืองนี้เป็นบ้านเมืองที่มีความมั่นคง เป็นบ้านเมืองแห่งโอกาสที่ลูกหลานจะเติบโตก้าวหน้า ผมขอเรียนว่าในอนาคตสังคมกำลังจะเปลี่ยน เปลี่ยนจากสังคมที่เราคิดว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าวเป็นโลกที่มีความรู้มากมาย เราจะต้องใช้สมองของเราใฝ่หาความรู้เหล่านั้น แล้วเราถึงจะมีความก้าวหน้าในชีวิต เพราะโลกข้างหน้าเป็นสังคมฐานความรู้ สังคมที่ใช้ความรู้ในการทำมาหากิน หลายคนเติบโตมาในชีวิตด้วยสมอง เมื่อมีสมองที่ดี มีความตั้งใจ มีคุณธรรมที่ดีแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะทำให้เราก้าวหน้า
ผมไม่ได้อยากให้ทุกคนต้องเรียนจบปริญญาเอก แต่อย่างน้อยๆ เราต้องมีจุดมุ่งหมายว่าเราจะต้องใฝ่เรียนใฝ่รู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นแนวการปฏิรูปการศึกษาใหม่ที่ต้องการให้เด็กไทยใฝ่เรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต การจะเรียนรู้ตลอดชีวิตได้นั้นถ้าเราถือว่าการเรียนเป็นภาระ เราจะมีความรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ ตื่นเช้ามาพ่อแม่ปลุกเอาอีกแล้ว ไปเรียนอีกแล้ว เจอครูน่าเบื่อ สอนก็ไม่เห็นสนุกเลย นี่คือความรู้สึกที่ไม่ดี เราต้องตื่นเช้ามาสนุกเดี๋ยวไปเรียนแล้ว ได้ความรู้เพิ่มเติมแล้ว ได้เจอเพื่อน ได้คุยกับเพื่อน
คำขวัญที่ผมกับเด็ก ๆ ในวันเด็กปีนี้ ผมถึงย้ำว่า “เรียนให้สนุก” ถ้าท่านเรียนไม่สนุก เรียนแล้วเป็นภาระ มีความเครียด ท่านจะเบื่อ และทุกครั้งที่จบท่านมีความรู้สึกว่าพอแล้วสำหรับชีวิตนี้ และการไม่ใฝ่เรียนตลอดชีวิตนั้นทำให้เราแคบ เพราะสิ่งที่เราเรียนวันนี้อีกไม่กี่วันก็มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น เพราะความรู้ไม่มีสิ้นสุด ทุกวินาทีโลกนี้มีหนังสือเล่มใหม่ออกมาตลอด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องอ่านหนังสือทุกเล่ม แต่อย่างน้อยๆ การใฝ่เรียนทำให้เรามีความรู้สึกว่าเราทันเหตุการณ์ของโลก เราเข้าใจโลกทุกๆ ด้าน บางคนเห็นโลกตอนกลางวัน จินตนาการไม่เห็นหรอกว่ากลางคืนมันมืดแค่ไหน คนเห็นโลกกลางคืนก็จินตนาการไม่เห็นว่าเวลากลางวันพระอาทิตย์ขึ้นแล้วมันร้อนหรือมันมีความสว่างแค่ไหน เพราะฉะนั้นการเห็นโลกทุก ๆ ด้านเป็นสิ่งที่สำคัญของมนุษย์ที่เราจะได้เลือกตัดสินใจ เลือกเดินในสิ่งที่ถูกต้อง
ผมพูดถึงอีกคำว่า “เล่นให้มีความรู้” เพราะอะไร เพราะว่าเราเล่นต้องมีสาระ เล่นแล้วต้องให้สิ่งที่เราเล่นนั้นเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในตำรา การเรียนรู้เกิดการเฝ้าสังเกต เกิดจากพินิจพิเคราะห์ ฉะนั้นการเรียนรู้จึงสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา เล่นไปก็เล่นให้มีความรู้ เล่นให้มีสาระ ไม่ใช่เล่นแบบทำร้ายตัวเอง ทำร้ายครอบครัว ถ้าเราเรียนให้สนุกก็คือว่าเราเรียนไม่เครียด ตั้งใจเรียน ขยันเรียน ใฝ่เรียน เรียนไปสนุกไป เหมือนคนที่ทำงานแล้วสนุกกับงาน คนที่ทำงานแล้วสนุกกับงานคือคนที่ก้าวหน้า เพราะไม่ได้ถือว่างานเป็นภาระ แต่ถือว่างานเป็นสิ่งที่เป็นชีวิตประจำวันที่เราจะต้องทำ เขาถึงบอกว่าทำในสิ่งที่เรารักแล้วเราจะรักสิ่งที่เราทำ เพราะฉะนั้นเราถือว่าวันนี้เราเป็นนักเรียนเรามีหน้าที่เรียน เราก็รักในสิ่งที่เราทำคือรักเรียน แล้วเราก็จะมีความสุขกับการเรียน
การมีความสุขกับการเรียนนั้นเป็นหัวใจสำคัญ วันนี้ปัญหายาเสพติดส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียดในการเรียน แล้วไม่รักเรียนและเบื่อการเรียน ก็เลยอยากจะไปหาอะไรสนุกๆ แล้วก็เกิดการชักชวนกันขึ้น เพราะฉะนั้นการเรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ คือ Play and Learn ที่อาจารย์ชัยอนันต์ฯ เอาคำสองคำมารวมกัน Play and Learn เขียนว่า Plern คือเล่นไปให้มีความรู้ไป นี่คือสิ่งที่อยากจะให้เยาวชนของเราเป็น

เรียบเรียงจากโอวาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2545 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 10 มกราคม 2545


โดย: เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:02:31 น.  

 


โรงเรียนเป็นแหล่งสร้างชีวิต สร้างจิตใจ และสร้างปัญญา

การเปิดอาคารเรียนวันนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะนักเรียนจะต้องมีที่เรียนที่มีความสะดวกสบายพอสมควร และมีบรรยากาศแห่งการเรียนหนังสือ ทว่าสิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ อาคารนี้ไม่มีจิตวิญญาณ เราต้องใส่จิตวิญญาณเข้าไปในอาคารหลังนี้ เพื่อให้อาคารมีชีวิตที่มีต่อความเจริญ งอกงาม สร้างอนาคต สร้างแนวทาง สร้างความสว่างไสวทางปัญญาเพื่อลูกหลานของเรา ผมอยากให้ทุกๆคนส่วนใหญ่ที่มาในวันนี้ ได้ช่วยเหลือเด็กซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผ้าขาว เพื่อเขาจะได้มีโอกาสเรียนหนังสือมากๆ เมื่อตอนเด็กๆ ผมเคยเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดในอำเภอสันกำแพง โรงเรียน เมื่อก่อนไม่มีตึกอย่างนี้ เป็นเรือนไม้ก็เรียนจนจบออกมา เพราะว่านักเรียนอยากเรียน ครูอยากสอน ผู้ปกครองอยากเห็นเด็กลูกเรียนหนังสือ นั่นคือ จิตวิญญาณสำคัญที่ใส่ลงไปเมื่อจบแล้วเติบใหญ่มีโอกาสในสังคม
วันนี้เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ เพราะการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญที่เราจะต้องถือว่า เป็นงานที่จะต้อง แก้ไขในระยะยาว แต่ต้องทำตั้งแต่วันนี้ ถ้าทำช้าจะแก้ไขไม่ได้ เด็กๆ ลูกหลานของเราอย่างน้อยจบมาแล้วต้องมีคนจ้าง ต้องรักการเรียน อย่าเรียนแล้วเครียด เรียนแล้วสนุก แต่ไม่ใช่มาเล่น ต้องมาคุยกับครู มาฝึกลับสมองแข่งกัน ที่ผมพูดว่า “เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้” นี่แหละคือโลกสมัยใหม่ ถ้าจะเรียน ก็ต้องเรียนให้สนุก ไม่ใช่เรียนแล้วเครียด ถ้าจะเล่นก็เล่นให้มีความรู้ ไม่ใช่เล่นแบบไร้สาระเล่นไป ได้ความรู้ไป
นอกจากนี้ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือพ่อแม่ควรพาเด็ก ๆ เข้าวัดบ้าง บรรยากาศในวัดร่มเย็น เข้าไปแล้ว จิตใจสงบ สบายโปร่งใส ท่านพุทธทาสบอกว่าถ้าจิตว่าง ปัญญามี ถ้าจิตวุ่น ปัญหามันหาย เพราะฉะนั้นถ้าเข้าไปในวัดจิตจะว่าง พอจิตว่างสมองก็สามารถคิดได้ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า เพียงคำสองคำจะเกิดประกายในชีวิตขึ้นมา เปลี่ยนชีวิตได้ ผมจึงเห็นว่าควรพาเด็กๆเข้าวัดบ้าง อย่างน้อยเด็กๆ จะได้ซึมซับเรื่องวัด เรื่องธรรมะ บางครั้งพ่อแม่ไม่ได้ไป ตา ยายก็พาไป เด็กๆ จะได้มีความรู้สึกว่ารักตา ยายและใกล้ชิดมากขึ้น
ผมหวังว่าบทบาทของชุมชนวัดและโรงเรียนทุกแห่ง จะช่วยกันมากๆ เพื่อสร้างลูกหลานของเรา และผมอยากเห็นโรงเรียนของบ้านเรามีความก้าวหน้า แต่ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณยังไม่เพียงพอ ต้องก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย ถ้ามีอะไรที่จะให้รัฐบาลช่วยเหลือเด็กๆของชุมชนเราให้เรียนเก่งขึ้น ได้ทำงาน ได้เรียนหนังสือแล้วสนุกมีความรู้ ได้เรียนหนังสือย่างมีความสุขแล้วอยากเรียนตลอดชีวิต ขอให้บอกมาผมมีหน้าที่ให้การสนับสนุน ผมหวังว่า การเปิดอาคารเรียนฯ ในวันนี้ คงเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นที่เราจะร่วมกันเอาจิตวิญญาณเข้ามาใส่ในโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งที่สร้างชีวิต สร้างจิตใจ สร้างปัญญาเพื่อลูกหลานของเรา

เรียบเรียงจากคำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ในพิธีเปิดอาคารเรียนโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2544 เวลา 12.00 น.


โดย: โรงเรียนเป็นแหล่งสร้างชีวิต สร้างจิตใจ และสร้างปัญญา (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:04:06 น.  

 


เสียงจากเยาวชนเป็นแนวทางการทำงานของรัฐบาล

ขณะนี้โลกเปลี่ยนไปมาก เกิดช่องว่างทางด้านความเข้าใจ ความรู้ ระหว่างชนชั้นของอายุของคนมากขึ้น ฉะนั้น ในโลกยุคใหม่นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดจากเดิมที่ผู้ใหญ่มักจะเป็นศูนย์กลาง และสั่งให้เด็กทำอะไรก็ได้ตามที่ผู้ใหญ่คิด ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นต้องฟังเด็กคิด เพราะว่าวิธีคิดหรือ การรับรู้ของเด็กปัจจุบันต่างกับรุ่นผู้ใหญ่มากพอสมควร ได้มีการเปลี่ยนวิธีคิดแบบนี้ไปมาก ฉะนั้น ผมดีใจที่ได้ฟังในช่วงท้ายเกี่ยวกับข้อสรุป และจากการประมวลดูโครงการทั้งหมด เห็นได้ชัดว่าพวกน้องๆ ได้เข้าใจโลกนี้ดีมากพอสมควร เพราะได้พูดถึงสิ่งที่เป็นรากเหง้าของความแข็งแกร่งของประเทศเรา หรือของสังคมเรา นั่นคือวัฒนธรรมและคุณธรรม ทางกายภาพคือสิ่งแวดล้อม สิ่งดีงามที่เรามีเหล่านี้ เราต้องรักษาไว้
สิ่งเหล่านี้นำไปสู่เรื่องของการมองอนาคตว่าอนาคตต้องมีคำว่า การศึกษา เทคโนโลยี และ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันน้องๆ ต้องมีคำว่าโลก คือเราไม่ได้อยู่คนเดียว เราเป็นส่วนหนึ่ง ของโลก ฉะนั้น ถ้าเราปรับตัวของเราไม่ได้ โอกาสข้างหน้าเราก็พ่ายแพ้ จากการที่ผมเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ผมได้เห็นปัญหาหลายอย่าง และได้มองการเปลี่ยนแปลงของโลก ตัวผมเองห่วงรุ่นลูกๆ หลานๆ เพราะหากว่าเมื่อใดผู้ใหญ่ยังคิดที่จะทำให้ตนเองมีความสุข มีความสบายในขั้นนี้แล้วเพียงพอ ไม่คิดว่าจะวางอนาคตที่ดีไว้ให้ลูกหลาน ไม่ว่าผู้ใหญ่คนนั้นจะเป็นพ่อแม่ เป็นข้าราชการ เป็นผู้บริหารองค์กรเอกชน หรือเป็นผู้บริหารประเทศ ถ้าไม่คิดว่าจะวางระบบรากฐานที่ดีไว้ให้แก่เยาวชน และ วางโดยไม่คำนึงถึงว่าเขาคิดอย่างไร และเขาอยากจะเห็นว่าภารกิจของผู้ใหญ่ควรจะเป็นอย่างไร นี่คือสิ่งที่ขาดไป
การมีสภาเยาวชนแห่งชาตินั้น ได้สะท้อนวิธีคิด ซึ่งทำให้ผู้ใหญ่ได้ตระหนักว่าพลังสมองของเด็กรุ่นหลังนั้น เป็นพลังสมองที่แรง แต่แน่นอนว่าไม่มีสิ่งไหนที่ดีทั้งหมดและเลวทั้งหมด พลังสมองที่แรงนั้นจะมีพลังสมองที่ไม่สร้างสรรค์อยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกัน แต่พลังที่สร้างสรรค์นั้น ผมบอกได้เลยว่าแรง ผมได้เห็นปัญญาของเด็กรุ่นใหม่มามาก และผมเป็นคนชอบที่จะฟังและพูดคุยกับ เด็กรุ่นใหม่ๆ สำหรับการปฏิรูปการศึกษานั้น ผมได้พยายามดู และยังติดใจอะไรบางอย่างว่าปฏิรูปแล้ว เด็กได้อะไร นั่นคือคำถามที่ผมอยากได้เป็นคำตอบแรก ผมยังไม่ได้อยากได้คำตอบว่าทำแล้วจะมีโครงสร้าง ใหญ่โตอย่างไร แล้วผู้ใหญ่ได้อะไร ซึ่งไม่ใช่คำตอบ ถ้าเราปฏิรูปเพื่อผู้ใหญ่ หรือปฏิรูปเพื่อเด็ก นั่นคือคำตอบ ที่เราต้องการ
ฉะนั้น แนวทางความคิดในด้านต่างๆ ที่เยาวชนได้ทำกันมานี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องนำไปพิจารณาประกอบการทำงาน เพื่อจะได้รับรู้ กุญแจสำคัญในการบริหารคือ คำว่า participation หรือการมี ส่วนร่วม วันนี้ เราจะบริหารประเทศเพื่ออนาคตของลูกหลาน ถ้าไม่ฟังเสียงลูกหลาน แล้วจะไปฟังใคร ฉะนั้น การมีส่วนร่วมจึงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการออกนโยบายทุกๆ เรื่อง
ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลนี้เป็นนโยบายที่กลั่นกรองมาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ฉะนั้น วันนี้เรายังรับฟังเสียงประชาชนอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่ง เสียงของคนรุ่นใหม่ เพื่อให้รู้ว่าเราเข้าใจกัน การฟังเสียงจากเยาวชนทั้งหลายจึงเป็นหัวใจสำคัญในการที่ผู้ใหญ่จะนำไปแก้ไขปัญหา ผมอยากให้สิ่งที่น้องๆ สภาเยาวชนแห่งชาติมอบให้รัฐบาลไว้ ไม่เสียพลังสมองแน่นอน เพราะเป็นพลังสมองที่บริสุทธิ์ รัฐบาลจะนำไปประกอบกับโครงการการทำตามนโยบายรัฐบาลหลายๆ อย่าง

เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสให้โอวาทแก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสภาเยาวชนแห่งชาติ
ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 12 มกราคม 254


โดย: เสียงจากเยาวชนเป็นแนวทางการทำงานของรัฐบาล (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:05:08 น.  

 


สังคมที่รู้จริงเป็นสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเป็นนักปรัชญานั้นท่านต้องรู้จริง รู้หลักวิชา จากรากฐานของวิธีคิดแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ และนำไปสู่การปรับปรุงหลังจากการปฏิบัติ ซึ่งตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวทย์ คือ คนที่เรียนหนังสือแล้ว เขาเรียกว่าเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ (Learning Process) ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นั้นมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 2 ความเข้าใจสิ่งที่ท่านเรียนรู้นั้นให้ดี และขั้นที่ 3 การนำสิ่งที่เรียนรู้นั้นไปปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ ส่วนใหญ่เวลาเรียนหนังสือจบแล้ว ถ้าท่านสู่โลกวิชาการ ขั้นต่อไปของการเป็นโลกวิชาการนั้นท่านต้องวิจัย หรือไม่ท่านต้องใช้วิชาการที่ท่านเรียนรู้มานั้นสู่การปฏิบัติ แล้วท่านต้องเรียนรู้เพิ่มพูนพอกพูนขึ้นมา เพราะว่าตำราที่ท่านเรียน เรียนจบแล้วไม่เกิน 3 เดือนก็ล้าสมัยครับ เพราะสิ่งใหม่เกิดขึ้นทุกวัน ตำราใหม่เกิดขึ้นทุกวินาที เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่พูดกันในยุคนี้
การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนตามอัธยาศัย ไม่ได้หมายความว่าท่านต้องเรียนรู้จากวิชาที่ท่านเรียนเท่านั้นแล้วถึงจะเกิดความรู้ ท่านอาจเรียนรู้นอกวิชาที่ท่านเรียน แล้วท่านหันกลับมาเชื่อมโยงสู่วิชาที่ท่านเรียนได้นั่นคือความรู้ เพราะโลกสมัยใหม่เป็นโลกที่ขอบเขตของวิชาไม่ชัดเจน เพราะเกิดความเชื่อมโยงจาก วิชาหนึ่งไปสู่วิชาหนึ่ง แล้วเกิดวิชาใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนของขอบเขต ของเส้นเขตแดน ของวิชาต่อวิชา ดังนั้นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงเป็นหัวใจของความสำเร็จของคนที่อุตส่าห์มาเรียนจนได้ปริญญาเอก
การเรียนรู้วันนี้คือการเรียนรู้เพื่ออนาคตที่ท่านจะต้องพัฒนาตัวเองได้ง่ายขึ้น ท่านเรียนอยู่ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้ท่านพัฒนาตัวท่านได้ง่ายขึ้น เหมือนกับท่านยืนอยุ่บนที่สูง ท่านจะมองเห็นภูเขาชัดกว่าคนที่มองอยู่ข้างล่าง นั่นคือสิ่งที่ได้เปรียบ แต่ไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องอยู่แค่นั้นตลอดเวลา เพราะคนรุ่นใหม่ นั่งเฮลิคอปเตอร์ไปดูภูเขา ดังนั้นท่านเองก็ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ผมเป็นคนชอบเรียนหนังสือตั้งแต่เด็กๆ เมื่อผมเรียนหนังสือจบมาแล้ว ผมก็จมอยู่กับชีวิตที่ต้องต่อสู้ แต่ขณะเดียวกันนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่งผมมีความรู้สึกว่าผมตันกับชีวิต ผมก็เลยต้องอ่านหนังสือนอกเหนือจาก สิ่งที่ผมเรียนมา ผมต้องมาอ่านเรื่อง โทรคมนาคม ผมเรียนคอมพิวเตอร์มาแค่ 6 หน่วยกิต แต่ผมต้องอ่านเพิ่มขึ้น ผมต้องอ่านหนังสือเรื่องการบริหารธุรกิจ เรื่องการจัดการ เรื่องการเงินการคลัง เรื่องการบัญชี ผมต้องอ่านหมด เพราะไม่เช่นนั้นชีวิตผมก็ตัน ผมจำเป็นต้องดิ้นรน
นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกกับคนไทยทั้งหลายว่า อย่าไปคิดว่าการเรียนรู้ที่เราเรียนสาขาใดสาขาหนึ่ง แล้วจะปิดตัวเองที่จะไม่เรียนรู้อย่างอื่น เพราะการเรียนรู้อย่างอื่นแล้วมาเชื่อมโยงกับฐานที่มั่นของเรา ซึ่งเป็นความรู้ที่เราเรียนมาอย่างเป็นทางการนั้น จะทำให้เกิดการพัฒนากระบวนคิดของท่าน พัฒนาสมองของท่าน
สังคมวันนี้แน่นอนครับ เขาบอกว่าเรากำลังจะเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Base Society) แต่ระบบการศึกษาเรามีปัญหามายาวนานมาก แล้วเรากำลังจะเข้าสู่การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งผมเองรับที่จะเข้ามาเป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา แต่ก่อนที่ผมจะเดินเหมือนกับที่ผมจะเดินออกจากป่า ผมขอดูแผนที่ ผมขอดูอะซิมุสที่เราอยู่และจุดที่จะเดินออก เมื่อผมดูแล้วผมถึงจะจัดทัพในการเดินออกไปได้ ผมต้องรู้ว่าข้างหน้ามีเสือกี่ตัว ต้องข้ามห้วยแค่ไหน เสบียงพอไหม นี่คือสิ่งที่ผมกำลังจัด แน่นอนครับรัฐบาลที่แล้วก็อาจจะบอกว่าเขาจัดมาแล้ว ทำไมผมไม่เดินตาม ถ้าผมเป็นผู้นำคนใหม่ผมก็ต้องมั่นใจว่าทิศทางที่วางไว้นั้นยังถูกต้องหรือเปล่า ผมไม่ได้บอกว่าผิด และผมไม่ได้บอกว่าถูก ถ้าผมดูแล้วว่าถูก ผมตาม และผมไม่อายที่จะตาม และจะบอกด้วยว่าตาม แต่ถ้ามันไม่ถูกผมขอแก้บ้าง ผมก็จะบอกว่าผมต้องแก้
เพราะฉะนั้นวันนี้กำลังซักซ้อมกันอยู่ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการศึกษาของไทยนั้นเปลี่ยน เพื่อให้ เด็กไทยเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ได้ โลกข้างหน้าแข่งกันที่สมอง แต่วันนี้เด็กไทยเรารับง่าย รับจนเกิดทุกข์ง่ายสุขยาก เพราะเราไม่ได้สอนให้เด็กใช้ความคิด เราสอนให้เด็กท่องจำ หลายคนเป็นอาจารย์ เป็นดอกเตอร์ยังออกข้อสอบให้เด็กท่อง ให้เด็กคิดเถิดครับ หัดให้เด็กคิด เพราะความคิดเป็นเรื่องที่สำคัญ วันนี้ท่านสอนหนังสือ ผมต้องการให้ท่านเป็นผู้นำในการปกครองคน ต้องให้คนพูด Keyword อันหนึ่งเขาบอกว่าความสามารถของผู้นำ คือความสามารถในการปลดปล่อยพลังสมองของคนในองค์กร ถ้าท่านยิ่งปลดปล่อยพลังสมองเท่าไรท่านยิ่งเป็นผู้นำที่สำเร็จ เพราะสมองของท่านคนเดียวไม่เพียงพอกับการแก้ปัญหา ท่านต้องใช้สมองของคนทั้งองค์กร ให้เขาพูดให้เขาแสดงความคิดเห็น
ผมมีความเชื่ออยู่ว่า Among million stupid idea. There might be one billion idea. เพราะฉะนั้นปล่อยเถอะครับ ข้อคิดเห็นอะไรปล่อยมา ฟัง อย่าเพิ่งไปปฏิเสธ เสร็จแล้ววันหนึ่ง stupid Idea นั้นมันอาจจะ timing มันอาจจะคลิกมาเป็น billion idea ก็ได้ อย่าไปดูถูกสมองคน เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องให้คนคิดให้เยอะ เพราะฉะนั้นระบบการศึกษา ระบบวัฒนธรรมไทย ค่อนข้างจะทำให้คนไทยไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร เราต้องกล้าแสดงออก แต่ต้องแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ สำคัญที่สุดวันนี้คนไทยต้องมองโลกในแง่ดีขึ้น เรากำลังมองโลกในแง่ร้ายมากเกินไปหรือเปล่า เราต้องมองโลกในแง่ดีและสร้างสรรค์ วันนี้ถ้าคนหนึ่งคนคือเซลล์หนึ่งเซลล์ของร่างกายชื่อมนุษย์ประเทศไทย ร่างกายจะแข็งแรงได้ เซลล์ทุกตัวต้องสดชื่น เขาเรียกว่า Revitalize ต้องพยายามทำให้เซลล์เหล่านั้นสดชื่นขึ้นมาใหม่ เซลล์เหล่านั้นถึงจะมีพลัง พลังเพื่อให้อวัยวะทุกอวัยวะนั้นเป็นอวัยวะที่แข็งแรง ถ้าอวัยวะทุกตัวอ่อนแอหมด แล้วร่างกายนี้จะเดินไหวหรือ ฉะนั้นทุกวันนี้ต้องให้กำลังใจกัน ต้องอดทน ต้องพยายามมองโลกในแง่ดีและสร้างสรรค์ นี่คือสิ่งที่อยากขอร้องว่าสังคมไทยต้องสร้างสรรค์ ต้อง Constructive อย่าท้อแท้ อย่ามองโลกในแง่ร้าย ต้องสู้
วันนี้สังคมต้องการความฉลาด ต้องการรับรู้สิ่งที่รู้จริงมากขึ้น ในฐานะภาควิชาการต้องช่วย Educate สังคม ไม่ใช่ช่วยมอมเมาสังคม ไม่ใช่ช่วยเอาอารมณ์ความรู้สึกไปป้อนให้สังคมโดยที่ไม่รู้จริง เราต้องพยายามศึกษาให้รู้จริงแล้วช่วยสังคม ช่วย Educate สังคมให้เป็นสังคมที่รู้จริง แล้วเป็นสังคมเรียนรู้ไปตลอดชีวิต สังคมจะเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นคือคนที่อยู่ในสังคมนั้นคอยให้ความรู้ที่ถูกต้องกับสังคม แล้วสังคมจะพัฒนาตัวเองแล้วเรียนรู้ตลอดชีวิต

เรียบเรียงจากคำบรรยายพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แก่นักศึกษาปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์ รุ่นที่ 1
ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหง มหาวิทยาลัยรามคำแหง วันที่ 19 กรกฎาคม 2544


โดย: สังคมที่รู้จริงเป็นสังคมเรียนรู้ตลอดชีวิต (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:06:16 น.  

 


พลังที่เข้มแข็งของมนุษย์ คือ พลังของครอบครัว

วันนี้ขอบคุณ คุณพ่อคุณแม่ที่ได้ให้เวลากับลูกๆ โอกาสนี้เป็นโอกาสที่เราจะได้ใกล้ชิดกับเขา เป็นโอกาสที่เราจะได้ให้ความอบอุ่นให้แก่เขาได้อย่างเต็มที่ ให้เขาได้ใกล้ชิดกับเรา และพูดคุยกับเราได้ทุกเรื่อง เมื่อเวลาที่เขาโตเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้นมา เขาจะยังพูดกับเราได้อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่เช่นนั้น เขาจะเรียนจากเพื่อน บางครั้งเพื่อนก็นำไปในทางที่ ไม่ถูกต้อง แต่วันนี้ถ้าพ่อแม่มีเวลา และให้ลูกอย่างนี้ ให้ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่เขาเป็นหนุ่มเป็นสาว เขาอยากจะไปของเขาเองแล้ว วันนั้น เขาก็ยังใกล้ชิดเราอยู่
ผมอยากให้กำลังใจคนไทยทุกๆ คน ที่จะให้มีครอบครัวที่ดี เพราะว่าคงไม่มีพลังอะไรที่เป็นพลังที่เข้มแข็งกับชีวิตของมนุษย์เท่ากับพลังของครอบครัว พ่อแม่เข้าใจกัน ลูกเข้าใจพ่อแม่ พ่อแม่เข้าใจลูก นั่นคือ สิ่งที่เป็น ยาวิเศษ เพราะว่าในชีวิตไม่มีอะไรที่โรยด้วยกลีบกุหลาบตลอดไป ต้องมีอุปสรรคในชีวิตตลอดเวลา แต่อุปสรรคเหล่านั้น สามารถฝ่าฟันด้วยกำลังใจที่ดีของครอบครัว เพราะว่าบางครั้งพ่อแม่อาจจะท้อแท้กับการต่อสู้ชีวิต ถ้าท่านท้อแท้เมื่อไร ให้ท่านดูลูกที่กำลังนอนหลับอยู่ข้างเตียง ท่านจะเห็นว่านี่คือความรับผิดชอบที่เขาจะต้องเติบโตขึ้นมา และท่านจะต้องวางอนาคตให้เขา ให้เขาได้เรียนหนังสือ ให้เขาได้เป็นคนดี สิ่งนั้นคือ กำลังใจให้ท่านได้ฮึดขึ้นมาสู้ได้อีก เมื่อท่านฮึดได้เท่ากับว่าท่านจะวางอนาคตให้เขา ลูกหลานก็ต้องเข้าใจว่า พ่อแม่เหนื่อย พ่อแม่ต้องหาเงินเลี้ยงดูเรามา ฉะนั้น ทุกอย่างเราจะต้องเข้าใจและให้อภัยซึ่งกันและกัน จะได้เป็นคนซึ่งมี ครอบครัวที่มีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นกำลังและเป็นพลังให้กันและกัน
ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่จะชนะใจมนุษย์ได้ ถ้าใจมนุษย์ฝัน พยายามและอดทน ดำรงความดีและความมุ่งหมายที่ดีไว้นั้น ผมคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่เกินมือมนุษย์ ฉะนั้น ผมขอให้ทุกท่านได้ตั้งใจทุ่มเทและอดทน ใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เช่นเดียวกับภาพยนตร์จีนที่ว่า “กระบี่อยู่ที่ใจ” ถ้าหากว่าใจไม่เข้มแข็ง ใจไม่สู้ จะทำอะไร ก็ล้มเหลวทุกอย่าง ถ้าเมื่อไรพ่อแม่ไม่สู้ ต้องหันไปดูลูกที่กำลังจะโตขึ้นมา แล้วเราจะสู้ เมื่อไรลูกไม่สู้ ต้องหันไป ดูว่าพ่อแม่ทุ่มเทและรักเรามากแค่ไหน แล้วเราจะสู้ แล้วจะทำให้เราฝ่าฟันพ้นไปได้

เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสให้โอวาทแก่เด็กและเยาวชนที่ชนะการประกวดวาดภาพรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 12 มกราคม 2545


โดย: พลังที่เข้มแข็งของมนุษย์ คือ พลังของครอบครัว (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:07:39 น.  

 


การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ

ระบบการศึกษาของเราไม่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เราจะต้องพัฒนาการศึกษาให้เป็นการศึกษาตลอดชีวิต วันนี้การปฏิรูปการศึกษาได้ทำไปมากแล้ว แต่เราต้องผลักดันกันต่อเพื่อให้คนไทยมองเห็นว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ เราต้องอ่านหนังสือ ต้องพัฒนาตัวเอง มิฉะนั้นสิ่งที่ท่านเรียนมาในวันนี้ พรุ่งนี้ก็จบหรือไม่ก็ล้าสมัยไป ผมอยากเห็นการลดช่องว่างของโอกาสทางการศึกษาระหว่างคนที่มีฐานะน้อยกับคนที่มีฐานะดี ในวันนี้คนมีฐานะดีจะพัฒนาการศึกษา ให้ตัวเองให้เดินรุกขนาดไหน ไม่เป็นไรเพราะมีเงิน แต่วันนี้คนจน คนที่หาเช้ากินค่ำ ลูกไม่มีที่เรียน หรือเรียนที่ไม่ดีนักเราจึงต้องพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาที่จะให้คนเหล่านี้มาเรียนฟรี และอยากเห็นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการศึกษาให้มากที่สุด เพื่อให้การเรียนรู้รวดเร็วขึ้น
ผมอยากเห็นสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการให้การศึกษาแก่ประชาชน แต่การเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้แก่ประชาชนนั้น สื่อมวลชนต้องมีระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยงฐานข้อมูล เพื่อที่จะเสนอข่าวที่สร้างสรรค์ให้กับสังคม ให้ประชาชนได้มีความรู้มากขึ้น ต่อไปนี้การบริโภคสื่อจะเปลี่ยนไป สื่อมวลชนจะเป็นคนที่ช่วยชาติได้มาก ถ้าสื่อนั้นมีระบบฐานข้อมูลที่ดี นำสิ่งที่น่าเรียนรู้อ่านแล้วเพลินฉลาดขึ้นมานำเสนอ อยากมีสื่อที่ประเทืองปัญญาให้ประชาชน ไม่ต้องเชียร์รัฐบาล แต่หาอะไรที่ประเทืองปัญญาประชาชนให้มาก แล้วต้องการให้รัฐบาลช่วยอะไร รัฐบาลก็พร้อม เพราะเรากำลังต้องการลงทุนในทุกอย่างที่เป็นการประเทืองปัญญา สร้างสมองที่พัฒนาใหม่ให้แก่คนไทย
ผมกำลังอยากจะสร้างห้องสมุดที่มีชีวิต ที่มีการเปลี่ยนแปลง มีหนังสือที่ดีทันสมัยอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ผมไม่อยากเห็นห้องสมุดที่ตายตั้งแต่วันสร้าง อยากจะทำสิ่งนี้เพราะเป็นการลงทุนที่คุ้ม ผมจะลงทุนในเรื่องของการเติมอาหารสมองให้มนุษย์ให้มากที่สุด ผมไปเห็นร้านหนังสือบอร์เดอร์ที่สิงคโปร์ เขามีหนังสือที่ทันสมัยตลอดเวลา พอคนเข้าไปอ่านแล้วเกิดพอใจก็ซื้อ ไม่พอใจก็อ่านได้ทั้งวันทั้งคืน เหมือนห้องสมุดที่มีชีวิต ผมบอกทูตว่าไปชวนให้มาตั้งแบบนี้ในประเทศไทยบ้างหาทำเลดีๆ และรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน เพราะผมต้องการให้คนได้เรียนรู้

เรียบเรียงจากปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ในพิธีมอบรางวัลแก่นักเรียนทุนรัฐบาลไทย
ณ ห้องวิภาวดี บอลรูม โรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลพลาซ่า วันที่ 26 สิงหาคม 2544


โดย: การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:09:39 น.  

 


หลักสูตรใหม่ต้องเชื่อมโยงทั้งระบบและไม่ตายตัว

สังคมไทยยังมีค่านิยมที่รุนแรงว่า “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี” ความจริงแล้ว เลขต้องเป็นเอก หนังสือเป็นโท ปากต้องเป็นตรี ผมให้หนังสือเป็นโทเพราะต่อไปข้างหน้าเรากำลังจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ที่จ่ายตามขนาดความรู้ของปัญญา ไม่ใช่ตามประกาศนียบัตร ดังนั้น เรื่องของปัญญาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ปัญญาคือคนที่มีความรู้หลายหลายและคิดเป็น เรื่องของความคิดเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่แน่นอนว่าความคิดที่จะคิดได้ดีต้องมีพื้นฐานความรู้ที่ดี ซึ่งความรู้ที่ดีนั้นต้องเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่ถูกต้อง และบูรณาการความรู้ให้มาสู่ความคิด ดังนั้น ทางด้านการศึกษาหลักสูตรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในอดีตการศึกษาของไทยเรา เน้นฮาร์ดแวร์มากกว่าซอฟแวร์ เราเน้นการก่อสร้างอาคาร ซึ่งจริงๆ แล้วหลังคามุงจากก็ได้ ถ้าหากว่ามีอุปกรณ์การเรียนการสอนดี แล้วเด็กมีความสุขกับการเรียน การอยู่ตึกบางครั้งเด็กก็อึดอัดเพราะร้อน ไม่มีเครื่องปรับอากาศ อากาศถ่ายเทก็ไม่ดี แต่ปรากฏว่าเราต้องการการก่อสร้างที่มาก เราต้องการโครงสร้างที่ใหญ่ จริงๆ แล้วการศึกษาที่ทั่วถึงจะดีกว่า เช่น เราจะสร้างโรงเรียนใหญ่ขึ้นมาในอำเภอ แต่แทนที่จะใช้งบประมาณในการสร้างโรงเรียนใหญ่นั้น แต่สร้างโรงเรียนเล็กสัก 3 ตำบล การที่เด็กจะมีโอกาสเดินไปเรียนใกล้บ้าน ไม่ต้องลำบาก น่าจะดีกว่า ขณะเดียวกันเราก็ไปเพิ่มการปรับปรุง คุณภาพครู
ผมจึงอยากจะเรียนว่าหลักสูตร วิธีการเรียนการสอนเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ โครงสร้างของอาคารเรียน ผมอยากจะฟังวันนี้เรื่องหลักสูตรว่าหลักสูตรที่เราจะพัฒนากันนั้น ตั้งแต่อนุบาลเป็นอย่างไร ความยืดหยุ่นเป็นอย่างไร การเรียนบนกิจกรรมเป็นอย่างไร ผมขอให้เริ่มต้นที่หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน ครูผู้สอน อุปกรณ์การเรียนการสอนเป็นหลัก อย่าเพิ่งเริ่มต้นที่การขยายตึก ขยายอาคาร เพราะถ้าเราใช้งบประมาณทางด้านฮาร์ดแวร์มากเกินไปจะทำให้เราไม่มีงบประมาณพัฒนาซอฟแวร์ อีกเรื่องที่ผมเป็นห่วงคือ เราใช้ระบอบประชาธิปไตยเขียนกฎหมายการศึกษา ระบอบประชาธิปไตยหมายความว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ฉะนั้น ใครได้การช่วยเหลืออย่างไร ต้องได้เท่ากันเพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน แต่ระบบการศึกษามีช่องว่างอยู่มาก ถ้าเราใช้ระบบเท่าเทียมกันนั่นคือเรากำลังขยายช่องว่าง ผมจึงไม่ใช้วิธีการบริหารเศรษฐกิจแบบตะวันตกในประเทศไทยทั้งร้อยละ 100 ใช้บางส่วน ไม่ใช้บางส่วน ระบบทุนนิยมและระบบสังคมนิยมต้องไปด้วยกัน เพื่อลดช่องว่าง ไม่เช่นนั้นไม่มีทางลดช่องว่าง ถ้าคนใช้มิติเดียวคิดเพียงมิติเดียว รับรองว่านำนโยบายเศรษฐกิจตะวันตกมาใช้ ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ช่องว่างระหว่างการพัฒนาชนบทและในกรุง จะต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ นับวันจะแย่ขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับวันนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศที่กำลังพัฒนาในวันนี้มีช่องว่างห่างกัน 390 เท่าต่อ 1 ซึ่งมาก
เมื่อเราใช้ระบบตัวหารอย่างนี้ เขียนกฎหมาย การศึกษาก็ต้องมีกฎหมายบังคับ ทุกอย่างเป็นกฎหมายไปหมด นี่คือแบบเราแบบไทยๆ ฉะนั้น เราจะทำอย่างไรเมื่อเงินมีจำกัด ประเทศก็เพิ่งปฏิรูป กำลังจะพัฒนาทุกอย่าง ภายหลังจากที่เพิ่งจะสร่างไข้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เราใช้ตัวหารหมด คนไม่มีความจำเป็นต้องได้เงิน เขาไม่ต้องการเงิน เราก็ต้อง ยัดเยียดให้เขา กรุณารับเถิดเพราะกฎหมายบังคับให้คุณต้องรับ สิ่งนี้ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรที่จะทำให้ช่องว่างตรงนี้หาย นี่คือสิ่งที่ผมกังวลอยู่ กระทรวงศึกษาธิการมีงบประมาณจำนวนจำกัดประมาณ 160,000 ล้านบาท ทุกอย่างหารทั้งหมดทำให้ไม่มีพลัง หรือที่เรียกว่า stretch through thin พลังไม่มี เหมือนกับทหารน้อยแต่เปิดแนวรบกว้าง ข้าศึกเจาะได้ทุกที่ นี่คือความเป็นจริงที่อยากฝากการบ้านครั้งยิ่งใหญ่ ที่ต้องทำก็ทำไป แต่ถ้าต้องแก้ไขก็แก้ไข กฎหมายต้องแก้ไขก็ต้องแก้ไข ผมเป็นห่วงเพราะผมได้พูดเรื่องนี้มาหลายสิบรอบแล้วและยังห่วงอยู่ต่อไปว่า ถ้าอย่างนี้ เราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาคนจน ไม่สามารถแก้ไขให้ชาวบ้านที่ไม่มีโอกาส และเราไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาช้างเผือกให้เป็น ให้วิ่งเร็วได้ เพราะทุกอย่างไม่มีพลังทั้งหมดแล้ว
การศึกษาทั้งระบบต้องเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัย ความเชื่อมโยงของหลักสูตรจะต้องมีทั้งหมด เราต้องคิดว่าเด็กเรียนกี่ปี เราอยากจะเห็นเขาพัฒนาไปแค่ไหน ไปถึงขั้นนั้นจะพัฒนาแค่ไหน ถึงขั้นนี้จะพัฒนาแค่ไหน ที่สำคัญ หลักสูตรต้องไม่ตายตัวเพราะสังคมโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ถ้าเมื่อไรหลักสูตรกลายเป็นกฎหมาย ต้องตีความ เขาเรียกเป็นหลักสูตรที่ตายตัว ความรู้มีพลวัตมากเพราะฉะนั้นต้องมีช่องว่างการพัฒนา (leave dynamism space) ให้กับผู้บริหารการศึกษาด้วย ถ้าเราต้องมาตีความหลักสูตรทั้งหมด ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ เสร็จกัน ผมคิดว่าการศึกษาต้องมีความยืดหยุ่น

เรียบเรียงจากคำกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
ในโอกาสการประชุมเรื่อง “หลักสูตรใหม่ เด็กไทยพัฒนา : หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา”
ณ ห้องประชุม สถาบันราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2545 เวลา 09.30 น.


โดย: หลักสูตรใหม่ต้องเชื่อมโยงทั้งระบบและไม่ตายตัว (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:11:32 น.  

 


การเห็นธรรมเป็นหัวใจสำคัญของคนทุกสังคม

ผมอยากให้คนไทยทุกคน ชาวพุทธทุกคนได้มีโอกาสเห็นพระพุทธเจ้า ดังที่พระพุทธองค์ได้เคยตรัสกับ พระวักกลิว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมจึงถือเป็นหัวใจสำคัญมากของสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยทุกวันนั้น เป็นสังคมที่วิกฤติในหลายด้าน เรากำลังต้องการธรรมะที่ถูกต้อง ไม่ต้องการธรรมะที่เป็นลักษณะบิดเบือน หรือชักจูงไปในทางที่ผิด เราต้องการธรรมะที่ทำให้คนไทยสามารถดับทุกข์ได้ โดยคนไทยปราศจากซึ่งตัวกู ของกู คือ การปราศจากกิเลสนั่นเอง
ท่านพุทธทาสถือว่าเป็นบุคคลที่บรรลุธรรมด้วยปัญญาที่หลุดพ้นกิเลส ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในป่า อยู่กับธรรมชาติ เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และศึกษาพระไตรปิฎก ศึกษาธรรมะ ศึกษาศาสนาต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบ
ปรัชญาโดดเด่นประการหนึ่งของท่าพุทธทาส คือ ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า การตรัสรู้ หรือ ความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปนั้นเปรียบเสมือนใบไม้ทั้งป่า แต่หลักที่จะจำและนำเอาปฏิบัติในชีวิตนั้นเท่ากับใบไม้เพียงกำมือเดียว
กำมือเดียวที่ท่านพุทธทาสหยิบยกขึ้นมานั้นน่าสนใจมาก ท่านบอกว่าศาสนาพุทธมีหลักพื้นฐาน คือ การดับทุกข์และความไม่ยึดมั่น ถือมั่น เหล่านี้ คือ จุดที่ต้องการให้คนหลุดพ้นกิเลส หลุดพ้นจากความเป็นตัวกูของกู เพราะว่าการหลุดพ้นได้แล้วนั้น จะทำให้จิตว่าง จิตว่างที่ท่านพยายามเน้นคือว่างจากการเป็นตัวตน ว่างจากการปรุงแต่ง ว่างจากการรบกวนทางอารมณ์ อันนี้เป็นจุดที่เป็นหัวใจ หากเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้ว คนทุกคนจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ทุกข์ ขณะเดียวกันก็สามารถจะทำให้ตัวเองและผู้อยู่ร่วมด้วยมีความสุขได้ เป็นปรัชญาที่สั้นแต่มีความสำคัญ
นอกจากนี้สิ่งที่ท่านพุทธทาสได้บอกอีกอย่างหนึ่งคือ เหงื่อของเราคือน้ำมนต์ที่ดีที่สุด อย่าคิดไปวิ่งหาน้ำมนต์ที่ไหนเลย เหงื่อคือ ความรักงาน เอาใจใส่งาน มุ่งมั่นทำงานเพื่อสร้างตัวเองให้ดีที่สุด ท่านยังบอกว่าโง่สำหรับฉลาด ถ้าไม่โง่ก็ไม่มีฉลาด จงเอาความโง่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมือนกับไฟ ไฟมีอันตราย เพราะมันร้อนแต่สามารถเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย

เรียบเรียงจากปาฐกถาพิเศษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เรื่องพุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จักในทางการเมือง ณ หอประประชุมการประชาสัมพันธ์ วันที่ 13 มิถุนายน 2542


โดย: การเห็นธรรมเป็นหัวใจสำคัญของคนทุกสังคม (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:12:32 น.  

 


ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ

ช่วงนี้หยุดยาว 5 วันคล้าย ๆ กับฤดูคริสต์มาสของประเทศตะวันตก คือวันหยุดปีใหม่ ส่วนใหญ่แล้วถือว่าเอาไว้ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ห่างไกลหรือเป็นเวลาที่ครอบครัวจะได้อยู่ด้วยกัน เพราะทุก ๆ วันลูกไปเรียนหนังสือบ้าง เรียนพิเศษด้วย สมัยนี้เรียนพิเศษเยอะไม่ค่อยมีเวลาพ่อแม่ทำงาน ตอนนี้หยุด 5 วัน คงไม่มีใครสอนพิเศษ จะได้มีเวลาที่พ่อแม่ลูกอยู่ด้วยกัน พูดคุยกัน สนุกสนานด้วยกัน จะได้มีความสุข มีความอบอุ่น ซึ่งขณะนี้จำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่มีลูกที่เคยเสพยาเสพติด และขณะนี้รัฐบาลได้แก้ไขปัญหายาเสพติดได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ยาเสพติดหายากขึ้น เด็กที่เป็นผู้เสพจะไม่เสพจะหยุดได้ แต่ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญอยากให้ใช้โอกาสนี้ให้ความอบอุ่นให้ความเข้าใจให้โอกาสลูกๆ จะได้กลับมาเป็นลูกที่น่ารักเหมือน เช่นเคยนะครับ
วันที่ 13 เมษายนคือวันพรุ่งนี้เราถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ คำว่า “สงกรานต์” แปลว่า “ผ่าน” หรือ “เคลื่อนย้ายเข้าไป” หมายถึงวันที่พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าราศีเมษในเดือนเมษายน เป็นประเพณีไทยดั่งเดิมที่สืบทอดปฏิบัติปฏิบัติกันมาช้านานแต่โบราณ ซึ่งตามธรรมเนียมไทยจะมีการรดน้ำ ดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ส่วนคนหนุ่มคนสาว เด็กๆ จะสนุกสนานกันเล่นสาดน้ำกัน แต่ขอให้อยู่ในลักษณะของการรักษาวัฒนธรรมไทยให้มากๆ นะครับ การสนุกก็สนุกอยู่ในขอบเขตที่เป็น วัฒนธรรมจะเป็นสิ่งที่ดีงาม เพราะตอนนี้เรามีนักท่องเที่ยวต่างประเทศด้วย สิ่งที่เป็นความแข็งแรงของเราคือวัฒนธรรม เพราะฉะนั้น รักษาไว้ให้ได้ นอกจากวันที่ 13 เมษายน เราถือเป็นวันขึ้นปีใหม่แล้วเรายังถือเป็น วันผู้สูงอายุ ให้กำลังใจกับผู้เฒ่าผู้แก่ ปู่ย่าตายายของเราบ้าง จะได้มีความสุขในวันนี้ซึ่งเป็นวันสำคัญ ส่วนวันที่ 14 เมษายนเราถือว่าเป็นวันครอบครัวๆ ควรจะอยู่ร่วมกัน

เรียบเรียงจากรายการ "นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน"
วันที่ 12 เมษายน 2546


โดย: ความอบอุ่นในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:13:31 น.  

 


เด็กอัจฉริยะคือกำลังสำคัญของสังคมฐานความรู้

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมามีเด็กอัจฉริยะมาพบผมที่ทำเนียบรัฐบาล โครงการนี้เป็นโครงการที่มีมานานแล้ว ผมอยากเห็นการส่งเสริมอย่างจริงจัง มี ดร.สุมณฑา พรหมบุญ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อาจารย์อีก 2-3 ท่านได้พาเด็ก ๆ ที่มีความอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์มาพบผม ในจำนวนนั้นจะมีเด็กน่ารัก 2 คน เด็กคนหนึ่งอยู่ป.4 กำลังจะขึ้นป.5 ตอนอายุ 2 ขวบสามารถนั่งนับเลขบวกเลข 1-100 ได้ สบายๆ มีพรสวรรค์ มีความสามารถทางคณิตศาสตร์เท่ากับเด็กที่เรียนม.3 เด็กบางคนอยู่ ม.4 ให้ความสนใจเรื่องการวิจัยทางการแพทย์ ระบบประสาท ระบบสมอง พวกนี้เขามีสมองและมีความตื่นตัวที่จะเรียนรู้มากกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน
ผมอยากให้สนับสนุนเด็กอัจฉริยะทางด้านอื่นบ้าง เช่น ด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา พวกนี้ควรจะส่งเสริม เรายังมีเด็กที่มี Talent ทางด้านนี้อีกหลายคน อย่างวันก่อนผมไปดูมีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งสามารถปิดตาตีขิม ปิดตาตีขิมผมบอกเฉยๆ แต่ความเสนาะของเสียงที่เขาตีดูแล้วพิเศษจริงๆ ซึ่งผมคิดว่าอย่างนี้ควรสนับสนุน ผมเตรียมให้ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช. จัดตั้งค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรขึ้นมาเพื่อจะให้เด็กเหล่านี้ได้ไปใช้ค่ายที่รวมกันสร้างความรู้ เพราะเราต้องการให้เด็กเหล่านี้เป็นผู้ที่นำร่องในเรื่องของวิทยาศาสตร์ในอนาคตข้างหน้า เพราะของเรายังอ่อนแอ ประเทศไทยต้องเตรียมเข้าสู่สังคมฐานความรู้แล้ว เราจะต้องบุกเรื่องพวกนี้อย่างดี จะให้เด็กเหล่านี้มาเป็นส่วนสำคัญ

เรียบเรียงจากรายการ "นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน"
วันที่ 12 เมษายน 2546


โดย: เด็กอัจฉริยะคือกำลังสำคัญของสังคมฐานความรู้ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:14:51 น.  

 


หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน

ตอนนี้ผมกำลังทำงานเรื่องปฏิรูปการศึกษากันอย่างเต็มที่เพื่อให้ถูกต้องตามปรัชญาการศึกษา ไม่ใช่ถูกต้องตามกฎหมาย ผมมั่นใจว่ากฎหมายกับปรัชญาการศึกษานั้นต้องไปทางเดียวกัน ไม่ใช่กฎหมายกับปรัชญา การศึกษาไปคนละทาง พยายามจะแก้ไขกันอยู่นะครับ ผมเลยมองว่า ถ้าสมมุติว่าเราจะปรับปฏิรูปกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวงทีเดียวตามที่ออกกฎหมายพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษาปี 2542 นั้น ต้องทำอยู่แล้วแต่ทำแล้วจะขลุกขลัก ผมเลยใช้แนวคิดที่ว่าตั้งกระทรวงย่อยในกระทรวงใหญ่คือทำเหมือนกระทรวงรูปแบบจำลอง มีผู้เสนอเสนอความคิดมาอันหนึ่งซึ่งผมชอบคือ หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน หมายถึงว่าทุกอำเภอจะมีโรงเรียนชั้นดีอยู่หนึ่งโรงเรียน อีกหน่อยค่อยขยายเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งโรงเรียนในฝัน โดยจะสร้างโรงเรียนที่ดีตามยุคใหม่ของระบบการศึกษาแผนใหม่ตามที่ได้ปฏิรูปการศึกษาแล้ว
โรงเรียนในฝันคืออะไร เราจะร่วมกันฝันระหว่างนักการศึกษา ระหว่างนักเรียน ระหว่างผู้ปกครอง ระหว่างครู เพื่อให้ได้แนวคิดว่าโรงเรียนที่ดีควรจะเป็นอย่างไร เราจะสร้างให้ทุกอำเภอมีหนึ่งโรงเรียนแล้วค่อยขยายต่อไป และหนึ่งโรงเรียนในฝันของทุกอำเภอ จะให้คนที่มีฐานะไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคลหรือบริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ เข้าไปเสริมสร้างไปดูแลเป็นพิเศษให้เหมือนกับที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า adopt โรงเรียน จะทำให้มีความรู้ มีงบประมาณพิเศษเพิ่มเติมเข้าไปช่วยทำให้โรงเรียนนั้นแข็งแรง ให้ครูมีสวัสดิการ ให้นักเรียนมีเครื่องไม้เครื่องมือในการเรียนการสอน มีวิธีการเรียนการสอนและมีแนวคิดใหม่ๆ เข้าไปช่วยโรงเรียน
ต่อไปนี้ทุกอำเภอจะมีโรงเรียนชั้นดีหนึ่งโรงเรียน ไม่ต้องมีโรงเรียนชั้นดีเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ เพื่อจะให้โอกาสกับเด็กไทยได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนดีๆ ในหนึ่งอำเภอมีหนึ่งโรงเรียนเป็นโรงเรียนในฝันของทุกคน

เรียบเรียงจากรายการ "นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน"
วันที่ 12 เมษายน 2546


โดย: หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:15:47 น.  

 


ลุงทักษิณไขปัญหา

คุณลุงทักษิณ ชินวัตร อยากทำความคุ้นเคยกับเด็ก ๆ และพร้อมตอบคำถามเพื่อคลายความสงสัยในเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านทางคอลัมน์ลุงทักษิณไขปัญหาในหนังสือพิมพ์ "กะทิข้น" ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของเยาวชน เพื่อเยาวชน ดำเนินงานโดยคณะทำงานโครงการสภาเยาวชน พรรคไทยรักไทย
ชีวิตตอนเด็ก ๆ ของลุงลำบากมากมั้ยคะ
น.ส.วาสนา จุลจงกล อายุ 16 ปี จ.ระนอง
ลุงเกิดและเติบโตในชนบท อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ชีวิตวัยเด็กแม้ว่าจะไม่ได้ยากไร้อดอยาก เพราะพ่อแม่ของลุงมีอาชีพค้าขาย แต่พ่อแม่ก็เลี้ยงลุงมาอย่างติดดิน ลุงต้องช่วยงานพ่อแม่ตั้งแต่จำความได้เป็นต้นว่า เช้าขึ้นต้องไปช่วยแม่เฝ้าแผงขายผ้าในตลาด ระหว่างที่แม่ต้องช่วยพ่อเตรียมขายกาแฟประจำวัน ตอนเย็นหรือเวลาว่าง ลุงจะช่วยพ่อโม่กาแฟ จำได้ว่า ตอนนั้นลุงยังตัวเล็กจึงต้องเขย่งปลายเท้าเต็มที่ถึงจะหมุนเครื่องโม่ได้ ตอนพ่อของลุงทำสวนส้ม ลุงก็ช่วยตัดส้มแล้วจัดลงเข่ง ทำจนชำนาญ นอกจากนั้นก็ยังรับหน้าที่นำดอกไม้ซึ่งตัดจากสวนไปขาย
แม้ว่าในวัยเด็กชีวิตของลุงอาจจะไม่ลำบาก แต่ลุงก็ยังต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับการทำงานของลุงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
ลุงอยากจะบอกหลานวาสนาและเยาวชนทุกคนว่า ช่วงชีวิตวัยเด็กเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขที่สุดของคนเรา ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะมีฐานะร่ำรวยหรือยากจน ลุงเชื่อว่า ทุกคนสามารถมีความสุขได้ แต่อย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความสุขจอมปลอมที่เกิดจากการใช้สารเสพติดนะครับ “เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้”่

อยากทราบว่าคุณลุงใช้เวลาว่างทำอะไรบ้างคะ
น.ส. ขวัญเรือน คุ้งโพ อายุ 17 ปี จ.อุทัยธานี
ลุงเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก การอ่านหนังสือสำหรับลุงเป็นทั้งงานหลัก และงานอดิเรกที่ทำในยามว่าง ทุกวันนี้ลุงยังอ่านหนังสือเป็นประจำ เพื่อจะได้ก้าวตามความคิดของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หนังสือที่ลุงชอบอ่านส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวความคิดของนักคิดคนสำคัญ ๆ ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคมศาสตร์ การบริหารจัดการ การเมือง ตลอดจนถึงเทคโนโลยีและเรื่องราวของบุคคลที่น่าสนใจ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะลุงถือว่าความผิดพลาด หรือความสำเร็จล้วนแล้วแต่เป็นบทเรียนชีวิตให้เราได้ทั้งนั้น แล้วหลานขวัญเรือน ชอบอ่านหนังสือหรือเปล่าครับ

คุณลุงทักษิณคะ หนูรู้ว่าชีวิตเราไม่สมบูรณ์แบบไม่ทุกเรื่อง จึงอยากรู้ว่าคุณลุงมีอะไรไม่สมบูรณ์แบบบ้างคะ
สุภลัคน์ พูลเสถียร กรุงเทพ
หนูคงเคยได้ยินเขาพูดกันทั่วไปแล้วว่า "Nobody is perfect" ลุงเองก็มีข้อบกพร่องมากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เป็นต้นว่าเป็นคนใจร้อน คิดเร็ว ทำเร็ว บางครั้งผู้ที่เราทำงานด้วยอาจจะตามไม่ทัน หรือบางครั้งเวลาพูดความคิดมันไปไกลกว่าคำพูด ทำให้พูดเร็วและเรียงเรียงคำพูดไม่ได้ตรงกับความคิด ผู้ฟังอาจจะฟังไม่เข้าใจ อีกประการหนึ่งซึ่งลุงพยายามจะแก้ไข แต่ยังทำไม่สำเร็จ คือ การพูดคำควบกล้ำภาษาไทยให้ถูกต้อง
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของข้อบกพร่องที่ต้องปรับแก้ไข อย่างไรก็ดี หลักการอยู่ที่ว่า หากเรายอมรับว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ เราก็จะไม่เกิดความคาดหวังกับผู้อื่นมากเกินไป เราต้องพยายามทำความเข้าใจผู้อื่นรู้จักให้อภัย และบางครั้งต้องมองข้ามความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความตั้งใจหรือเจตนาร้าย เพื่อผลสำเร็จของงานและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

คุณลุงทักษิณเป็นนักธุรกิจก็รวยดีอยู่แล้ว ทำไมถึงเข้ามาเป็นนักการเมือง
น.ส.นฤมล นามวงษา จ.อุบลราชธานี
หลานพูดถูก ถ้าเรามองถึงตัวเราเป็นหลัก แต่ถ้าเรามองถึงชาติและเพื่อนร่วมชาติที่ยังลำบากอยู่มากก็เป็นเรื่องที่ต้องอาสา ลุงถือว่าการทำงานการเมืองเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ ที่คนไทยทุกคนควรเสียสละเข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับบ้านเมือง
ส่วนการทำธุรกิจของลุงนั้นเป็นภารกิจที่ต้องทำให้กับครอบครัวมีรากฐานที่มั่นคง และเมื่อเรียบร้อยแล้ว ลุงเลยกลับมาทำตามความหวัง ความตั้งใจที่จะรับใช้ประเทศชาติ ซึ่งเป็นภารกิจที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร และ นักเรียนนายร้อยตำรวจ
ลุงตัดสินใจเข้ามาทำงานการเมือง เมื่อลุงคิดว่าตนเองมีความพร้อมทั้งด้านความรู้ ฐานะทางเศรษฐกิจ และ ประสบการณ์ทางการงาน การบริหาร ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่จะเสียสละเข้ามาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติบ้านเมือง เพราะถ้าหากคนที่มีความพร้อมแล้วแต่ยังไม่เข้ามาช่วยกันทำงานการเมืองแล้ว คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสำหรับประเทศเราไม่น้อยเลยทีเดียว หลานนฤมลเห็นด้วยหรือเปล่าครับ

คุณลุงทำงานเยอะมากๆ แล้วมีเวลาให้ลูกๆ บ้างหรือเปล่าครับ
ประติพัทธ์พงศ์ พงษ์พานิช จ.อุทัยธานี
แม้ว่าลุงจะมีงานมากตามภาระหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี แต่ภาระหน้าที่ของความเป็นพ่อยังคงมีความสำคัญเสมอสำหรับลุง เพราะลูกเป็นกำลังใจที่ดีมาก บางครั้งทำงานมาเหนื่อยๆ เห็นหน้าลูก ได้กอดลูกก็ชื่นใจแล้ว และยังทำให้เกิดพลังที่จะทำงานต่อไปด้วย
ดังนั้นไม่ว่างานจะเยอะมากแค่ไหน ลุงจะมีเวลาให้กับลูกๆ ทั้ง 3 คนเสมอ เพราะลุงคิดว่าพระเจ้าให้เวลาคนเรามา 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกคน แต่ละคนต้องใช้ความสามารถและศิลปะในการแบ่งเวลาให้ดี
ลุงจะสื่อสารกับลูกๆ อยู่เสมอ เดินทางไปไกลถึงไหนก็ต้องโทรศัพท์คุยกับลูก พยายามที่จะแบ่งเวลาส่วนหนึ่งให้กับลูกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าระยะนี้จะมีเวลาให้น้อยลงกว่าเมื่อก่อน แต่ลุงใช้เวลาที่อยู่กับลูกๆ อย่างมีคุณภาพด้วยความใกล้ชิด ความรัก และความเข้าใจ
ลุงอยากจะบอกทุกคนว่าถึงแม้นอกบ้านเราจะมีตำแหน่งหน้าที่อะไรก็ตาม แต่ในบ้านเรามีหน้าที่ของพ่อ แม่ หน้าที่ของลูก ซึ่งทุกคนต้องรับผิดชอบให้ดีที่สุด เพราะครอบครัวที่อบอุ่นจะเป็นเกราะคุ้มกันภัยที่แข็งแรง ให้กับสมาชิกในครอบครัว…หลานประติพัทธ์พงศ์เห็นด้วยหรือเปล่าครับ

การเรียนและการทำกิจกรรมควบคู่กันไปด้วย เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ แต่ถ้าเวลายุ่งมากควรทำอย่างไร
น.ส.กาญจนา ก๊กศรี จ.อุทัยธานี
สมัยเมื่อลุงเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งจะต้องเรียนหนักและฝึกหนัก แต่ลุงก็ยังสนุกกับ การทำกิจกรรมของโรงเรียน เริ่มจาก ปีหนึ่งลุงเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลของโรงเรียน พอปีสองลุงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าตอนและประธานฝ่ายปฏิคม ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเพื่อนนักเรียนกับอาจารย์ผู้สอนและครูผู้ฝึก ติดต่ออำนวยความสะดวกในการเรียน ฯลฯ ขณะเดียวกันเรื่องเรียนลุงก็ให้ความสำคัญไม่แพ้กันนะครับ มีโล่เกียรติยศคะแนนคณิตศาสตร์สูงสุดเป็นรางวัลการันตีครับ และยังรับหน้าที่เป็นติวเตอร์ให้กับเพื่อน ๆ เวลาใกล้สอบด้วย
เมื่อมาเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ลุงก็ยังทำกิจกรรมควบคู่ไปกับการเรียน ลุงได้รับเลือกให้เป็นประธานสโมสรของรุ่น ได้ทำงานช่วยเหลือเพื่อน ๆ เช่น จัดหาหนังดี ๆ ใหม่ ๆ มาฉายให้ดูกัน ช่วยจัดหาเครื่องใช้จิปาถะมาจำหน่ายเพื่อนำรายได้มาทำหนังสือรุ่น และจบเป็นนายร้อยห้อยกระบี่ ด้วยคะแนนอันดับหนึ่งของรุ่น
ที่ลุงเล่ามาทั้งหมดก็เพื่อจะตอบคำถามหลานกาญจนาว่าการเรียน และการทำกิจกรรมควบคู่ไปด้วยกันเป็นสิ่งที่ดีอย่างแน่นอน เพราะลุงคิดว่านี่คือการทดสอบตัวเรา ผลจากการทดสอบที่ได้รับคือ เราได้รู้จักการบริหารจัดการ ทั้งเวลา งาน และ คน รู้จักการเสียสละเพื่อเพื่อน มาจนถึงการอุทิศตนให้กับส่วนรวมและประเทศชาติ
ลุงเชื่อว่าหลานกาญจนาคงจะสามารถบริหารจัดการสำหรับการเรียน และกิจกรรมให้สามารถดำเนินควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างดี ลุงเอาใจช่วยนะครับ

คุณลุงทักษิณ คิดว่าปัญหาใด ที่จะต้องรีบแก้ไขที่สุดสำหรับเด็ก
อรรถกร ศรีสุวรรณ โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง กรุงเทพ ฯ
ทุกวันนี้ปัญหาวิกฤติที่เยาวชนไทยกำลังเผชิญ ก็คือ ปัญหายาเสพติด ซึ่งลุงถือว่าเป็นปัญหาบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติที่รุนแรงอย่างยิ่ง เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักของกระบวนการค้ายาเสพติด คือเด็กและเยาวชน
หลานอรรถกร ลองนึกภาพดูนะครับว่าหากเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งเป็นกำลังสำคัญส่วนใหญ่ที่จะต้องรับภาระหน้าที่เข้าไปดูแลบ้านเมืองต่อไป ถูกยาเสพติดทำลายสมอง และร่างกาย กลายเป็นบุคคลที่ไร้สมรรถภาพไปเสียแล้ว อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร ลุงเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้ภาพนั้นเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้เองเมื่อเข้ามารับหน้าที่บริหารบ้านเมืองในฐานะรัฐบาล สิ่งแรกที่ลุงทำ คือ การประกาศสงครามกับยาเสพติด เพื่อขจัดภัยร้ายนี้ให้หมดไปอย่างเร็วที่สุด แต่การแก้ไขปัญหาจะไม่สามารถบรรลุผลได้เลย หากทุกฝ่ายของสังคมไม่ร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวของเยาวชนเอง
ลุงอยากจะฝากหลานอรรถกร และเด็กๆ ทุกคนว่า พวกเราต้องมีความกล้าในการที่จะปฏิเสธสิ่งเลวร้ายต่างๆที่จะเข้ามาล่วงล้ำชีวิตของเรา รวมทั้งกล้าที่จะคิดและสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง และผู้อื่น เพราะอนาคตของประเทศไทยอยู่ในมือของเยาวชนทุกคนนะครับ

คุณลุงทักษิณคิดว่าเราควรให้ความสำคัญกับคนพิการมากแค่ไหนค่ะ
ด.ญ.อุรุษา พงษ์แก้ว อายุ 14 ปี จ.ขอนแก่น
ลุงดีใจนะครับที่เห็นคำถามนี้จากเยาวชนอย่างหลานอุรุษา แน่นอนที่สุดครับการช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสไม่ว่าจะเป็นคนจน หรือ คนพิการเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเราจะต้องมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ โดยต้องช่วยให้คนพิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
ขณะนี้เรามีกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งจะต้องเป็นเจ้าภาพในการดูแลคนพิการ โดยประสานกับกระทรวงอื่นที่มีหน้าที่โดยตรง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข ลุงอยากเห็นคนพิการซึ่งมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่ดี ได้มีโอกาสรับทุนการศึกษา เพื่อจะให้คนพิการเหล่านั้นได้กลับมาช่วยเหลือเพื่อนที่พิการของเขา
ลุงเคยไปที่ศูนย์ศิลปาชีพนาข่า ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พบคนพิการคนหนึ่ง ไม่มีมือทั้งสองข้างกำลังวาดรูปลงบนแจกันโดยใช้ปาก สวยมาก ซึ่งลุงคิดว่าคนปกติน้อยคนที่จะทำได้อย่างนั้น ตอนเด็กๆ ลุงมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นโปลิโอ ขาไม่มีกำลัง แต่สามารถงัดข้อชนะคนทั้งห้อง ไม่มีใครสู้เขาได้ แม้กระทั่งนักกีฬาของโรงเรียนก็ยังสู้ไม่ได้ นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคนพิการมีศักยภาพ
นอกจากเราต้องดูแลคนพิการแล้ว ลุงคิดว่าเรายังต้องดูแลผู้ที่ช่วยเหลือคนพิการด้วย เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีกำลังใจที่จะทำหน้าที่ได้ต่อไป เราต้องช่วยกันนะครับ

คุณลุงทักษิณคะ ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้นำที่ดีได้คะ
น.ส. ชลธิชา หยีมะเหร็บ จ.สตูล
ลุงได้ข้อสรุปจากการอ่านหนังสือ และจากประสบการณ์ในการทำงานของลุงเองว่าคุณสมบัติของคนที่จะเป็นผู้นำในโลกปัจจุบันนั้น ควรจะต้องมีเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ ในการบริหารงาน ซึ่งเป็นความคิดที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองจนตกผลึก ต้องสามารถสื่อสารความคิดของเรากับผู้อื่นได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่เพียงแค่ด้วยคุณงามความดีเท่านั้น แต่ต้องมีความรู้ ความสามารถที่น่าเชื่อถือเข้ามาประกอบด้วย ต้องกล้าตัดสินใจ กล้ายอมรับผิด และรู้จักใช้ความผิดนั้นเป็นครู และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีจิตสำนึกและเชื่อมั่นต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะโลกเราทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้นำจะต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะถูกกดดันให้ต้องเปลี่ยนแปลงด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ
ลุงมีความเชื่อมั่นว่าเยาวชนไทยมีศักยภาพของความเป็นผู้นำอยู่ในตัวเองกันทุกคน ขึ้นอยู่ว่าแต่ละคนจะสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างไร ลุงจึงอยากจะแนะนำว่าการอ่านหนังสือ คือ แนวทางหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้นำ และลุงเองก็ชอบอ่านหนังสือมากครับ

คุณลุงคิดยังไงกับปัญหาความรักในวัยเรียนของวัยรุ่นคะ
น.ส. นฤณี อ่างคำ อายุ 15 ปี จ.เชียงใหม่
ลุงเลือกตอบคำถามนี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญว่าเป็นเดือนแห่งความรัก และดูเหมือนว่าคนไทยเราจะให้ความสนใจกับวันวาเลนไทน์มากกว่าชาวตะวันตกเสียอีกนะครับ สำหรับเรื่องของความรักนั้น ลุงคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีงามไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับวัยใด โดยเฉพาะวัยรุ่นด้วยแล้วความรักเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ทีเดียว ซึ่งลุงถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เป็นไปตามธรรมชาตินะครับ แต่เราต้องรู้จักขอบเขตของความรักที่เหมาะสมตามวัย ในวัยเรียนความรักอาจเป็นกำลังใจ ให้เรามุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายของชีวิตในช่วงวัยผู้ใหญ่ต่อไป
ลุงเชื่อว่าคนเราทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ต่างต้องการความรักกันทั้งนั้น เพราะความรักทำให้เราเบิกบาน ทำให้มีความสุข แต่เราต้องรู้จักที่จะรัก รักอย่างมีสติ แยกแยะความรักออกจากความใคร่และความหลง เพื่อให้ความรักนั้นไม่ก่อให้เกิดปัญหากับทั้งผู้ที่รักและผู้ที่ถูกรัก

คุณลุงทักษิณจริงจังกับการปราบปรามยาเสพติด ไม่กลัวถูกพวกค้ายาบ้าลอบทำร้ายเหรอคะ
น.ส.วรรณศิริ เจริญพรสัมฤทธิ์อายุ 15 ปี จ.นนทบุรี
ขณะนี้สิ่งที่ลุงคิดว่าน่ากลัวมากกว่าการถูกผู้ค้ายาเสพติดลอบทำร้าย คือภัยยาเสพติดที่เกิดขึ้นเด็กและเยาวชนไทยมากกว่าครับ เพราะหากยังคงมียาเสพติดอยู่ในบ้านเมืองเรา ลูกหลานที่เติบโตขึ้นมาก็จะต้องอยู่ในสังคมที่มีแต่ปัญหาเรื่องยาเสพติด ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ ทำให้ประเทศมีอนาคตที่แย่ลง
วันนี้ลุงคิดว่าพวกเราต้องรวมพลังแผ่นดินกัน เพื่อช่วยขจัดปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและเด็ดขาด ลุงจะต้องทำให้ยาเสพติดสิ้นซากจากแผ่นดินไทยให้ได้ ลุงจะไม่ยอมปล่อยให้ผู้ค้ายาเสพติดลอยหน้าอยู่ในสังคมได้ถ้าจะอยู่ก็ต้องอยู่ในคุก
สำหรับเรื่องความปลอดภัยนั้น ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องนี้ทำงานกันอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ขอบคุณหลานวรรณศิรินะครับที่เป็นห่วง


โดย: ลุงทักษิณไขปัญหา (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:17:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.