ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง

ถามต่อคำชี้แจงของรสนา โตสิตระกูล+ปลิ้มVS.รสนา(อีกสักครั้ง)

บทความ โสภณ พรโชคชัย : ถามต่อคำชี้แจงของ ‘รสนา โตสิตระกูล’
//www.prachatai.com/05web/th/home/11491

โสภณ พรโชคชัย
14 มีนาคม 2551

เช้านี้ผมได้อ่านการตอบโต้ของคุณรสนา โตสิตระกูล (สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง) ต่อคำวิจารณ์ของ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล (คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์) เห็นว่า ข้อมูลที่คุณรสนา ชี้แจง ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักในการตอบโต้ อาจมีความคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ จึงขออนุญาตแสดงความเห็น เผื่อจะได้มองให้กว้างดังเจตนารมณ์ของคุณรสนาเอง

1. ที่ว่า กฟผ.มีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิสูงถึง 3.8 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลพยายามขายทรัพย์สินเหล่านี้ผ่านการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท ข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกโกรธทันทีว่าทำไมรัฐบาลจึงแย่ขนาดนี้ แต่หากคิดให้ดี ๆ จะเป็นไปได้หรือที่รัฐบาลจะโง่หรือกล้าทำร้ายชาติได้ถึงเพียงนี้ นี่เป็นข้อกล่าวหาที่มีมูลความจริงหรือ คุณทำให้คนเข้าใจว่าคุณรักชาติมากกว่าทักษิณ ชวน ชวลิต และอีกหลายท่านที่รับผิดชอบการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาโดยตลอดหรือ

2. ที่ว่า “ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์อย่างรีบเร่ง . . . คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ท่อส่งก๊าซ ยังคงเป็นสมบัติของรัฐ . . . รัฐบาลทักษิณ ยกเลิกมติ ครม.นี้ ทำให้ ปตท.ได้ครอบครองทรัพย์สมบัติของชาติ . . . นี่คือ การขโมยในรูปแบบหนึ่ง” คุณฟ้องศาลให้ยกเลิกการแปรรูปของ ปตท. แต่เดชะบุญ ศาลไม่ได้พิพากษาตามคำฟ้อง แต่สั่งให้แบ่งแยกสมบัติให้ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่มีใครต้องคำพิพากษาว่า “ขโมย” เลย

3. ที่ว่า “ในการต่อสู้คดีคอร์รัปชันทางนโยบาย ดิฉันไม่เคยใช้การประท้วงบนท้องถนน มีแต่พึ่งพาศาลยุติธรรม” แต่คุณก็ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ แจกใบปลิว เคยให้สัมภาษณ์ส่งเสริมการเดินขบวน ประชุมกับแกนนำเดินขบวน และขบวนการที่ร่วมกันเรียกร้องก็ได้ก่อม็อบจนเหตุการณ์บานปลายก็มี

4. ที่ว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ นักการธนาคารที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง ได้กล่าวว่า ประเทศไทยไม่ได้มีแค่ตลาดหุ้น และอนาคตของชาติไม่ได้ขึ้นอยู่แต่กับ จีดีพีเท่านั้น” คุณอ้างอิงบุคคลเพียงคนเดียวมาโต้แย้งได้อย่างไร คุณจะว่าอย่างไรถ้าผมกลับเชื่อว่านักการธนาคารที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อาจเห็นต่างจากคุณ

5. คุณไม่ควรยกเอาคำพูดบางคำของคุณพ่อของ ม.ล.ณัฐกรณ์ หรือของ ดร.ป๋วย มาอ้างอิงการกระทำของคุณ เพราะเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ แต่แสดงให้สังคมเห็นว่า คุณใช้กลเม็ดอ้างอิงบุคคลสำคัญเพื่อเข้าข้างตัวเอง

6. คุณกล่าวถึง “การกระจายความมั่งคั่งให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า 70% ที่เป็นคนยากจน” นี่คงเป็นเรื่องพ้นสมัยไปแล้ว ประชาชนไทยที่ยากจนจริง ๆ มีเพียง 10% เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนมาตั้ง 20 ปีแล้ว คุณคงอ้างอิงผิดเวลาไป 50 ปี หรือยังมีมโนภาพแบบ 50 ปีก่อนที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ยากจน

7. ที่ว่า “เราไม่ควรพูดถึงประเทศอื่นในทางดูถูกเหยียดหยาม” หรือ “ดิฉันมีสิทธิที่จะปกป้องชื่อเสียงของตัวเอง โดยการฟ้องคุณในข้อหาหมิ่นประมาท แต่ดิฉันเป็นคนไทยที่ได้รับการอบรมสั่งสอนด้วยคำสอนของขงจื๊อ ดิฉันระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษของคุณ . . . ” ข้อนี้แสดงตัวตนของคุณในหลายแง่มุม เช่น การเป็นคนมีมธุรสวาจา ฉลาดที่รู้จักยกตนและเอาคืน และเป็นปุถุชนที่มีโทสะที่อยู่เบื้องลึกโดยไม่ละวางให้อภัย

การที่คุณได้รับเลือกตั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้มีสิทธิออกเสียงในกรุงเทพมหานครเห็นด้วยกับคุณ สมัครก็ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการที่มีคะแนนสูงสุด นิติภูมิก็เคยได้รับเลือกเป็น สว. ด้วยคะแนนสูงสุด แสดงว่าการสร้างภาพมีประสิทธิผลสูงมากในการได้คะแนน ถ้านิติภูมิที่ภาพลักษณ์ไม่ถูกทำลายและลงสมัคร สว. ได้ คุณก็คงไม่ได้รับเลือก

โดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่าดีครับที่มีการวิวาทะระหว่างคุณกับ มล. ณัฐกรณ์ ไม่ใช่ดีในประเด็นการทะเลาะกัน หรือไม่ใช่ดีที่ได้เห็นการห้ำหั่นอย่างมีศิลปะที่มีเปลือกนอกเป็นสุภาพชน แต่ดีในการที่ประชาชนจะได้เห็นและมีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้เกิด “สังคมอุดมปัญญา” และไม่มืดบอด ด้วยการตรวจสอบตรรกะและแนวคิดโดยไม่ติดกับการสร้างภาพหรือการพูดความจริงเพียงบางส่วน

ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการ
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

ดร.โสภณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำงานประเมินค่าทรัพย์สิน การพัฒนาเมือง และการใช้ที่ดินมาแต่ปี 2525 เคยเป็นที่ปรึกษาในโครงการของ ESCAP, UN-Habitat, ADB, World Bank, FAO และ ILO สำหรับประสบการณ์การสอนเริ่มแต่ปี 2523 สอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เบลเยียม ดร.โสภณ จบวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ที่ดินที่อยู่อาศัย จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), ได้รับประกาศนียบัตรการประเมินค่าทรัพย์สิน จากสถาบันนโยบายที่ดินลินคอห์น และ ประกาศนียบัตรการพัฒนาที่อยู่อาศัย มหาวิทยาลัยคาธอลิกลูแวง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย อันเป็นองค์กรสมาชิกของ FIABCI ซึ่งเป็นสมาคมอสังหาฯ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก, ประธานกรรมการบริหาร บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส, ผู้แทนประจำประเทศไทยของ IAAO และกรรมการบริหาร สภาผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งอาเซียน ผลงานสำคัญคือการค้นพบสลัม 1,020 แห่ง (ปี 2528), การสร้างแบบจำลอง Computer-assisted Mass Appraisal: CAMA (ปี 2533), การพยากรณ์บ้านว่างอย่างถูกต้อง (ปี 2538 และ 2541) การศึกษาเพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ปี 2543) และการสร้างแบบจำลองการประมาณราคาที่ดิน (ปี 2545)


มีคนวิจารณ์ข้อเขียนข้างต้นของ “ปลื้ม” แบ่งแยกออกเป็น 2 พวก

พวกแรกคือ พวกเชียร์ “รสนา” จะบอกว่า “ปลื้ม” มีสิทธิอะไร จะมาสอนให้คนกรุงเทพฯ ปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการเลือกตั้ง ก็ ในเมื่อเขาชื่นชม “รสนา” เขาจะเลือก “รสนา” แล้ว “ปลื้ม” จะเข้าไปยุ่งกับการตัดสินใจของคน กรุงเทพฯ ได้อย่างไร

อีกพวกคือ กลุ่มบุคคลที่ไม่เลือก “รสนา” และไม่ชอบ “รสนา” กลุ่มนี้จะบอกว่า “ปลื้ม” เขียนได้ถูก เขียนได้สะใจดี เพราะ “รสนา” เป็นพวกเอ็นจีโอ เอาแต่ค้านโน่นค้านนี่ จนไม่ต้องทำอะไร และสังคม ขาดความสมดุล ไปในที่สุด

บางคน บอกว่า “ปลื้ม” น่าจะคุยเรื่องนี้กับเพื่อนฝูงหรือในวงเหล้า ไม่ใช่มาเขียนเช่นดังกล่าวนี้

“ปลื้ม” ณ เวลานี้ถูกพวกชอบ “รสนา” ด่าอย่างเผ็ดร้อนโดยเฉพาะตามเน็ตทั้งหลายจนอ่านทั้งวันก็ไม่มีวันหมด

แต่ถ้ามอง “ปลื้ม” ในอีกแง่มุมหนึ่ง และมองอย่างความเป็นธรรม ต้องยอมรับว่า “ปลื้ม” เป็นคนยุคใหม่ที่กล้าพูดกล้าเขียน คิดอย่างไร ก็พูดก็เขียนไปอย่างนั้น

ว่ากันตามจริงแล้ว สิ่งที่ “ปลื้ม” เขียน มีความถูกต้องเกินครึ่ง คงมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ “ปลื้ม” เขียนไปแล้วมัน บาดใจ คนกรุงเทพฯ

ถ้าอ่าน...เธอไม่ควรเป็นตัวแทนของนครที่พยายามจะเป็นศูนย์กลางการลงทุนของเอเชีย เธอควรเป็นตัวแทนของเปียงยาง คาราคัส หรือฮาวานา...ให้ดี

ถ้าอ่าน...เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร...ให้ดีจะพบว่านี่คือ ความแตกต่าง ระหว่าง “คนเมือง” กับ “คนชนบท”

“คนเมือง” โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ จะเป็นสังคมที่เข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร แม้จะคิดว่าตัวนั้นเข้าถึงได้เป็นอย่างดี เป็นสังคมที่ ผิวผ่าน ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จะเลือกใคร ขาดความลึกซึ้งในการเลือก ยึดเอาชื่อเสียงและความโด่งดังเป็นสำคัญ

แต่สำหรับ “คนชนบท” แล้ว เขาจะเลือกใคร บุคคลนั้นต้อง เคยช่วยเขา เคยคลุกคลีกับเขามายาวนาน และจริง ๆ จัง ๆ ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจ เขาจะไม่เลือกอย่างเด็ดขาด

สังคมเมืองใหญ่ มันก็เป็นเช่นนี้ หา ความจีรังขังขอบ ได้ยากยิ่ง

หลายคนอาจบอกว่า “ปลื้ม” ทำไม่ถูกที่ “เขียนออกมาเช่นนั้น แต่ อีกแง่มุมหนึ่ง “ปลื้ม” ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนเมืองใหญ่โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ นั้นเป็นเช่นไร

ถ้า “ปลื้ม” ไม่กล้าคิดไม่กล้าเขียน “ปลื้ม” คงไม่เป็น “ปลื้ม” และโด่งดังมาจนบัดนี้

ที่เขียนมานี้ ไม่ได้เข้าข้าง “ปลื้ม” แต่ถ้ามอง “ปลื้ม” แง่มุมหนึ่ง คงจะต้องมอง “ปลื้ม” อีกแง่มุมด้วย

จึงจะเป็นธรรมแก่ “ปลื้ม” และประ การสำคัญ สังคมเมืองอย่างกรุงเทพฯ ต้องการ คนอย่าง “ปลื้ม” ไม่มากก็น้อย อย่างนั้นมิใช่หรือ.

อนุภพ
//www.dailynews.co.th




 

Create Date : 14 มีนาคม 2551    
Last Update : 22 มีนาคม 2551 12:31:36 น.
Counter : 525 Pageviews.  

รวมรายชื่อคนในกลุ่มเผด็จการคมช.

คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 17/2549 เรื่องแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา

โดยที่ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549 เรื่อง การจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ ลงวันที่ 20 ก.ย. 2549 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ ประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. คณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ

(1) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นที่ปรึกษา
(3) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นที่ปรึกษา
(4) นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นที่ปรึกษา
(5) คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นที่ปรึกษา
(6) นายไชย ไชยวรรณ เป็นที่ปรึกษา
(7) นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นที่ปรึกษา
(8) ศ.เทียนฉาย กีระนันท์ เป็นที่ปรึกษา
(9) ศ.ปราณี ทินกร เป็นที่ปรึกษา
(10) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา
(11) ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา
(12) ศ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นที่ปรึกษา
(13) รศ.วรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา
(14) นายวิรไท สันติประภพ เป็นที่ปรึกษา
(15) นายสันติ วิลาสศักดานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(16) นายศิวพร ทรรทานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(17) นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(18) ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา
(19) น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช เป็นที่ปรึกษา

2. คณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศ

(1) นายวิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นที่ปรึกษา
(3) นายกำธร อุดมฤทธิรุจ เป็นที่ปรึกษา
(4) นายเตช บุนนาค เป็นที่ปรึกษา
(5) นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นที่ปรึกษา
(6) นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นที่ปรึกษา
(7) นายวิทย์ รายนานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(8) นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นที่ปรึกษา

3. คณะที่ปรึกษาด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

(1) รศ.จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) รศ.กำชัย จงจักรพันธ์ เป็นที่ปรึกษา
(3) รศ.จรัล เล็งวิทยา เป็นที่ปรึกษา
(4) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
(5) รศ.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษา
(6) ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย เป็นที่ปรึกษา
(7) รศ.บุญสม ศิริบำรุงสุข เป็นที่ปรึกษา
(8) ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา
(9) รศ.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
(10) รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา
(11) รศ.ลาวัณย์ หอนพรัตน์ เป็นที่ปรึกษา
(12) ศ.วันชัย ศิริชนะ เป็นที่ปรึกษา
(13) ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นที่ปรึกษา

4. คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม

(1) นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) นายโคทม อารียา เป็นที่ปรึกษา
(3) รศ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นที่ปรึกษา
(4) นายชัยวัฒน์ สถาอนันต์ เป็นที่ปรึกษา
(5) นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป็นที่ปรึกษา
(6) ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล เป็นที่ปรึกษา
(7) รศ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา
(8) รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นที่ปรึกษา
(9) รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษา
(10) ศ.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นที่ปรึกษา
(11) นายพิภพ ธงไชย เป็นที่ปรึกษา
(12) ภราดา ประทีป โกมลมาศ เป็นที่ปรึกษา
(13) นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นที่ปรึกษา (ลาออก)
//www.prachatai.com/05web/th/home/page2_print.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5219&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai
(14) นายประยงค์ รณรงค์ เป็นที่ปรึกษา
(15) นายวรวิทย์ บารู เป็นที่ปรึกษา
(16) นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นที่ปรึกษา
(17) รศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษา
(18) ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นที่ปรึกษา
(19) ศ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษา
(20) รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา
(21) ศ.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา
(22) รศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา
(23) ศ.สุทธิศักดิ์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นที่ปรึกษา
(24) คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา
(25) นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นที่ปรึกษา
(26) รศ.มาณี ไชยธีรานุวัฒน์ศิริ เป็นที่ปรึกษา

ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอคำแนะนำ แก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอ หรือตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นสมควร

ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ ประชุมพิจารณาเรื่องทั้งหลายแยกกัน แต่อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกัน ของคณะที่ปรึกษาทุกคณะหรือบางคณะได้ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ เห็นสมควร

ให้คณะที่ปรึกษาแต่งตั้งที่ปรึกษาคนหนึ่งขึ้น ทำหน้าที่เลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้

ให้สำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งนี้

สั่ง ณ วันที่ 26 ก.ย. 2549

พล.อ.สนธิ บุญรัตนกลิน

หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มีดังต่อไปนี้

๑. นายกงกฤช หิรัญกิจ
๒. นายกระจ่าง จารุพฤกษ์พันธ์
๓. นายกระหยิ่ม ศานต์ตระกูล
๔. นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร
๕. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
๖. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
๗. นายการุณ กิตติสถาพร
๘. นายกำธร อุดมฤทธิรุจ
๙. หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล
๑๐. นายกำแหง ภริตานนท์
๑๑. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ
๑๒. นายกีรติ บุญเจือ
๑๓. นายไกรสร พรสุธี
๑๔. พลตรี คณิต สาพิทักษ์
๑๕. นายคำนูณ สิทธิสมาน
๑๖. นายโคทม อารียา
๑๗. พลเอก จรัล กุลละวณิชย์
๑๘. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
๑๙. นายจักราวุธ นิตยสุทธิ
๒๐. พลตรี จำลอง ศรีเมือง
๒๑. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์
๒๒. พลโท จิรเดช คชรัตน์
๒๓. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์
๒๔. นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี
๒๕. นางจุรี วิจิตรวาทการ
๒๖. พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม
๒๗. นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
๒๘. ร้อยตำรวจเอก ฉัตรชัย บุณยะอนันต์
๒๙. คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
๓๐. นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์
๓๑. นายชนินทธ์ โทณวณิก
๓๒. นายชบ ยอดแก้ว
๓๓. นายชลิต แก้วจินดา
๓๔. นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์
๓๕. นายชัชวาล อภิบาลศรี
๓๖. พลโท ชัยภัทร ธีระธำรง
๓๗. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทอง
๓๘. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
๓๙. นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์
๔๐. นายชาติศิริ โสภณพนิช
๔๑. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง
๔๒. นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์
๔๓. พลเอก โชคชัย หงส์ทอง
๔๔. นายไชย ไชยวรรณ
๔๕. นายณรงค์ โชควัฒนา
๔๖. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
๔๗. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์
๔๘. พลตรี ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
๔๙. นายดำรง สุมาลยศักดิ์
๕๐. นายดิลก มหาดำรงค์กุล
๕๑. นายตวง อันทะไชย
๕๒. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๕๓. นายแถมสิน รัตนพันธ์
๕๔. นายทรงพล ทิมาศาสตร์
๕๕. นายทวี สุรฤทธิกุล
๕๖. นายทศพร ศิริสัมพันธ์
๕๗. พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี
๕๘. พลเอก ธวัช จารุกลัส
๕๙. นายธีรพจน์ จรูญศรี
๖๐. พลเรือเอก นคร อรัณยะนาค
๖๑. พลเรือเอก นพพร อาชวาคม
๖๒. คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์
๖๓. ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์
๖๔. นายบดินทร์ อัศวาณิชย์
๖๕. พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน
๖๖. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
๖๗. นางบัญญัติ ทัศนียะเวช
๖๘. พลโท บันเทิง พูนขำ
๖๙. พลตำรวจเอก บุญศรี หุ่นสวัสดิ์
๗๐. นายบุญสม ศิริบำรุงสุข
๗๑. พลเอก ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
๗๒. พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ
๗๓. นายประกอบ วิโรจน์กูฎ
๗๔. นายประกิจ ประจนปัจจนึก
๗๕. พลเรือเอก ประเจตน์ ศิริเดช
๗๖. นายประเจิด สุขแก้ว
๗๗. นางประทุมพร วัชรเสถียร
๗๘. นายประพันธ์ คูณมี
๗๙. นายประภัทร์ ศรลัมพ์
๘๐. นางประภา ศรีนวลนัด
๘๑. พลตรี ประภาส ศกุนตนาค
๘๒. นายประมนต์ สุธีวงศ์
๘๓. นายประยงค์ รณรงค์
๘๔. พลโท ประยุทธ จันทร์โอชา
๘๕. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
๘๖. นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ
๘๗. นายประสาท สืบค้า
๘๘. นายประสาร มาลีนนท์
๘๙. พลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง
๙๐. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
๙๑. นายปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์
๙๒. นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ
๙๓. นายปรีชา วัชราภัย
๙๔. พลเอก ปรีชา เปรมาสวัสดิ์
๙๕. พลเอก ปรีชา โรจนเสน
๙๖. พลเอก ปรีดี สามิภักดิ์
๙๗. ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
๙๘. พลอากาศโท ปัญญา ศรีสุวรรณ
๙๙. พลเอก ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์
๑๐๐. นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
๑๐๑. ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
๑๐๒. นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์
๑๐๓. นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
๑๐๔. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
๑๐๕. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๑๐๖. พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
๑๐๗. นายพรชัย มาตังคสมบัติ
๑๐๘. นายพรชัย รุจิประภา
๑๐๙. คุณพรทิพย์ จาละ
๑๑๐. นายพรเพชร วิชิตชลชัย
๑๑๑. นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล
๑๑๒. พลเรือโท พะจุณณ์ ตามประทีป
๑๑๓. นายพิชัย วาสนาส่ง
๑๑๔. นายพินิจ จารุสมบัติ
๑๑๕. นายพูลศักดิ์ อยู่ประเสริฐ
๑๑๖. พลเอก เพิ่มศักดิ์ พวงสาโรจน์
๑๑๗. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย
๑๑๘. พลเอก ไพศาล กตัญญู
๑๑๙. นายไพศาล พืชมงคล
๑๒๐. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร
๑๒๑. นายภราเดช พยัฆวิเชียร
๑๒๒. นายภัทระ คำพิทักษ์
๑๒๓. นางภัทรียา เบญจพลชัย
๑๒๔. นายภิรมย์ สิมะเสถียร
๑๒๕. นายภูมิศักดิ์ หงส์หยก
๑๒๖. พลเอก มนตรี สังขทรัพย์
๑๒๗. นายมนัส โกศล
๑๒๘. นางมาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ
๑๒๙. พลตำรวจโท มาโนช ศัตรูลี้
๑๓๐. นายมีชัย ฤชุพันธุ์
๑๓๑. นางมุกดา อินต๊ะสาร
๑๓๒. นายโยธิน อนาลวิล
๑๓๓. นายรองพล เจริญพันธุ์
๑๓๔. พลอากาศเอก ระเด่น พึ่งพักตร์
๑๓๕. นายรังสรรค์ แสงสุข
๑๓๖. พลโท วรเดช ภูมิจิตร
๑๓๗. นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์
๑๓๘. นายวรัชย์ ชวพงศ์
๑๓๙. พลตำรวจโท วัชรพล ประสารราชกิจ
๑๔๐. นายวัชระ พรรณเชษฐ์
๑๔๑. นายวัฒนา สวรรยาธิปัติ
๑๔๒. นายวันชัย ศิริชนะ
๑๔๓. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๑๔๔. พลอากาศโท วัลลภ มีสมศัพท์
๑๔๕. พลเรือเอก วิชัย ยุวนางกูร
๑๔๖. นายวิทย์ รายนานนท์
๑๔๗. นายวิทยา เวชชาชีวะ
๑๔๘. นายวินัย สะมะอุน
๑๔๙. นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม
๑๕๐. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
๑๕๑. นายวิรุณ ตั้งเจริญ
๑๕๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ จันทรังษี
๑๕๓. พลโท วิโรจน์ บัวจรูญ
๑๕๔. นายวิษณุ เครืองาม
๑๕๕. นายวีรพงษ์ รามางกูร
๑๕๖. พลเรือเอก วีรพล วรานนท์
๑๕๗. พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์
๑๕๘. นายวีระชัย ตันติกุล
๑๕๙. พลตำรวจตรี วีระพงษ์ สุนทรางกูร
๑๖๐. นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์
๑๖๑. นายวุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์
๑๖๒. นายแว ดือ ราแม มะมิงจิ
๑๖๓. นายแวมะฮาดี แวดาโอะ
๑๖๔. พลเอก ไวพจน์ ศรีนวล
๑๖๕. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
๑๖๖. นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช
๑๖๗. นายศิวะพร ทรรทรานนท์
๑๖๘. พลเอก สนั่น มะเริงสิทธิ์
๑๖๙. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
๑๗๐. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม
๑๗๑. นายสมชาย สกุลสุรรัตน์
๑๗๒. นายสมชาย แสวงการ
๑๗๓. พลเอก สมชาย อุบลเดชประชารักษ์
๑๗๔. พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
๑๗๕. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์
๑๗๖. นายสมบัติ เมทะนี
๑๗๗. นายสมพล พันธ์มณี
๑๗๘. นายสมภพ เจริญกุล
๑๗๙. นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์
๑๘๐. พลตำรวจโท สมศักดิ์ แขวงโสภา
๑๘๑. พลอากาศเอก สมหมาย ดาบเพ็ชร์
๑๘๒. นายสมหมาย ปาริจฉัตต์
๑๘๓. นายสราวุธ วัชรพล
๑๘๔. นายสฤษดิ์ผล ชมไพศาล
๑๘๕. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
๑๘๖. นายสันติ วิลาศศักดานนท์
๑๘๗. นายสำราญ รอดเพชร
๑๘๘. นายสุจิต บุญบงการ
๑๘๙. พลโท สุเจตน์ วัฒนสุข
๑๙๐. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์
๑๙๑. พลเรือเอก สุชาต ญาโณทัย
๑๙๒. นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์
๑๙๓. นายสุชาติ อุปถัมภ์
๑๙๔. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์
๑๙๕. พลตำรวจเอก สุเทพ ธรรมรักษ์
๑๙๖. พลเอก สุเทพ สีวะรา
๑๙๗. นายสุธรรม จิตรานุเคราะห์
๑๙๘. พลเอก สุนทร ขำคมกุล
๑๙๙. พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ
๒๐๐. นางสุนันทา สมบุญธรรม
๒๐๑. นายสุพัทธ์ พู่ผกา
๒๐๒. นายสุภัค ศิวะรักษ์
๒๐๓. นายสุมนต์ สกลไชย
๒๐๔. นายสุเมธ ตัณธุวนิตย์
๒๐๕. นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ
๒๐๖. พลเอก สุรพล ชินะจิตร
๒๐๗. นายสุรพล นิติไกรพจน์
๒๐๘. นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์
๒๐๙. นายสุริชัย หวันแก้ว
๒๑๐. พลเอก สุรินทร์ พิกุลทอง
๒๑๑. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ
๒๑๒. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์
๒๑๓. นายสุวรรณ หันไชยุงวา
๒๑๔. นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า
๒๑๕. นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก
๒๑๖. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์
๒๑๗. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์
๒๑๘. นายโสภณ สุภาพงษ์
๒๑๙. พลเอก องค์กร ทองประสม
๒๒๐. พลอากาศเอก อดิเรก จำรัสฤทธิรงค์
๒๒๑. นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ
๒๒๒. พลตรี อดุล อุบล
๒๒๓. พลตำรวจโท อดุลย์ แสงสิงแก้ว
๒๒๔. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล
๒๒๕. นายอภิชาติ จิระพันธุ์
๒๒๖. เรืออากาศโท อภินันท์ สุมนะเศรณี
๒๒๗. นางสาวอรจิต สิงคาลวนิช
๒๒๘. นายอรรคพล สรสุชาติ
๒๒๙. นายอับดุล รอซัค อาลี
๒๓๐. นายอับดุลเราะแม เจะแซ
๒๓๑. นายอัมมาร์ สยามวาลา
๒๓๒. นายอัศวิน คงสิริ
๒๓๓. นายอัศวิน ชินกำธรวงค์
๒๓๔. พลเอก อาทร โลหิตกุล
๒๓๕. พลเอก อาภรณ์ กุลพงศ์
๒๓๖. นายอำพน กิตติอำพน
๒๓๗. นายอำพล จินดาวัฒนะ
๒๓๘. นายอิสมาแอล ลุทฟี จะปะกียา
๒๓๙. นายอิสมาแอล อาลี
๒๔๐. พลตำรวจเอก อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
๒๔๑. นางอุมา สุคนธมาน
๒๔๒. พลเอก อู้ด เบื้องบน

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๒๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มีดังต่อไปนี้

๑. นายกนก โตสุรัตน์
๒. นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
๓. นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
๔. นายกล้านรงค์ จันทิก
๕. นายการุณ ใสงาม
๖. นายกิตติ ตีรเศรษฐ
๗. นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
๘. นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์
๙. นายคมสัน โพธิ์คง
๑๐. นายจรัญ ภักดีธนากุล
๑๑. นายจรัส สุวรรณมาลา
๑๒. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
๑๓. นายเจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์
๑๔. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๑๕. นายช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง
๑๖. นายชนินทร์ บัวประเสริฐ
๑๗. นายชวลิต หมื่นนุช
๑๘. นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์
๑๙. นายชาติชาย แสงสุข
๒๐. นายชาลี กางอิ่ม
๒๑. นายชำนาญ ภูวิลัย
๒๒. นายชูชัย ศุภวงศ์
๒๓. นายโชคชัย อักษรนันท์
๒๔. นายไชยยศ เหมะรัชตะ
๒๕. นางดวงสุดา เตโชติรส
๒๖. นายเดโช สวนานนท์
๒๗. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
๒๘. พลตำรวจโท ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร
๒๙. นายธวัช บวรวนิชยกูร
๓๐. นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
๓๑. นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง
๓๒. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
๓๓. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
๓๔. นายนิตย์ วังวิวัฒน์
๓๕. นายนิมิตร ชัยจีระธิกุล
๓๖. นายนุรักษ์ มาประณีต
๓๗. นายปกรณ์ ปรียากร
๓๘. นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม
๓๙. นายประพันธ์ นัยโกวิท
๔๐. นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ
๔๑. นายประสงค์ พิทูรกิจจา
๔๒. นายปริญญา ศิริสารการ
๔๓. นางพรรณราย แสงวิเชียร
๔๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
๔๕. นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
๔๖. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
๔๗. พลเรือเอก พีรศักดิ์ วัชรมูล
๔๘. นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
๔๙. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
๕๐. นายมนตรี เพชรขุ้ม
๕๑. นางมนูญศรี โชติเทวัญ
๕๒. นายมานิจ สุขสมจิตร
๕๓. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
๕๔. นายรัฐ ชูกลิ่น
๕๕. นางรุจิรา เตชางกูร
๕๖. นายวรากรณ์ สามโกเศศ
๕๗. นายวัชรา หงส์ประภัศร
๕๘. นายวิชัย รูปขำดี
๕๙. นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์
๖๐. นายวิชัย ศรีขวัญ
๖๑. นายวิชา มหาคุณ
๖๒. นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์
๖๓. นายวิทยา คชเขื่อน
๖๔. นายวิทยา งานทวี
๖๕. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
๖๖. นายวีนัส ม่านมุงศิลป์
๖๗. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร
๖๘. นายวุฒิสาร ตันไชย
๖๙. นายศรีราชา เจริญพานิช
๗๐. นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล
๗๑. นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น
๗๒. นายศิวะ แสงมณี
๗๓. นายเศวต ทินกูล
๗๔. นางสดศรี สัตยธรรม
๗๕. นายสนั่น อินทรประเสริฐ
๗๖. นายสมเกียรติ รอดเจริญ
๗๗. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
๗๘. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
๗๙. นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย
๘๐. นายสวัสดิ์ โชติพานิช
๘๑. นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์
๘๒. นายสวิง ตันอุด
๘๓. นายสามขวัญ พนมขวัญ
๘๔. นายสุนทร จันทร์รังสี
๘๕. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
๘๖. นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล
๘๗. นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์
๘๘. นายเสรี นิมะยุ
๘๙. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๙๐. นายหลักชัย กิตติพล
๙๑. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
๙๒. นายอภิชาติ ดำดี
๙๓. นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์
๙๔. นายอรัญ ธรรมโน
๙๕. นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์
๙๖. นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์
๙๗. นางอังคณา นีละไพจิตร
๙๘. นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์
๙๙. นายอุทิศ ชูช่วย
๑๐๐. นายโอกาส เตพละกุล

ทั้งนี้ยังไม่รวมคณะที่ปรึกษาและคณะทำงานต่างๆ ของคณะรัฐมนตรีตามรายนามดังต่อไปนี้

1. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รับตำแหน่ง รมว.มหาดไทย เพิ่ม 3 ต.ค. 50)

2. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ - รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

3. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม - รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รับตำแหน่ง รองนายกฯ เพิ่ม 7 มี.ค. 50)

4. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน - รองนายกรัฐมนตรี (2 ต.ค. 50)

5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

6. นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

7. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (18 พ.ย. 49-21 พ.ค. 50)

8. นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (7 มี.ค. 50)

9. นายสมหมาย ภาษี - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (18 พ.ย. 49-13 ธ.ค. 50)

10. นายอารีย์ วงศ์อารยะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ลาออก ต.ค. 50)

11. นายบัญญัติ จันทน์เสนะ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

12. พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (27 เม.ย. 50)

13. พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

14. พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

15. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

16. นายสุวิทย์ ยอดมณี - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

17. นายณัฐ อินทรปาณ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (27 เม.ย. 50)

18. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

19. นายนิตย์ พิบูลสงคราม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

20. นายสวนิต คงสิริ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

21. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

22. นายธีระ สูตะบุตร - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

23. นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

24. นายแพทย์มงคล ณ สงขลา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

25. นายแพทย์มรกต กรเกษม - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (7 มี.ค. 50)

26. นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (27 เม.ย. 50)

27. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ลาออก 20 ก.ย. 50)

28. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

29. นายเกริกไกร จีระแพทย์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

30. นางอรนุช โอสถานนท์ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (1 ก.พ. 50)

31. นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

32. นายวิจิตร ศรีสอ้าน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

33. นายวรากรณ์ สามโกเศศ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (1 ก.พ. 50)

34. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

35. นายอภัย จันทนจุลกะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

36. นายปิยบุตร ชลวิจารณ์ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

37. นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (7 มี.ค. 50)




 

Create Date : 14 มีนาคม 2551    
Last Update : 14 มีนาคม 2551 20:08:05 น.
Counter : 1121 Pageviews.  

บทความเชือดเฉือนระหว่างคุณปลื้มกับรสนา

อันนี้ของคุณปลื้ม

Left, right... marching with the time
ML Nattakorn Devakula & Rosana Tositrakul


Rosana Tositrakul, are you kidding me?


BY ML Nattakorn Devakula


I would normally like to think higher of my capital city, the place I've come to believe holds the highest ratio of educated/informed voters to politically indifferent individuals. That ratio may not necessarily be so high any more, judging from the recent senatorial election results.


Aside from being a place where there is believed to be a whole lot of "smart" politically-aware voters, maybe Bangkok's real values are similar to those of Venezuela, North Korea, Cuba, Bolivia, and other leftist states out in the world.


Here's the fact of the case. Social activist and claimed representative of consumers Rosana Tositrakul won 743,397 votes, or 49.78% of the tally, in the first senatorial election under the new constitution. Being that only one person can represent the capital, the selection became more significant than ever because the elected Bangkok senator would effectively be the city's sole representative in the all-powerful Upper House.


This is exactly why the results that we received from the election are so sad. Anusorn Tammajai symbolically represented the investment class and values associated with free-market economics, while Nitipong Hornak symbolically represented the arts and entertainment community. At the same time, Manit Wittayatem - as a former judge - represented the class of experienced officials which, in this case, is from the legal sector. There were a whole host of others who stood out in terms of background and accomplishments. Instead, we now get someone who can be expected to block pro-investment/pro-business laws, cause disturbances to the otherwise smooth process of much-needed constitutional amendments, and last but not least, be a nagging noise to rational people who work for a living, to those who are part of the real economy trying to bring about economic growth to this country.


Rosana almost single-handedly brought the downfall of PTT Public Company Limited, one of Thailand's most successful business conglomerates ever, which has become the pride and joy of the country's investment community. Her role in the nullification of the planned stock market listing of the Electricity Generating Authority of Thailand clearly shows how she stands in the way of development and economics.


As unforgivable as these past two actions are, there is more where that came from. Implicitly, leading a crusade in the name of consumers - who are represented by organisations without even having the opportunity to play a role in the policy-making of these organisations - led to Rosana's very fame today. It brought her name to the forefront of those who sacrificed personal time for the sake of the public - when, in fact, much of her popularity was earned on the back of investors and judges having to deal with petty burdensome cases relating to miscellaneous consumer claims, the very thing that paved the way for her political success. Nothing is sicker. Don't sue me; I know that's something you'd already planned to do.


Looking back at the senatorial elections prior to the coup, Rosana also won 118,332 votes which made her the 4th largest vote-getter in Bangkok. Believe it or not, she was behind only Nitipoom Naovarat, Samak Sundaravej and Klanarong Chantik. The more I think about all these results, the more I begin to contemplate the real potential of how "left" we are moving as a society. Rosana should not represent a city that understands the values of the free market and capitalism. She should not represent a city that is attempting to become one of the thriving investment hubs of Asia. If there was a city she could represent, I was thinking Pyongyang or Caracas. Or maybe Havana, where she can join the new batch of Raulistas. Or even better, Sucre or La Paz, where she can wear similar native outfits to dance around with Evo Morales.


At the end of the day, however, I still hold higher hopes for Bangkok, for when the next election - whichever it is - comes around, the "smart" voters and the real silent-yet-informed majority will pick someone more in favour of growth and progression, rather than decline and stagnation.


Higher hopes translate into the selection of someone who understands that being a left-wing NGO seeking to redistribute income by bringing down the economic cornerstones of capitalism will never bring actual benefits to consumers. This past Sunday's results show that there is much room for improvement when it comes to the mindset of city voters.


M L Nattakorn Devakula is a news analyst

ส่วนอันนี้ของป้ารสนา

ML Nattakorn Devakula, who's kidding whom?


BY Rosana Tositrakul


Most Bangkokians support liberal democracy and a free-market economy. They love justice and hate corruption, unfair monopolies and hypocrisy. This has not changed and it does not make them "leftist" as you claim. The only people who could see this as leftist are those on the extreme right. Bangkokians know well that I am not against a free-market economy that is fair. What they, and I, will not tolerate is bad governance and shady privatisation deals.


The net worth of the Electricity Generating Authority of Thailand was as high as 3.8 trillion baht, but the government tried to sell it on the stock market through shares worth about 20 billion.


PTT Plc was listed in a rush. Before the initial public offering, cabinet passed a resolution that the gas pipelines would be retained by the state and a regulatory body would be set up to protect consumers. This resolution was included in the PTT prospectus. A year later, the Thaksin government simply cancelled the resolution and the PTT acquired what should have been a national asset. Fair-minded investors would agree that this is a form of theft. In fighting these cases of policy corruption, I never resorted to street protests. I always relied on the courts to give judgements on what was legally right and fair. Let me ask you this, as a dutiful, taxpaying citizen: does an attempt to reclaim public assets erode the foundations of the economy? Or does it instil respect for good governance, the rule of law and long-term stability?


One prominent banker recently said that Thailand is not just the stock market and the country's future does not depend only on GDP. Your own father, former governor of the Bank of Thailand M R Pridiyathorn Devakula, touched on the short-comings of unthinking economic development on Oct 3, 2006: "Free markets without sufficiency won't make it through. Some people follow Western theories and view the sufficiency idea as an impediment to economic growth - that is not true. On the contrary, the sufficiency philosophy serves as a balance to the growth - sustains it and makes sure that people's wellbeing and the environment are protected."


This is similar to my economic standpoint. To be exact, I share the vision of the late Dr Puey Ungphakorn, another former governor of the BoT, in wishing to see free-market capitalism function alongside a serious attempt at wealth redistribution to benefit the more than 70% of the population who are still underprivileged.


Is this the Pyongyang or Havana way of thinking that you lambaste me for? Other countries have their own economic systems and I must confess I am not well-versed in the details, or how they have developed that way. But we should not discuss other countries with contempt. We should cultivate an attitude of tolerance so that we can respect the economic and cultural differences that may have led them to develop the type of economic system they are using, just as our country has developed an economic system that is in harmony with our social and cultural values. But it doesn't matter if my political and economic standpoint is the same as in other countries or not; I believe it must be consistent with that of the people of Bangkok, who voted for me.


You are a well-educated young man. If you try to see things from other people's perspective, you might understand contemporary Bangkok better. It can be good for your political depression.


This is not the first time you have insulted me in your column. I, of course, have the right to protect my reputation by suing you for defamation. But as a Thai brought up in the Confucian tradition, I am grateful to your ancestors HRH Prince Devavongse Varoprakarn and HRH Prince Devavongse Varothai, former foreign ministers who stood at the forefront of the country's elite who tried to liberate Siam from unfair treaties imposed by imperialist powers that wanted to control the Thai economy and judicial systems throughout the reigns of Kings Rama V, VI and VII. I will therefore refrain from doing anything that would cause damage to a distinguished family that has done so much for Thailand.


I would advise you to think more deeply and consult more widely before offering your opinions, especially if you are going to show contempt for decisions of the Administrative Court, the votes of your fellow Bangkokians, and people of other countries. As for myself, after 30 years of public work I have achieved a firm position in society and have the patience to seek sense in what you write.


Rosana Tositrakul is a social campaigner and Bangkok senator.


บทความแปลภาษาไทย

พาดหัว : วิวาทะเดือด!'หม่อมปลื้ม'ปะทะ'รสนา'ว่าด้วยคนกรุงเทคะแนนเลือกเป็น ส.ว.

โปรยข่าว : ต่อไปนี้เป็นบทความของม.ล.ณัฏฐกร เทวกุลหรือ'ปลื้ม' เขียนถึงน.ส.รสนา โตสิตระกูล กรณีได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อเร็ว ๆ นี้ ขณะที่ฝ่ายหลังหลังแสดงทัศนะโต้ตอบอย่างเผ็ดร้อน ในคอลัมน์'บทวิเคราะห์และความคิดเห็น'หน้า 11 ของหนังสือพิมพ์บางกอก โพสต์ ฉบับวันที่ 13 มีนาคม 2551

เนื้อหา : มีดังนี้

บทความของม.ล.ณัฏฐกร เทวกุล
รจนา โตสิตตระกูล,'คุณล้อผมเล่นหรือเปล่า'?

ผมชอบคิดถึงกลุ่มคนชั้นสูงของเมืองหลวง สถานที่ที่ผมเชื่อว่า มีอัตราสูงสุดของผู้ใช้สิทธิของชนกลุ่มมีการศึกษา ไปจนถึงคนหลายกลุ่มที่หลากหลายทางการเมือง แต่ทว่าอัตราของผู้ใช้สิทธิของกลุ่มดังกล่าวไม่ได้สูงอีกต่อไป เมื่อพิจารณาจากการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกที่ผ่านมา ถ้าไม่นับการเป็นสถานที่ที่เชื่อว่าเป็นแหล่งผู้ใช้สิทธิ'กลุ่มฉลาด'ที่ตระหนักถึงการเมืองส่วนใหญ่ของทั้งหมด

บางทีค่านิยมที่แท้จริงของคนกรุงเทพอาจจะเหมือนกับเวเนซูเอล่า, เกาหลีเหนือ, คิวบา, โบลิเวีย และประเทศฝ่ายซ้ายอื่น ๆ ในโลกนี้

และนี่คือข้อเท็จจริง นางรสนา นักกิจกรรมสังคม และผู้ที่อ้างตัวเป็นตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้บริโภค ได้คะแนนเสียง 743,397 เสียง หรือ 49.78 % จากจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียง ซึ่งในการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่

การที่คน ๆ เดียวจะกลายเป็นผู้แทนคนเดียวของกทม.จึงทำให้การเลือกตั้งเช่นนี้มีความหมาย มากกว่าที่เคย เพราะเท่ากับผู้ชนะจะกลายเป็นวุฒิสมาชิกหนึ่งเดียวที่เป็นตัวแทนคนทั้งกทม.นั่งอยู่ในสภาทรงอิทธิพลของส.ว.ทั้งหมด

แน่นอน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผลเลือกตั้งที่ออกมาจึงเป็นเรื่องน่าเศร้า ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เป็นตัวแทนของคนกลุ่มนักลงทุนและคนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจตลาดเสรี ส่วนนายนิติพงษ์ ห่อนาค เป็นตัวแทนของคนกลุ่มบันเทิงและศิลปิน

ขณะที่นายมานิต วิทยาเต็ม อดีตตุลาการ (ความจริงนายมานิตย์ วิทยาเต็มเป็นอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนุญ-ผู้แปล) เป็นคนกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ ซึ่งในที่นี้มาจากภาคกฎหมาย คนเหล่านี้เป็นหัวแถวของคนที่มีพื้นเพเดียวกัน และคนที่ประสบความสำเร็จ

แต่แล้ว เรากลับได้คนที่เชื่อได้ว่าจะปิดกั้นกฎหมายสนับสนุนธุรกิจ-สนับสนุนการลงทุน สร้างอุปสรรคขัดขวางต่อกระบวนการอันราบรื่นของการแก้ไขกฎหมายจำนวนมากที่จำเป็น และท้ายที่สุดแต่ไม่ใช่สิ่งสุดท้าย ก็คือ การเป็นเสียงที่ไร้ค่าของคนที่มีเหตุผลที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ และการเป็นคนที่เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจอันแท้จริงที่พยายามจะนำการเติบโตทางเศรษฐกิจคืนมาสู่ประเทศ

นางรสนาเกือบเป็นคนผู้เดียวที่นำความล่มสลายมาให้แก่บริษัทปตท.บริษัทที่ ประสบความสำเร็จที่สุดของเมืองไทย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและความยินดีของกลุ่มนักลงทุนในประเทศ บทบาทของเธอในการเรียกร้องให้การเข้าตลาดหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยถูกประกาศเป็นโมฆะได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า เธอต่อสู้กับวิถีของการพัฒนาและเศรษฐกิจต่าง ๆ ในรูปแบบไหน

สิ่งที่ไม่น่าอภัยเหมือนการกระทำสองครั้งในอดีตก็คือ การมีคนจำนวนมากขึ้น ที่กำลังทำสงครามในนามของผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวแทนของจากองค์กรที่ไม่เคยมีโอกาสได้มีบทบาทบริหารนโยบายของหน่วยงานเหล่านี้ ได้เลือกนางรสนาให้มีชื่อเสียงอย่างมากในทุกวันนี้ มันได้สร้างชื่อเสียงให้เธอสู่แถวหน้าของบรรดาผู้ที่สละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

และจริง ๆ แล้ว ความนิยมจำนวนมากที่เธอได้รับมาจากการสนับสนุนของนักลงทุนและตุลาการที่ต้อง เกี่ยวข้องกับคดีมากมายที่เกี่ยวกับการร้องเรียนของผู้บริโภคสารพัด ถือเป็นสิ่งที่ได้ช่วยแผ่วทางให้เธอประสบความสำเร็จสู่การเมือง ไม่มีอะไรที่จะน่าเกียจกว่านี้แล้ว อย่าฟ้องผม เพราะผมรู้แล้วว่า คุณมีแผนจะทำอะไร!

หากมองย้อนกลับไปดูการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกยุคก่อนรัฐประหาร นางรสนาเคยได้รับคะแนนถึง 118,338 คะแนน ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นผู้สมัครที่มีคะแนนสูงเป็นอันดับสี่ เชื่อไหมว่าเธอมีคะแนนแพ้แค่นิติภูมิ นวรัตน์, สมัคร สุนทรเวช และกล้านรงค์ จันทิก ยิ่งผมคิดถึงผลคะแนนทั้งหมดนี้แล้ว ก็ยิ่งทำให้เริ่มผมทำให้ต้องนึกถึงศักยภาพอันแท้จริงของความเป็นซ้ายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในสังคมนี้

นางรสนาไม่ได้เป็นตัวแทนของคนกรุงที่เข้าใจถึงเรื่องตลาดเสรีและทุนนิยม เธอไม่ควรจะเป็นตัวแทนของเมืองที่พยายามจะเป็นแหล่งลงทุนขนาดใหญ่ของเอเชีย หากมีเมืองที่เธอควรจะได้เป็นผู้แทน ผมคิดว่าน่าจะเป็นพวกกรุงเปียงยาง (เมืองหลวงเกาหลีเหนือ) หรือคาราคัส (เมืองหลวงเวเนซูเอลา) หรือบางทีฮาวานา (เมืองหลวงคิวบา) ซึ่งเธอสามารถจะร่วมวงกับลัทธิราอูล หรือดีกว่าคือ 'เมืองซูเคร' หรือ'กรุงลาปาซ'ซึ่งเธอสามารถสวมชุดพื้นเมืองเพื่อเต้นรำร่วมกับนายอีโว โมลาเรซ (ผู้นำโบลิเวีย) ได้

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว ผมยังคงตั้งความหวังกับกรุงเทพ เพราะเมื่อมีการเลือกตั้งครั้งหน้า ที่ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม ผู้ใช้สิทธิกลุ่ม'ฉลาด'และคนกลุ่มใหญ่ที่เป็นพลังเงียบแท้จริง จะเลือกคนที่เอื้อต่อการเติบโตและความก้าวหน้า มากกว่าเลือกการปฎิเสธ และการถดถอย การตั้งความหวังที่สูงกว่าหมายถึงการเลือกใครบางคนที่เข้าใจว่า การเป็นเอ็นจีโอฝ่ายซ้ายที่ต้องการกระจายรายได้ด้วยการล้มเศรษฐกิจทุนนิยม จะไม่มีวันสร้างผลประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภค และผลการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ (2 มีนาคม 2551) ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ยังมีที่ว่างของการปรับปรุงแก้ไขที่จะต้องเกิดขึ้นบนฐานความรู้สึกของผู้ใช้ สิทธิกทม.

**************************
บทความของ'นางรสนา โตสิตระกูล'
ม.ล.ณัฏฐกร เทวกุล,'ใครล้อใครเล่น'?

Imageชาวกรุงเทพส่วนใหญ่สนับสนุนประชาธิปไตยสายกลางและเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี พวกเขารักความยุติธรรมและเกลียดการคอรัปชั่น, การผูกขาดที่ไม่ยุติธรรม และพฤติกรรมปากว่าตาขยิบ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป หรือทำให้พวกเขาเป็น'พวกซ้าย'เหมือนที่คุณอ้าง มีคนเดียวที่จะมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องซ้ายได้ก็คือพวกขวาจัด

ชาวกรุงเทพรู้ว่า ดิฉันไม่ได้ต่อต้านเศรษฐกิจตลาดเสรีที่เป็นธรรม แต่สิ่งที่พวกเขาและดิฉันไม่อาจทนได้ก็คือ ธรรมาธิบาลที่แย่และข้อตกลงแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีเบื้องหลังซ่อนเร้น

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีมูลค่าสูงถึง 3.8 ล้านล้านบาท แต่รัฐบาลกลับพยายามขายมันทางตลาดหุ้นด้วยมูลค่าหุ้นเพียง 20,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ถูกขึ้นบัญชีเข้าตลาดหุ้นอย่างเร่งรีบ ก่อนที่จะมีการเสนอขายต่อสาธารณะ รัฐบาลได้ผ่านมติให้ท่อก๊าซสามารถยับยั้ง และให้มีการตั้งหน่วยงานกำกับดูแลขึ้นมา เพื่อช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค หนึ่งปีต่อมา รัฐบาลทักษิณกลับยกเลิกมติดังกล่าว และให้บริษัทปตท.ได้สิทธิในสิ่งที่ควรจะเป็นทรัพย์สินของชาติ นักลงทุนที่มีใจเป็นธรรมจะเห็นด้วยว่า นี่เป็นรูปแบบของการปล้น ในการต่อสู้กับคดีคอรัปชั่นเชิงนโยบายเหล่านี้ ดิฉันไม่เคยใช้การชุมนุมบนท้องถนน แต่ใช้การพึ่งอำนาจศาลเพื่อตัดสินสิ่งที่ถูกต้องและยุติธรรมตามกฎหมาย ดิฉันขอถามคุณบ้าง ในฐานะประชาชนที่เสียภาษี ความพยายามที่อ้างเอาทรัพย์สินของประชาชน มันทำลายฐานของเศรษฐกิจหรือไม่ หรือมันได้ซึมซับเข้าใจถึงธรรมาภิบาลอันดี กฎเกณฑ์ทางกฎหมาย และความมั่นคงในระยะยาวหรือเปล่า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธนาคารที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งบอกว่า เมืองไทยไม่ใช่แค่ตลาดหุ้น และอนาคตของประเทศก็ไม่ได้พึ่งแต่เฉพาะตัวเลขจีดีพี คุณพ่อของคุณเอง ซึ่งเป็นอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ยังได้ฝากมุมมองถึงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไม่คิดหน้าคิดหลังไว้เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2549 ว่า 'ตลาดเสรีที่ปราศจากความพอเพียงจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ คนที่ทำตามทฤษฎีตะวันตก และมองว่าหลักการความพอเพียงเป็นสิ่งคุกคามต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ตรงกันข้าม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะถูกใช้เป็นเครื่องสร้างความสมดุลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความพอเพียง และรับประกันว่าความผาสุกของผู้คนและสิ่งแวดล้อมจะได้รับการคุ้มครอง

นี่เป็นสิ่งที่คล้ายกับจุดยืนทางเศรษฐกิจของดิฉัน จริง ๆ ดิฉันมีมุมมองเหมือนดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติผู้ล่วงลับ ที่ปรารถนาจะเห็นกลไกของทุนนิยมตลาดเสรี เดินไปพร้อมกับความพยายามอย่างจริงจังในการกระจายความมั่งคั่งร่ำรวย เพื่อให้ประโยชน์แก่ประชากรกว่า 70% ที่ยังคงยากจน

นี่เป็นวิถีคิดแบบเปียงยางหรือฮานาวาที่คุณประณามดิฉันหรือเปล่า? ประเทศอื่น ๆ ล้วนมีระบบเศรษฐกิจของตัวเอง ดิฉันต้องสารภาพว่า ไม่ค่อยรู้รายละเอียดลึกมากมาย หรือรู้ว่าพวกเขาพัฒนาเศรษฐกิจกันอย่างไร แต่เราไม่ควรพูดถึงประเทศอื่นอย่างดูถูก เราควรจะบ่มเพาะทัศนคติของการใช้ขันติ เพื่อให้เราสามารถยอมรับความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม และมันไม่สำคัญว่า จุดยืนของดิฉันจะเหมือนกับประเทศอื่นหรือไม่ แต่ดิฉันเชื่อว่าจุดยืนของดิฉัน สอดคล้องกับของคนกรุงเทพที่ใช้สิทธิเลือกดิฉัน

คุณเป็นคนหนุ่มมีการศึกษาดี หากคุณพยายามมองสิ่งอื่น ๆ จากมุมมองของคนอื่นแล้ว คุณก็อาจจะเข้าใจคนกรุงเทพยุคใหม่ดีขึ้น และมันจะดีกว่าการที่คุณต้องรู้สึกหดหู่กับการเมือง

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คุณดูถูกดิฉันในคอลัมน์ของคุณ และแน่นอน ดิฉันมีสิทธิที่จะปกป้องชื่อเสียงด้วยการฟ้องหมิ่นประมาทคุณ แต่ในฐานะคนไทยที่ถูกเติบโตกับมาวัฒนธรรมขงจื้อ ดิฉันเคารพในบรรพบุรุษของคุณ ซึ่งเคยเป็นหัวหอกของกลุ่มบุคคลหัวแถวของประเทศที่พยายามจะปลดปล่อยประเทศสยามจากสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ถูกใช้โดยมหาอำนาจล่าอาณานิคม ที่ต้องการจะควบคุมเศรษฐกิจไทยและระบบตุลาการตลอดยุคสมัยของรัชกาลที่ 5, 6 และรัชกาลที่ 7 ดังนั้น ดิฉันจะระงับการกระทำใด ๆ ที่จะสร้างความผลกระทบแก่ครอบครัวที่มีชื่อเสียง ที่ทำประโยชน์อย่างมากแก่ประเทศไทย

ดิฉันอยากจะแนะนำให้คุณคิดให้ลึกซึ้ง และปรึกษาคนให้เยอะ ๆ ก่อนจะแสดงความคิดเห็นออกมา โดยเฉพาะหากคุณไม่ได้แสดงการดูถูกต่อการตัดสินของศาลปกครอง, การใช้สิทธิของเพื่อนชาวกรุงเทพของคุณและประชาชนของประเทศอื่น ในฐานะตัวดิฉันเอง หลังจากที่เคยทำงานให้แก่สาธารณะมากว่า 30 ปี ดิฉันได้บรรลุแล้วซึ่งตำแหน่งที่มั่นคงทางสังคม และมีความอดทนที่รับฟังความเห็นที่คุณเขียนออกมา

แปลโดยWebsiteมติชน

ข้อเขียนของคุณรสนา แท้จริงแล้วเต็มไปด้วยความเท็จ และเกิดขึ้นจากการมองโลกด้วยใจที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในความเป็นธรรม เป็นการมองโลกด้วยใจที่มีอคติเป็นที่ตั้ง ทำให้สิ่งที่คิดออกมา พูดออกมา เขียนออกมา และกระทำออกมา เต็มไปด้วยสิ่งที่ผิดตลอด แม้จนกระทั่งตนเองก็ไม่ทราบ และดูเหมือนว่า ยิ่งแก่ตัวไป อัตตาตัวตน ยิ่งหนักแน่น ยึ่งยึดแน่น ไม่สามารถจางคลายลงไปได้

คงจะไม่ต้องลงไปในรายละเอียดของข้อเขียนของคุณรสนาที่โต้ตอบคุณปลื้มว่าแต่ละอย่างนั้น มองพลาดไปอย่างไร เพราะทั้งสังคมขณะนี้ก็เต็มไปด้วยความหลงผิดอยู่อย่างเต็มที่อยู่แล้ว

คนยากจนยังเต็มประเทศ ยังมีผู้ที่ยังขาดด้อยโอกาสอีกมากในประเทศ ที่ไม่มีเวลาพอที่จะลืมตาอ้าปาก ต้องวนเวียนอยู่กับการหาปัจจัยพื้นฐาน สิ่งนี้คือปัญหาหลักที่ผู้บริหารประเทศต้องแก้ไขให้ได้ ก็ในเมื่อไม่ได้ตั้งใจมองสิ่งนี้อยู่แล้ว มองข้ามการแสวงหาปัจจัยเพื่อประโยชน์แก่มวลชนหมู่มาก ก็ทำให้มีการตั้งใจผิดเริ่มกันตั้งแต่ต้น

เมื่อปัจจัยพื้นฐานเพียงพอแล้ว นั่นเองที่จะค่อยมองไปถึงเรื่องทางจิตวิญญาณได้ ในขณะที่สร้างปัจจัย หรือทรัพย์ทางโลกก็ต้องทำไปอย่างโลก เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ แต่หากว่าปากท้องยังมีไม่พอ ยังไม่มีโอกาส ขาดโอกาสต่างๆ แล้วประชาชนในประเทศจะไปหาความสงบทางจิตใจได้อย่างไร

วิธีคิดแนวรสนาตั้งบนพื้นฐานของความสับสนเรื่อง "ความเป็นกลาง" ของเรื่องทางจิต และทางกาย คือยังหาความเป็นกลางไม่เจอ เมื่อหลงผิดตั้งแต่จุดนี้แล้ว จุดอื่นๆ ก็จะผิดต่อไปเรื่อยๆ และนั่นเองก็ก่อให้เกิดลัทธิผิดๆ ทิฏฐิผิดๆ ตามออกมา จนแม้กระทั่งจะอยู่บนโลกทั้งสองข้าง ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าอยู่ได้อย่างยั่งยืน (โลกทั้งสองคือ โลกทางธรรม และกระแสโลกปัจจุบัน)

ความเพี้ยน หรือหลงผิด และยึดมั่นแบบผิดๆ ของคนเมืองหลวง อันเกิดขึ้นจากนักวิชาการหลงผิด และสื่อสามานย์ เป็นเรื่องที่ร้ายแรง และแก้ไขได้ลำบาก เว้นแต่จะพอมีมหาบุรุษ หรือมวลประชาชนต้องร่วมกันลงแรงแก้ไขปัญหานี้อย่างแท้จริง ไม่ต้องพูดถึงแค่ความหลงผิดของคุณรสนาแต่เพียงคนเดียว

จากคุณ : truebot - [ 13 มี.ค. 51 22:30:16 A:64.62.138.106 X: ]

1. คนชั้นกลางในกรุงเทพหรือครับ? ผมไม่เคยตั้งความหวังกับคนกลุ่มนี้เท่าใดดอกครับ และก็ไม่คิดไปในทางดีแบบ คุณปลื้ม วาดหวังไว้

2. เพราะคนชนชั้นกลางเป็นจำพวก "โลเล" ไม่มีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจน แต่มีลักษณะที่เป็น "ไหล" ไปตามกระแส กระแสที่สื่อมวลชนพัดพาไป ไม่ต่างอะไรกับจอกแหน...แต่ชอบที่จะดูถูกคนต่างจังหวัดว่า โง่เง่าเต่าตุ่น (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สื่อมวลชนปลูกฝังมาเหมือนกัน)....

3. ส่วนรสนาหรือครับ? ผมไม่มีความเห็น แม้จะอ่าน "ข้อความแก้ต่าง" ไปแล้ว ก็ยังมองไม่ต่างจากคุณปลื้มครับ (นี่ไม่ใช่เพราะว่า เกลียดรสนาเป็นการส่วนตัว หรือเกลียดกลุ่มคณะที่รสนาสังกัดเป็นการส่วนตัว)

จากคุณ : นายเจ็ดตัวอักษร - [ 13 มี.ค. 51 22:48:47 A:203.156.27.33 X:203.130.159.2 ]

ผมขอวิเคราะห์ ทั้งสองคนนะครับ

มุมมองของ คุณปลื้ม ผมสนับสนุน เพราะว่า เราคงต้องมองกันอย่างนี้ว่า

ข้อที่หนึ่ง
คุณปลื้มพูดชัดว่า แนวทางคุณรสนา คือการเอา บริษัทที่โดดเด่นที่สุดในตลาด
ซึ่งก็คือ ปตท. ลง คุณปลื้มพูดชัด คุณรสนาตั้งใจเอามันลงอย่างเดียว ผมเห็นด้วย
ถ้าเราย้อนกลับไปดูนะครับ คำฟ้องของคุณรสนา ต้องการให้ถอดบริษัท
เหล่านั้นออกจากตลาด แสดงให้เห็นว่า ข้อความคุณรสนาที่เขียนตอบโต้
ที่ว่า Bangkokians know well that I am not against a free-market economy that is fair. อันนี้ ผมคิดว่า ไม่จริง ทำไมคำฟ้องถึงตั้งใจให้การแปรรูปเป็นโมฆะ เพียงอย่างเดียว

ข้อที่สอง ซึ่งผมค่อนข้างเห็นด้วยนะครับ
คุณรสนา เป็นตัวแทน เพียงคนเดียวของกรุงเทพฯ ทำไมถึงเป็นคนตรวจสอบ
จากสาย NGO ไปได้ คุณปลื้มใช้คำว่า "leftist"
สภาสูงของไทย เป็นสภาที่ ควรจะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประวัติทางการทำงาน
อย่างยอดเยี่ยม ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนกรุงเทพฯ เพียงคนเดียว

คุณรสนา ก็ตอบโต้ว่า
They love justice and hate corruption, unfair monopolies and hypocrisy. ผมว่า เข้าใจได้ แต่ผมเห็นด้วยกับคุณปลื้มว่า แนวทางประเทศไทย
แนวทางที่กล่าวถึง เป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้องนะครับ ใช่ ทำไม อันดับที่สอง
ดร.อนุสรณ์ ซึ่งเก่งเศรษฐกิจ หรือ คุณ นิติพงษ์ ซึ่งเปรียบเหมือนตัวแทน
ทางด้าน ศิลปะ หรือ คุณ มานิตย์ ทางสายศาลสถิยยุติธรรม ทำไมถึงได้น้อยกว่า
แสดงให้เห็นชัดว่า ทิศทาง ของสังคม กำลังเปลี่ยน และนั่น ทำให้เห็นชัดว่า
สังคม กำลังมองกลับด้าน กับสิ่งที่ประเทศอื่น ๆ กำลังควรจะเดิน
คุณรสนา มีประวัติชัดเจนจริง แต่โดดเด่นเพียงเพราะนำบริษัทปตท. กับ กฟผ.
มาเป็นประเด็นได้ ซึ่ง ประวัติด้านอื่นยังไม่เด่นชัดเท่ากับบุคคลด้านอื่น ๆ

ข้อที่สาม
เป็นผลจากข้อสองเห็นได้ชัดว่า สิ่งที่สังคมกำลังเดิน ผิดทาง แต่คุณรสนา
ใช้ความได้เปรียบนี้ ในการผ่านเข้าสู่สภา

ส่วนที่ว่า ประวัติคุณปลื้มเป็นคนในตระกูลดี ผมเห็นว่า คุณรสนา
ไม่ได้กำลังพูดถึงเชิงวิชาการ แต่กำลังใช้พลังเข้าข่ายข่มขู่ต่างหาก
เชิงวิชาการ ไม่เห็นด้วยยังไง ก็ตอบโต้ ทำไม ต้องมาพูดว่าครอบครัวเค้า
เป็นยังไง ดีอย่างไร

ส่วนที่ยกเรื่องของ Sufficiency Economy มาพูด ผมเห็นด้วยประเด็นในหลักการ
แต่ทำไมต้องยกคำพูดคุณพ่อของ คุณปลื้มมาใช้ คุณรสนากำลังต้องการอะไรกันแน่
หรือเพียงต้องการให้คุณปลื้มหยุดการกระทำ ที่ไม่เห็นด้วยกับคุณ
ถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณเรียกตัวคุณเองว่า คุณอยู่ในระบอบประชาธิปไตยเหรอครับ

ปล. ผมไม่เก่งงานเขียน ขอไม่แปลให้นะครับ ขออภัยท่านทั้งหลายด้วยครับ
แต่มุมมองผม ข้อเขียนของคุณปลื้ม สวยงาย สมกับเป็น Journalist จริง ๆ

จากคุณ : sakthegreat - [ 13 มี.ค. 51 13:00:50 A:58.8.192.134 X: ]

ไม่น่าแปลกใจ คน กทม.เกลียดคนรวย เกลียดระบบทุนนิยม มาแต่ใหนแต่ไร ที่น่าแปลกกว่าคือ อยู่ในเมือง ที่เจริญ ศิวิไลแท้ๆ ชอบความเจริญ แต่กลับเกลียดการพัฒนา พวกพันธมิตรบางคนรู้ดี จึงจับจุดนี้ มาเป็นจุดโฆษณา ชวนเชื่อ หลอกคนกรุงเทพฯได้สำหรับ รวมทั้งเมืองอื่นๆ เช่น ชลบุรี และ ระยอง ที่ผมอยู่ ที่คนในเมืองติดASTV กันงอม จึงเหมือนกลายเป็นคนหวาดระแวง ไม่มีความเชื่อมั่น จึงไปเลือกคนจอมปลอม ที่คิดว่ารักษาผลประโยชน์ ให้พวกตัวเองได้ อย่างนางรสนา ถ้าหล่อนเอา ปตท ออกจากตลาดหุ้นได้สำเร็จ เศรษฐกิจของประเทศ จะเสียหายอีกหลายแสนล้าน หรือ นับล้านๆบาท ต้องถือว่าคนกรุงเทพฯ ลงโทษตัวเองที่ หูเบาไปเลือกคน อย่างนางรสนา วันนี้ที่ระยอง ที่ผมอยู่ NGO ก็ได้เป็น สว.อีก 1 คน รัฐบาลคงทำงานสดุดแน่ เพราะกลุ่มคนที่เกลียดการพัฒนา เข้าไปเป็น สว.

นายกสมัครเคยบ่นเมื่อตอนไปเยือนกัมพูชา เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าพวก NGO ขัดขวางการพัฒนาประเทศ เช่นกรณี บริษัท ผลิตไฟฟ้า ของไทยโดนNGOป่วนจนต้อง หนีไปลงทุน สร้างโรงไฟฟ้ามูลค่า สองแสนกว่าล้านบาท ฝั่งกัมพูชาใกล้ชายแดนไทย แล้วส่งไฟฟ้า กลับมาขายให้ไทย ทำให้ไทยเสียโอกาส มหาศาล นายกบอกว่าที่ประเทศลาว ไม่มี NGO การพัฒนาประเทศจึงทำได้เต็มที่ ลาวมีโครงการใหญ่ๆ อีกมากมาย

ส่วนผมคิดว่า ถ้าประเทศไทย โดยเฉพาะคนกรุง ยังโดนอิทธิพล ของ พวกพันธมิตร และ NGO ครอบงำอย่างนี้ ไทยจะล้าหลังลาวแน่ๆ เสียดายจริงๆ ไทยตั้งอยู่ในจุดที่ดีที่สุดในภูมิภาคนี้ กลับต้องมาเสียโอกาส โดยฝีมือ พวกป่วนเมือง

จากคุณ : CYROSE - [ 13 มี.ค. 51 17:51:03 A:202.44.7.66 X: ]

ผมเป็นคนนึงที่เลือกรสนา แต่ผมเลือกจากการที่คิดถี่ถ้วนแล้วว่า เลือกคนนี้เข้าไปถูกต้องที่สุดแล้วจากผู้ลงสมัคร สว. ทั้งหมด ผมรู้สึกว่า อย่างคุณนิติพงษ์ ห่อนาค (ตอนแรกผมก็คิดจะเืลือกเขานะ)เขาเป็นคนดีครับ ยังไม่ดีพอที่จะเป็น สว. ได้ คุณมานิตย์ วิทยาเต็ม ถึงจะได้ชื่อว่าเป็น อดีตตุลาการศาล รธน. แต่ผลงานที่ผ่านมาก็เป็นแค่การทำตามหน้าที่เท่านั้น คุณอนุสรณ์ ธรรมใจ...ผมไม่เชื่อว่านักธุรกิจจะช่วยอะไรได้เมื่อมาเป็น สว. นอกจากการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ส่วนคนอื่น ๆ ช่างมันเถอะ ใครก็ไม่รู้ เมื่อคิดได้แบบนี้แล้ว ผมก็เลือกรสนา ด้วยเหตุผลที่ว่า สิ่งที่เขาเคยทำมามันไม่ได้เป็นหน้าที่ของเขา ผมเองเคยอยากให้มีการแปรรูป กฟผ. เพื่อจะได้ทำให้ผลประโยชน์ที่สนองให้กับคนบางกลุ่มนั้นหายไป แต่พอมาคิดถึงผลกระทบ มันมากเกินกว่าที่จะรับได้ กับการเอาสมบัติของชาติไปขาย เขามาคัดค้านในส่วนนี้ทำให้ผู้ที่มีความรู้ทราบไ้ด้ว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าแปรรูปกฟผ.ตอนนี้

ผมไม่เคยรู้จักรสนา แทบจะไม่ได้ดู TV หรือ อ่านหนังสือพิมพ์ (เพราะงานยุ่งซะจนมีเวลาอ่านแค่ตอนเข้าห้องน้ำ) คุณจะบอกพวกมากลากไปไม่ได้หรอก ถ้าพวกมากลากไปจริง คงไม่ใช่ กทม.แน่ ๆ ถึงผมจะไม่ใช่คน กทม. แต่กำเนิด แต่ผมก็มั่นใจว่า คนกทม.หลายคนเลือกสว.คนนี้ไม่ผิดแน่ ๆ ประเทศต้องการ สว.ไปถ่วงดุลอำนาจกับรัฐบาลนะครับ ไม่ใช่เอาไปเป็นสภาตรายางเหมือนเมื่อก่อน

ผมรู้สึกว่า สว. เป็นส่วนที่มีปัญหามานานมาก สมัยก่อนก็เป็นสว.ลากตั้ง นายกเลือก จนกระั่ทั่งแก้ รธน. เป็นเลือกตั้งก็ได้สภาผัวเมียมาอีก แล้วก็เปลี่ยนเป็น เลือกครึ่งนึง ตั้งครึ่งนึง ก็เป็นปัญหาอีก จะเอายังไงล่ะครับ ผมอยากเห็นสว.ที่ทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารจริง ๆ ไม่ใช่แค่คอยประทับตราอนุมัติอย่างเดียว

ผมผิดหวังนิด ๆ ที่คุณปลื้ม ที่ผมเคยชมชอบเขาตอนที่วิเคราะฺห์อะไรหลาย ๆ อย่างได้มุมมองที่แปลกใหม่ กลายเป็นดูถูกคนอื่นไปได้ถึงขนาดนี้ เช่นการเอาการเลือก สว.ก่อนรัฐประหารมาเปรียบเทียบ ครั้งนั้นมีผู้สมัครเยอะมาก ผมไม่แ่น่ใจว่ากี่คน แต่มันเยอะมองไปทางไหนก็เห็นแต่ป้าย สว. แถมคนดัง ๆ แห่ลงเพียบ มาครั้งนี้ คนที่เคยลงเลือกตั้งสว.ในครั้งนั้นไปลง สส. กันซะเยอะ จนเหลือ แค่ 35 คนมาให้เลือกกัน เท่านั้นเอง คนที่โดดเด่นจนน่าเลือกก็ไม่ถึง 5 คน ไป ๆ มา ๆ กลายเป็น คนกทม.โง่ ซะได้ เฮ้อ...

คิดกันดูเล่น ๆ ครับ ตอนนี้ประเทศเราต้องการพัฒนาเศรษฐกิจจริง ๆ หรือว่า ประเทศเราต้องการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก่อน หรือ ว่าประเทศเราต้องการอะไรกันแน่ ในขณะที่ฟองสบู่ของอเมริกากำลังจะแตก

จากคุณ : Chang (chang_kung) - [ 14 มี.ค. 51 09:43:57 A:203.155.85.210 X: ]

1.นายปลื้ม เป็นคนยุคโลกาภิวัฒน์เต็มตัว ไม่ต่างจาก แนวคิด DPM ที่ต้องการให้ไทย เป้นหนึ่งในอาเซียนอย่างแท้จริง เพราะ เรามีศักยภาพ ทั้งทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางของ คมนาคมในอาเซียน มีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอ และที่สำคัญ มีแรงงานภาคบริการที่ดีเยี่ยม (สภาพจิตใจที่พร้อมทางด้านบริการ) ประกอบกับคนในประเทศที่ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ซึ่งเดินสายกลาง และไม่มีกฎเกณฑ์ กดขี่ทางเพศ ไม่แยก หรือ กีดกันคนศาสนาอื่น นี่คือ จุดเด่นของประเทศไทย ....นายปลื้ม น่าจะมีความเชื่อ ไม่ต่างจาก DPM ว่า หากเมืองไทยมีผู้นำ ที่คิดใหญ่ ไม่คิดเล็ก การเมืองมั่นคง ประเทศเราจะไปสู่ประเทศผู้นำในอาเซียนได้ไม่ยาก

2.มาถึงนางรสนา ก็น่าจะใช่ ตามที่นายปลื้ม สรุปว่า หากมีเมืองที่เธอควรจะได้เป็นผู้แทน ผมคิดว่าน่าจะเป็นพวกกรุงเปียงยาง(เมืองหลวงเกาหลีเหนือ)หรือคาราคัส(เมืองหลวงเวเนซูเอลา) หรือบางทีฮาวานา(เมืองหลวงคิวบา)ซึ่งเธอสามารถจะร่วมวงกับลัทธิราอูล หรือดีกว่าคือ'เมืองซูเคร' หรือ'กรุงลาปาซ'ซึ่งเธอสามารถสวมชุดพื้นเมืองเพื่อเต้นรำร่วมกับนายอีโว โมลาเรซ (ผู้นำโบลิเวีย)ได้ ....แต่ DPM ไม่แน่ใจว่า ถ้าไปลงเลือกตั้งในเมืองเหล่านั้น เธอจะมีคุณสมบัติเพียงพอเมื่อเทียบกับคนอื่นหรือไม่ เพราะเธอก็ไปเป็นกรรมการบอร์ด ของ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ คือ อสมท. และ เธอก็ได้หุ้น ปตท. ในราคาถูกมาครอบครอง โดยให้เหตุผลว่า มีญาติทำงานใน ปตท. ได้สิทธิ์ในมูลค้าหุ้น แต่ไม่มีเงินซื้อ เธอมีเงิน จึงซื้อแทน และได้ราคาต่ำ ซึ่งเป็นหุ้นนอกตลาด (กรณีฟังมาจาก FM 101 หรือ 105 ไม่แน่ใน แต่ในรายการ มีนางสาวสารี คือผู้ถูกรับเชิญ มาคุย กับ พิธีกรในรายการ ที่ มีข้อมูลมากพอสมควร ที่ถามเรื่องนี้) ..ดังนั้น ผมคิดต่าง จาก นายปลื้มว่า ไม่แน่ว่านางรสนา จะได้รับการยอมรับ จากเมืองเหล่านั้นหรือไม่ หรือความคิดอ่าน แค่ปลายแถวของคนประเทศเหล่านั้น

3.มาถึง การตั้งคำถาม นายปลื้ม ที่ทำไม คนกรุง จึงลงคะแนนเสียงให้ นางรสนา มีคำตอบดังนี้

3.1 สื่อสร้างภาพ ให้คนอิจฉาทักษิณ ในเงิน 7 หมื่นกว่าล้านบาท คนกรุงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจไทยถดถอย ความอิจฉาเงินทักษิณ ทำให้คน กทม. ประชด ลงคะแนนให้ รสนา ใครจะทำไม อีกอย่าง 1 เสียงไม่มีผลอะไรอยู่แล้ว

3.2 นางรสนา มีโชค ได้เบอร์5 และมีทุนหนา ติดโปสเตอร์อย่างดี ราคาสูง ทั่วกรุง ยก 5 นิ้ว คนจำแม่น ส่วนคนอื่นๆ คนที่อยู่ในอาชีพเฉพาะ เท่านั้น จึงจะรู้จัก

3.3 ปตท. ไม่ได้ถูกถอนออกจาก ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ คนเล่นหุ้น ไม่อยู่ตรงข้ามกับนางรสนา คดีนี้ ทำให้ คนรู้จัก นางรสนาเป็นอย่างดี

3.4 สื่อเกือบทั้งหมด เชียร์ นางรสนา เมื่อนางรสนาลงสมัคร สื่อจะพาดหัวทันที คนมีคุณภาพมาลงสมัครบ้างแล้ว

3.5 พปช. เอาทุกพรรคไปร่วม รัฐบาล ทีเสียงท่วมท้น เหลือ ปชป. พรรคเดียว โด่เด่ ..คนกรุงจึงเทคะแนน ให้ นางรสนา ว่า เข้ามาแล้ว อย่ามูมมามนะ เราส่งนางรสนา เข้ามาตรวจสอบ

จาก 5 ข้อ น่าจะทำให้ นายปลื้ม ถึงบางอ้อ ที่สงสัย ทำไม คนกรุงเทพจึงเทคะแนนให้นางรสนา ปกติ มาก ไม่มีตัวเลือก ที่รู้จัก ดีพอ นั่นเอง คนกรุง ยังน่ารัก ในการลงคะแนนเสมอ

วันนี้ เป็นครั้งแรก ที่อ่านข้อเขียน นายปลื้ม มีบ้างที่ฟัง FM 105 ตอนบ่าย 2 และ บ่าย 3 นั่นคือ ความสามารถสุดยอด ของนายปลื้ม ที่จะสื่อกับประชาชน แต่บทความ เขียนแล้ว ยังไม่แสบๆ คันๆ เหมือนเด็กฝึกเล่น เขียนวิจารณ์การเมือง และ อย่างน้อยที่สุด DPM ก็เชื่อมั่นว่า ฝีมือ ในการเขียน บทวิจารณ์การเมือง ของ DPM สู้คนดัง แบบนายปลื้มได้

คุณปลื้มถ้าได้อ่าน ..คุณปลื้มคิดว่าใช่หรือไม่...หากมีโอกาส จะไป Hello ที่ FM 105 เพราะ จุดยืน แนวคิด เราไปด้วยกันได้ นั่นเอง

digital Prime Minister
13 มีนาคม 2551 19:47:15น.


ผมไม่เชื่อว่านักธุรกิจจะช่วยอะไรได้เมื่อมาเป็น สว. นอกจากการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ส่วนคนอื่น ๆ ช่างมันเถอะ ใครก็ไม่รู้ <---- แสดงว่าในสายตาของคุณ นักธุรกิจที่เข้าสู่สนามการเมืองไม่ว่าจะใครหน้าไหนล้วนแต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องทั้งนั้นสินะ
นักธุรกิจทุกคนต้องเป็นคนโลภมากหมดทุกคนเลยงั้นสินะ

ปัญหาที่คุณต้องการให้แก้ คุณแน่ใจหรือว่าจะไม่มีเรื่องเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย??

คนกทม. เท่าที่ผมรู้สึกมักจะต้องเจ็บแล้วถึงจะจำครับ ไม่เคยคิดจะหาข้อมูลและพิจารณาถึงผลงานของคนที่ตัวเองจะเลือก สักแต่ว่ากาเลือกตามที่สื่อขยันประโคมข่าว หรือความเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนั้นเอง

ผมเองก็เคยเป็นคนกทม.คนหนึ่งที่เคยนับถือมหาจอมปลอม แต่ตอนนั้นยังไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งเพราะอายุไม่ถึง แต่แล้วก็มาลังเลตอนที่ค้านเบียร์ช้างเข้าตลาดหุ้นและสุดท้ายกลายเป็นชังอย่างสิ้นเชิงตอนที่ออกมาให้ข่าวรับประกันความีจริยธรรมของฤาษีเขายายเที่ยง ด้วยเหตุนี้ถึงทำให้ผมต้องหันมาสนใจการเมืองอย่างจริงจังเพราะไม่อยากจะผิดพลาดแบบนั้นอีกแล้วนะครับ

จากคุณ : ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร (spiralhead) - [ 14 มี.ค. 51 13:33:56 A:58.64.74.156 X: ]

อยากให้คุณ รสนา ไปดูงานกรุงปักกิ่ง ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน จังเลย วันนี้เศรษฐกิจที่จีน เจริญเติบโต ดูข่าว มีแต่รถยนต์ หรูๆวิ่งกันขวักไขว่ เต็มไปหมด ผู้คนมีรายได้ดี ผิดกับเมื่อก่อน ที่ดูข่าวกรุงปักกิ่งมีแต่รถจักร์ยานเต็มไปหมด

ใครๆเขาว่าหล่อนเป็นพวกฝ่ายซ้าย เพราะต่อต้านระบบทุนนิยมสุดลิ่ม และหล่อนน่าจะไปเป็นผู้แทน ในกรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ หรือ ไปอยู่ที่ คิวบา , โบลิเวีย ฯลฯ ที่มีแต่พวกนิยมความรุนแรง

คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ตอนนี้ เขาชอบ NGO ที่เกลียดการพัฒนา ถ้าปิดประเทศได้ สงสัย จะสะใจ เห็นหลับหูหลับตาเชียรกันจัง

รัสเซีย , จีน , เวียดนาม ฯลฯ อดีต ประเทศคอม ทั้งนั้น นำประชาชน หนีความยากจน ด้อยพัฒนา ที่ดั้งเดิมใช้ระบบรัฐสวัสดิการ รัฐอุปถัมภ์ โดยใช้ระบบทุนนิยม มาช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศ หลุดพ้นความยากจน และ วิกฤติเศรษฐกิจ ในรัสเซีย เมื่อ10กว่าปีก่อนดูข่าว มีแต่ประชาชนเข้าแถวรอแบ่งปันอาหาร ประชาชนไม่มีเงิน วันนี้ รัสเซีย ร่ำรวยประชาชนมีเงินมากเหลือใช้ รวยติดอันดับโลก ตั้ง เกือบร้อยคน
แต่รสนา ต่อต้านระบบทุนนิยมสุดลิ่ม แบบเข้าใจผิดๆ หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจ มีแต่ความต้องการชนะเท่านั้น น่าเห็นใจคนกรุงเทพฯ ที่ได้ตัวแทนแบบนี้ หรือ คนกรุงเทพฯ อยากจะกลับไปขี่จักร์ยานเหมือนคนจีน ในอดีต และ ไปรอรับรัฐสวัสดิการแบบรัสเซีย ในอดีต เช้าชามเย็นสองชาม ประมาณเนี้ย

GAS NGVวันนี้ ปตท ก็ขายต่ำกว่าทุน หลายเท่าซื้อมาตันล่ะ 700 กว่าเหรียญ แต่มาขายปลีก ตันละ 300 กว่าเหรียญเพื่อช่วยประชาชน ปตท.นำกำไรจากธุรกิจอื่นๆมาชดเชย ตรงนี้ คุณดูโฆษณาได้ ปตท สผ.ที่ไปลงทุนต่างประเทศ 10 กว่าประเทศ นำกำไรกลับสู่เมืองไทย มหาศาล นี่แหละครับ กำไรตรงนี้ส่วนนึงกลับมาช่วยแผ่นดินแม่ ได้

จากคุณ : CYROSE - [ 14 มี.ค. 51 13:40:30 A:202.44.7.68 X: ]


คุณรสนา เล่นว่ากล่าวถึง บรรพบุรุษของคุณปลื้มนี่ ผมว่าไม่เหมาะสมนะครับ เพราะบุลคลที่กล่าวถึงนั้นไม่สามารภตอบโต้ได้ นับว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง ถึงจะใช้คำพูดที่ดูนุ่มนวลก็ตามที

อีกอย่างเรื่อง ปตท ทางคุณรสนาเอาแต่ว่ากล่าว แต่ดันไม่ดูเลยว่า จริงๆแล้ว ได้ช่วยประชาชนจากการใช้น้ำมันราคาสูงได้มาก ซึ่งมากจนบรษิทค้าน้ำมันข้ามชาติต่างกุมขมับกันเป็นแถวเลย ซึ่งตรงนี้คุณรสนาไม่พูดถึง

และถึงคุณรสนาจะพูดภาพรวมดูดี แต่นั้นก็เหมือนข้อความในหนังสือเรียน กล่าวคือ มันเป็นจริง แต่ นำมาใช้กับระบบความเป็นจริงของชีวติได้ตรงไหน

ซึ่งแท้จริงคุณรสนาควรเสนอแนะวิธีแก้ไขที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม มากกว่านามธรรมในบทความ เพื่อแสดงออกถึงความเข้าใจปัญหาระบบเศรษฐกิจของชาติ

และอย่าลืม สว มีหน้าที่อะไรนะครับ อย้คิดว่า ต้องทำตัวค้านกับรัฐบาลอย่างเดียว แบบนี้จะมาขัดขากันเองและทำใหชาติเสียหายได้ในที่สุด

จากคุณ : Subconscious - [ 14 มี.ค. 51 13:19:53 A:124.121.20.132 X: ]




 

Create Date : 13 มีนาคม 2551    
Last Update : 14 มีนาคม 2551 17:57:52 น.
Counter : 6328 Pageviews.  

ฉีกหน้ากาก"กลุ่มมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(รสนา)"ธาตุแท้...ตัวตนแท้จริง

บริษัทหุ้นใจดีควักจ่ายปันผล ปตท.บริษัทเดียว แจกสูงสุดกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท [11 มี.ค. 51 - 04:37]

นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการสายงานศูนย์ระดมทุน ตลาดหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 51 มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) รวม 277 บริษัท หรือ 54% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 512 บริษัท ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี 50 โดยมีมูลค่าเงินปันผลที่ประกาศจ่ายรวมกันสูงถึง 194,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.26% จากปี 49 ที่จ่ายเงินปันผล 179,423 ล้านบาท โดยอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ย 3.63%

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จ่ายเงินปันผลรวมสูงสุด 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มทรัพยากร จ่ายเงินปันผลรวม 72,883 ล้านบาท

ซึ่งบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลสูงสุด 32,340.73 ล้านบาท หุ้นละ 11.50 บาท

กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง จ่ายเงินปันผล 33,220 ล้านบาท โดยบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลสูงสุด 18,000 ล้านบาท หุ้นละ 15 บาท กลุ่มเทคโนโลยี จ่ายเงินปันผลรวม 26,677 ล้านบาท โดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินปันผลสูงสุด 18,634.83 ล้านบาท หุ้นละ 6.30 บาท
.......................................................................

ตัวอย่าง 4 ใน 6 รายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท มากสุดซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น

1. นายทวีฉัตร จุฬารกูร – หลานของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (เลขาธิการพรรคไทยรักไทย) 2.2ล้านหุ้น

2. นายประยุทธ มหากิจศิริ – กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 2ล้านหุ้น

3. นายดิษฐพล ดำรงรัตน์ – ญาติ นพ. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 1.7ล้านหุ้น

4. นายสุธี มีนชัยนันท์ – ญาตินายวิชาญ มีนชัยนันท์สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 3แสนหุ้น


แฉเอ็นจีโอ-ญาติรวยเละหุ้นปตท.:ประมูลนิธิ-ทนายนำทีม:รวบไอพีโอ2.2แสนหุ้น

ฉีกหน้ากาก"กลุ่มมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"ธาตุแท้คือเป็นพวก"เกลียดตัวกินไข่ ***เกลียดปลาไหลแต่กินน้ำแกง**"ยื่นฟ้องแปรรูปปตท.ไม่เป็นธรรม
แต่คนในมูลนิธิฯต่างรวยกันเละจากหุ้นปตท.พบกรรมการและเครือญาติได้รับจัดสรรหุ้นไอพีโอกว่า 2.2 แสนหุ้น โดยเฉพาะ"จิราพร"ประธานมูลนิธิฯกับญาติได้ไปกว่า 1,300 หุ้น

และญาติกรรมการพ่วงกันเป็นหางว่าว ฟันเงินปันผลงวดครึ่งปี 49 ไปร่วม 2 ล้านบาท ขณะที่"รสนา"ยังตะเบ็งเป็นแค่เรื่องส่วนตัว จากการตรวจสอบของ"ข่าวหุ้นธุรกิจ"เกี่ยวกับรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)หรือ PTT พบว่า

กลุ่มมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือญาติ ได้รับการจัดสรรหุ้นไอพีโอช่วงปลายปี 2544 รวมกันกว่า 142,000 หุ้น นำโดยน.ส.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการจัดสรรหุ้น 8,000 หุ้น นายจำเริญ อัศวเรืองชัย (ญาตินางสุวรรณา อัศวเรือง กรรมการมูลนิธิฯ) ได้รับการจัดสรร 100,000 หุ้น ตามด้วยนายจรัญ ลิ้มปานานนท์ (ญาติประธานมูลนิธิฯ)ได้รับการจัดสรร 5,000 หุ้นน.ส.นิศา และนางพรทิพย์ ศุภวงศ์(ญาตินายชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการมูลนิธิฯ) ได้รับการจัดสรรหุ้นรวมกัน 26,000 หุ้น และน.ส.ศุภรัตน์ อาชานานุภาพ(ญาตินายสุรเกียรติ อาชานานุภาพ กรรมการมูลนิธิฯ)ได้รับการจัดสรร 3,000 หุ้น

พร้อมกันนี้ญาตินายชัยรัตน์ แสงอรุณ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากมูลนิธิฯได้รับการจัดสรรหุ้นรวมกัน 85,000 หุ้น โดยเริ่มจากนายชยากร แสงอรุณ ได้รับการจัดสรร 13,000 หุ้นนางจันทรา แสงอรุณ ได้รับจัดสรร 30,000 หุ้น นายแสวง แสงอรุณ ได้รับจัดสรร40,000 หุ้น และน.ส.ศศิยา แสงอรุณ ได้รับจัดสรร 2,000 หุ้น

จากประเด็นดังกล่าว ทำให้ตลอดช่วงที่ผ่านมา กลุ่มมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ต่างได้รับผลประโยชน์จากหุ้น PTT กันถ้วนหน้า กล่าวคือกลุ่มเครือญาติกรรมการมูลนิธิฯได้รับเงินปันผลหุ้นปตท.(งวดระหว่างกาลปี 2549 หุ้นละ 9.25 บาท)

รวมเป็นเงินกว่า 6.98 แสนบาทจากจำนวนหุ้นที่เหลือรวม 75,406 หุ้น พร้อมกันนี้ยังกำไรส่วนต่างจากกระดานล่าสุด 368บาท คิดเป็นกำไรกว่า 25.11 ล้านบาท(เทียบจากต้นทุน 35 บาท)

นอกจากนี้กลุ่มเครือญาตินายชัยรัตน์ แสงอรุณ ได้รับเงินปันผลงวดเดียวกันกว่า 1.28 ล้านบาท จากจำนวนหุ้นรวม 138,031 หุ้น และมีกำไรส่วนต่างจากราคากระดานล่าสุด368 บาท คิดเป็นกำไรกว่า 45.96 ล้านบาท(เทียบจากต้นทุน 35 บาท) จากข้อมูลข้างต้นจึงขัดแย้งกับคำกล่าวอ้างของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ยื่นฟ้องว่าการจัดสรรหุ้นไอพีโอครั้งดังกล่าว

ประชาชนทั่วไปแทบไม่มีโอกาสจองซื้อหุ้นได้ เพราะการจองหุ้นหมดเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 1.7 นาที พร้อมกับคำกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า บรรดาญาตินักการเมืองและพรรคพวกนัการเมืองผู้มีอำนาจ ได้รับการจัดสรรหุ้นถึงครบครัวละ 5.1 ล้านหุ้น อันเป็นการจัดสรรหุ้นที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรง

ประเด็นดังกล่าวหลายฝ่ายจึงตั้งคำถามกรณีการฟ้องร้องที่ผ่านมา กลุ่มมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับความเดือนร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการขายหุ้นปตท.จริงหรือไม่

ที่สำคัญที่ผ่านมา ผู้เกี่ยวข้องกับมูลนิธิตามรายชื่อข้างต้น ต่างได้รับผลประโยชน์จากปตท.ในรูปเงินปันผลและแคปปิตอลเกนมาโดยตลอด ดังนั้นกรณีการฟ้องร้องปตท.จึงเป็นเพียงคำกล่าวอ้างหรือไม่

นางรสนา โตสิตระกูล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีมีรายชื่อกรรรมการเข้าถือหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ว่า องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคเป็นนิติบุคคลมีอิสระในการทำงาน เนื่องจากนโยบายขององค์กรไม่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล อย่างไรก็ตามการที่บุคคลในองค์กรฟ้องร้องปตท. ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว




 

Create Date : 11 มีนาคม 2551    
Last Update : 11 มีนาคม 2551 20:27:36 น.
Counter : 625 Pageviews.  

หลากความเห็นที่มีต่อคำตอบของรสนา โตสิตระกูลของชาวราชดำเนิน

ผมได้รับเมล์ที่ตั้งคำถามกับรสนา และต่อมามีการตอบคำถามนี้แล้ว ผมขออนุญาตนำมาแบ่งปัน เพราะเห็นว่ายังไม่ปรากฎในเวบนี้


คำถามที่รสนาต้องตอบ

คนจำนวนไม่น้อยทำใจเลือกรสนาได้ยาก เพราะรสนาไม่เคยตอบคำถามที่สำคัญสี่ข้อ

ข้อแรก รสนาค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกินในกรณี ปตท. แต่รสนากลับเป็นกรรมการบริหาร อสมท.ที่แปรรูปแล้ว ทั้งที่รสนาไม่ได้เป็นตัวแทนของคนกลุ่มไหน ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจการสื่อสารมวลชนเลยสักนิด

แต่กลับมีตำแหน่งบริหารองค์กรแบบนี้ มีรายได้จากการประชุม เงินปันผล ฯลฯ ปีละหลายแสน

พฤติกรรมลักลั่นขัดแย้งกันเองแบบนี้ต้องการคำอธิบาย

ข้อสอง รสนาหาเสียงด้วยการโจมตีนักการเมือง ทั้งที่รสนาเป็นนักการเมือง หาเสียงและชิงตำแหน่งการเมืองเหมือนนักการเมืองทั้งหมด การหาเสียงแบบนี้ให้ร้ายนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และประชาธิปไตยรัฐสภา โดยลืมไปว่าตำแหน่งสว.ก็เป็นตำแหน่งการเมืองไม่ต่างจากนักการเมืองคนอื่น

พฤติกรรมหาเสียงแบบใส่ร้ายป้ายสีระบบประชาธิปไตยแบบนี้ต้องการคำอธิบาย

ข้อสาม รสนาอ้างว่าสนับสนุนประชาธิปไตย ทั้งที่รสนาเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฯ มีบทบาทสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน รวมทั้งมีจุดยืนรับรัฐธรรมนูญ คมช. ที่เป็นต้นตอของความไม่เป็นประชาธิปไตยหลายอย่าง เช่นการกำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภา 74 คน จากการแต่งตั้ง ซ้ำยังเข้าไปรับตำแหน่งกรรมการปฏิรูปกฎหมายและกรรมการพัฒนาการเมืองที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลจากการรัฐประหาร

ภูมิหลังการเมืองที่พิรุธแบบนี้ต้องการคำอธิบาย

ข้อสี่ รสนาอ้างว่าเล่นการเมืองแบบคานธี ทั้งที่คานธีนุ่งเจียมห่มเจียม สนับสนุนการผลิตแบบพึ่งตนเอง ไม่ยึดติดกับอำนาจการเมืองทุกชนิด ขณะที่รสนาแสวงหาอำนาจการเมือง เคลื่อนไหวการเมืองเพื่อเป็นฐานของการเข้าสู่อำนาจในอนาคต ให้สัมภาษณ์เปลี่ยนไปมาตามกลุ่มผู้ฟังผู้ชมสื่อ บางเวทีก็ว่าไม่เห็นด้วยกับทุนนิยม บางเวทีก็ว่าสนับสนุนทุนนิยมเสรีทุกชนิด

พฤติกรรมแสดงความเห็นที่ไม่แน่นอน เปลี่ยนไปมาแบบนี้ ต้องการคำอธิบาย

ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีผู้แสวงหาอำนาจที่หาเสียงด้วยวิธีการแบบรสนา คนกรุงเทพเคยเลือกนักการเมืองด้วยทัศนคตินี้นับครั้งไม่ถ้วน จึงจำเป็นต้องถามคำถามคุณรสนาให้มากกว่านี้ เพราะคุณรสนาเป็นนักการเมือง แสวงหาอำนาจการเมือง และกำลังเล่นการเมืองไม่ต่างจากนักการเมืองทุกราย

โดย คน Say no to Rosana

จากคุณ : บก.ลายจุด - [ 1 มี.ค. 51 17:56:29 A:58.8.240.186 X: ]

ขอตอบคำถาม คุณ “saynotorosana” และผู้อ่านคำถามทั้ง 4 ข้อ ดังนี้

1.ดิฉันได้รับการทาบทามให้เป็นบอร์ดอสทม. ตั้งแต่ปลายปี 2549 ดิฉันเคยปฏิเสธไม่รับในครั้งแรก ภายหลังมีเพื่อนและพี่บางคนบอกว่าสมควรเข้าไปให้มีพื้นที่ของฝ่ายผู้บริโภคบ้าง คุณคงไม่ทราบกระมังว่าดิฉันจบวารสารธรรมศาสตร์ เมื่อมีการทาบทามครั้งที่ 2 ดิฉันจึงยอมรับเป็นกรรมการ ส่วนคนที่ทาบทามให้เข้าไป บอกเหตุผลว่าอยากให้เข้าไปดูว่า อสมท. จะแก้ไขให้ถูกกฎหมายได้โดยไม่ต้องถอนการแปรรูปได้อย่างไร
ดิฉันเข้าประชุมครั้งแรก เมื่อ 18 ธันวาคม 2550 และบอร์ดก็ได้หยิบยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา (เนื่องจากศาลปกครองเพิ่งตัดสินให้ปตท. ต้องคืนทรัพย์สินส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติให้รัฐ) และบอร์ดมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
บางคนบอกว่าดิฉันต่อต้านการแปรรูปทุกชนิด ดิฉันก็ต้องขอบอกจุดยืนว่ากิจการที่ผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน และเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่กระทบชีวิตประชาชนในสังคม ไม่ควรแปรรูป เพราะเป็นการโอนการผูกขาดไปให้เอกชนในการทำกำไรเข้ากระเป๋าโดยเอาเปรียบผู้บริโภค ส่วนกิจการใดแปรรูปแล้วแข่งขันได้ก็จะมีประสิทธิภาพ และราคาที่เป็นธรรม เป็นสิ่งที่ยอมรับได้
ในการประชุมบอร์ดครั้งแรกนั้น ดิฉันยังได้พบข้อมูลว่ามีลูกจ้างรายวันของอสมท.จำนวนกว่าร้อยชีวิตที่ทำงานกับอสมท.เป็นเวลาหลายปีตั้งแต่ก่อนแปรรูป โดยไม่เคยได้รับสวัสดิการประกันสังคม เพราะเป็นลูกจ้างรายวัน ดิฉันเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนลูกจ้างรายวันเหล่านั้นให้เป็นพนักงานประจำ เพื่อพวกเขาจะได้รับสวัสดิการการประกันสังคม ซึ่งในที่ประชุมเห็นด้วย และมีมติให้ปรับเปลี่ยนให้เสร็จในต้นปี 2551
การเป็นกรรมการอสมท. ดิฉันได้เพียงค่าตอบแทนเบี้ยประชุม ซึ่งไม่ได้มากมายอย่างที่คิด โบนัสไม่มี ทั้งไม่มีสิทธิประโยชน์อื่นๆ นอกจากโทรศัพท์มือถือที่ทางฝ่ายสำนักงานจะจัดให้ดิฉันในฐานะกรรมการ แต่ดิฉันก็ปฏิเสธไม่รับ

2.ดิฉันพูดถึงหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นไปตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว เพราะหากขาดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหาร ก็จะเกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิด และเกิดการทุจริตคอรัปชั่นได้ ดังที่ลอร์ด แอกตัน เคยพูดว่า “อำนาจนำไปสู่การคอรัปชั่น อำนาจเบ็ดเสร็จย่อมนำไปสู่การคอรัปชั่นเบ็ดเสร็จ” การพูดถึงระบบการเมืองปัจจุบันที่ว่า การถ่วงดุลตามหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็น 3 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ไม่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จึงทำให้การตรวจสอบไม่สามารถเกิดขึ้นจริง ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในหมู่นักการเมืองอย่างกว้างขวาง ซึ่งนำไปสู่วงจรอุบาทว์ของการรัฐประหารซ้ำซาก เพราะมีข้ออ้างให้กับกลุ่มอำนาจอีกฝ่ายในการทำรัฐประหาร เพื่อช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาลที่คอรัปชั่นเท่านั้น และก็ไม่สามารถหยุดยั้งการคอรัปชั่นได้ พูดอย่างนี้ใส่ร้ายนักการเมืองตรงไหน?(หรือ?)
ดิฉันเห็นว่า ถ้าผู้แทนของประชาชนสามารถทำให้ระบบรัฐสภาเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านความยุติธรรมทางสังคมอย่างแท้จริง ประชาชนก็ไม่ต้องออกมาเดินบนท้องถนน ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนจนต้องเสียเลือดเสียเนื้อกัน

3. ดิฉันไปปราศรัยบนเวทีพันธมิตร เพราะรัฐบาลไม่สามารถถูกตรวจสอบภายในระบบของรัฐสภาได้ ทำให้ประชาชนต้องออกมาเคลื่อนไหวนอกสภา แต่ไม่นอกรัฐธรรมนูญ แต่ดิฉันไม่เคยเชื่อไม่เคยสนับสนุนการรัฐประหารว่าเป็นการแก้ปัญหาการทุจริตของนักการเมืองและรัฐบาล ดิฉันเคยเขียนบทความว่า การรัฐประหาร 19 กันยา เป็นการฉวยโอกาส และตัดตอนการเรียนรู้ของประชาชนในการจัดการกับรัฐบาลเผด็จการทุนนิยมสามานย์ ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการเรียนรู้ที่จะจัดการกับเผด็จการในคราบประชาธิปไตย โดยไม่ให้เสียเลือดเนื้อเหมือนอดีต
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่โหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าคุณจะบอกว่า “ถ้างั้น ดิฉันก็ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเป็นกรรมการต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ และการสมัคร ส.ว. ด้วยละก้อ” ดิฉันก็อยากให้คุณไปตั้งคำถามนี้กับพรรคพลังประชาชนด้วยว่า เมื่อโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญแล้ว มาลงเลือกตั้งทำไม คุณไม่มีคำถามกับพรรคนี้บ้างหรือ ทำไมไม่ประนามพรรคนี้บ้างว่ามีพฤติกรรมลักลั่นขัดแย้งกันเอง แบบนี้ต้องมีคำอธิบายบ้างล่ะ

4. ดิฉันพูดถึงทุนนิยมเสรีว่าต้องมีธรรมาภิบาล และมีความรับผิดชอบต่อสังคมจึงจะยอมรับได้ แต่ทุนนิยมสามานย์นั้นยอมรับไม่ได้ และทุนนิยมเสรีนั้นต้องไม่ใช่ เป็นเพียงเสรีภาพของหมาจิ้งจอกในเล้าไก่

ดิฉันขอขอบคุณคำถามทั้ง 4 ข้อ และคนถามที่ให้ความสนใจดิฉันเป็นอันมาก ทั้งที่ตำแหน่งส.ว. ไม่ได้บริหารงบประมาณแผ่นดิน คุณยังตรวจสอบดิฉันเข้มข้นขนาดนี้ ดิฉันขอให้คุณตรวจสอบรัฐบาล และบรรดาคณะเลขา ที่ปรึกษาที่เป็นผู้ใช้อำนาจและภาษีของพวกเราบ้างเถิด เพราะถ้ามีประชาชนที่ตรวจสอบใกล้ชิดเข้มข้นเช่นนี้ รัฐบาลน่าจะดีกว่านี้ได้มาก ขออย่าใช้แค่อคติในการดิสเครดิตดิฉัน เพียงเพื่อให้ผู้อ่าน”saynotorosana” หากคิดว่าการ ”saynotorosana” แล้วจะทำให้บ้านเมืองดีกว่านี้ โปร่งใสกว่านี้ ได้รัฐบาลดีกว่านี้ มีธรรมาภิบาลมากกว่านี้ก็เชิญดิสเครดิตไปเถิด แต่ที่จะรีบร้อนตัดสินดิฉันแบบรับเหมาตัดสินแทนผู้อื่น อย่างที่มักกล่าวหาพวก NGO เป็นพวกชอบรับเหมาทำแทนละก้อ น่าจะลองดูกันยาวๆ ดีไหม ยังไม่สายที่จะตัดสินกันก่อนตายจากกัน แต่ก่อนอื่นคนตั้งคำถาม น่าจะมีความกล้าหาญพอที่จะบอกชื่อแซ่ของตัวเองให้ผู้อื่น และผู้ตอบคือดิฉันได้ทราบบ้าง อย่าหลบอยู่หลังฉากเพื่อดิสเครดิตคนอื่นโดยไม่ให้เขาเห็นตัวตนของคุณบ้างว่าบริสุทธิ์ สะอาดสักแค่ไหน ไม่งั้นก็จะถูกมองได้ว่า เป็นแค่มือปืนรับจ้าง หรือคุณจะเป็นอัศวินของประชาชนที่จะต่อสู้กับสิ่งไม่ถูกต้องกันแน่ ถ้าคุณเป็นอย่างแรก ดิฉันก็ไม่อยากให้ค่ากับคุณมากนัก แต่ถ้าเป็นอย่างหลัง ดิฉันก็ขอคาวระ.

รสนา โตสิตระกูล
29 กุมภาพันธ์ 2551

เมื่อ จอน อึ้งภากรณ์ ประกาศเลือก รสนา

เรียนเพื่อนๆที่ร่วมสังคม

เป็นเรื่องที่เพี้ยนสุดๆตามรัฐธรรมนูญยุคคมช. ที่ประชาชนทั้งประเทศมีสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้เพียง 76 คน ในขณะที่มี 7 อรหันต์จากศาลและองค์กรอิสระได้รับสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภาถึง 74 คน (คำนวณดูแล้ว 1 อรหันต์จากศาลและองค์กรอิสระมีค่าเท่ากับประชาชนทีมีสิทธิเลือกตั้งถึง 4 ล้านกว่าคน)

แล้วความจริงก็ปรากฏแล้วว่า 74 ส.ว. ผู้ที่ได้รับการเลือกจาก 7 อรหันต์นั้น เกือบทั้งหมดไม่ใช่ผู้แทนผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างแน่นอน

การเลือกตั้งส.ว. อีก 76 คน ก็ปรากฏเป็นเรื่องเพี้ยนอีกที่ชาวกรุงเทพฯ 6 ล้านคนจะมีผู้แทนเป็น ส.ว.เพียงคนเดียวแทนที่จะได้ 7 คนตามสัดส่วนของอัตราพลเมือง

ในฐานะที่ผมเคยได้รับเลือกตั้งเป็นส.ว.กรุงเทพฯหนึ่งใน 18 คนเมื่อปี 2543 ผมขอยืนยันว่าบทบาทของสมาชิกวุฒิสภามีความสำคัญมากในเรื่องของการตรวจสอบนโยบายและการปฏิบัติของรัฐบาล ตลอดจนการปกป้องผลประโยชน์และสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องต่างๆ

เราไม่ควรปล่อยให้วุฒิสภาเป็นตรายางเป็นอันขาด !

เราควรต้องใช้สิทธิ์อย่างคุ้มค่าที่สุดโดยการเลือกผู้แทนที่เรามั่นใจว่าจะทำหน้าที่ส.ว.ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ในฐานะคนกรุงเทพฯ ผมเองจะเลือก รสนา หมายเลขห้า เพราะถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้เห็นด้วยกับรสนาในทุกเรื่อง แต่รสนาเป็นคนที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ถูกซื้อไม่ได้ กล้าท้าทายผู้ที่ใช้อำนาจในทางผิด กล้าต่อสู้กับระบบผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม กล้าปกป้องผลประโยชน์ของผู้ด้อยโอกาสและประชาชนโดยรวม ผลงานในการเปิดโปงคอรัปชั่นในกระทรวงสาธารณสุขและในการหยุดยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็เป็นที่ประจักษ์


ด้วยความเคารพ

จอน อึ๊งภากรณ์

ไม่ได้เกลียดหรือโกรธที่ รสนา ต่อต้านระบอบทักษิณหรือที่ไม่เลือกรสนา ไม่ใช่เพราะว่าเป็นคนเลว
คำว่าดี/เลว ไม่มีในด้านการทำงาน แต่ไม่เลือกและไม่ชอบรสนา เพราะ"หลักคิด"ไม่ตรงกับผม

รสนา"ปากเก่ง"ได้แต่กับนักการเมือง แต่พวกศักดินาในระดับสูงที่มีพฤติกรรมดำเนินธุึรกิจผูกขาด ตัดตอนใช้อำนาจบาตรใหญ่อวดบารมีอิทธิพลเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจ รสนาก็"หงอ"เป็นใบ้ไม่กล้าพูด
รสนาด่าได้แต่นักการเมืองเพราะรสนาเห็นว่าคนพวกนี้"หมูในอวย"ด่าคนพวกนี้แล้วจะทำให้รสนา"ดัง""เท่ห์" "ดูดีมีชาติตระกูล" พฤติกรรมเหมือนกับพวกประชาธิปัตย์"ยุคเก่า"ที่ด่า "ทหาร" แล้วได้ใจประชาชน

รสนามีพฤติกรรมรับใช้ศักดินาดูถูกประชาชนเพราะพวกศักดินาบางคนบริจาคเงินช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวใช่หรือไม่



จากคุณ : Whisperer - [ 1 มี.ค. 51 18:20:41 A:124.121.132.222 X: ]

ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ....ว่า

คำตอบ ใน ข้อ 2 และ 3 ของนางรสนา...

ทำไม...? ถึงไม่มีการปฏิบัติในห้วงระยะเวลา เมื่อ ปีกว่าๆ ที่ผ่านมาทั้งเรื่อง ถ่วงดุลย์อำนาจ ทั้งเรื่อง ต่อต้านการปฏิวัติ...
นางรสนาเคยแสดงหรือกระทำอะไรบ้างตามที่โม้มาในคำตอบ ข้อ 2 และ 3...
หรือ หมายความว่า รัฐบาลทหารมีครบทุกอย่างที่นางรสนาต้องการ...
คือ ไม่มีการคอร์รัปชั่น ไม่มีการใช้อำนาจในทางที่ผิด มีธรรมภิบาล
“อำนาจนำไปสู่การคอรัปชั่น....อำนาจเบ็ดเสร็จย่อมนำไปสู่การคอรัปชั่นเบ็ดเสร็จ”
คำกล่าวนี้ไม่ผิดหรอก แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หมายความว่าเค้ามีอำนาจเบ็ดเสร็จ เหรอ ไม่สามารถตรวจสอบได้เหรอ...
ครั้งกระโน้น...ไม่ใช่ตรวจสอบไม่ได้ แต่ ฝ่ายตรวจสอบ"ไร้ปัญญาซะมากกว่า" การมีฝ่ายค้าน ไร้ปัญญาจะโทษรัฐบาลไม่ได้ สมควรจะถามคนที่เลือกฝ่ายค้านไร้ปัญญามา มากกว่าว่า "เลือกมาทำลิง...อะไร"

ส่วน ประโยค "เมื่อโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญแล้ว มาลงเลือกตั้งทำไม" หมายความว่า ผมไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูธฉบับนี้ ก็ได้!! ใช่หรือไม่...?

คำตอบที่ 4 เป็นเพียงแค่คำพูดสวยหรูของพวกจบวารสารธรรมศาสตร์...ซะมากกว่า "ทุนสามานย์"ใครเป็นผู้ตัดสิน เอ็นจีโอ เหรอ หรือพวกที่ชอบพูดยกตัวเองว่ามีคุณธรรมเหมือนนางรสนา....

เท่าที่ผมทราบ....ย้ำ เท่าที่ผมทราบ มีแต่เข้าไปเกี่ยวพัน และมีส่วนร่วมและกระทำการต่างๆ ภายใต้อำนาจของรัฐบาลทหาร...อย่างมีความสุขและยินดียิ่ง เสมือนได้รับรางวัลจากการทำงาน ก็ไม่ปาน....

จากคุณ : ทำซิม - [ 1 มี.ค. 51 18:55:42 A:222.123.178.117 X: ]

รสนา:ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่โหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าคุณจะบอกว่า “ถ้างั้น ดิฉันก็ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเป็นกรรมการต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ และการสมัคร ส.ว. ด้วยละก้อ” ดิฉันก็อยากให้คุณไปตั้งคำถามนี้กับพรรคพลังประชาชนด้วยว่า เมื่อโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญแล้วมาลงเลือกตั้งทำไม คุณไม่มีคำถามกับพรรคนี้บ้างหรือ ทำไมไม่ประนามพรรคนี้บ้างว่ามีพฤติกรรมลักลั่นขัดแย้งกันเอง แบบนี้ต้องมีคำอธิบายบ้างล่ะ
--------------------------------------------
......มันต่างกันนะ ระหว่างการใช้สิทธิ์กับการไปนั่งเป็นกรรมการบอร์ดที่มีผลประโยชน์
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่โหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ แต่ก็ออกไปใช้สิทธ์ลงคะแนนเลือกตั้ง...
บ้า รึเปล่า เอาอะไรคิดที่ว่า ...ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ...ก็ไม่ต้องไปใช้สิทธิ์ทั้งในการลงคะแนน หรือ การลงเลือกตั้ง....
"เรา"..เคารพในกติกา ต่างหากล่ะ ก็ในเมื่อโหวตรับมันผ่าน ก็ต้องใช้สิ(วะ)ไอ้รัฐธรรมนูญฉบับนี้น่ะ ถึงแม้จะไม่เต็มใจก็เถอะ..
---------
นี่ยาวที่สุดที่เคยพิมพ์มาเลยนะ

จากคุณ : syk05 - [ 1 มี.ค. 51 19:00:32 A:58.9.161.142 X: ]

ผมเป็นผู้จัดการโรงงานแห่งหนึ่ง มีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลใช้เองและเหลือขายให้กับการไฟฟ้า รสนารู้ไหม การจะขออนุญาตไฟฟ้าต้องจ่ายใต้โต๊ะกันเท่าไหร่ ขายเพียงแค่ 10-20 MW หมดค่าใต้โต๊ะเข้ากระเป๋าตัวเองพวกการไฟฟ้าเป็นล้าน ไหนจะค่า Entertain แบบถึงๆอีกต่างหาก ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็จะไม่ได้รับความสดวก การทำ COD (เปิดขายไฟ)ต้องล่าช้าออกไป นี่แหละเสือนอนกิน ยังมีอีกครับ บางคนใช้เวลาไปเป็นที่ปรึกษาการขายไฟฟ้าให้กับบริษัทเอกชน รายได้ไม่ต้องพูดถึง น่าจะเอาเวลาไปพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ให้กับการไฟฟ้าเพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นค่าไฟฟ้ากับประชาชนน่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาติมากกว่า

จากคุณ : AldilaNV55 - [ 1 มี.ค. 51 20:43:35 A:202.149.24.129 X: ]

รสนากล่าวหาผู้อื่นว่า เป็นทุนนิยมสามานย์ ... นี่คือเทคนิคของพวกเคลื่อนไหวโดยด่าผู้อื่นให้เตะหูชาวบ้าน... ที่แท้ก็เพื่อหาพื้นที่ทางการเมืองให้ตนเองเท่านั้น ในยุคเผด็จการพวกนี้เงียบเป็นเป่าสาก

พวกเขาท่องคาถาวิเศษว่า นักการเมืองมันเลว เพื่อให้ตัวเองดูดีกว่า เช่นเดียวกับนักวิชาการที่อยากมีชื่อเสียง หรือราษฏรอาวุโสที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรนักให้ประเทศนี้นอกจากออกมาทำเป็นสั่งสอนประชาชน คล้ายพวกขิงเน่าที่เพิ่งจากไป

ผมอยากพูดบ้างว่า... รสนาแล้วเข้าร่วมกับพวกบิดเบือนปลุกระดม เพื่อสร้างชื่อให้ตัวเองในการโค่นล้มฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองที่คุณไม่ชอบจนกระทั่งออกเทียบเชิญ คมช. เข้ามายึดอำนาจ พฤติกรรมเช่นนี้ไม่สามานย์ยิ่งกว่าสังคมทุนนิยมที่รสนาอาศัยอยู่ทุกวันนี้หรือ

เมื่อพวกคุณตัดสินผู้อื่นได้...ผมขอตัดสินพวกคุณบ้าง โดยเรียกพวกคุณว่า NGOสามานย์(บางส่วน) หรือ รสนา สามานย์ จะได้หรือไม่
ผมไม่เลือก รสนา สามานย์ เป็นสว.แน่นอน

จากคุณ : S_Chai - [ 1 มี.ค. 51 20:44:39 A:125.24.30.121 X: ]

รสนา ใน ทัศนะข้าพเจ้า (บก.ลายจุด)
ก่อนอื่นออกตัวก่อนว่า รู้จักคุณรสนาเป็นการส่วนตัว แม้ไม่ได้ใกล้ชิด แต่เป็นพี่คนหนึ่งที่ผมเฝ้ามองความคิดและการทำงานของเธอ

ในฐานะรุ่นน้องคนหนึ่งในแวดวง NGOs รสนา เป็นคนที่มีประวัติการต่อสู้น่าสนใจ
หลายคนใน pantip อาจรู้จักรสนาในช่วงพันธมิตร และ กรณี ปตท

โดยภาพลักษณะภายนอก รสนาเป็นคนดูแข็งกร้าว จุดยืนชัดเจนไม่อิงใคร เป็นคนหนึ่งที่ผมมั่นใจว่าเขาเป็นคนมีอิสระจากอิทธิพลภายนอก สิ่งเดียวที่มีอิทธิพลต่อเขาคือ จุดยืน และ ความคิด ใครจะเรียกว่าเป็นพวกอัตตาสูงหรืออะไรก็แล้วแต่ รสนา ไม่เหมือนใครจริง ๆ

ผมรู้จักรสนาครั้งแรกตอนที่พี่เขาทำงานในมูลนิธิสุขภาพไทยเมื่อยิ่สิบปีที่แล้ว เขาและเพื่อน ๆ ของเขาทุ่มเทอยู่ในชนบท ทำงานกับชาวบ้าน เอาความรู้ทักษะในฐานะคนชั้นกลางที่มีการศึกษาไปช่วยจัดระบบเรียบเรียงความรู้จากชุมชนในเรื่องสมุนไพร หมอพื้นบ้าน และ เรื่องเด่นสุดในทัศนะผมคือการส่งเสริมเรื่องการบริโภาคข้าวกล้อง โดยการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และการเกษตรแบบผสมผสาน วนเกษตร

รสนา เป็น NGOs ในกลุ่มฝังตัวและลึกซึ้ง เชื่อว่า คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน ทำจนกระแสเรื่องสมุนไพร และ ข้าวกล้อง เกษตรอินทรีย์ บูมสุด ๆ CP รวมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ทำการตลาดขายข้าวกล้องในร้าน 7-11

ตอนที่ในหลวงพูดเรื่องเศรษฐกิจทฤษฏีใหม่ ทำให้ผมนึกถึงภาพการทำงานของ NGOs อย่างรสนาขึ้นมาในสมองทันที

รสนา สร้างความฮือฮาอีกครั้ง จากโครงการ "เบี้ยกุดชุม" ระบบการเงินหมู่บ้าน ที่ลองสร้างตัวกลางแลกเปลี่ยนในหมู่บ้านขึ้นมา จนธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาโวยวาย จริง ๆ แล้ว เบี้ยกุดชุมเป็นกระบวนการที่ชุมชนจัดระบบตนเองเพื่อสร้างความเข็มแข็งกันในชุมชน แต่รัฐมองว่าเป็นภัย

ตอนที่เกิดปัญหาคอรัปชั่นยาในกระทรวงสาธารณะสุข 1400 ล้าน รสนา เป็นหัวหอกสำคัญคนหนึ่งที่ไล่ล่านักการเมืองและข้าราชการระดับสูงในกระทรวงสาธารณะสุข รสนาไม่เคยหวั่นไม่ว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือ แม้แต่การดำเนินงานขององค์กรที่คุณรสนาทำงานอยู่ ที่งบก้อนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณะสุข แล้วสุดท้ายโดนกระทรวงตัดงบประมาณในการสนับสนุน ทั้ง ๆ ที่โครงการของคุณรสนาทำงานอย่างเป็นรูปธรรมและมีผลงาน แต่ไม่ถูกใจคนในกระทรวง เพราะตรวจสอบคอรัปชั่น

ตอนที่ทักษิณเป็นรัฐบาลในปีแรก ๆ ทักษิณมอบรางวัลประมาณ NGOs ดีเด่นให้กับรสนา แล้วตามด้วยคำว่า NGOs น้ำดี

กรณี ปตท ที่รสนา ร้องต่อศาลนั้น ฟังขึ้นครับ เพราะทรัยย์สินของ ปตท ที่ได้จากการเวรคืนจากประชาชน จะเอาไปขายไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ศาลปกครองจึงถือตามคำร้องของรสนา ชัยชนะของรสนา เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ผมเห็นต่างกับรสนาและหลาย NGOs ในเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในทัศนะผม การแปรรูปเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ใช่แปรรูปไม่ได้เลย แต่แปรรูปอย่างมีเหตุมีผล และหลายองค์กรควรแปรรูป

เรื่องสุดท้าย.....การเข้าร่วมกับพันธมิตร
ผมเห็นคนในนี้ ด่าพันธมิตรกันอย่างสาดเสียเทเสีย เหมือนคนพวกนี้เป็นพลเมืองชั้นสอง ไม่มีสิทธิทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย วิธีคิดเช่นนี้ก็ไม่ต่างกับพวกพันธมิตรที่กล่าวหาคนที่สนับสนุนทักษิณว่าเป็นพวกไร้สติปัญญาหรือสนับสนุนคอรัปชั่น

ดังนั้น ตราบใดที่ใครจะวิจารณ์รัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลใด ประชาชนมีสิทธิที่จะเห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย การที่รสนาเข้าร่วมกับพันธมิตร ผมไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไรที่จะวิจารณ์หรือคิดไม่เหมือนกับรัฐบาล

สำหรับผม รสนา เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และผมเชื่อว่า รสนา เป็นคนที่มีอิสระ มีความตั้งใจดีต่อประเทศชาติอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ฉวยโอกาสในตอนรัฐประหารเข้าไปแสวงประโยชน์อย่างหลาย ๆ คน และไม่ถูกฝ่ายการเมืองตบรางวัลเพื่อให้คล้อยตาม ส่วนจะเชื่อว่าความคิดของรสนา จะพาประเทศชาติล้าหลัง หรือ ก้าวหน้านั้น ต้องดูกันอีกที

ส่วนใครจะเลือก รสนา เป็น สว เลือกตั้ง หรือไม่ คำตอบอยู่ที่ประชาชน แต่สำหรับผม การที่เขายืนยันเสนอตัวเข้าไปทำงานในสภาโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง แทนที่จะไปใช้โคว้ต้า สว สรรหา ก็ถือว่า รสนา เป็นคนที่มีจุดยืนที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ผมขออนุญาตแบ่งปันข้อมูลความคิดที่ผมมี หวังว่าไม่ทำให้ใครโกรธนะครับ :>

จากคุณ : บก.ลายจุด - [ 1 มี.ค. 51 23:27:28 A:58.8.16.114 X: ]

ทำไมรสนาไม่สงสัยเลยหรือว่างบลับเอย งบจัดซื้ออาวุธเอย มันโปร่งใสขนาดไหน

แล้วที่สะพรั่งเข้าไปปู้ยี่ปู้ยำสองบอร์ดนั่นจนเละเทะล่ะ

หรือว่าพอเห็นเขาถือปืนอยู่ก็เลยไม่กล้า

ส่วนข้อสี่ดูเหมือนจะดี แต่รสนาเป็นคนกำหนดได้เองเลยหรือว่าอย่างไรมีธรรมาภิบาล อย่างไรเป็นสามานย์

มันเป็นแค่พรรณาโวหารแบบเดียวกับพวกขุนศึกศักดินาชอบใช้กันนั่นแหละ

ต้องมีจริยธรรม ต้องมีธรรมาภิบาล คุณธรรมอะไรอีกหลายหลากบ้าบอ

ถ้าแน่จริงทำไมไม่บอกไปเลยล่ะว่าทักษิณและครอบครัวเป็นพวกทุนนิยมสามานย์อะไรนั่น

สำนวนด่ากระทบแบบนี้ ถ้าเป็นผู้ชายคงต้องบอกว่าไม่แมน

เผอิญรสนาก็ไม่ใช่แมนอยู่แล้วนิ เลยไม่รู้จะบอกอะไร


ปล. สาธารณูปโภคพื้นฐานที่กระทบชีวิตประชาชนในสังคมเหรอ

ถ้าอีกหน่อยประเทศไทยต้องซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านมาใช้เดือนหนึ่ง ๆ เป็นหมื่นล้าน

อย่าบอกนะว่าประชาชนไม่มีผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะการไฟฟ้าเป็นของรัฐ

แล้วทำไมค่าเอฟทีมันขึ้นเอา ๆ อย่างนั้นล่ะ หา ?

จากคุณ : นั่งนั่งนอนนอน - [ 2 มี.ค. 51 01:12:36 A:210.203.179.22 X: ]




 

Create Date : 01 มีนาคม 2551    
Last Update : 3 มีนาคม 2551 13:44:29 น.
Counter : 506 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.